สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกระทำวีรกรรมสำคัญใด

      คณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ผู้กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย และได้สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนืออัศวราชพาหนะ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ประดิษฐานบนแท่งคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ บริเวณวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี  

ด้วยสาเหตุดังกล่าว พระยาวชิรปราการเห็นว่าขืนอยู่ช่วยป้องกันพระนครต่อไปก็ไม่มีประโยชน์อันใด และเชื่อว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในครั้งนี้เป็นแนด้วยผู้นำอ่อนแอ และไม่นำพาต่อราชการบ้านเมืองจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมออกจากค่ายพิชัย มุ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ จึงนับว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว บ้านเมืองเกิดแตกแยก หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นใหญต่างคนต่างรวมสมัครพรรคพวก ตั้งเป็นก๊กต่างๆ ได้แก่ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้าพระฝางก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และก๊กเจ้าพิมาย

พระยาวชิรปราการได้จัดเตรียมกองทัพ สะสมเสบียงอาหารศาสตราวุธ และกองทัพเรืออยู่เป็นเวลา ๓ เดือนก็ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ตีเมืองธนบุรีแตกจับนายทองอินประหารแล้วเลยไปตีค่ายโพธิ์สามต้นจนแตกยับเยินสุกี้พระนายกองตายในที่รบ ขับไล่พม่าออกไปพ้นแผ่นดินไทยสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งใช้เวลากู้อิสรภาพกลับคืนจากพม่า ภายในเวลา ๗ เดือนเท่านั้น จากนั้น พระยาวชิรปราการจึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรีและปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่๔”แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคมพ.ศ. ๒๓๑๑และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยและต่อจากนั้นพระเจ้าตากสินก็ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบทรงใช้เวลารวบรวมอณาเขตอยู่ ๓ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๑ - พ.ศ. ๒๓๑๓ จึงได้อณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอณาจักรเดียวกันดังเดิมสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ สิริพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษาทรงครองราชย์เป็นเวลา ๑๕ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถกอบกู้ประเทศชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า“มหาราช” คณะรัฐบาล ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้พร้อมใจกันสร้างอนุเสาวรีย์เพื่อน้อมรำลึกในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศ เกียรติคุณ ให้ปรากฎกับอนุชนตราบเท่าทุกวันนี้

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงประกอบวีรกรรมในการกอบกู้และสร้างชาติ ป้องกันบ้านเมืองและสร้างความเป็นเอกภาพ ตลอดจนขยายราชอาณาจักร เมื่อปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงเฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติประมาณ พ.ศ.2277 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรม พระบิดาเป็นชาวจีนแซ่เจิ้ง ส่วนพระมารดาเป็นหญิงไทย ชื่อนางนกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์)อาจมีภูมิลำเนาจากเมืองเพชรบุรี พระองค์สมรสกับหญิงสามัญชนชื่อสอน (กรมหลวงบาทบริจาริกา) มีพระราชโอรสพระราชธิดารวม 29 พระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเดิมเป็นพ่อค้าเกวียนได้บรรทุกสินค้าไปขายที่หัวเมือง ต่อมาเข้ารับราชการจนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ไปปกครองเมือง พม่ายกทัพเข้ามาโจมตีหัวเมืองฝ่ายเหนือใน พ.ศ.2309 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงโปรดให้พระองค์ลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา

ด้วยเหตุผลจากสถานการณ์สงครามที่เหลือกำลังหรืออาจมีหมายให้ไปหาคนจากเมืองมาช่วย หรือความจำเป็นอื่นใด ทำให้พระองค์จึงพาไพร่พลไทยจีนตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่า (มีเอกสารการค้าทางการธนบุรี ถึงบริษัท VOC กล่าวว่า พระองค์ทรงไปตามคำสั่งพระมหากษัตริย์) มุ่งไปทางทิศตะวันออกสู่จันทบูรณ์หรือจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่ จันทบูรจึงเป็นเมืองทางเศรษกิจทำเลที่ตั้งทางน้ำเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ทางทหารเรียกว่า “สมุททานุภาพ”


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกระทำวีรกรรมสำคัญใด


     เดิมชื่อสิน เป็นบุตรขุนพัฒน์ นายอากรบ่อนเบี้ย (นายไหฮอง แซ่แต้) และนางนกเอี้ยง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๖๙ ปีขาล ฉอศก ตรงกับวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. ณ กรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระยาจักรีตำแหน่งสมุหนายกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ให้ชื่อว่า “สิน”
      อายุ ๒๑ ปี รับราชการเป็นมหาดเล็ก ตำแหน่งหลวงนายศักดิ์ ได้รับความชอบเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก แล้วเป็นเจ้าเมืองตาก ต่อมาได้ชื่อว่า พระยาตากสิน ได้รับตำแหน่งเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพ็ชร และดำรงตำแหน่งเป็น พระยาวชิรปราการ ในรัชการสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ยังไม่ทันได้ดูแลเมืองกำแพงเพ็ชรต่างพระเนตรพระกรรณ พม่าก็ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา จึงจำเป็นต้องช่วยป้องกัน
     พระยาวชิรปราการ (พระยาตากสิน) ช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากความอ่อนแอในการปกครองภายในกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นเหตุให้พระยาวชิรปราการหนีออกจากกรุงศรี ฯ เพื่อหาโอกาสกลับไปต่อสู้กู้ชาติคืนมาอีกครั้ง ดีกว่าจะอยู่และตายอย่างอดสู ครั้นถึงวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ ครั้นได้เวลาค่ำมืด พระยาวชิรปราการรวบรวมไพร่พลประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก) เป็นทหารกล้าตายตีฝ่าวงล้อมพม่ามุ่งทิศตะวันออก ฆ่าพม่าที่ติดตามตายเป็นจำนวนมาก นำไพร่พลต่อสู้พม่าระหว่างทาง เคลื่อนทัพผ่านเมืองต่าง ๆ ได้เกลี้ยกล่อมหัวหน้านายกอง บางพวกยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี เพราะกิตติศัพท์เลื่องลือจากการสู้รบกับพม่า มุ่งตรงปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, บางละมุง, ระยอง, แกลง, จันทบุรี และ_____แล้วมาตั้งชุมพลรวบรวมไพร่พล ศาสตราวุธ เสบียงอาหาร และเรือรบอยู่ที่จันทบุรี พระยาตากสินได้สถาปนาตนเองโดยพระประศาสน์ ไม่ใช่พระบรมราชโองการเมื่อตีเมืองระยองได้จึงจำเป็นต้องตั้งตัวเป็นใหญ่ตามเลยแห่งเหตุการณ์ พวกบริวารจึงเรียกว่า “พระเจ้าตาก” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
     สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำทัพผ่านเมืองแกลง ขุนรามหมื่นซ่องก็นำพรรคพวกปล้น แย่งช้าง ม้า ของพระองค์ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่าไม่มีทางอื่นเสียแล้ว มีแต่จะต้องใช้กำลังปราบปรามพวกที่เป็นศัตรูจึงจะตั้งตัวอยู่ได้ จึงยกทัพไปรบกับพวกขุนรามหมื่นซ่อง ที่เมืองแกลงก่อน ขุนรามหมื่นซ่องสู้ไม่ได้ก็พาสมัครพรรคพวกไปอยู่กับพระยาจันทบุรี พระองค์ทรงพิจารณาว่า ไม่มีจังหวัดใดที่เหมาะสำหรับรวบรวมไพร่พลกลับไปกู้ชาติที่กรุงศรีอยุธยาคืนมาได้ เท่ากับจังหวัดจันทบุรี เพราะมีพลเมืองมาก เป็นทำเลที่จะสะสมเสบียงอาหาร ศาสตราวุธ จึงทรงสั่งเคลื่อนทัพเข้าสู่จันทบุรีครั้งแรกได้มีการใช้ฑูตติดต่อกับเจ้าเมืองจันทบุรี คาดว่าจะตกลงกันได้โดยไม่ต้องใช้กำลัง แต่ภายหลังเจ้าเมืองจันทบุรีเปลี่ยนใจไม่ตกลงด้วย อันเป็นเวลาเดียวกับ เนเมียวสีหบดี ที่ค่ายโพธิ์สามต้นส่งนายบุญเรือง มหาดเล็กผู้รั้งเมืองบางละมุง ถือหนังสือมาให้เจ้าเมืองจันทบุรี เข้าไปอ่อนน้อมแก่พม่าเสียโดยดี พอดีได้ข่าวว่า นายทองอยู่ นกเล็ก ตั้งแข็งเมืองขึ้นที่ชลบุรีอีก พระองค์จึงทรงนำทัพกลับไปที่ชลบุรี ปราบปรามจนชลบุรีสงบแล้วตั้งนายทองอยู่ นกเล็ก เป็นพระยาอนุราฐบุรีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี แล้วทรงนำทัพมุ่งตรงไปจันทบุรีต่อไป พระองค์ทรงนำทัพถึงบางกะจะหัวแหวนห่างจากเมืองจันทบุรี ประมาณ ๒๐๐ เส้น (๘ กิโลเมตร) พระยาจันทบุรีให้หลวงปลัดออกไปรับ และบอกว่าได้จัดที่พักไว้ให้แล้วที่ทำเนียบ ที่พักริมน้ำข้างฟากทิศใต้ตรงข้ามเมืองจันทบุรี พระองค์ทรงสั่งให้นายทัพตามหลวงปลัดไปมีผู้บอกว่า พระองค์กำลังถูกกลลวงที่กำลังจะตามหลวงปลัดข้ามฟากไป ทันที่พระองค์จึงทรงสั่งให้เลี้ยวขบวนทัพไปทางเหนือไม่ข้ามปากน้ำ ผ่านบ้านชะมูลตรงไปประตูท่าช้าง ห่างจากประตูท่าช้าง ๕ เส้น (๒๐๐ เมตร) พระยาจันทบุรี เห็นพระองค์ไม่ข้ามฟากตามประสงค์ที่ลวงไว้ กลับมาตั้งชุมพลที่ริมเมือง ก็ตกใจ รีบให้ไพร่พลขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทิน พระองค์ได้ทรงต่อว่าพระยาจันทบุรีว่าไม่บริสุทธิ์ใจที่จะช่วยกันคิดอ่านกู้กรุงศรีอยุธยาและยังไม่ออกไปต้อนรับ ทั้งที่ขณะนั้นก็มีศักดินาน้อยกว่า (เมื่อเทียบกับพระองค์ซึ่งเป็นพระยากำแพงเพ็ชร) และไม่ซื่อคบกับขุนรามหมื่นซ่องทำร้ายพระองค์ถึง ๒ ครั้งกับเรียกระดมคนเข้าประจำรักษาหน้าที่เชิงเทิน แสดงถึงไม่เป็นมิตร ไม่เป็นพี่น้อง จึงทรงรับสั่งคนให้ไปบอกพระยาจันทบุรี เมื่อไม่เห็นแก่ไมตรีแล้วจงรักษาเมืองไว้ให้ดีเถิด เราจะเข้าตีให้จงได้ ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตกอยู่ในที่คับขันเพราะเข้ามาตั้งอยู่ในชานเมือง ข้าศึกอยู่ในเมืองมีกำลังมาก เป็นแต่ข้าศึกครั่นคร้ามเกรงฝีมือ ไม่กล้าออกมาโจมตีซึ่งหน้า แต่หากพระองค์ทรงล่าถอยทัพเมื่อใด ก็อาจจะออกล้อมตีตัดได้หลายทาง เพราะข้าศึกชำนาญภูมิประเทศกว่า จะตั้งชุมพลทัพอย่างนั้นก็ไม่มีเสบียงอาหารเหมือนหนึ่งคอยให้ข้าศึกเลือกเวลาทำเอาตามใจชอบ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเป็นนักรบมาแต่เยาว์วัยทรงรู้เชิงข้าศึกดีจึงต้องชิงทำข้าศึกก่อนจึงจะไม่เสียที จึงเรียกแม่ทัพนายกอง มาสั่งว่า เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้เมื่อหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้ว ทั้งนายและไพร่ให้เทอาหารที่เหลือทิ้งและต่อยหม้อข้าวเสียให้หมดหมายไปกินข้าวเข้าด้วยกันในเมืองพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองจันท์ไม่ได้ ในค่ำวันนี้ก็จะได้ตายเสียด้วยกันทั้งหมด นายทัพนายกองเคยเห็นอาญาสิทธิ์มาก่อน ไม่มีใครกล้าขัดขืน ครั้นเพลาค่ำพระองค์ทรงให้ทหารลอบไปซุ่มมิให้ชาวเมืองรู้ตัว ทรงสั่งให้คอยฟังสัญญาณเสียงปืนให้เข้าตีพร้อมกัน อย่างให้ส่งเสียงอื้ออึงครั้นเตรียมพร้อมเสร็จได้ฤกษ์เวลาตี ๓ นาฬิกา สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงช้างพังคีรีบัญชรทรงสั่งให้ยิงปืนเป็นสัญญาณบอกพวกทหารเข้าตีพร้อมกัน ทรงช้างเข้าพังประตูเมือง แม้ว่าพระยาจันทบุรีจะยิงปืนใหญ่และปืนเล้กต่อสู้อย่างเต็มกำลังก็ตาม พวกทหารของสมเด็จพระเจ้าตากสินก็กรูกันเข้าเมือง ชาวเมืองจันทบุรีรู้ข่าวว่าข้าศึกเข้าเมืองได้แล้วต่างก็ละหน้าที่พากันแตกหนีสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำทัพตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ทรงเมตตาอารีมิได้ถือโทษผู้ที่เป็นศัตรูมาก่อน ทรงตีเมืองจันทบุรีได้เมื่อวันอาทิตย์เดือน ๗ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุลนพศก ตรงกับวันที่ ๑๔ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน ครั้นเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงนำทัพไปยังเมืองตราด กรมการเมืองและราษฎรพากันเกรงกลัว อ่อนน้อมโดยดีทั่วเมือง พวกนายเรือและลูกเรือสำเภาจีนที่เมืองตราดไม่ยอมอ่อนน้อมด้วยกลับเอาปืนใหญ่น้อยระดมยิงเรือพระที่นั่ง สมเด็จพระเจ้าตากสิน รบกันครึ่งวันก็ตีเรือสำเภาจีนได้ ได้ทรัพย์สินเป็นกำลังต่อการทัพเป็นจำนวนมาก พระองค์ทรงจัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ทรงนำทัพกลับเมืองจันทบุรี พระองค์ทรงรวบรวมไพร่พลได้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน ต่อเรือรบได้ประมาณ ๑๐๐ ลำ รวบรวมศาสตราวุธได้จำนวนมาก ทรงวางแผนกลยุทธที่จันทบุรี เพื่อที่กอบกู้เอกราชของชาติไทยกลับคืนมา นับว่าเมืองจันทบุรี และชาวเมืองจันทบุรีเกื้อกูลต่อพระองค์เป็นอย่างมาก ในการที่กู้ชาติไทยครั้งนี้กลับคือมาได้ ครั้นเดือน ๑๑ ปีกุน พุทธศักราช ๒๓๑๐ พระองค์ทรงนำทัพเรือ ออกจากจันทบุรี มุ่งหน้าสู่อ่าวไทยเพื่อกอบกู้เอกราชของชาติไทยทรงนำทัพเรือผ่านชลบุรีพักที่ชลบุรี และรวบรวมไพร่พลเป็นการเพิ่มเติมกำลังแล้วทรงนำทัพเข้าปากน้ำสมุทรปราการเข้าถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น อันมีนายสุกื้ (ชาวมอญ) อาสาพม่า ต่อสู้จนนายสุกี้ตายในที่รบ ทหารพม่าล้มตายในที่รบเป็นจำนวนมาก
     สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำทัพตีพม่า นำชัยชนะกลับคืนมาได้ กู้กรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราชได้เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐
   ครั้นทรงกู้กรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราชได้แล้วก็ทรงเสวยราชย์ปราบดาภิเศก ตรงกับวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ สัมฤทธิ์ศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑ เป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
     พระองค์ทรงมีทะแกล้วทหารหาญคู่พระทัยหลายคน เช่น พระยาพิชัยราชา (พระยาพิชัยดาบหัก) พระยาสุรสีห์ หรือนายสุดจินดา หรือพระยามหาสุรสิงหนาท พระอนุชาพระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และบรรพบุรุษต้นตระกูลชาวไทยและต้นตระกูลชาวจันทบุรีมิใช่น้อยได้ร่วมชีวิตสนองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระเจ้าตากสิน กู้ชาติ ศาสนาที่ล่มจมเป็นวิบัติครั้งนี้กลับคืนมาจากพม่าได้ด้วยการสู้รบกับพม่าอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ด้วยการเสียสละอดทนเอาเลือดเนื้อและความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้ ตลอดรัชกาลของ พระเจ้ากรุงธนบุรี ต้องทำศึกสงครามอีกหลายครั้ง จนปราบปรามชุมนุมที่ตั้งตนเป็นใหญ่ทั่วไปที่เหลืออีก ๕ ชุมนุม คือ
๑. ชุมนุมสุกี้ พระนายกอง เป็นชาวมอญอาสาสมัครพม่าคอยสอดส่องควบคุมและริบทรัพย์สินคนไทยที่แพ้พม่า และคนไทยที่จะกระด้างกระเดื่องแข็งข้อ ตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา
๒. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) มีอาณาเขตตั้งแต่พิษณุโลกจรดนครสวรรค์ ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองพิษณุโลก
๓. ชุมนุมพระเจ้าพระฝาง ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองอุตรดิตถ์ มีอาณาเขตติดต่อไปจนถึงเมืองแพร่ และหลวงพระบาง
๔. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองชุมพรถึงมลายู
๕. ชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองพิมายนครราชสีมา พระองค์ทรงปราบปรามจนราบคาบ ต้องปราบปรามอริราชศัตรู และเสี้ยนหนามชาติไทย ทรงบากบั่นอุตสาหะมิได้เป็นแก่ความเหนื่อยยากแต่ประการใดทรงต่อสู้ความยากแค้นซึ่งคุกคามประชาราษฎร์ ต้องปราบปรามผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่ไม่คิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ต้องปราบปรามอริราชศัตรูอยู่เนือง ๆ พระชีวิตของพระองค์ เพื่อชาติและประเทศไทยโดยแท้จริง
     พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้า ไพร่บ่าว พลเรือนและทหารด้วยทศพิธราชธรรมดียิ่ง สนิทชิดเชื้อเหมือนกับ “พ่อ” มากกว่าทรงเป็นเจ้านาย ดังข้อความพระราชวิจารณ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ว่าเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงรับสั่งเมื่อประทับอยู่ที่ค่ายเขาพระ ขณะนั้นกำลังล้อมพม่า บ้านบางนางแก้วทรงกำหนดพระราชอาญาไว้ว่า ผู้ยิงปืน___________ไม่พร้อมกันให้ยิงพร้อมกันทีละสามสิบ สี่สิบนัดตามรับสั่งทรงตรัสแก่ข้าราชการนายทัพนายกองว่า ข้าราชการทั้งปวงพ่อใช้ไห้ไปทำศึกบ้านเมืองใดพ่อมิได้สกดหลังไปด้วย ก็มิสำเร็จราชการ ครั้นพ่อไปราชการสงครามเชียงใหม่ ให้ลูกทำราชการข้างหลังและพ่ายแพ้แก่พม่าให้ขายพระบาทพ่อ อันทำศึกครั้งนี้พ่อจะชิงชัยแก่ลูกผู้ใดหามิได้ รักใคร่เสมอกัน เป็นกษัตราธิราชเจ้าแผ่นดิน ถ้าผู้ใดมีความชอบมิได้ปูนบำเหน็จ ผู้ใดกระทำผิดมิได้เอาโทษ ทำเช่นนี้ก็ไม่ควรแก่ราชการแผ่นดินหามิได้ ประเวณีกษัตราธิราช ผู้มีความชอบปูนบำเหน็จรางวัล ให้รั้งเมืองครองเมือง ตามฐานานุกรมลำดับ โทษผิดควรจะตีก็ตี ควรฆ่าก็ฆ่าเสีย จึงชอบด้วยราชาแผ่นดิน จึงจะทำสงครามกับพม่าได้ พ่ออุตส่าห์ทรมานเที่ยวทำสงครามมา นี้ ใช่จะจงพระทัยปรารถนาหาความสุขแต่พระองค์ เดียวก็หามิได้ อุตส่าห์สู้ลำบากการครั้งนี้ เพื่อทำนุบำรุงศาสนาสมณะชีพราหมณ์ประชาราษฎร ให้เป็นสุขทั่ว ขอบขัณฑ์เสมอ เพื่อมิให้คนอาสัตย์อาธรรม์และครั้งนี้ลูกทั้งหลายทำการแพ้แก่พม่า ครั้นจะเอาโทษก็เสียดายนักด้วยได้เลี้ยงดูมาเป็นใหญ่โตแล้วผิดครั้งนี้จะยกไว้ให้ทำราชการแก้ตัวครั้งหนึ่งก่อน ครั้งต่อไปถ้ารบพม่าแล้วชนะจึงจะพ้นโทษทั้งนายและไพร่เร่งคิดจงตีเถิด อันพ่อจะละกำหนดบทอัยการศึกเสียมิได้ ก็ให้เร่งคิดอ่านทำการแก้ตัวไปให้รอดชีวิตเถิด อีกครั้งเมื่อพระยาตากสินนำไพร่พลตีเมืองชลบุรี ผ่านบางละมุงขณะนั้นนายบุญเรืองมหาดเล็กเป็นผู้รั้งเมืองบางละมุง คุมไพร่ ๒๐ คน ถือหนังสือมาจะเอาลงไปให้พระยาจันทบุรี เดินผ่านมาในแขวงเมืองระยองพวกทหารพระยาตากสินจับได้ซักได้ความว่า เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น มีหนังสือมาบอกให้ พระยาจันทบุรีเข้าไปอ่อนน้อมเสียโดยดี นายทัพนายกองทูลพระยาตากสิน ว่าผู้รั้งเมืองบางละมุงเป็นพวกพม่า ขอให้ประหารชีวิตเสีย พระยาตากสินไม่เห็นชอบด้วยว่าผู้รั้งเมืองบางละมุงตกอยู่ในอำนาจพม่า ก็ต้องยอมให้ใช้มาโดยจำเป็น จะว่าเอาใจไปเผื่อแผ่ข้าศึกหาควรไม่ อีกประการหนึ่ง ผู้รั้งเมืองบางละมุงก็ยังมิได้เป็นข้าของเราจะว่าทำความผิดต่อเราก็ยังไม่ได้ ที่พม่ามีหนังสือมาบังคับพระยาจันทบุรีอย่างนี้ก็ดีแล้ว พระยาจันทบุรีจะได้เลือกเอาอย่างหนึ่งว่า จะไปเข้ากับพม่าหรือเข้ากับไทย พระองค์ทรงปกครองไพร่ราษฎร ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงพระราชดำริพิจารณาถึงเหตุถึงผลด้วยความเป็นธรรมเสมอเป็นพ่อปกครองลูก หาพระทัยลำเอียงมิได้
     สมเด็จพระเจ้าธนบุรี ทรงครองราชย์ตั้งแต่ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ประชาราษฎร์มีความสุขโดยถ้วนทั่ว พ้นจากภัยรุกรานพม่ามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
     เสด็จสวรรคต วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๔ จัตวาศก ตรงกับ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ทรงได้รับพระเกียรติเป็น “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ต่อมาด้วยพระบารมีอันมากล้นสุดที่ทวยราษฎร์ไทยจะกล่าวพรรณนาได้ ชาวไทยได้ดำรงความเป็นไทอิสระเสรี เป็นชาติไทยอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็ด้วยพระบารมีของพระองค์

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทำอะไร

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงประกอบวีรกรรมในการกอบกู้และสร้างชาติ ป้องกันบ้านเมืองและสร้างความเป็นเอกภาพ ตลอดจนขยายราชอาณาจักร เมื่อปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงเฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติประมาณ พ.ศ. ...

บทบาทสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่สำคัญยิ่ง คือข้อใด

พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษทรงกอบกู้เอกราชและอธิปไตยของชนชาติไทยให้พ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระองค์ทรงมีพระวิจารณญาณที่ชาญฉลาดในการย้ายเมืองราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่ธนบุรีซึ่งเหมาะสมกับสภาพการณ์อย่างยิ่ง

ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

3. พระราชกรณียกิจอื่น ๆ นอกจากจะทรงกู้เอกราชและทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแล้ว พระองค์ยังได้ขยายอาณาเขตโดยตีเวียงจันทน์ได้และอัญเชิญพระแก้วมรกตมา ประดิษฐานไว้ที่เมืองหลวง ทรงทำนุบำรุงศาสนาและทรงส่งเสริมให้คนแต่งหนังสือต่าง ๆ ขึ้น เพราะหนังสือตำราอันมีค่าถูกพม่าเผาไปเกือบหมด ทรงเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรเป็นอย่าง ...

พระเจ้าตากสินมีผลงานอะไรบ้าง

'สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช' วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่กอบกู้ชาติไทย.
การกู้เอกราช ... .
การสร้างและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ... .
นอกจากจะทรงกู้เอกราชและทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง.