แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร

กลอนบทละคร

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
                                      (คำนำ ได้แก่ คำว่า “เมื่อนั้น”  “บัดนั้น” หรือ “มาจะกล่าวบทไป”)

ละครนอก มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นละครที่แสดงกันนอกราชธานี แต่เดิมคงมาจากการละเล่นพื้นเมือง และร้องแก้กัน แล้วต่อมาภายหลังจับเป็นเรื่องเป็นตอนขึ้น เป็นละครที่ดัดแปลงวิวัฒนาการมาจากละคร “โนห์รา” หรือ “ชาตรี” โดยปรับปรุงวิธีแสดงต่างๆ ตลอดจนเพลงร้อง และดนตรีประกอบให้แปลกออกไป

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
   
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
   
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
 

   

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
   
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
   
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
     
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
   
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
 
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร

ผู้แสดง
          ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน ผู้แสดงจะต้องมีความคล่องแคล่วในการรำ และร้อง มีความสามารถที่จะหาคำพูดมาใช้ในการแสดงได้อย่างทันท่วงทีกับเหตุการณ์ เพราะขณะแสดงต้องเจรจาเอง

การแต่งกาย
          ในขั้นแรกตัวละครแต่งตัวอย่างคนธรรมดาสามัญ เป็นเพียงแต่งให้รัดกุมเพื่อแสดงบทบาทได้สะดวก ตัวแสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบเฉียง ให้ผู้ชมละครทราบว่าผู้แสดงคนนั้นกำลังแสดงเป็นตัวนาง ถ้าแสดงบทเป็นตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากาก ต่อมามีการแต่งกายให้ดูงดงามมากขึ้น วิจิตรพิสดารขึ้น เพราะเลียนแบบมาจากละครใน บางครั้งเรียกการแต่งกายลักษณะนี้ว่า “ยืนเครื่อง”

เรื่องที่แสดง
          แสดงได้ทุกเรื่องยกเว้น ๓ เรื่อง คือ อิเหนา อุณรุฑ และรามเกียรติ์ บทละครที่แสดงมีดังนี้ คือ สมัยโบราณ มีบทละครนอกอยู่มากมาย แต่ที่มีหลักฐานปรากฏมีเพียง ๑๔ เรื่อง คือ การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ และโสวัต
สมัยรัตนโกสินทร์ มีบทพระราชนิพนธ์ละครนอกในรัชกาลที่ ๒ อีก ๖ เรื่อง คือ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย (สังข์ศิลป์ชัย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โดยรัชกาลที่ ๒ ทรงแก้ไข)

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
การแสดง
          มีความมุ่งหมายในการแสดงเรื่องมากกว่าความประณีตในการร่ายรำ ฉะนั้นในการดำเนินเรื่องจะรวดเร็ว ตลกขบขัน ไม่พิถีพิถันในเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้ถ้อยคำของผู้แสดง มักใช้ถ้อยคำ “ตลาด” เป็นละครที่ชาวบ้านเรียกกันเป็นภาษาธรรมดาว่า “ละครตลาด” ทั้งนี้เพื่อให้ทันอกทันใจผู้ชมละคร

ดนตรี
          มักนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ก่อนการแสดงละครนอก ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น เป็นการเรียกคนดู เพลงโหมโรงเย็นประกอบด้วย เพลงสาธุการ ตระ รัวสามลา เข้าม่าน ปฐม และเพลงลา

เพลงร้อง
          มักเป็นเพลงชั้นเดียว หรือเพลง ๒ ชั้น ที่มีจังหวะรวดเร็ว มักจะมีคำว่า “นอก” ติดกับชื่อเพลง เช่น เพลงช้าปี่นอก โอ้โลมนอก ปีนตลิ่งนอก ขึ้นพลับพลานอก เป็นต้น มีต้นเสียง และลูกคู่ บางทีตัวละครจะร้องเอง โดยมีลูกคู่รับทวน มีคนบอกบทอีก ๑ คน

สถานที่แสดง
          โรงละครเป็นรูปสี่เหลี่ยมดูได้ ๓ ด้าน (เดิม) กั้นฉากผืนเดียวโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามท้องเรื่อง มีประตูเข้าออก ๒ ทาง หน้าฉากตรงกลางตั้งเตียงสำหรับตัวละครนั่ง ด้านหลังฉากเป็นส่วนสำหรับตัวละครพักหรือแต่งตัว

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร

ละครใน ละครในมีหลายชื่อ เช่น ละครใน ละครข้างใน ละครนางใน และละครในพระราชฐาน เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละครในแสดงมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หลังสมัยรัชกาลที่ ๖ มิได้มีละครในในเมืองหลวงอีก เนื่องจากระยะหลังมีละครสมัยใหม่เข้ามามาก จนต่อมามีผู้คิดฟื้นฟูละครในขึ้นอีก เพื่อแสดงบ้างในบางโอกาส แต่แบบแผน และลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
       
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร
       
แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร

ผู้แสดง
          เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา

การแต่งกาย
พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า “ยืนเครื่อง” ทั้งตัวพระ และตัวนาง

เรื่องที่แสดง
มักนิยมแสดงเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุท อิเหนา และรามเกียรติ์

การแสดง
          ละครในมีความมุ่งหมายอยู่ที่ศิลปะของการร่ายรำ ต้องให้แช่มช้อยมีลีลารักษาแบบแผน และจารีตประเพณี

ดนตรี
          ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก แต่เทียบเสียงไม่เหมือนกัน จะต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับเสียงของผู้หญิงที่เรียกว่า “ทางใน”

เพลงร้อง
ปรับปรุงให้มีทำนอง และจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียง และลูกคู่ มักมีคำว่า “ใน” อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน

สถานที่แสดง
          แต่เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาไม่จำกัดสถานที่

แหล่งข้อมูล : http://www.thaidances.com/data/3.asp

ตัวอย่าง กลอนบทละคร เรื่องแก้วหน้าม้า

มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวมงคลราชเรืองศรี
ครองกรุงมิถิลาธานี เปรมปรีดิ์ภิรมย์ฤทัย
ท้าวมีอัคเรศชายา ชื่อมณฑาเทวีศรีใส
พร้อมพรั่งสุรางค์นางใน นับได้ถ้วนหมื่นหกพัน
ร้อยเอ็ดนัคเรศบุรีรมย์ มาบังคมทรงเดชทุกเขตขัณฑ์
มีโอรสยศยงทรงธรรม์ นามนั้นนรินทร์พินทอง
พรั่งพร้อมพหลมนตรี มิได้มีทุกข์ทนหม่นหมอง
เกษมสุขภิรมย์สมปอง ทั่วท้องประเทศธานีฯ

ฯ ๘ คำ ฯ

ร่าย

๏ ครั้นเวลาสางสายพรายพรรณ สุริยันแจ่มจรัสรัศมี
มาโสรจสรงคงคาวารี จรลียังช่องบัญชรชัยฯ

ฯ ๒ คำ ฯ

สามเส้า

๏ ครั้นถึงจึงเผยพระแกลยล เสนาสามนต์หมอบไสว
พระบัญชาว่าขานการเวียงชัย ถามไถ่ถ้อยความตามมีฯ

ฯ ๒ คำ ฯ

ร่าย

๏ บัดนั้น อำมาตย์จัตุสดมภ์ทั้งสี่
ต่างทูลถ้อยความตามคดี ถ้วนถี่โดยแบบบุราณมาฯ

ฯ ๒ คำ ฯ

๏ เมื่อนั้น พระองค์ทรงภพนาถา
สายแสงสมควรจวนเวลา ไคลคลาเข้าที่ประทมในฯ

แผนผังกลอนบทละครมีลักษณะอย่างไร

กลอนบทละครมีลักษณะบังคับอย่างไร

กลอนบทละครมีลักษณะบังคับเช่นเดียวกับกลอนสุภาพ วรรคหนึ่งมี 6 ถึง 9 คำ แต่นิยมใช้เพียง 6 ถึง 7 คำจึงจะเข้าจังหวะร้องและรำทำให้ไพเราะยิ่งขึ้น กลอนบทละครมักจะขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น สำหรับตัวละครที่เป็นกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์สูง บัดนั้น สำหรับตัวละครที่เป็นเสนาหรือคนทั่วไป มาจะกล่าวบทไป ใช้สำหรับนำเรื่อง เกริ่นเรื่อง

ข้อใดเป็นลักษณะของกลอนบทละคร

"มาจะกล่าวบทไป".
กลอนบทละครกำหนดคำในวรรค หนึ่งได้ตั้งแต่ ๖-๙ คำ แต่ที่นิยม แต่งมักเป็น ๖ หรือ ๗ คำ เพราะ เข้าจังหวะและทำนองร้องได้ดี.
สัมผัส ให้ถือหลักเกณฑ์ของกลอน สุภาพเป็นหลัก เพราะกลอน บทละครเป็นกลอนผสม ... .
เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคที่นิยม ในกลอนสุภาพนั้น ในกลอนบทละครไม่เคร่งครัดนัก ... .
วรรคแรกหรือวรรคสดับของบทละคร.

ลักษณะคําประพันธ์ เรื่อง รามเกียรติ์ เป็นแบบใด

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้รับเค้าเดิมมาจากวรรณคดีเรื่อง มหากาพย์รามายณะ ของอินเดีย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นผู้พระราชนิพนธ์ แต่งด้วยบทประพันธ์ 3 ปะเภท ได้แก่ ร่ายดั้น (เปิดเรื่อง) กลอนบทละคร (ดำเนินเรื่อง) และโคลงกระทู้กับโคลงสี่สุภาพ (ปิดเรื่อง) มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อให้ ...

อิเหนาเป็นกลอนประเภทใด

นิราศอิเหนา
กวี
สุนทรภู่
ประเภท
กลอนนิราศ
คำประพันธ์
กลอนสุภาพ
ยุค
รัชกาลที่ 3
นิราศอิเหนาth.wikipedia.org › wiki › นิราศอิเหนาnull