การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคืออะไร

มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย: มอก.18001 มีเป้าหมายเพื่อลดและควบคุมความเสี่ยงอันตรายของพนักงานและผู้ที่เกี่ยว ข้อง การเพิ่มประสิทธภาพการดำเนินงานของธุรกิจให้เกิดความปลอดภัยและส่งเสริมภาพ พจน์ด้านความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อพนักงานและสังคม

มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย BS OHSAS 18001 กำหนดขึ้นโดยอ้างอิง BS 8800 มาตรฐานของประเทศต่าง ๆ และมาตรฐานระบบ OHSMS ของหน่วยรับรองต่าง ๆ

มาตรฐาน มอก. 18001 และ BS OHSAS 18001 ได้กำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดระบบการตรวจประเมินและการรับรองความสอดคล้องของระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นอกจากนี้ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 และ BS OHSAS 18001 ยังได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับ ISO 9001 และ ISO 14001 เพื่อให้สามารถบูรณาการเป็นระบบการจัดการเดียวกัน

โครงสร้างของมาตรฐาน
หลักการที่ 1 ความมุ่งมั่นและนโยบาย (Commitment and Policy)
หลักการที่ 2 การวางแผน (Planning)
หลักการที่ 3 การนำระบบไปปฏิบัติ (Implementation)
หลักการที่ 4 การตรวจวัดและการประเมินผล (Measurement and Evaluation)
หลักการที่ 5 การทบทวนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Management Review and Continual Improvement)

ประโยชน์ในการนำระบบ มอก. 18001 และ BS OHSAS 18001 ไปปฏิบัติ

  1. ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เนื่องจากสามารถควบคุมและลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นต่อบุคลากร และทรัพย์สิน อาจรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  2. เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงาน
  3. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
  4. มีการพัฒนาบุคลากรให้มีการวางแผน การทำงานร่วมกัน การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการ การเฝ้าระวังและตรวจสอบ รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น
  5. ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ

มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (TIS18001และ BS OHSAS18001)

1. แบบฟอร์มร้องขอให้เสนอราคา Download
2. ขั้นตอนการขอการรับรองระบบการจัดการ Download
3. แบบฟอร์มคำขอการรับรองระบบ Download
4. แบบฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Download
5. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
6. การตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download
7. แนวทางการดำเนินการในการปรับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากมาตรฐาน OHSAS 18001:2007
สู่มาตรฐาน ISO 45001:2018  (แก้ไขครั้งที่ 1) Download
8. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน การรับรองระบบการบริหารจัดการกรณีการโอนการรับรองจากหน่วยรับรองอื่น Download


พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]

การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 3 ด้าน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ขอบเขตของอาชีวอนามัย 1. ป้องกันและรักษาอุบัติภัยจากการทำงานในอาชีพ 2. ป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ 3. การจัดบริการสุขภาพแก่คนงาน

ความสำคัญของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคืออะไร

เป้าหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกิดให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีอนามัย ทั้งยังให้การป้องกันต่อเพื่อนร่วมงาน, สมาชิกในครอบครัว, ผู้ว่าจ้าง, ลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากที่อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ส่วนในสหรัฐอเมริกา คำนิยามนี้ยังกินความหมายเป็น อาชีวอนามัย และความ ...

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นอย่างไร

1. เพื่อส่งเสริมและรักษาสุขภาพทางกาย ทางใจ และการมีชีวิตเป็นปกติในสังคมของคนงานทุกอาชีพ 2. เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนงาน 3. เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพทั่วไปจากสภาพการทำงานของคนงาน 4. เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมเอื้อต่อการทำงานทั้งร่างกายและจิตใจของคนงาน

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานหมายถึงอะไร

ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational Safety and Health) หมายถึง สภาพการทำงาน ที่ปลอดภัยจากอุบัติการณ์ (Incident) ซึ่งจะรวมถึงอุบัติเหตุ (Accident) และเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss) พร้อมทั้งไม่เกิดโรคจากการทำงาน อุบัติการณ์ (Incident) หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดเป็นเหตุนำไปสู่