การคิดค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

“ค่าไฟฟ้า” ถือเป็นรายจ่ายประจำของผู้ใช้ไฟฟ้า หรือผู้ที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าให้กับ 2 การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นรายเดือน จึงต้องมีความเข้าใจใน การคำนวณค่าไฟฟ้า

ค่าไฟฟ้าของไทย กำหนดให้มีการพิจารณาปรับอัตรา ‘ค่า Ft’ หรือ ‘ค่าไฟฟ้าผันแปร’ ในทุก ๆ 4 เดือน หรือใน 1 ปี จะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 งวด คือ

งวดที่ 1 กำหนดเดือนมกราคม-เมษายน
งวดที่ 2 กำหนดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
งวดที่ 3 กำหนดเดือนกันยายน-ธันวาคม

ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลา สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ภายใต้การกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

การคิดค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

สูตร การคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านพักอยู่อาศัย

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) คิดอัตราค่าบริการต่อหน่วยเท่ากัน โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า ดังนั้นหากใช้ไฟฟ้ามากเท่าไร ก็จะต้องจ่ายค่าไฟมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกลุ่มบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ จะติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้า หรือมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 5 แอมป์ 220 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย หรือ ถูกจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1

การคำนวณค่าไฟฟ้า ตามสูตรโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย 4 ส่วนรวมกัน คือ

1. ค่าไฟฟ้าฐาน
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft)
3. ค่าบริการรายเดือน
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

ในสูตรคำนวณนี้ ค่าไฟฟ้าฐาน คือ ค่าการใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะคิดจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โดยวิธีการคำนวณก็จะแบ่งตามประเภทผู้ใช้งาน ได้แก่

  1. ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
  2. ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก
  3. ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง
  4. ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่
  5. ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง
  6. ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
  7. ประเภทที่ 7 กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  8. ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราว

สูตร (ค่าไฟฟ้าฐาน = จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย)

อัตราปกติ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ 1.1.1 (บ้านอยู่อาศัย) ดังนี้

15 หน่วยแรก : หน่วยที่ 0-15 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 2.34 บาทต่อหน่วย
10 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 16-25 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 2.98 บาทต่อหน่วย
10 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 26-35 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.24 บาทต่อหน่วย
65 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 36-100 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.62 บาทต่อหน่วย
50 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 101-150 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.71 บาทต่อหน่วย
250 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 151-400 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 4.22 บาทต่อหน่วย

การคิดค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า Ft = จำนวนหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ x อัตราค่า Ft โดย ค่า Ft เป็นไปตามมติ กกพ. ที่จะพิจารณาในทุก ๆ 4 เดือน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ค่าบริการรายเดือน) x 7%

ทั้งนี้อัตราค่าไฟฟ้าฐานดังกล่าว เป็นตัวอย่างอัตราที่กำหนดไว้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย โดยในแต่ละประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ก็จะแบ่งหน่วยการคิดค่าไฟฟ้า แยกย่อยตามแต่ละหน่วยคือ ยิ่งใช้ไฟมากก็ยิ่งจ่ายค่าไฟแพงขึ้นเท่านั้น

การคิดค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

รู้แบบนี้แล้วหากต้องการจ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนไม่แพงจนเกินไป สิ่งที่ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภททำได้ด้วยตัวเอง ก็คือการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อลดหน่วยค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการคำนวณค่าไฟฟ้าให้ใช้น้อยที่สุด ส่วนค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) นั้นเป็นองค์ประกอบที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละประเภท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

  • กำเนิด ‘ค่า Ft’ กลไกสะท้อนต้นทุนค่าไฟฟ้า
  • ‘กกพ.’ กับ ‘แผนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน’ ภารกิจที่ยิ่งใหญ่มาตลอด 13 ปี
  • ‘กกพ.’ ผู้กำกับดูแลกิจการ ‘ไฟฟ้า’ และ ‘ก๊าซธรรมชาติ’ ให้เพียงพอและมั่นคง

การคิดค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

4 เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ ‘ค่าไฟฟ้า’

โดย…ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และโฆษกกระทรวงพลังงาน

จากตัวเลขการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยในแต่ละปี มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง นั่นก็เป็นเพราะทุกคนเห็นประโยชน์และความสำคัญของไฟฟ้า และทุกวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวันของเรา ที่ช่วยให้ชีวิตของเรามีความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งในอนาคตตามนโยบาย Thailand 4.0 ที่จะขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้ “ไฟฟ้า” กลายเป็นเชื้อเพลิงหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในระบบไฟฟ้าก็กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้เอง-ผลิตเองที่มากขึ้นผ่านพฤติกรรมต่างๆ อย่างเช่น  ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) และระบบผลิตไฟบนหลังคา (Solar Rooftop) เป็นต้น

ดังนั้น เรื่อง “ไฟฟ้า” จึงถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเราทุกคน แต่ละครอบครัวต้องจ่ายบิล “ค่าไฟ” เป็นประจำ ซึ่งวันนี้ผมจะขอนำเรื่องควรรู้ 4 เรื่อง มาเล่าสู่กันฟังครับ

1.องค์ประกอบของค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง? : ค่าไฟที่เราจ่ายกันทุกเดือนประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ  ค่าพลังงานไฟฟ้า (ค่าไฟฐาน) ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ค่าบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม

– ค่าไฟฟ้าฐาน คิดจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวมถึงค่าเชื้อเพลิงและการรับซื้อไฟฟ้าตามนโยบายต่างๆ (G)  ค่าระบบส่งไฟฟ้า (T) ค่าระบบจำหน่ายไฟฟ้า (D) โดยค่าไฟฟ้าฐานจะมีการพิจารณาโครงสร้างทุกๆ 3-5 ปี  แต่ระหว่าง 3-5 ปีนี้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอาจจะเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์ไว้ เช่น การขึ้น หรือลดราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับกรณีการซื้อไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ เป็นต้น

– ดังนั้น จึงต้องมีค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (Ft) ซึ่งจะพิจารณาทุกๆ 4 เดือน โดยนำต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปมาบวก ลบกับค่าไฟฟ้าฐาน เพื่อปรับปรุงค่าไฟฟ้า ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนจริง เมื่อนำมาคำนวณรวมกับค่าบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็จะเป็นค่าไฟฟ้า ตามที่เราเห็นในบิลค่าไฟฟ้า

2.ใครกันนะที่ทำหน้าที่กำกับสูตรค่าไฟ? : คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เป็นหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติของประเทศ ซึ่งจะกำกับสูตรค่าไฟให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และผู้ผลิตไฟฟ้านั่นเอง

3.เชื้อเพลิงอะไรที่ประเทศไทยใช้เยอะที่สุดในการผลิตไฟฟ้า? : แม้ว่าประเทศไทยจะสามารถใช้เชื้อเพลิงหลากหลายชนิดในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล แต่ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้มากที่สุด และใช้มากกว่า 60% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิด จะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป และเปลี่ยนแปลงไปตามราคาตลาดโลก แน่นอนว่า ยิ่งเชื้อเพลิงชนิดใดมีความผันผวนสูง จะยิ่งทำให้ค่าไฟฟ้าของเราปรับขึ้นลงมากตามไปด้วย

และ 4.ราคาค่าไฟเฉลี่ย ปัจจุบันอยู่ที่เท่าไร? : สำหรับราคาค่าไฟฟ้าของไทยในครึ่งปีแรกของปี 2560 อยู่ที่ 3.44 บาท/หน่วย ปรับลดลงจากปลายปี 2559 ที่ 4 สตางค์/หน่วย เนื่องจากการปรับลดราคาลงของก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่เราใช้มากที่สุด ถึงแม้วันนี้ราคาก๊าซธรรมชาติอาจจะปรับราคาลดลง แต่การคาดการณ์ราคาและเลือกใช้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดให้สมดุลก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเราพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใด ชนิดหนึ่งมากจนเกินไป เวลาที่เชื้อเพลิงชนิดนั้นๆ มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ก็จะทำให้ประเทศของเราต้องแบกรับภาระค่าไฟที่สูงขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้น โดยทฤษฎีแล้ว “การกระจายความเสี่ยงด้วยการเลือกใช้เชื้อเพลิงหลากหลายชนิด” จะช่วยให้ประเทศไทยมีค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และลดภาระของผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ก็เพื่อความสุขของคนไทยทุกคนครับ

การคิดค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

การคิดค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง

การคิดค่าไฟฟ้ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ.
1. ค่าไฟฟ้าฐาน ... .
2. ค่า Ft. ... .
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม.

ค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายคิดมาจากอะไรบ้าง

1.องค์ประกอบของค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง? : ค่าไฟที่เราจ่ายกันทุกเดือนประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ ค่าพลังงานไฟฟ้า (ค่าไฟฐาน) ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ค่าบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าไฟฟ้าฐาน มีอะไรบ้าง

1. ค่าไฟฟ้าฐาน กำหนดจากค่าลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า สถานีจ่ายไฟฟ้าและค่าเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้าฐานมีอัตราแน่นอน โดยแบ่งตามผู้ใช้ไฟฟ้า 7 ประเภทอัตราค่าไฟฟ้าฐานมีการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2534 และได้แยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกเมื่อเดือนมกราคม 2540 ปัจจุบันยังไม่มีการปรับซึ่งหากมีการปรับอัตราค่าไฟฟ้าฐาน ต้องได้รับความ ...

ค่าบริการไฟฟ้าคืออะไร

ค่าพลังงานไฟฟ้า คือ ต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งค่าเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ค่าบริการ คือ ต้นทุนในการอ่าน และจดหน่วย การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระค่าไฟฟ้า