โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีอะไรบ้าง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ นอกจากการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม การวางโครงสร้างด้านการคมนาคมทั้งทางถนน ระบบราง และทางอากาศ ไปจนถึงการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เพื่อดึงดูดการลงทุนให้เข้ามาในพื้นที่แล้ว การพัฒนาระบบ ‘โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล’ และบริการด้านดิจิทัลให้รองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมมือกันสร้างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โดยล่าสุด ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบรายการประกอบแผนผังท้าย (ร่าง) ประกาศ กพอ.เรื่องแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคเขตอีอีซี โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) นำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ ในร่างดังกล่าวครอบคลุมรายการประกอบแผนผังระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงระบบการควบคุมและขจัดมลภาวะ ซึ่งระบุถึงพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านดิจิทัลเพื่อรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

หนึ่ง ประเภทโครงสร้างพื้นฐานใหม่ คือ โครงการสถาบัน IoT 2 แห่งของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

และ สอง ประเภทโครงสร้างพื้นฐานเดิม คือ สถานีดาวเทียมศรีราชา 1 แห่ง โดยจะทำให้การพัฒนาการสื่อสารข้อมูลเคลื่อนที่ความเร็วสูง รองรับอุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีเสถียรภาพ


DEPA รับนโยบายรัฐ เดินหน้าเต็มสูบ สร้าง ‘โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล’ ดันโปรเจ็กต์ ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ @ EECd

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) อัปเดตสถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับการสร้าง ‘โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล’ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ อย่าง โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ว่า

“ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบหมายให้เร่งโครงการไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 30 ไร่ ของเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลประเทศไทย (อีอีซีดี) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยตั้งสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อบริหาร “ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์” ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และจะแล้วเสร็จภายใน 3 ปี”

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีอะไรบ้าง
นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์

“สำหรับ โปรเจกต์ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้สตาร์ทอัพไทยขยายผลทางธุรกิจเชิงนวัตกรรมเทคโนโลยี และเอื้อให้นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานของการผลิตสินค้า และการออกแบบเทคโนโลยี เช่น เอไอ ไอโอที”

“ส่วนสถาบันไอโอทีฯ ก็จะมีหน้าที่หลักในการผลักดันการลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยการสร้างอีโคซิสเท็มเพื่อดึงดูดการลงทุน 5 กลุ่มหลัก คือ ซอฟต์แวร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ ฮาร์ดแวร์ สมาร์ทดีไวซ์ (อุปกรณ์อัจฉริยะ) อุปกรณ์การสื่อสาร และการให้บริการด้านดิจิทัล

“โดยการลงทุนทั้ง 5 กลุ่มนี้ จะต้องอยู่ภายใต้การลงทุนการค้า การพัฒนานวัตกรรมของกรอบเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เทคโนโลยี 5G แอปพลิเคชัน ไอโอที ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) บิ๊กดาต้า วีอาร์ เออาร์ (โลกเสมือนจริง) ซอฟต์แวร์ คอนเวอร์เจนต์และฮาร์ดแวร์ดีไซน์”


เปิดกว้างให้สตาร์ทอัพไทย – ต่างประเทศมาลงทุน ธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่

ส่วนการดึงดูดการลงทุน ผู้อำนวยการดีป้าให้ข้อมูลว่าจะเน้นไปที่ การเปิดกว้างและดึงดูดทั้งสตาร์ทอัพไทยและบริษัทรายใหญ่ของต่างชาติ โดยสำหรับ สตาร์ทอัพไทย ตั้งเป้าหมายการส่งเสริมไว้ในระยะยาว คือ เพื่อขยายไปสู่ตลาดโลกด้วย ซึ่งขณะนี้เข้าไปสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย 50 รายแล้ว โดยเน้นไปที่ 5 เทรนด์ธุรกิจหลัก ได้แก่ ฟินเทค เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีเกษตร เทคโนโลยีแปรรูปเกษตร และเทรดแอนด์เซอร์วิสเทคโนโลยี

“ที่ผ่านมา เราได้ไปโรดโชว์ดึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฮเทครายใหญ่ที่จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ มีบริษัทเป้าหมาย 10 ราย ซึ่งดำเนินธุรกิจทั้งในด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม คลาวด์เซอร์วิส เทคโนโลยีเดต้า และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรม รวมถึงกำลังเจรจากับกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัล 3 มิติ เทคโนโลยีเอไอ และไอโอที ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มสูงที่ธุรกิจเหล่านี้จะตอบรับเข้ามาลงทุนใน ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์”

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีอะไรบ้าง

“โดยบริษัทขนาดใหญ่ทั้ง 10 ราย ที่ทางดีป้าวางแผนว่าจะดึงเข้ามาลงทุนในไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ จะเป็นบริษัทที่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่ 500 ล้านบาท ไปจนถึงกว่าพันล้านบาทต่อราย และได้ตั้งเป้าหมายว่าจะจับคู่บริษัทขนาดใหญ่นี้กับสตาร์ทอัพไทยทั้ง 50 ราย เพื่อให้เกิดการดีไซน์และต่อยอดเป็นสินค้าใหม่ขึ้นมา”

นอกจากนั้น ในบทสัมภาษณ์คุณณัฐพล ยังได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจถึงการพัฒนาให้เกิดสตาร์ทอัพไทยในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไว้ด้วย

“สตาร์ทอัพทั้ง 50 ราย จะโตขึ้นได้ต้องทำงานร่วมกันกับบริษัทใหญ่ที่มีเทคโนโลยี ซึ่งทางฝั่งของบริษัทใหญ่ที่จะมาลงทุนในไทย ก็คงไม่ใช่มาลงทุนแค่ตั้งโรงงาน แต่เขาก็ต้องมองว่าการมาลงทุนขยายฐานการผลิตนั้นจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดสู่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจเขาหรือไม่ เพราะต้องอย่าลืมว่า บริษัทที่มีขนาดใหญ่ระดับโลกเหล่านี้จะตั้งฐานการผลิตที่ใดก็ได้ในโลกที่มีต้นทุนการก่อตั้งบริษัทสาขาในระดับต่ำ หรือในอัตราที่รับได้”

“ทั้งนี้ ถ้าเราสามารถดึงเอาบริษัทใหญ่เข้ามาลงทุนในไทยได้ตามแผนที่วางไว้นี้ ก็ต้องเข้ามาลงทุนเพื่อเป็นฐานการผลิตด้านธุรกิจสร้างสรรค์จากไอเดียใหม่ โดยจะต้องให้สตาร์ทอัพไทย 50 ราย ไปเจอกับบริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้ แล้วมาใช้พื้นที่นี้เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ทดสอบตลาดภายในประเทศ และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดโลก ถ้าทำอย่างนี้ได้ จะทำให้สตาร์ทอัพของไทยขยายขนาดตลาดไปสู่ตลาดโลกได้ไม่ยาก”

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีอะไรบ้าง

“เพราะไม่เช่นนั้นไทยจะเป็นได้เพียงฐานการผลิตเพียงอย่างเดียว และรอให้บริษัทต่างชาติมาตั้งโรงงาน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด” ผู้อำนวยการดีป้าย้ำชัดเจน

“ในอีกด้านหนึ่ง ก็ต้องทำให้ทั้ง 2 ส่วนผสมร่วมกันทำงาน ซึ่งโมเดลนี้ทางสิงคโปร์ทำอยู่ แต่โมเดลสิงคโปร์สมัยก่อนเน้นเพียงกลุ่มฟินเทค มาช่วงหลังถึงมาเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพราะมีเครื่องจักรอัตโนมัติ หุ่นยนต์ที่ทำงานใกล้ชิดมนุษย์ อุปกรณ์ติดตัวมนุษย์ ทำให้อุปกรณ์อัจฉริยะมากขึ้น โดยใส่เอไอและซอฟต์แวร์เข้าไป”

“ดังนั้น จากสถานการณ์ที่เล่ามานี้ เราจะปล่อยให้สิงคโปร์ทำ แล้วไทยเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตแค่นั้นหรือ ผมมองว่าอยากให้สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ดีไซน์เองและรับผลิตด้วย เราถึงจะสู้สิงคโปร์ได้ โดยสตาร์ทอัพไทยจะต้องร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ในการออกแบบ ด้วยการใช้พื้นที่ ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ ในการพัฒนาสินค้าใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มาออกแบบให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี”

ที่สุดแล้ว ดีป้าวาดหวังว่า ไทยแลนด์ ดิจิทัล วัลเลย์ จะส่งผลทางเศรษฐกิจเกิดการลงทุนทางตรงจากภาครัฐ 4,000 ล้านบาท การลงทุนทางตรงของภาคเอกชน 4,000 ล้านบาท รวมแล้วเกิดการลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท นำไปสู่การหมุนเวียนด้านการลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท ทำให้เกิดการขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลอีกมาก และจะขยายผลต่อในด้านการใช้ประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 3 เท่าของ 20,000 ล้านบาท จากการผลิตสินค้าต่างๆ ให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย


ที่มา : รายงานข่าว “เร่งโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ดึงต่างชาติหนุน สตาร์ทอัพ” โดย วัชร ปุษยนาวิน (เผยแพร่ใน เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ 4 ตุลาคม 2562)


อัปเดตอีกหลากหลายโครงการ สร้างอนาคตทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ดันภารกิจ เร่งปั๊มบุคลากรไมซ์มืออาชีพ ขานรับ ธุรกิจไมซ์ MICE ภาคตะวันออก บูม

ท่าเรือฯ มาบตาพุด เฟส 3 บทพิสูจน์ PPP ‘รัฐ กับ เอกชน’

โลกเปลี่ยน การศึกษาต้องเปลี่ยน! อย่าวนเวียนสนใจอยู่แค่ ‘การจัดอันดับสถานศึกษา’

Post Views: 4,379

  • TAGS
  • 10 S-curve
  • iot
  • New s-curve
  • อุตสาหกรรมดิจิทัล

Previous articleปฏิปักษ์ทางการเมือง กับ ระบบราชการที่อ่อนล้า สองส่วนที่ฉุดรั้ง “ความก้าวหน้าใหม่”

Next articleผนึกกำลังนักวิจัยไทย สู้ ‘วิกฤตน้ำ’ ตั้งเป้า 3 ปี เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำระดับชาติครบทุกมิติ

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีอะไรบ้าง

Praornpit Katchwattana

https://www.salika.co

เริ่มต้นขีดเขียนในฐานะ สื่อมวลชน กับงานผู้สื่อข่าวประจำกองประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี 2546 ก่อนไปหาประสบการณ์ชีวิตที่เมลเบิร์น ออสเตรเลียมา 1 ปี และกลับมายึดอาชีพ “นักเขียน” จริงจัง กับการเป็น กองบรรณาธิการนิตยสารชีวจิต 3 ปี หลังจากนั้นคิดว่าน่าจะเปลี่ยนสายไปทำงานในบริษัท PR agancy ได้ 6 เดือน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกจริต เลยออกมาเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารฟีลกู้ดอย่าง Happy+ อยู่ 1 ปี สัมภาษณ์ทั้งดาราและคนบันดาลใจ ก่อนเข้าสู่ระบบงานประจำอีกครั้งกับนิตยสาร MBA กับการเป็นนักเขียนที่รับผิดชอบในเซคชั่นหลักสูตร MBA ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สั่งสมประสบการณ์อยู่ 3 ปี ก็ได้เวลา Upskill สู่งาน Online content writer ที่ใช้ความชอบและความหลงใหลในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ความรู้ใหม่ๆ ในยุค Education 4.0 อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ข้อใดคือความหมายของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) โทรคมนาคม (Telecommunication) และการแพร่ภาพกระจายเสียง (Broadcast) รวมทั้งการหลอมรวมของเทคโนโลยี (Convergence) ทั้งสามด้านที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Hard Infrastructure) หรือการพัฒนาด้านโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัล ทั้งด้านโทรคมนาคมและการแพร่ภาพกระจายเสียง เพื่อให้ประเทศไทยมี โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่มีขนาดที่พอเพียงกับการใช้งาน มีเสถียรภาพที่ มั่นคง ในราคาที่เหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การต่อยอดกิจกรรมการพัฒนาประเทศ ...

โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการ (Service Infrastructure) มีกี่แบบอะไรบ้าง

1.บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Services) การบริการโครงสร้างพื้นฐาน หมายถึงเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นในการประยุกต์กับการจัดการความรู้ มี 2 ประเภท คือ เทคโนโลยีสำหรับการจัดเก็บ และเทคโนโลยีสำรับการสื่อสาร

Digital Society & Knowledge Resource คืออะไร

การสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาและการพัฒนาคลังทรัพยากรสารสนเทศของประเทศ (Digital Society & Knowledge Resource) คือการสร้างสังคมดิจิทัลทั่วถึงเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการ ของรัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง เท่าเทียมกันผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งมีพลเมืองดิจิทัลที่ฉลาด รู้เท่ากันข้อมูล ...