การทำร้ายร่างกายเป็นคดีอะไร

เรื่องของความรุนแรงในครอบครัว เป็นสิ่งที่เราเห็นในสังคมมานาน บางที่ถึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายกันก็มี คนที่ตกเป็นเหยื่อหลายรายไม่กล้าบอกความจริงกับญาติ หรือไม่กล้าเข้าแจ้งความเอาผิด ยิ่งถ้าคนนอกอยากเข้าไปช่วย แล้วกลับเจอประโยค “เรื่องผัวเมียอย่ามายุ่ง!!” เจอแบบนี้ไป น้อยคยนักที่จะกล้าเข้าไปยุ่ง แต่การที่สามีภรรยาทะเลาะกันเป็นปกติแบบนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง

การทำร้ายร่างกายเป็นคดีอะไร

การทะเลาะของสามีภรรยาถึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายกันถือว่ามีความ “ผิด” ตามประมวลกฎหมายอาญา กำหนดโทษของคดีทำร้ายร่างกาย โดยเจตนาไว้หลายระดับ ตามความหนักเบาของบาดแผลที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำต่อบุคคลเฉพาะที่กำหนดไว้ หรือมีพฤติกรรมพิเศษ ดังนี้

มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือ จิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยกตัวอย่างเช่น ตบหน้ามีรอยแดงๆ ชกต่อยเพียงฟกช้ำไม่มีเลือดไหล ศีรษะโน เป็นต้น

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าได้กระทำต่อบุคคลเฉพาะเจาะจง เช่น บุพการี เจ้าพนักงาน เป็นต้น หรือพฤติการณ์พิเศษ เช่น การวางแผนล่วงหน้า กระทำทารุณกรรม เป็นต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตราย สาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 200,000 บาท โดยกำหนดลักษณะบาดแผลซึ่งถือเป็นอันตรายสาหัสไว้ 8 ลักษณะ เช่น ตาบอด ใบหน้าเสียโฉมอย่างติดตัว แท้งลูก ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือทำงานไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นต้น

ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300

อ้างอิง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ,296,297,297,391
พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 (มาตรา 4, 23)
กฎหมายน่ารู้ : บ้านไม่ใช่เวทีมวย! เราจึงต้องช่วยหยุดความรุนแรง

กฎหมายน่ารู้คดีอาญาครอบครัวความรุนแรงทะเลาะทำร้ายร่างกายผัวผัวเมียตีกันภรรยาสามีเมีย

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

การทำร้ายร่างกายเป็นคดีอะไร

OJA

สำนักงานกิจการยุติธรรม ให้ความรู้กฎหมาย เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน

คดีทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายจะมีบทลงโทษเท่าไหร่และ มีอายุความยังไงมันมีความแตกต่างกันไปเนื่องจากในข้อหานี้ยังมีความหนักเบาแห่งข้อหาแตกต่างกันออกไปดังรายละเอียดกฎหมายดังนี้คือ

ในเรื่องบทลงโทษ ทำร้ายร่างกาย

1.ทำร้ายร่างกายตาม 295 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส ตาม 297 จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี

3.ทำร้ายร่างกายตาม 296 คือทำร้ายร่างกาย+ เหตุฉกรรจ์ตาม 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท

4.มาตรา 290 ทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย(เจตนาทำร้าย) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

แต่เห็นว่าคดี ทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย มีโทษแตกต่างกันออกไปตามแต่ละข้อหา

คดีทำร้ายร่างกายมีอายุความกี่ปี (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เมื่อมี บทลงโทษจำคุกแตกต่างกันออกไปจึงส่งผลให้มีอายุความแตกต่างกันออกไปด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี

(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี

(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี

(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

ประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 10 หมวด2 ความผิดเกี่ยวกับร่างกาย

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี

อันตรายสาหัสนั้น คือ

(1) ตาบอด[ถาวร] หูหนวก[ถาวร] ลิ้นขาด[ถาวร] หรือเสียฆานประสาท[ความสามารถในการดมกลิ่น]

(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์

(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด

(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว

(5) แท้งลูก

(6) จิตพิการอย่างติดตัว

(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต

(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 297 ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี

สำหรับเรื่องเหตุฉกรรจ์ ตาม มาตรา 289 ผู้ใด

(1) ฆ่าบุพการี

(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่

(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน[กว้างกว่า ป.วิอาญา 182] ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว

(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน[ประสงค์ต่อผลเท่านั้น - เจตนาเล็งเห็นผลไม่มีไตร่ตรอง]

(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย

(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ

(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้

การทำร้ายร่างกาย จะเข้าความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตราใด จึงต้องมาพิจารณาละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้งว่าผู้เสียหายมีอาการบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด มีการบาดเจ็บหรือไม่อาการใดที่แสดงว่าเป็นอาการบาดเจ็บสาหัส หรือมีเหตุฉกรรจ์ไหม เช่นทำร้ายพ่อแม่ ทำร้ายครูอาจารย์ ทำร้ายเจ้าพนักงาน หรือ ทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือโดยทรมาน หรือตัดเตรียมการ เพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอาญาอย่างอื่น ซึ่งจะมีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณามาก โดยดูข้อเท็จจริงในคดี เพื่อวินิจฉัยวิเคราะห์ต่อไป

ทำร้ายร่างกายติดคุกกี่เดือน

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทําร้ายร่างกาย ฟ้องได้ไหม

มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นโจทก์ฟ้อง คดีทำร้ายร่างกาย หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย

คดีบุกรุกทำร้ายร่างกายติดคุกกี่ปี

ว่าด้วยเรื่อง “บุกรุก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษอย่างไร? . ความผิดฐานบุกรุกเคหะสถาน ในเวลากลางคืน มีผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป และมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ .

ใครทำร้ายร่างกายดิว

โดยงานนี้สาว "ดิว อริสรา" ได้รับบาดเจ็บและกลายเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนปี 2564 ซึ่งนายสาคร ศิริชัย ทนายความส่วนตัวของสาว ดิว ได้เผยว่าพนักงานสอบสวน สน.ปากคลองสาน ได้แจ้งข้อหา นางสาวรัตน์ตินันท์ ฯ ฐานทำร้ายร่างกายต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนางสาวรัตน์ตินันท์ต่อศาลแขวง ...