การเป็นพลเมืองดีมีอะไรบ้าง

การขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย

ความหมายของ “พลเมืองดี” ในวิถีชีวิตประชาธิปไตย

          พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ  ดังนี้

          “พลเมือง”  หมายถึง  ชาวเมือง  ชาวประเทศ  ประชาชน

          “วิถี”  หมายถึง  สาย  แนว  ทาง  ถนน

          “ประชาธิปไตย”  หมายถึง  แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่

          ดังนั้นคำว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย

หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ  ได้แก่

                   1) หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึง  ประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ

                   2) หลักความเสมอภาค  หมายถึง  ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย  ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ  ได้แก่  มีสิทธิเสรีภาพ  มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือการเลือกปฏิบัติ  ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า

                   3) หลักนิติธรรม  หมายถึง  การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม

                   4) หลักเหตุผล  หมายถึง  การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม

                   5) หลักการถือเสียงข้างมาก  หมายถึง  การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ครอบครัวประชาธิปไตย  จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ  ได้อย่างสันติวิธี

                   6) หลักประนีประนอม  หมายถึง  การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน  ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมเพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมได้

แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ

1) ด้านสังคม  ได้แก่

          (1) การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล

               (2) การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น

               (3) การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า

               (4) การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

               (5) การเคารพระเบียบของสังคม

               (6) การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ

2) ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่

               (1) การประหยัดและอดออมในครอบครัว

               (2) การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ

               (3) การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า

               (4) การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

                (5) การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

               (6) การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี   มีความซื่อสัตย์  ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ

3) ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่

               (1) การเคารพกฎหมาย

               (2) การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

               (3) การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า

               (4) การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

 (5) การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา

          (6) การทำงานอย่างเต็มความสามารถ  เต็มเวลา

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการ ดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
          ๑. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  ได้แก่  การลดความเห็นแก่ตัว  และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม  ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ  เช่น  ตู้โทศัพท์สาธารณะ  ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน  เป็นต้น  ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  เช่น  ป่าไม้  แม่น้ำลำธาร  เป็นต้น  รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
          ๒. วินัย  ได้แก่  การฝึกกาย  วาจา และใจ  ให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม  เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
          ๓. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ได้แก่  การเอาใจใส่  ตั้งใจ  และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ  ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
          ๔. ความอดทน  ได้แก่  การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น  ไม่หุนหันพลันแล่น  สามารถคาบคุมอารมณ์  และพฤติกรรมให้เป็นปกติ  เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
          ๕. การประหยัดและอดออม ได้แก่  การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า  และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น  ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
          ๖. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ได้แก่  การมีจิตใจเปิดเผย  รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
          ๗. ความสื่อสัตย์สุจริต  ได้แก่  มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ  ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง  ไม่ทำแบบ  “คดในข้อ  งอในกระดูก”  นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน  ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
          ๘. การอนุรักษ์ความเป็นไทย  ได้แก่  มีจิตสำนึกในความเป็นไทย  เช่น  พูด  เขียน  และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง  อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  และนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์  รวมทั้ง คิดค้นปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม และการเมืองตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง  ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การเป็นพลเมืองดีตามวิถึประชาธิปไตย

วิถีประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สังคมโลกส่วนใหญ่ ให้การยอมรับ โดยยึดหลักว่าเป็นการปกครองเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ยึดถือประชาชนเป็นใหญ่ สังคมประชาธิปไตยในแต่ละประเทศจึงมีความคล้ายคลึงกัน เช่น
          1. การยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย โดยมีหลักการว่า ความคิดเห็นของคนในสังคมย่อมแตกต่างกัน เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นแล้ว จะต้องยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ที่มีพื้นฐานของเหตุและผล ขณะเดียวกันก็ยอมรับเสียงส่วนน้อย โดยไม่มองว่าเป็นความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องหรือมองเห็นเป็นข้อขัดแย้ง
          2. การมีเสรีภาพในการแสดงออกทางด้านต่าง ๆ เช่น แสดงความคิดเห็น การเขียน การพูด การพิมพ์ การชุมนุมประท้วง เป้ฯต้น โดยการแสดงออกเหล่านี้ต้องมีความชอบธรรม เพื่อประโยชน์และความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก
          3. เคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในทางชอบธรรม โดยมีหลักการว่า บุคคลในสังคมประชาธิปไตยต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาพโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ภาษา เพศหรือสภาพทางกาย
          4. การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม บุคคลในสังคมประชาธิปไตยควรมีส่วนร่วมในสังคมอย่างชอบธรรม เช่น การคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การออกเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เป็นต้น
          5. การยึดมั่นในหลักเหตุผล คือ การแก้ไขปัญหาหรือหารือข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ต้องยึดหลักเหตุผลโดยชอบธรรมเป้ฯเกณฑ์ในการตัดสินใจเสมอ
          6. การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น จะใช้กติกาของสังคมในรูปวิถีประชา จารีตประเพณี กฎหมาย มาตัดสินโดยไม่ใช้ความรุนแรง
          7. การเคารพในหลักอธิปไตยของรัฐ คือ การไม่กดขี่และเอารัดเอาเปรียบรัฐอื่น ไม่คุกคามรัฐอื่นโดยใช้กำลัง ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน หลีกเลี่ยงการทำสงครามและการทำลายล้างโดยใช้อาวุธสงครามทุกรูปแบบ
          หลักการเหล่านี้เป็นบรรทัดฐานที่ประเทศที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแนวเดียวกัน

พลเมืองที่ดีควรมีหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ของพลเมืองดี ที่พึงปฏิบัติ คือ นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่าประโยชน์ส่วนตน.
ให้ทราบถึงบรรทัดฐานของสังคม.
รู้จักการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น.
ต้องเคารพกฎหมาย มีระเบียบวินัย ตามที่สังคมได้วางไว้.
ปรับทัศนคติและค่านิยมที่ดีในสังคม.

หน้าที่พลเมืองดีมีอะไรบ้าง 10 ข้อ

คุณธรรมของ การเป็นพลเมืองดี.
การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม.
การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่.
รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก.
ความซื่อสัตย์สุจริต.
ความสามัคคี.
ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว.
ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง.
การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ.

พลเมืองดีมีคุณลักษณะอะไรบ้าง

๑. เคารพในสิทธิและเสรีภาพ ของผู้อื่น ๒. ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กติกา ของสังคม และปฏิบัติตามกฎหมาย ๓. มีเหตุผล เมื่อมีความเห็นที่ แตกต่างกับผู้อื่น และยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น ๔. เป็นผู้มีน้าใจ รู้จักเสียสละ ผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ ส่วนรวม คุณลักษณะของพลเมืองดี

เราจะปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีอย่างไร

คุณธรรม คือ หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 1. ความเอื้อเฟื้อ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก 4. ความซื่อสัตย์สุจริต 5. ความสามัคคี 6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทําชั่ว 7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง ...