วัฒนธรรมประจำชาติคืออะไร

ประเทศไทยมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี แนวปฎิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ งดงาม และได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก สำหรับความหมายของวัฒนธรรม หมายถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดี วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่หล่อหลอมขึ้น  ได้รับการยอมรับ มีการพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486)

 ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า”ชาวล้านนา”มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย

พระดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔

จากพระราชดำรัสฯดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การรักษามรดกทางวัฒนธรรมคือ การรักษาชาติ ถ้าเรา สูญวัฒนธรรมก็เท่ากับเราสูญชาตินั่นเอง และเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ย้ำว่า “ วัฒนธรรมไทย ” คือ เอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นรากฐานการสร้างสรรค์ความสามัคคี และความมั่นคงของชาติ เป็นสิ่งที่แสดงถึงศักดิ์ศรี เกียรติยศและความภาคภูมิใจร่วมกันของคนไทย ฉะนั้นจำเป็นจะต้องส่งเสริมให้ วัฒนธรรมไทยมีความเจริญก้าวหน้า เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางสังคม และคุณภาพชีวิตคนไทย การรักษาและป้องกันวัฒนธรรม คือ การรักษาจิตวิญญาณของความเป็นชาติ

องค์การศึกษาแห่งสหประชาชาติ กำหนดความหมายของวัฒนธรรมว่าหมายถึง วิถี ชีวิต ทั้งหมด ของประชาชน และวัฒนธรรมมีองค์ประกอบ ๔ ส่วน คือ ๑. มรดกทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมร่วมสมัย ๒. ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีหรือศิลปะและวิทยาการสาขาต่างๆ ๓. สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย และ ๔.วัฒนธรรมของทุกประเทศ ซึ่งแบ่งฐานันดรออกเป็น ๓ ระดับคือ

วัฒนธรรมประจำชาติคืออะไร

-วัฒนธรรมพื้นฐาน วัฒนธรรมประจำเผ่า

– วัฒนธรรมประจำชาติ (รวมทั้งราชสำนัก)

– วัฒนธรรมสากลหรืออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งเวียนนา

จุดสำคัญในการประมวลแนวทางและบริบทของวัฒนธรรมแต่ละระดับ คือ วัฒนธรรมโลก วัฒนธรรมประจำชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนที่ขัดแย้งและไม่สามารถประสานกันได้

วัฒนธรรมโลก มุ่งความเสมอภาคและมาตรฐานคุณภาพของคนตาม แนวทางประเทศอุตสาหกรรม โดยมียุโรป และอเมริกาเป็นแกนตามรากเหง้ากรีกและโรมัน ฯลฯ

วัฒนธรรมประจำชาติ มุ่งความผาสุกและความสงบของคนในชาติ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิตซึ่งเรียนรู้ สืบทอดกันมาในประวัติศาสตร์ คือละลด กิเลส ตัณหาตามหลักพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมท้องถิ่น มุ่งแนวปฏิบัติตามหลักจารีตประเพณีซึ่งถือมาในอดีตเกี่ยวกับวิถีชีวิต พิธีกรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมาจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเผ่าพันธุ์

เมื่อกล่าวถึงตรงนี้จะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมประจำชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยเราสามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากการครอบงำ และดำรงความเป็นชาติไทยคือ

วัฒนธรรมประจำชาติคืออะไร

๑. การพัฒนาการศึกษาให้คนในชาติในท้องถิ่นมีความรู้ รักและหวงแหนใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นเครื่องในดำรงชีพ ยึดปรัชญาที่ว่าการศึกษาคือ กระบวนการสืบทอดและสร้างสรรค์วัฒนธรรมตนเอง (ชาติ – ท้องถิ่น) โดยจัดทำหลักสูตรให้การศึกษาอยู่บนรากเหง้าวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้เยาวชนเกิดภูมิคุ้มกันสามารถใช้ในชีวิตประจำวันเช่น

๑.๑ เข้าใจซาบซึ้งและมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมตนเองหรือท้องถิ่นที่บรรพชนสืบต่อกันมา

๑.๒ รักษาสืบทอด และพัฒนารูปแบบในการดำรงชีพที่ดีรวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค สุขภาพพลานามัย และที่อยู่อาศัยในชีวิตประจำวัน

๑.๓ รักษาและประพฤติตามแนวทาง และบรรทัดฐานท้องถิ่น คือ ใช้หลักธรรมทางศาสนา เป็นแกนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

๑.๔ สืบทอดและพัฒนาภาษาถิ่น ภาษาชาติรวมทั้งกริยามารยาทที่ดี เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่สามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างสันติ

๑.๕ รักษารูปแบบศิลปะและการละเล่นตามเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้เป็นหลัก

๑.๖ รักษารูปแบบครอบครัว สังคม เครือญาติ และปกครองตนเองได้

๒. การปรับปรุงทางสังคม : เน้นหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม

๒.๑ เน้นคุณภาพของพลเมือง การปรับปรุงสิทธิมนุษยชนพื้นฐานให้ประชาชนในชาติเข้าใจคุณค่าของคน ค่านิยม วิถีชีวิตที่เป็นไทย

๒.๒ ปรับระบบพื้นฐานทางสังคมให้เหมาะสมกับยุคโลกาภิวัตน์ และยึดแนวทางเอกลักษณ์ของสังคมดั้งเดิมไว้ ไม่ให้สูญเสียรูปแบบที่มีความเอื้ออาทร และความอบอุ่นในครอบครัวเครือญาติ เพื่อนบ้านและชุมชน (ครอบครัวเข้มแข็ง)

๒.๓ ปรับระบบเศรษฐกิจเพื่อให้งานมีศักยภาพสามารถผลิตและใช้เอง ไม่ตกเป็นทาสทาง บริโภคตามแนวทางของประเทศทุนนิยม คือ “ ทำพอกินมีพอใช้ ”

๓. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

๓.๑ สร้างปัจจัยพื้นฐานทางสาธารณูปโภคโดยระมัดระวังไม่ให้เกินความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานของชุมชน

๓.๒ ในการพัฒนาเศรษฐกิจพยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยในการผลิตจากวัสดุในท้องถิ่นและให้สัมพันธ์กับเทคโนโลยีไทย

๓.๓ การพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นบ้าน จะต้องเป็นการพัฒนายั่งยืนไม่ทำลายสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา และเกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม

๓.๔ ต้องมีการกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม

๔. การพัฒนาทางการเมือง การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการแก้ไขสภาพทางสังคม จะต้องมีการกระจายอำนาจให้ประชาชน ในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจปกครองตนเอง รักษารูปแบบวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้โดย

๔.๑ การกระจายอำนาจให้องค์กรในท้องถิ่นพัฒนาตนเอง ภายใต้กรอบแผนงานโครงการที่ร่วมกันคิดร่วมกันสร้าง

๔. ๒ ลดบทบาทของอำนาจรัฐบาลและเปลี่ยนบทบาทของราชการจากการกำกับดูแลเป็นการเฝ้าระวังและการบริการ

๔.๓ สร้างความเสมอภาคและสมานฉันท์ให้เกิดการเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

๔.๔ ให้ท้องถิ่นดำเนินการฟื้นฟูวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ดีงาม เพื่อรักษาเอกลักษณ์ตนเองไว้โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การกำหนดนโยบายพัฒนาวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบและกระบวนการตามวัฏจักรการดำเนินงานจัด องค์กรให้ชัดเจน ใครมีบทบาทในส่วนไหนและควรทำอย่างไร และฝึกบุคลากรรวมทั้งองค์กรในท้องถิ่นให้ชำนาญในการบริหารและจัดการ

วัฒนธรรมประจำชาติคืออะไร

ฉะนั้นการที่จะให้วัฒนธรรมไทยดำรงอยู่อย่างมั่นคงคู่ชาติไทยได้ ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจจาก ประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมไทยช่วยกันจรรโลง พัฒนาชาติให้คงความเป็นชาติไทย ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ดำรัสว่า “ อิฐเพียงแผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่เราจะได้ช่วยกันรักษาไว้ ” เปรียบเหมือนวัฒนธรรมไทยเป็นของคนทั้งชาติ จึงควรมีการร่วมมือกัน อนุรักษ์ พัฒนาให้เจริญงอกงามทัดเทียมอารยะประเทศ ดังข้อคิดของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตตโต) ได้ให้คำจำกัดความ “ วัฒนธรรม ” ว่า “ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามสืบมา และเป็นเนื้อตัวของความเจริญงอกงามที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็น พื้นฐานของความเจริญงอกงามต่อไป ตลอดจนเป็นเครื่องวัดระดับความเจริญงอกงามของสังคมนั้น ๆ ” ซึ่งความหมายของวัฒนธรรมในทัศนะของท่าน หมายถึง “ ตัววัฒนธรรมที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ชีวิตของประชาชนนั่นเอง ”

วัฒนธรรมประจําชาติความหมายว่าอย่างไร

วัฒนธรรมประจำชาติ หมายถึง วัฒนธรรมที่รัฐกำหนดและมอบหมายให้คนไทยในชาติประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เช่น ภาษาไทย ประกอบด้วยภาษาไทยกลาง ภาษาถิ่นต่างๆ (เหนือ ใต้ อีสาน ) ภาษาประจำชาติคือภาษาไทยกลางที่ใช้ในราชการ วัฒนธรรมประจำชาติ คือวัฒนธรรมร่วมของคนทุกหมู่เหล่า จึงเป็นผลงานการสร้างสรรค์และเผยแพร่วัฒนธรรมคือ ราชสำนักและวัด (วัด ...

วัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญมีอะไรบ้าง

๒.๒ แนวทางปฏิบัติด้านมารยาทและวัฒนธรรม วันสำคัญของชาติ.
ธงชาติไทย.
เพลงชาติไทย.
วันชาติไทย.
การเคารพธงชาติ การเชิญธง เก็บธง ๔.๑ การประดับธง ๔.๒ ธงสถาบัน ๔.๓ ธงชาติ ๔.๔ ธงศาสนา.
เอกลักษณ์ประจำชาติ.

วัฒนธรรมประจําชาติมีความสําคัญอย่างไร

วัฒนธรรม เป็นความมั่นคงของชาติดังกล่าวมาแล้ว เพราะวัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดชนชาติ ชุมชนสังคม และเผ่าพันธุ์มนุษย์ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์และวิถึชีวิตของตนเอง บ่งบอกถึงรากเหง้าพื้นฐานของความเป็นชาติ สืบทอดจากบรรพบุรุษตั้งแต่อดีตกาล วัฒนธรรมเป็นศักดิ์ศรีของความเป็นชาติ มรดกทางวัฒนธรรม มีความสำคัญ มีคุณค่าที่ต้อง ...

รักษาวัฒนธรรมประจำชาติมีความหมายว่าอย่างไร

หมายถึง เรียนรู้ อนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาไทย และภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทย เช่น เป็นเด็กดีมีมารยาท มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ เข้าร่วมกิจกรรมหรือจัดงานที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย หากมีโอกาสก็แนะนำหรือเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก