รหัส ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อะไร

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) 

 สาระสำคัญ 

     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้ว ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งานได้อย่างถูกต้อง 

 ความสำคัญและความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (E-mail = Electronic Mail) หรือเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการรับและส่งข้อมูลเหมือนกับการติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์ ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนข้อความลงในกระดาษ แล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์ 

     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือสำนักงานโดยใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้าง ขึ้นเพื่อใช้เฉพาะภาย ในบริษัทหรือสำนักงาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ได้ 

ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

   ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีที่อยู่ของตนเอง และรู้ที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสาร 

เมื่อต้องการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ เพื่อจะได้ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ชื่อ แอท โดเมนเนม และรหัส 

•ชื่อหรือยูเซอร์เนม (User Name) คือ ชื่อของสมาชิกที่ใช้สมัครหรือลงทะเบียน อาจเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อบริษัท หรือชื่อสมมุติก็ได้ 

•แอท คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเอที่มีวงกลมล้อมรอบ @ ซึ่งมาจาก แอทซาย (at sing) ในภาษาอังกฤษ 

• โดเมนเนม (Domain Name) คือ ที่อยู่หรือชื่อของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมัครเป็นสมาชิกไว้ เพื่ออ้างเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ 

•รหัสคือข้อมูลบอกประเภทขององค์กรและประเทศของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น .com หมายถึง องค์การธุรกิจการค้า หรือ .co.th หมายถึง องค์การธุรกิจการค้าในประเทศไทย เป็นต้น ข้อดีและข้อจำกัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 



รหัส ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อะไร


ข้อดีของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

-ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 

-สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว 

-ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น 

-ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น 

-ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม 

-สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน 

-เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง 

-ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

-ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่ โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ 

-มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยัง ไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด 

รหัส ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อะไร

ข้อจำกัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

-ผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของเว็บไซต์ที่สมัครเป็นสมาชิก เป็นต้น 

-ผู้ใช้ต้องมีอีเมล์แอดเดรส จึงจะสามารถใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ 

-เครื่องคอมพิวเตอร์เสี่ยงกับการติดไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์จะมากับจดหมายหรือข้อมูลที่ส่งมาก เมื่อผู้ใช้เปิดอ่านจดหมายนั้นก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ 

-ข้อมูลที่ส่งไปอาจไม่ได้เปิดอ่านในทันที เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปจะไปอยู่ในที่ให้บริการจนกว่าผู้ใช้จะเปิดอ่านข้อมูลนั้น ซึ่งผู้ใช้หลายๆ คนอาจจะไม่ตรวจสอบว่ามีข้อมูลใหม่ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกวันเป็นผลให้ข้อมูลตกค้างและล่าช้า 

-ขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถรับและส่งได้จากทุกคนทั่วโลก ข้อมูลที่ได้รับจึงไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร 

-ไม่มีความแน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ หากเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นเกิดชำรุดเสียหาย หรือปิดให้บริการ ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นก็จะหายไปด้วย 

-เป็นช่องทางในการโจรกรรมข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดใช้ 

-มีข้อจำกัดในการรับและส่งข้อมูล ซึ่งแล้วแต่ข้อตกลงระหว่างผู้ใช้และเมล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น ปริมาณหรือจำนวนของข้อมูลที่สามารถเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ ระยะเวลาในการให้บริการในกรณีที่ผู้ใช้ขาดการติดต่อกับเมล์เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น

การติดต่อสื่อสารและการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) 

ทำความรู้จักกับ อีเมล์ (E-mail) และวิธีการใช้งานในเบื้องต้น 

 อีเมล์ (E-mail) หรือ Electronics Mail หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกันประเภทหนึ่งคล้ายกับการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์ แต่อีเมล์นี้เป็นบริการที่สามารถทำการส่งข้อความ ไฟล์เอกสารของคอมพิวเตอร์ หรือรูปภาพต่างๆ ไปยังผู้รับปลายทาง (ที่ใช้บริการอีเมล์) ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้เพิ่มความสะดวกสบายได้มากขึ้น 

ประเภทของอีเมล์ที่ให้บริการฟรี 

เว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ที่ให้บริการฟรีมีอยู่มากมาย แต่ถ้าจะแยกประเภทของการใช้งาน สามารถแยกออกได้เป็น 2 แบบดังนี้ 

1. Web Base Mail เช่น อีเมล์ของ hotmail.com, yahoo.com, chaiyo.com หรือ email.in.th หากต้องการใช้งานอีเมล์เหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางหน้าเว็บเพจเท่านั้น ข้อดีคือ สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเปิดอ่านอีเมล์นั้นก็ได้ โดยไม่ต้องทำการตั้งค่าต่างๆ ในเครื่องให้ยุ่งยาก และไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมในการอ่านหรือรับส่งอีเมล์โดยเฉพาะอีกด้วย เพราะสามารถใช้โปรแกรมเบราเซอร์ที่มีอยู่ได้เลย ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ในการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม แต่ข้อเสียของ Web Base Mail คืออาจจะช้าและเสียเวลานานในการอ่านหรือรับส่งอีเมล์ได้ถ้าความเร็วของอินเทอร์เน็ตไม่มากพอ 

 2. POP Mail เช่น yahoo.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอีเมล์ ที่มีบริการการอ่านอีเมล์แบบ POP Mail ด้วย ในกรณีที่เลือกใช้งานอีเมล์ที่เป็นแบบ POP Mail ผู้ใช้จะต้องทำการติดตั้งโปรแกรมสำหรับรับ-ส่งอีเมล์ลงไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook เพื่อใช้สำหรับจัดการกับอีเมล์ แต่ต้องทำการตั้งค่าต่างๆ ของโปรแกรมที่ใช้รับ-ส่งอีเมล์ก่อนจึงจะใช้งานได้ แต่การใช้ POP Mail จะสะดวกกว่าการใช้งานแบบ Web Base Mail ในกรณีที่ต้องการอ่านอีเมล์ของเก่า เพราะเมื่อทำการเปิดโปรแกรมสำหรับการอ่านอีเมล์แล้ว โปรแกรมจะทำการดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดมาเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน ทำให้เราสามารถอ่านอีเมล์ได้แม้ว่าจะไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วก็ตาม 

คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการ รับ-ส่ง อีเมล์  

คำศัพท์แบบมาตรฐานทั่วๆ ไป ที่นิยมใช้ในการใช้งานอีเมล์ มีดังนี้ 

 - Inbox หมายถึงกล่องหรือที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา

 - Outbox หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น 

- Sent Items หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว

 - Delete Items หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่

 - Drafts หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ สำหรับใช้เก็บอีเมล์ต่างๆ ชั่วคราว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่ มีก็ได้ 

 - Compose / New Mail เป็นการส่งอีเมล์ใหม่ไปหาผู้อื่น 

- Forward เป็นการส่งต่ออีเมล์ที่ได้รับมานั้นไปหาผู้อื่น

 - Reply เป็นการตอบกลับอีเมล์ที่มีผู้ส่งมาถึงเรา

 - Reply All เป็นการตอบกลับอีเมล์ที่มีผู้ส่งมาถึงเราโดยจะตอบกลับไปยังทุกคนที่มีชื่ออยู่ใน อีเมล์ฉบับนั้น 

 - Subject หมายถึงหัวข้อของอีเมล์ที่เราจะเขียนหรือส่งออกไป - To หมายถึง ชื่อหรืออีเมล์ของผู้ที่เราต้องการส่งอีเมล์ไปหา 

 - CC หมายถึงการส่ง copy อีเมล์นั้นๆ ไปให้ผู้อื่นที่ต้องการด้วย

 - BCC หมายถึงการส่ง copy อีเมล์นั้นๆ ไปให้ผู้อื่นที่ต้องการ และไม่ให้ผู้รับคนอื่นมองเห็น ว่ามีการส่งไปให้ในช่อง BCC ด้วย 

 - Attach หมายถึงการแนบไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ฉบับนั้น

 - Address Book หมายถึงสมุดรายชื่อของอีเมล์ ที่เราสามารถเก็บไว้ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ชื่อว่าอะไร

จดหมายอีเลกทรอนิกส์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล์(E-mail) หมายถึง จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านระบบเครือข่าย เราสามารถส่งจดหมายไปให้ผู้รับซึ่งเป็นสมาชิกของระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา จดหมายจะส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที หรืออาจจะส่งจดหมายฉบับเดียวไปถึงผู้รับหลายคน ในเวลาเดียวกันก็ได้ ...

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนี้ SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) IMAP (Internet Message Access Protocol) MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (Electronic Mail หรือ E

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า e-mail หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (e-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์ ...