โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา “กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง”

สากล พรหมสถิตย์. (2560) กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.คลิกเอกสาร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นกฎหมายสูงสุดฉบับที่ 20 ตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (รัฐสภา) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475

      รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ โดยเป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันทางการเมืองในการจัดองค์กรบริหารของรัฐ รวมถึงการคุ้มครองและรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่น ๆ จึงกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง เพราะเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญทุกประเทศต่างบัญญัติเรื่องของอำนาจการบริหารประเทศไว้ทั้งสิ้น ไม่ว่าประเทศนั้นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ระบอบคอมมิวนิสต์ หรือระบอบการปกครองอื่น ต่างก็บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเรื่องเดียวกัน คือ เรื่องอำนาจการบริหารประเทศ

© รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งสามารถแสดงออกถึงคุณค่า 3 ประการ อันประกอบด้วยคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ คุณค่าทางปรัชญา และคุณค่าทางกฎหมาย

    • รัฐธรรมนูญเป็นสัญลักษณ์แห่งการสถาปนารัฐและการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
    • รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสะท้อนปรัชญาการเมือง
    • รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการสถาปนาระบบกฎหมาย

© ประเทศไทยนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาแบบประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2564 เป็นเวลา 89 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยได้ประกาศยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการกำหนดรูปแบบ สถาบัน และวิธีการในการปกครองประเทศ มาแล้วถึง 20 ฉบับ

ในบทความนี้จะกล่าวถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในสาระสำคัญ ที่เกี่ยวกับ บททั่วไปของรัฐธรรมนูญ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

© รัฐธรรมนูญ เป็นคำที่แปลมาจากคำว่า Constitution เริ่มนำมาใช้เมื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) ฉบับที่ 2 ที่ประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุด เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 โดยตามศัพท์ รัฐธรรมนูญแปลว่าระเบียบอำนาจหน้าที่ในการปกครองแผ่นดิน

© กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นรากฐานที่มาแห่งกฎหมายอื่น ซึ่งได้กำหนดถึงที่มาแห่งอำนาจอธิปไตย การใช้อำนาจอธิปไตย และรวมถึงองค์กรและสถาบันทางการเมือง ความสัมพันธ์ขององค์กรหรือสถาบันทางการเมือง รวมถึงการกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชน

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ความเบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

→ สำหรับคำปรารภเบื้องต้นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ระบุเหตุผลในการประกาศใช้ เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (ราชกิจจานุเบกษา, 2557) ที่บัญญัติให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครอง และเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น โดยได้กำหนดกลไกเพื่อจัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้นใหม่ ด้วยการจัดโครงสร้างของหน้าที่และอำนาจขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรม และสัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารให้เหมาะสม การให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุจริต เที่ยงธรรม และมีส่วนร่วมในการป้องกันหรือแก้ไขวิกฤตของประเทศตามความจำเป็นและความเหมาะสม

→ รวมถึงการรับรอง ปกป้องและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยให้ชัดเจนและครอบคลุมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยถือว่าการมีสิทธิเสรีภาพเป็นหลัก การจำกัดตัดสิทธิเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น แต่การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เพื่อคุ้มครองส่วนรวม

→ การกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต่อประชาชนเช่นเดียวกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ต่อรัฐ การวางกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ และการกำหนดมาตรการป้องกันและบริหารจัดการวิกฤติการณ์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนได้กำหนดกลไกอื่น ๆ ตามแนวทางที่รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ระบุไว้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ราชกิจจานุเบกษา, 2560) มีบทบัญญัติ จำนวน 279 มาตรา ในที่นี้ จะได้อธิบายเพื่อประโยชน์ในการศึกษา โดยยึดตามหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบของรัฐ รูปแบบการปกครอง ที่มาและผู้ใช้อำนาจอธิปไตย หลักการใช้อำนาจอธิปไตย หลักความเสมอภาคของประชาชนชาวไทย และหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ พอสังเขป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

บททั่วไป : หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ

→ รัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติในสาระสำคัญ หลักการทั่วไป ไม่ระบุรายละเอียด เพราะเป็นเอกสารแม่บทที่ใช้ได้อีกในระยะเวลานาน ถ้าระบุเนื้อหาไว้ยาวเกินไปอาจก่อให้เกิดความล้าสมัยได้ เนื้อหาสาระที่สำคัญของรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วย

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 1 “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” คือบทบัญญัติเรื่องรูปแบบของรัฐ นามประเทศ กำหนดนามประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้มีชื่อว่าประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรคือมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข และเป็นรัฐเดี่ยวที่จะแบ่งแยกมิได้

มุ่งหมายกำหนดรูปแบบของรัฐว่าประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 2 “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” คือบทบัญญัติเรื่องรูปแบบการปกครอง กำหนดให้ประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มุ่งหมายกำหนดรูปแบบการปกครองของประเทศว่าปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” คือบทบัญญัติเรื่องที่มาและผู้ใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภาอันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ทั้งนี้ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม อันเป็นหลักการใช้อำนาจอธิปไตย

มุ่งหมายกำหนดหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยยืนยันว่าอำนาจอธิปไตยยังคงเป็นของประชาชน มีพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านทางองค์กรทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญกำหนด

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ส่วนความในวรรคสอง “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม”

มุ่งหมายกำหนดกรอบและเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรต่างๆ

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 4 “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” คือบทบัญญัติเรื่องหลักความเสมอภาคของประชาชนชาวไทย คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค กำหนดให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ปวงชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย และตามพันธกรณีระหว่างประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้เสมอกันทุกคน

มุ่งหมายกำหนดหลักประกันเพื่อคุ้มครองความเท่าเทียมกันของบุคคล สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลและปวงชนชาวไทย

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 5 “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้” คือบทบัญญัติเรื่องหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และรวมถึงเรื่องหลักการอุดช่องว่างของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ มุ่งหมายกำหนดหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด และบทบัญญัติที่เป็นทางออกในกรณีที่ไม่มีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญลำดับที่ 20 ที่ได้ประกาศใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย สาระสำคัญอยู่ในหมวดทั่วไป คือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้”

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติกำหนดองค์กรที่เป็นสถาบันทางการเมืองที่ประกอบด้วย รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล โดยรัฐสภาให้ใช้ระบบ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 350 คน และมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง 150 คน วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม ในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

→ คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

→ หมวดว่าด้วยศาลมี 3 ศาล คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร โดยแยกศาลรัฐธรรมนูญไปบัญญัติแยกไว้อีกหมวดหนึ่งต่างหาก โดยวางหลักประกันความเป็นอิสระให้ผู้พิพากษาและตุลาการย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง ให้แต่ละศาลยกเว้นศาลทหาร มีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น และให้ศาลยุติธรรมและศาลปกครองมีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะ ตามความเหมาะสมที่กฎหมายบัญญัติ

รัฐธรรมนูญที่ได้ประกาศใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไปอาจทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง หรืออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน จึงเป็นปกติธรรมดาที่รัฐธรรมนูญย่อมสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์และความต้องการของประชาชน

มีองค์กรอิสระมี 5 องค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คำสำคัญ :

รัฐธรรมนูญ, กฎหมายสูงสุด, สถาบันการเมือง

เอกสารอ้างอิง
  1. จุมพล หนิมพานิช. (2551). “รัฐสภา” ในเอกสารการสอนชุดวิชา สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย หน่วยที่ 9-15 (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  2. ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2562). กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
  3. ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
  5. มานิตย์ จุมปา. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. (22 กรกฎาคม2557 เล่ม 131 ตอนที่ 55ก.). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557.
  7.           . (2560 6 เมษายน 2560 เล่มที่ 134 ตอนที่ 40ก.). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
  8. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
  9. วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์.
  10. หยุด แสงอุทัย. (2538). หลักรัฐธรรมนูญทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
  11. บุญร่วม เทียมจันทร์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ THE LAW GROUP.
โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง
 
เพิ่มเติม 6 เมษายน 2565

นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก (ฉบับชั่วคราว) คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ต่อมามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (ฉบับถาวร) ขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ประเทศไทยจึงถือเอาวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญมาจนถึงทุกวันนี้ นับตั้งแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ฉบับแรก พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2560 เป็นเวลา 85 ปีเศษแล้ว ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญถึง 20 ครั้ง 20 ฉบับ เฉลี่ยแล้วประเทศไทยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญถึง 4  ปี ต่อครั้ง (บุญร่วม เทียมจันทร์, 2560 : 9)

รัฐธรรมนูญที่มีจำนวนมาตราน้อยที่สุดรวม 20 มาตรา คือ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2502 ที่มีจำนวนมาตรามากที่สุดรวม 336 มาตรา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

รัฐธรรมนูญที่มีอายุน้อยที่สุดเพียง 5 เดือน คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ที่มีอายุยาวที่สุดรวม  13 ปีเศษ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475

เหตุสิ้นสุดอายุรัฐธรรมนูญไทยเพราะใช้รัฐธรรมนูญใหม่รวม 9 ครั้ง เพราะปฏิวัติรัฐประหารรวม 9 ครั้ง (บุญร่วม เทียมจันทร์, 2560 : 14)

จากการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง คณะ “คสช.” ได้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ขึ้นใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

หลังจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ได้ส่งไปให้ประชาชนลงประชามติว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ผลปรากฏว่าประชาชนลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จากนั้นนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) จึงได้นำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)

บัดนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 เป็นต้นไป (บุญร่วม เทียมจันทร์, 2560 : 15)

บุญร่วม เทียมจันทร์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ THE LAW GROUP.

โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วยอะไรบ้าง
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
    • รัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมา 19 ฉบับ
    • สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
    • รายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
    • เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
    • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560
    • กลับหน้าหลัก

เชิงอรรถ

หมวด 1 บททั่วไป

มาตรา 1

      • ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา 2

      • ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา 3

      • อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
      • รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาตและความผาสุกของประชาชนโดยรวม

มาตรา 4

      • ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
      • ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน

มาตรา 5

      • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
      • เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันคือฉบับใด

กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญลำดับที่ 20 ที่ได้ประกาศใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย สาระสำคัญอยู่ในหมวดทั่วไป คือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรง ...

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับได้ให้ความสำคัญสูงสุดกับสิ่งใด

1. การประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยรัฐธรรมนูญจะมีการบัญญัติเรื่องสิทธิของ ประชาชนไว้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้ความสาคัญสูงสุด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันใช้เมื่อไหร่และเป็นฉบับที่เท่าใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 มีที่มาจากการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เพื่อจัดทำร่างฯ ฉบับใหม่ ประกอบด้วยสมาชิก 21 คน มีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน เมื่อร่างเสร็จแล้ว มีการลงประชามติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้มาใช้สิทธิร้อย ...

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีโครงสร้างแบ่งออกเป็นกี่หมวด

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเตรียมพิจารณารายงานของ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ ในวันที่ 10 ก.ย. นี้ หลังพวกเขาใช้เวลานาน 8 เดือนเต็ม ในการพิจารณาศึกษารัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งมีเนื้อหา 16 หมวด 279 มาตรา ทว่าในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ทาง กมธ. เห็นว่า "ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาศึกษา" จึงข้ามไปเริ่มพิจารณาตั้งแต่หมวด 3.