แฟ รน ไช ส์ ของ CP มีอะไรบ้าง

แฟ รน ไช ส์ ของ CP มีอะไรบ้าง

แฟรนไชส์ 'ห้าดาว' ของค่าย CPF หรือ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ถือเป็นธุรกิจเก่าแก่ที่อยู่คู่สังคมไทยและสร้างรายได้ สร้างคนไทยมานาน ด้วยรสชาติของเมนูไก่และเมนูอื่นๆ ที่คัดสรรมาเสิร์ฟคนไทย ล่าสุด CPF ประกาศรีแบรนด์ 'ห้าดาว' เป็น FIVE STAR อีกทั้งหนุนยุทธศาสตร์เดินคู่กับแฟรนไชส์เครื่องดื่ม STAR COFFEE เพื่อที่จะทำแคมเปญร่วมกันแบบ Cros-Selling ได้ง่าย กับมีบริการ STAR DELIVERY เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุค New Normal

แฟ รน ไช ส์ ของ CP มีอะไรบ้าง
        

FIVE STAR โฉมใหม่

ด้วยเป้าหมายของการรีแบรนด์ 'ห้าดาว' เป็น FIVE STAR ที่ต้องการให้คนรุ่นใหม่ บัณฑิตจบใหม่เข้ามาลงทุนสร้างธุรกิจและสร้างรายได้ของตนเองร่วมกับ CPF อีกทั้งทายาทของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์เดิมก็มีความภูมิใจที่จะสานต่อกิจการของคนรุ่นพ่อแม่ ซึ่งการรีแบรนด์ครั้งนี้ถือเป็นการยกเครื่องก็ว่าได้ เพราะเป็นการปรับภาพลักษณ์ ปรับยุทธศาสตร์ทุกมิติแบบ 360 องศาทั้งตัวเฟรนไชส์ บุคลากร ระบบโลจิสติกส์และบริษัท ทำให้สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนของ FIVE STAR คือ ภาพลักษณ์ของความทันสมัย และภาพลักษณ์ทางด้านสุขอนามัย ตลอดจนเมนูที่เพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์ที่มีในเครือข่ายของ CPF เอง

"เรามีความคาดหวังด้วย เราจะสามารถสร้างธุรกิจครอบครัวที่มีการรับช่วงธุรกิจ จากรุ่นสู่รุ่นในกลุ่มคนที่ซื้อแฟรนไชส์ของเรา ด้วยโจทย์ของการสร้างแบรนด์ FIVE STAR ให้เป็นแบรนด์ที่คนเหล่านี้มีความภาคภูมิใจเมื่อกล่าวถึง" สุนทร จักษุกรรฐ์  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจห้าดาว บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กล่าว

แฟ รน ไช ส์ ของ CP มีอะไรบ้าง

ทั้งนี้ คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาเป็นทำแฟรนไชส์ FIVE STAR ปัจจุบันมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนจบแล้วมาซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้ประกอบการ และกลุ่มทำงาน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่ยังทำงาน แต่ต้องการหารายได้เสริม กับกลุ่มที่ออกจากงานแล้ว ซึ่งกลุ่มหลังมีไม่มากนัก

ผลลัพธ์ของการปรับใหญ่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ FIVE STAR ปรับลดร้านค้าแบบรถเข็นและทำร้านในสองรูปแบบคือ แบบ Restaurant ขนาด 20-50 ตารางเมตร และแบบ Premium Kiosk ขนาด 9 ตารางเมตร        

แฟ รน ไช ส์ ของ CP มีอะไรบ้าง

เดินคู่ STAR COFFEE

นอกจากความได้เปรียบของ CPF จะอยู่ที่ความหลากหลายของอาหารแล้ว CPF ยังเป็นบริษัทที่มีแฟรนไชส์ทั้งอาหารและเครื่องดื่มทำให้มองยุทธศาสตร์ในองค์รวม ด้วยการผนึกทั้ง FIVE STAR และ STAR COFFEE สองแฟรนไชส์นี้ให้เดินเคียงคู่กัน เสริมแรงซึ่งกันและกัน

สุนทรกล่าวว่า ร้านที่จะทำได้ทั้งสองแนวคิดนี้จะต้องเป็นร้านที่มีพื้นที่ 80-100 ตร.ม.ขึ้นไป สาเหตุที่เรามองว่า สองธุรกิจนี้จะต้องเดินคู่กัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ธุรกิจเครื่องดื่มได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มกลุ่มชานม กาแฟ โดยผู้บริโภคอาจจะประหยัดด้วยการซื้อชา กาแฟในราคาที่ถูกลงหรือชงเอง ดังนั้น การใช้แบรนด์ FIVE STAR ที่เป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วเข้ามาช่วยแบรนด์ STAR COFFEE เสมือนเป็นแบรนด์แม่ที่เข้ามาช่วยแบรนด์ลูก และทำโปรโมชั่นร่วมกัน เช่นใช้บิลของไก่ย่างมาแลกซื้อกาแฟหรือแลกเป็นส่วนลด เนื่องจากพฤติกรรมคนที่เข้าร้านกาแฟจะเลือกนั่งร้านที่ไม่มีกลิ่นอาหาร ร้านต้องมีบรรยากาศ  ฉะนั้น ในอนาคตเราจะไม่ทำร้านแบบ 'ช้อปอินช้อป' แล้ว แต่ให้เป็นร้านที่ตั้งข้างๆ กัน หรือสามารถเชื่อมทะลุถึงกันได้ แต่จะให้ดีที่สุดคือกั้นให้แยกกัน 

แฟ รน ไช ส์ ของ CP มีอะไรบ้าง

ราคาประเมินงบลงทุน ของ  STAR COFFEE แบบเคาน์เตอร์ 3.06 แสนบาท และร้าน 6.06 แสนบาท ประกอบด้วย

  • ค่าธรรมเนียม (Franchise Fee) 5,000 บาท (ไม่มีค่าต่อสัญญา)
  • ค่าเปิดบริการจุดใหม่ 1,000 บาท 
  • ฟรี ค่าออกแบบร้านมูลค่า 10,000 บาท และ ค่าฝึกอบรม 500 บาท
  • ค่าก่อสร้าง งานตกแต่ง งานระบบ เฟอร์นิเจอร์  เคาน์เตอร์ 3 แสนบาท,ร้าน 6 แสนบาท (ขื้นกับพื้นที่ใช้งาน)
  • ค่าการตลาด 1.5% (มูลค่าสินค้า) + ค่าการตลาดธุรกิจกาแฟ 2,000 บาท/เดือน

 ทั้งนี้ เงินลงทุนไม่รวมเงินทุนหมุนเวียน สินค้าและอุปกรณ์ชุดแรก Barista Tool 50,000 บาท

แฟ รน ไช ส์ ของ CP มีอะไรบ้าง
        

อนาคตลิขิตร่วมกัน   

การลิขิตอนาคตกับค่าย CPF นั้น สุนทรกล่าวว่า "เป็นการลงทุนที่ใช้เงินไม่มากคืนทุนได้เร็วที่สำคัญเรามีองค์ความรู้เรื่องของการหาและวิเคราะห์ทำเล ฉะนั้นความเสี่ยงตรงนี้จะต่ำ นอกจากนี้เรายังมี 'กลยุทธ์ 3 เปลี่ยน' เปลี่ยนธุรกิจ - เปลี่ยนผู้ประกอบการ - เปลี่ยนทำเล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเฟรนไชส์อีกด้วย โดยเราจะคิดว่าทำอย่างไรให้เสียหายน้อยที่สุด จุดไหนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เราก็มาใช้กลยุทธ์ 3 เปลี่ยน ทำให้คนที่เข้ามาเป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ยกเว้นบางกรณีที่ผู้ประกอบการเค้าไม่เอาแล้ว - พอแล้ว ทั้งนี้ คนที่เข้ามาแล้วมีปัญหา เราไม่ได้ทิ้ง สำหรับจุดไหนที่มียอดขายเริ่มไม่ค่อยดี เราก็จะไปเจรจาว่าย้ายดีหรือไม่ มาปรับเป็นรูปแบบใหม่ดีหรือเปล่า มีความพร้อมหรือไม่ ฯลฯ ประเด็นพวกนี้ เราจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ทอดทิ้งผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์"  

'กลยุทธ์ 3 เปลี่ยน' ที่ CPF ใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ คือ

  • เปลี่ยนธุรกิจ เช่น บางทำเลอาจไม่เหมาะกับข้าวมันไก่ อาจจะเอา FIVE STAR ไปแทน ถ้าหากพิจารณาแล้วเห็นว่า ธุรกิจนั้น โอเค  
  • เปลี่ยนผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการบางคนไม่มีเวลาที่จะให้กับการทำธุรกิจ เมื่อต้องทำธุรกิจจริงๆ ดังนั้น เมื่อไม่มีความพร้อม เราก็จะหาคนที่จะเข้ามาแทน เนื่องจากบางคนอาจจะไม่ชอบการบริการ หรือเมื่อต้องทำร้านอาหารแล้วทำไม่เป็น ทำไม่ได้      
  • เปลี่ยนทำเล หลังจากนี้  CPF จะพยายามเปิดให้เร็ว ก่อสร้างต้องเสร็จภายใน 10 วัน ด้วยรูปแบบของชิ้นส่วนที่ทำให้เป็นน็อกดาวน์ให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถย้ายทำเลไปได้สะดวก

สำหรับผู้ที่สนใจทำธุรกิจกับ Five Star

สอบถามรายละเอียดได้ที่ www.fivestar.in.th หรือโทร 02-800-8000

นอกจากนี้ ยังสามารถค้นหาแรงบันดาลใจและความรู้ในการทำธุรกิจจากบทเรียนอื่นๆ ได้ที่ 

www.fivestar-class.com

[อ่าน 4,977]