บันได 3 ขั้น สู่การ ประกอบ ธุรกิจ แบบ พอ เพียง ประกอบด้วย อะไร บ้าง

บันได 3 ขั้น สู่การ ประกอบ ธุรกิจ แบบ พอ เพียง ประกอบด้วย อะไร บ้าง

1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร

         เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่
ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนิน
ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

2.เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร

         เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้

3.ใครที่สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได

        เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญาที่ทุกๆ คน สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง นักเรียน เกษตรกร ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน สถาบันต่างๆ ทั้งนอกภาคการเกษตรและในภาคการเกษตร สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาธุรกิจการค้าได้จริง

4.หลักการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

        การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้

          1.ความพอประมาณ
          2.ความมีเหตุผล
          3.การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

โดยการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงที่ดีจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม ตลอดจนต้องเป็นคนดี มีความอดทน พากเพียร 
        ความพอประมาณ หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต การดำเนินธุรกิจอย่างพอเพียงตามความสามารถ และศักยภาพของตนที่มีอยู่ และต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสมตลอดจนพึงนึกถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ
        การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เป็นการเตรียมความพร้อม ความรู้ ที่จะรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง

 หรือที่เราได้ยินกันคุ้นหูก็คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

บันได 3 ขั้น สู่การ ประกอบ ธุรกิจ แบบ พอ เพียง ประกอบด้วย อะไร บ้าง


การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เราสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่ายดังนี้
      1.ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟื่อยในการดำรงชีวิต
      2.ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
      3.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง
      4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยขวนขวายหาความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูนจนถึงขั้นพอเพียง
      5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป

5.การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจะเกิดผลอย่างไร

การดำเนินการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจักนำไปสู่
      1.การดำรงชีวิตที่สมดุลมีความสุขตามอัตภาพ
      2.การพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและประเทศชาติมั่นคง
      3.การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดวามเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

“...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ําไป...”

พระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา ฉบับประจําเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒

บันได 3 ขั้น สู่การ ประกอบ ธุรกิจ แบบ พอ เพียง ประกอบด้วย อะไร บ้าง

 

ความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียง

    เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นเรื่องที่สอนให้เราพึ่งตนเอง ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น คือสอนในด้านของทางสายกลาง โดยให้เรามีความพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อมากจนเกินไป รู้จักใช้ของอย่างประหยัดและจำเป็น ก่อนจะใช้อะไรต้องมีเหตุผล พิจารณาให้รอบคอบก่อน สอนให้เราเตรียมับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอๆ ให้เรารู้จักวางแผนชีวิตอย่างมีระบบระเบียบไม่ยุ่งเหยิง และให้เรามีความซื่อสัตยื สามัคคี และช่วยเหลือกันในยามลำบาก จะเห็นได้ว่าหากเราทำตามเสรษฐกิจพอเพียงนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายเลย ทั้งต่อตัวเองและสังคม 

    ดังนั้นเราปวงชนชาวไทยจะไม่สามารถมีโครงการที่ดีๆแบบนี้เกิดขึ้นได้แน่นอน ถ้าหากเราไม่มี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผุ้ทรงเป้นทั้งกษัตริยื นักปราชญ์ และพ่อหลวงของแผ่นดินไทย

การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป เช่น ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อที่จะจัดการการใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบ

ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสํานึกที่ดี เอื้ออาทร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว

ด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้ รัก สามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และชุมชน รักษาเอกลักษณ์ ภาษา ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและคงอยู่ ชั่วลูกหลาน เช่น การใช้น้ำอย่างประหยัด ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน ขึ้นลงชั้นเดียวใช้บันไดแทนลิฟท์

ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

    การน้อมนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง จะส่งผลให้การพัฒนาประเทศก้าวหน้าไป อย่างสมดุล ม่ันคง และย่ังยืน พร้อมรับต่อการเปล่ียนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ส่ิงแวดล้อม และเทคโนโลยี อันจะนําไปสู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย”

ที่มา http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/kkb5.html