หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
 ธรรมชาติทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร  
หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์

ทวีปต่างๆ กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลก โดยมีมหาสมุทรและทะเลคั่นอยู่ระหว่างทวีป ทวีปทั้งหลายที่มนุษย์อาศัยอยู่สามารถเคลื่อนที่ได้

ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย อัลเฟรด เวเจเนอร์ ชาวเยอรมัน ซึ่งมีใจความว่า เมื่อ 180 ล้านปี ผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งโผล่พ้นผิวน้ำที่ติดกันเป็นทวีปเดียว เรียกทวีปใหญ่นี้ว่าแพงกีอา (pangaea) ซึ่งแปลว่า all land หรือ แผ่นดินทั้งหมด เมื่อเลาผ่านไป แพงกีอาเริ่มแยกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนขยับเขยื้อนเคลื่อนที่แยกจากกันไปเป็นทวีปต่างๆ ดังปรากฏในปัจจุบัน

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์

รูปทวีปเดียวตามแนวคิดของ อัลเฟรด เวเจเนอร์

หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปของอัลเฟรด เวเจเนอร์

1. หลักฐานสภาพรูปร่างของทวีป

รูปร่างของทวีปต่างๆ สามกันได้อย่างพอเหมาะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทวีปแอฟริกากับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์

รูปทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา

2. หลักฐานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์

เวเจเนอร์ อ้างหลักฐานการพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และชั้นของหินชนิดเดียวกันในสองทวีปแถบที่อยู่ด้านเดียวกันหรือใกล้เคียง

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์

รูป ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา

นักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกมิได้รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด มีรอยแยกอยู่ทั่วไปซึ่งรอยแยกเหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เปลือกโลกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์

รูป แผ่นเปลือกโลก

-+—-+ แสดงรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก (1 แผ่นยูเรเซีย 2 แผ่นอเมริกา 3 แผ่นแปซิฟิก

4 แผ่นออสเตรเลีย 5 แผ่นแอนตาร์กติกา 6 แผ่นแอฟริกา)

จากรูป แผ่นเปลือกโลก จะเห็นว่าเปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น ดังนี้

1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง

2. แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก

3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก

4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย

5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ

6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกด้วย เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งรองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ธรรมชาติเป็นสารเหตุทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง ได้แก่

1. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

2. การเกิดแผ่นดินไหว

3. การระเบิดของภูเขาไฟ

4. กระบวนการเกิดภูเขา

5. การกร่อน

6. กระแสน้ำ

7. ปฏิกิริยาเคมีในธรรมชาติ

8. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เป็นต้น

ต่อให้เป็นยุคนี้ พ.ศ. นี้ ถ้าเราพอจะนึกออกว่าแต่ละทวีปของโลกมันกว้างใหญ่แค่ไหน ใครจะไปกล้าคิดละว่าทวีปต่างๆ จะเคลื่อนที่ได้ แต่เชื่อไหมว่าถ้าย้อนกลับไปซักประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว มีชายเยอรมันคนหนึ่งที่คิดเรื่องพรรณนี้ อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) เป็นที่รู้จักในฐานะนักสำรวจขั้วโลกเหนือตัวยง ชีวิตของเขาส่วนใหญ่ก็เลยหนักไปทางสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ บนเกาะกรีนแลนด์ ทั้งในหมวกของนักธรณีวิทยาสำรวจหิน ดิน แร่ รวมไปถึงนักอุตุนิยมวิทยาที่คอยตรวจวัดสภาพอากาศในพื้นที่เขตหนาว ผลงานการสำรวจของเวเกเนอร์มีมากมายและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากแวดวงวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าจะให้หยิบงานชิ้นโบว์แดง ที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้ก็น่าจะเป็นการที่ เวเกเนอร์เป็นคนเยอรมัน ที่กล้าเดินเข้าไปกลางวงประชุมวิทยาศาสตร์ สหรัฐอเมริกา แล้วประกาศว่า…

ท่านผู้ทรงเกียรติทุกท่าน…ทวีปต่างๆ ของโลก มันเคลื่อนที่ได้

ที่ทุกท่านเห็นว่าทั้ง 7 ทวีป กระจัดกระจายกันอยู่ในทุกวันนี้ เมื่อก่อนตอนประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว มันเคยกระจุกตัว ติดเป็นทวีปเดียวกันมาก่อน

ตลอด 200 ล้านปีที่ผ่านมา มันค่อยๆ แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ลอยตุ๊บป่องไปตามที่ต่างๆ อย่างที่โลกเราเป็นและพวกเราเห็นในปัจจุบัน

และตอนนี้…มันก็ยังไม่หยุดเคลื่อนที่

ปี พ. ศ. 2458 เขาปล่อยหนังสือเรื่อง The Origin of Continents and Oceans ออกสู่สาธารณะเพื่อยืนยันความมั่นใจของเขา และตั้งชื่อชุดความคิดที่นี้ว่า แนวคิดทวีปเคลื่อน (continental drift) โดยเขาเรียกทวีปโบราณขนาดใหญ่ที่เคยเป็นแผ่นเดียวกันนั้นว่า มหาทวีปแพนเจีย (Pangaea Supercontinent) ซึ่งมีความหมายว่า ออล์แลนด์หรือดินแดนทั้งหมด โดยแบ่งย่อยเป็น 2 ส่วนหลักตามภูมิศาสตร์ คือ 1) ลอเรเซีย (Laurasia) ที่หมายถึงกลุ่มทวีปที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ และ 2) กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) หรือกลุ่มทวีปที่อยู่ทางซีกโลกใต้ในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานสนับสนุนคำพูดของเขาอยู่ในกระเป๋าแค่ 4 ชิ้น แต่ก็พอจะเดาใจเวเกเนอร์ในวันนั้นได้ว่าทั้ง 4 ชิ้นนั้นก็คงจะเด็ดน่าดู เวเกเนอร์ถึงกล้าประกาศออกไปอย่างนั้น

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
แบบจำลองมหาทวีปแพนเจีย ตามแนวคิดทวีปเคลื่อน ของเวเกเนอร์

เดิมทีเวเกเนอร์ ตั้งชื่อ มหาทวีปแพนเจีย เป็นภาษาเยอรมันว่า Urkontinent

Uk แปลว่า แรกเริ่มดั้งเดิม ส่วน kontinent แปลว่า ทวีป

รวมความได้ว่า ทวีปแรกเริ่มดั้งเดิม ประมาณนั้น

ชิ้นที่ 1 : รูปร่างทวีป

หลักฐานชิ้นแรกที่เวเกเนอร์นำมากล่าวอ้างในที่ประชุมตอนนั้น คือเขาสังเกตเห็นว่าถ้าหยิบแผนที่โลกมาตัดพื้นที่ส่วนที่เป็นมหาสมุทรออกไป แนวชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาและชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ รวมทั้งทวีปอื่นๆ ดูเหมือนจะเชื่อมต่อกันได้แบบจิ๊กซอว์ที่เราต่อๆ กัน และเมื่อเขาลองสมมุติ ลากขอบทวีปออกไปนอกชายฝั่ง ที่ระดับความลึกประมาณ 1 กิโลเมตร ใต้ระดับน้ำทะเลปัจจุบัน เขาพบว่าขอบทวีปต่างๆ ต่อกันสนิทสุดๆ เขาเลยเชื่อว่าตอนที่ทวีปแตกออกจากกัน ขอบของรอยแตกน่าจะอยู่ที่ความลึก 1 กิโลเมตร ส่วนขอบทวีปที่มีช่องว่างหรือมีการซ้อนทับกันบ้างในบางที่ เวเกเนอร์อธิบายว่าอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น 1) การพังทลายของขอบทวีประหว่างการแยกตัว ทำให้มีช่องว่างระหว่างรอยต่อ 2) การสะสมตัวของตะกอนบริเวณชายฝั่งนับตั้งแต่ทวีปเริ่มแยกออกจากกัน ก็อาจทำให้มีบางพื้นที่รอยต่อที่ซ้อนทับกันบ้างนิดหน่อย หรือ 3) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่ไม่เหมือนกันในช่วงตอนนั้นกับปัจจุบันนี้

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
จิ๊กซอว์ทวีป ตามความคิดของเวเกเนอร์

ชิ้นที่ 2 : ชนิดหิน

นอกจากนี้ เวเกเนอร์ยังพบว่าหินที่มีอายุมากกว่า 2,000 ล้านปี บริเวณขอบตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและขอบตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งปัจจุบันอยู่ห่างไกลกันและมีมหาสมุทรแอตแลนติกกั้นกลาง แต่กลับเป็นหินชนิดเดียวกันเป๊ะ

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
การกลับมาอยู่ที่ต้นกำเนิดเดียวกันของหิน (พื้นที่สีน้ำตาล)

ยิ่งไปกว่านั้น เขายังพบชิ้นส่วนของแนวเทือกเขาโบราณคาลีโดเนียน หรือในทางวิชาการธรณีวิทยาเรียกว่า ตะเข็บภูเขาคดโค้งคาลีโดเนียน (Caledonian Fold Belt) กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ทั้งบนเกาะกรีนแลนด์ แคนาดา ไอร์แลนด์ อังกฤษ สกอตแลนด์และแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งเมื่อเขานำชิ้นส่วนของทวีปต่างๆ มาต่อกัน ชิ้นส่วนของเทือกเขาโบราณที่ว่าก็ประกอบร่างกันเป็นแนวยาวพอดิบพอดี นั่นยิ่งทำให้เวเกเนอร์เชื่อในสิ่งที่เขาคิดมากยิ่งขึ้น

ชิ้นที่ 3 : ฟอสซิล

บังเอิญว่าเวเกเนอร์ไปอ่านเจอรายงานการค้นพบฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกันในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ ซึ่งรายงานเล่มนั้นสรุปในตอนท้ายว่า ในอดีตน่าจะมีแนวแผ่นดินคล้ายสะพานเชื่อมต่อทั้ง 2 ทวีป จึงทำให้ฟอสซิลตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แต่เวเกเนอร์ยังไม่ได้เชื่อตามนั้น และหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิลทั่วโลก ซึ่งเขาก็พบว่ามีสิ่งมีชีวิตอย่างน้อย 4 สายพันธ์เด่นๆ ที่มีลักษณะการกระจายตัวของฟอสซิลข้ามทวีปแบบนี้

1. Cynognathus เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดพอๆ กับหมาป่าปัจจุบัน มีชีวิตอยู่ในช่วงต้นถึงกลางยุคไทรแอสซิก (250-240 ล้านปีก่อน) ซึ่งพบฟอสซิลเฉพาะในทวีปแอฟริกาใต้และอเมริกาใต้เท่านั้น

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
Cynognathus (ที่มา : www.deviantart.com)

2. Lystrosaurus เป็นสัตว์เลื้อยคลานกินพืช ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงต้นยุคไทรแอสซิกตอน (250 ล้านปีก่อน) พบเฉพาะในทวีปแอนตาร์กติกา อินเดียและทวีปแอฟริกาใต้

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
Lystrosaurus (ที่มา : www.eurekalert.org)

3. Mesosaurus เป็นสัตว์เลื้อยคลานหน้าตาคล้ายกับจระเข้น้ำจืด ยาวประมาณ 1 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงต้นยุคเพอร์เมียนตอนต้น (286-258 ล้านปีก่อน) พบแค่ทางใต้ของทวีปแอฟริกาและทางตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
Mesosaurus (ที่มา : https://blog.frontiersin.org)

4. Glossopteris เป็นไม้พุ่มใบเหมือนลิ้น มีชีวิตอยู่ตลอดช่วงยุคเพอร์เมียน (299 ล้านปีก่อน) ฟอสซิลพบในทวีปออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ อเมริกาใต้ อินเดียและทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งทั้ง 3 ทวีปมีภูมิอากาศในปัจจุบันที่แตกต่างกันมาก เวเกเนอร์จึงตงิดใจว่ามันน่าจะผิดธรรมชาติไปหน่อย ถ้าจะบอกว่า Glossopteris อยู่ง่ายกินง่าย อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและหนาว

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
Glossopte (ที่มา : https://science.howstuffworks.com)

จากการค้นพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีชิวิตอยู่ในยุคเดียวกัน แต่กระจายไปตามทวีปต่างๆ เวเกเนอร์ลองประมวลความคิดเพื่อหาคำอธิบายง่ายๆ ที่พอจะเป็นไปได้ ซึ่งก็มีอยู่ 3 แนวทาทงว่าอาจจะเป็นเพราะ 1) สิ่งมีชีวิตพวกนั้นอยู่คนละทวีปตั้งแต่ต้น แต่มีวิวัฒนาการทางสายพันธุ์มาบังเอิญเหมือนกันพอดี แต่ก็ขัดแย้งแบบสุดๆ กับ ทฤษฎีวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต (Theory of Evolution) ของชาลส์ ดาร์วิน หรือ 2) สัตว์ต่างๆ ได้ว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรไปยังทวีปอื่นๆ เพื่อสร้างประชากรกลุ่มที่สอง แต่ก็อย่างที่บอกว่าดูตั้งแต่หัวจรดเท้า สภาพฟอสซิลสัตว์แต่ละชนิดก็ไม่น่าจะสามารถว่ายน้ำข้ามทวีปไปสร้างเทือกเถาเหล่าก่อใหม่ได้ หรือจะเป็น 3) แนวคิดสะพานแผ่นดินที่เชื่อมต่อทุกทวีปเข้าด้วยกัน ซึ่งมันก็จะเป็นวันเดอร์แลนด์แดนมหัศจรรย์มากเกินไป ดังนั้นเวเกเนอร์จึงให้น้ำหนัก แนวคิดทวีปเคลื่อน (continental drift) ของตัวเองเสียมากกว่า

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
ปัญหาการพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันแต่อยู่กันคนละทวีป กำลังถูกอธิบายด้วยแนวคิดทวีปเคลื่อนของเวเกเนอร์

ยิ่งไปกว่านั้น เวเกเนอร์ยังพบหินที่แสดงหลักฐานว่าเคยมีธารน้ำแข็งปิดทับอยู่หรือธารน้ำแข็งเคยไถลผ่านมา กระจายตัวอยู่ในหลายทวีป ทั้งในแอนตาร์กติกา แอฟริกา อเมริกาใต้ อินเดียและทวีปออสเตรเลีย ซึ่งถ้าหากว่าทวีปไม่เคยย้ายที่ไปไหนจริงๆ แสดงว่าธารน้ำแข็งเคยแผ่ซ่านปกคลุมตั้งแต่ขั้วโลกไปจนถึงเส้นศูนย์สูตร แต่หินในยุคเดียวกันในพื้นที่อื่นๆ กลับไม่พบหลักฐานการสะสมตัวจากธารน้ำแข็ง ก็แทบจะอธิบายต่อไม่ได้เลยว่าตอนนั้นน้ำแข็งปกคลุมทั้งโลก ซึ่งบางพื้นที่โดนธารน้ำแข็งครูด แต่บางพื้นที่กลับไม่โดน

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
ร่องรอยขัดสีบนหิน (glacial striation) ที่ถูกขัดสีจากเม็ดตะกอนเล็กๆ ที่อยู่ใต้ชั้นธารน้ำแข็ง พบในอุทยานแห่งชาติเมาท์เรนเนียร์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ดูเหมือนกับว่าหินถูกขัดด้วยกระดาษทราย (ที่มา : www.wikipedia.org)
หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
แนวร่อง (glacial groove) ที่เกิดจากการครูดของก้อนหินขนาดพอตัวที่ถูกอมและลากมากับธารน้ำแข็ง ในอุทยานแห่งรัฐเกาะเคลลี่ส์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา (ที่มา : www.wikipedia.org)

แต่ถ้าลองนำทวีปต่างๆ มาต่อกันเป็นจิ๊กซอว์ เหมือนกับหลักฐานชิ้นที่ 1 ของเวเกเนอร์ จุดที่พบหลักฐานการครูดถูของธารน้ำแข็งจะกระจุกตัวรวมเป็นพื้นที่เดียวกัน เวเกเนอร์จึงเชื่อมั่นว่าในอดีตทุกทวีปน่าจะเคยอยู่ติดกัน และพื้นที่กระจุกน้ำแข็งก็น่าจะเป็นขั้วโลกในเวลานั้น

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
(ซ้าย) กระจุกพื้นที่ที่เวเกเนอร์เชื่อว่าเป็นขั้วโลกในช่วงที่ทวีปต่างๆ เคยอยู่ชิดติดกัน (ขวา) ตำแหน่งที่เวเกเนอร์พบหินที่เคยเกี่ยวดองกับธารน้ำแข็งในอดีต

วิบากกรรมของเวเกเนอร์

ว่ากันว่าหลังจากที่เวเกเนอร์นำเสนอหลักฐานสนับสนุนแนวคิดทวีปเคลื่อนของเขา นักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมก็ไม่ได้โต้แย้งอะไรเพราะเชื่อในหลักฐานที่เขามี เรื่องราวกำลังจะไปได้สวยและแนวคิดทวีปเคลื่อนของเขาก็กำลังจะได้รับการยอมรับ แต่ก็อย่างที่บอกไปในตอนต้น ใครจะไปกล้าคิดว่าทวีปใหญ่ยักษ์ขนาดนั้นมันจะเคลื่อนที่ได้ แล้วถ้ามันเคลื่อนที่ได้จริงๆ มันจะเคลื่อนที่แบบไหน ด้วยกลไกผลักดันอะไร

เวเกเนอร์ พยายามอธิบายว่าทวีปเคลื่อนที่ได้เป็นเพราะแรงเหวี่ยงจากการหมุนของโลก เขาคิดว่าเดิมทีมหาทวีปแพนเจียน่าจะอยู่ใกล้กับขั้วโลกใต้ ซึ่งผลจากการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดแรงเหวี่ยงดึงทวีปแตกเป็นแผ่นย่อยๆ และเคลื่อนที่ขึ้นไปใกล้เส้นศูนย์สูตร สมมุติฐานแรงเหวี่ยงจากการหมุนของโลกถูกคัดค้าน เพราะถ้าลองคำนวณดูดีๆ จะพบว่าแรงเหวี่ยงที่ได้ไม่น่าพอที่จะเคลื่อนย้ายทวีป

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
แรงเหวี่ยงจากการหมุนรอบตัวเองขอโลก คือสิ่งที่เวเกเนอร์คิดว่าเป็นกลไกที่ทำให้ทวีปเคลื่อนที่

นอกจากนี้เวเกเนอร์ ยังพยายามอธิบายการเคลื่อนตัวของทวีปอเมริกาไปทางทิศตะวันตกว่าเกิดจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่กระทำกับโลก ซึ่งสมมุติฐานนี้ก็ถูกปฏิเสธอย่างทันที มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในวันนั้น และผลสรุปก็ออกมาว่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าทวีปต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ไปไหนต่อไหนได้ และสถานการณ์ก็ลุกลามไปถึงขนาดที่ว่า หลักฐานที่เวเกเนอร์นำมาแสดงนั้นอาจเป็นแค่ความบังเอิญของธรรมชาติ

หลังจากวันนั้น เวเกเนอร์กลับเยอรมันและใช้ชีวิตตามปกติ โดยตลอดช่วงระยะเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ แนวคิดทวีปเคลื่อนไม่เคยถูกพูดอีกเลย ถึงแม้ว่าในปี พ.ศ. 2472 ซึ่งถือเป็นบั้นปลายชีวิตของเวเกเนอร์ นักวิทยาธรณีวิทยาอังกฤษที่ชื่อ อาร์เธอร์ โฮล์มส์ (Arthur Holmes) ได้นำเสนอแนวคิดที่เรียกว่า กระแสพาความร้อน (convection current) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับการที่เนื้อโลกที่มีอุณหภูมิสูงลอยขึ้นมาแทนที่เนื้อโลกที่เย็นกว่าและจมตัวลง ทำให้เกิดการหมุนวนของเนื้อโลก

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
แบบจำลองกระแสพาความร้อน (ซ้าย) ตัวอย่างการพาความร้อนในหม้อต้มน้ำ (ขวา) แบบจำลองภายในโลก

โฮมยังบอกอีกว่าการพุ่งขึ้นของเนื้อโลกที่ร้อนมากระแทกแผ่นเปลือกโลกด้านบนอย่างซ้ำๆ มีพลังพอพอที่จะทำให้เปลือกโลกปริแตก และแยกตัวออกจากกันไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยมีกระแสพาความร้อนเป็นเหมือนสายพานลำเลียงแผ่นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ไปในที่ต่างๆ ซึ่งถ้าเป็นจริงอย่างที่โฮมว่า กระแสพาความร้อนก็จะเป็นตัวช่วยอธิบายกลไกการเคลื่อนที่ของทวทีปให้กับแนวคิดทวีปเคลื่อนของเวเกเนอร์ได้อย่างดี แต่โชคร้าย แนวคิดนี้ได้รับความสนใจน้อยมากจากแวดวงวิทยาศาสตร์ในเวลานั้น

อย่างที่เล่าไปในตอนต้น เวเกเนอร์หลงใหลในการสำรวจขั้วโลกเหนือเป็นชีวิตจิตใจ ตลอดชีวิตของเขามีโอกาสไปเยือนขั้วโลกเหนือ (กรีนแลนด์) ถึง 4 ครั้ง โดยใน 3 ครั้งแรก เขาและทีมงานประสบความสำเร็จอย่างมากในการสำรวจ รัฐบาลเยอรมันจึงสนับสนุนเงินทุนให้เวเกเนอร์เพื่อเดินทางไปเป็นครั้งที่ 4 ในปี พ. ศ. 2473 ( 1 ปี หลังจากโฮมนำเสนอเรื่องกระแสพาความร้อน แต่ยังไม่ได้รับความสนใจ) โดยมีเป้าหมายหลักในการประเมินความหนาของชั้นน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ

ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาเขาจะสำเร็จในการสำรวจและกลับเยอรมันได้อย่างปลอดภัย แต่ครั้งที่ 4 เขาประเมินความโหดร้ายของสภาพอากาศต่ำไป ในระหว่างการออกสำรวจ อุณหภูมิลดต่ำลงถึง -60 องศาเซลเซียส การเดินทางครั้งนี้จึงจบลงด้วยการสูญเสีย เขาและเพื่อนต้องฆ่าสุนัขลากเลื่อนกินเพื่อประทังชีวิต แต่เวเกเนอร์เสียชีวิตจากความอ่อนเพลีย ขณะพยายามกลับค่ายที่พัก โดยราสมุส วิลลัมเซ็น (Rasmus Villumsen) เพื่อนบัดดี้ที่เดินทางไปด้วยกัน ฝังเขาไว้ระหว่างทางและปักสกีเอาไว้เป็นเครื่องหมาย ส่วนวิลลัมเซ็นคาดว่าคงจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา นักสำรวจหลังพบร่างของเวเกเนอร์จากสกีที่ปักไว้ แต่ไม่พบร่างของวิลลัมเซ็นซึ่งคาดว่าจะถูกหิมะกลบทับอยู่ที่ไหนซักแห่งในแถบนั้น

หลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์
(ซ้าย) อัลเฟรด เวเกเนอร์ (ขวา) ราสมุส วิลลัมเซ็น ถ่ายที่เกาะกรีนแลนด์ ปี พ.ศ. 2473

ถึงแม้ว่าตลอดช่วงชีวิตของเวเกเนอร์ แนวคิดทวีปเคลื่อน (continental drift) จะไม่เคยได้รับการยอมรับ แต่เชื่อไหมว่า ในอีก 30 ปี ต่อมา แนวคิดนี้ถูกยกมาพูดถึงอีกครั้ง จากการสนับสนุนของ แนวคิดมหาสมุทรแผ่กว้าง (sea-floor spreading)ของแฮรีย์ เฮสส์ ในปี พ.ศ. 2504-2505 ซึ่งสอดรับกับ แนวคิดกระแสพาความร้อน (convection current) ของอาร์เธอร์ โฮล์มส์ ที่เริ่มเป็นที่ยอมรับในปี พ.ศ. 2503

กลไกการเคลื่อนที่ของทวีปได้รับการอธิบายอย่างกระจ่าง และต่อมาแนวคิดทวีปเคลื่อนก็ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของ ทฤษฏีธรณีแปรสัณฐาน (Tectonic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฏีที่พูดคุยกันในเรื่องแผ่นเปลือกโลก และถือได้ว่า อัลเฟรด เวเกเนอร์ เป็นหนึ่งในบิดาด้านธรณีแปรสัณฐานในปัจจุบัน

แม้ว่าเวเกเนอร์จะไม่มีโอกาสได้เห็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าทวีปของเขา แต่ถึงวันนี้ ถ้าได้รับรู้ เชื่อว่าเขาคงชื่นใจ

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

หลักฐานข้อใดที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของเวเกเนอร์

อัลเฟรด เวเนเจอร์ ได้อ้างหลักฐานที่เป็นข้อมูลสนับสนุนทฤษฎีของเขาไว้ดังนี้ หลักฐานสภาพรูปร่างของทวีป จากรูปร่างของทวีปต่าง ๆ ที่สวมเข้ากันได้อย่างพอเหมาะ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้กับทวีปแอฟริกา

หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีการแผ่ขยายพื้นสมุทรมีอะไรบ้าง

หลักฐานที่สนับสนุนว่ามีการแผ่ขยายพื้นมหาสมุทร ได้แก่ 1. เทือกเขากลางสมุทร เนื่องจากเกิดรอยแยกบริเวณมหาสมุทร กลายเป็นบริเวณที่เกิดการปะทุของภูเขาไฟ การแทรกดันของหินหนืดในบริเวณดังกล่าว จะดันให้แผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่ออกจากกัน จากส่วนกลางของเทือกเขากลางมหาสมุทร

หลักฐานใดบ้างที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนว่าทวีปเคยอยู่ติดกันมาก่อน

2. หลักฐานจากความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหิน และแนวภูเขา กลุ่มหินที่พบในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอนตาร์กติกา ทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย และอนุทวีปอินเดียว เกิดในสภาพแวดล้อมบนบกที่หนาวเย็น และมีการระเบิดของภูเขาไฟเหมือนกัน แสดงว่าทวีปเหล่านี้เคยอยู่ติดกันมาก่อน

เพราะเหตุใด อัลเฟรด เวเกเนอร์จึงเชื่อว่าทวีปต่าง ๆ ในปัจจุบันเคยติดกันเป็นแผ่นเดียวมาก่อน

เพราะว่ามีหลักฐาน 1. มีกายภาพของทวีปต่อกันได้ (ทวีปอเมริกาใต้ กับ ทวีปแอฟริกา) 2. มีซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนกัน