โลหะหมายถึงอะไรแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง

โลหะ (Metal) คือ วัสดุที่มีส่วนประกอบของธาตุโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย เช่น เหล็ก(Iron, Ferrous), ทองแดง(Copper), เงิน(Silver), อลูมิเนียม(Aluminum), นิเกิล(Nickle), ดีบุก(Tin), สังกะสี(Zinc), ทองคำ(Gold), ทองเหลือง(Brass ประกอบด้วยทองแดง 70% และสังกะสี 30%), ตะกั่ว(Lead) เป็นต้น

ซึ่งโลหะต่างๆเหล่านี้ ค่อยข้างมีเนื้อที่อ่อนไม่แข็งแรงพอสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีการผสมส่วนประกอบอื่นๆเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น น้ำหนักโลหะเบาลง โลหะแข็งแรงยิ่งขึ้น โลหะไม่เป็นสนิม

คุณสมบัติของโลหะ (Metal) มีดังนี้

1.เป็นตัวนำความร้อนได้ดี
2. เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี
3. ไม่ยอมให้แสงผ่าน
4. จุดหลอมเหลวสูง
5. มีความคงทนถาวรตามสภาพ
6. ไม่เสื่อมสลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานะภาพได้ง่าย
7. เป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นโลหะปรอท
8. มีความแข็งและความเหนียว ยกเว้นโลหะปรอท
9. ผิวขาวมันวาว
10. มีการขยายตัวที่อุณหภูมิสูง

ประเภทของโลหะ | Types of metal

โลหะหมายถึงอะไรแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง

1. โลหะที่เป็นเหล็ก(Ferous Metals); F คือ

โลหะที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก
● Steel (เหล็กกล้า เหล็กหล่อ เหล็กเหนียว) ที่มีส่วนประกอบเป็นเหล็ก(Ferrous or Iron), คาร์บอน(C), แมงกานีส(Mn), ซิลิคอน(Si) และธาตุอื่นๆ อีกเล็กน้อย
● Iron or Ferrous (เหล็ก)

โลหะ Ferrous เป็นที่นิยมมากที่สุดในวงการอุตสาหกรรมโครงสร้างต่างๆ เนื่องด้วยเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง สามารถปรับปรุงคุณภาพและรูปทรงได้หลากหลายวิธี เช่น การหล่อ การกลึง การอัดรีดขึ้นรูป เป็นต้น

2. โลหะประเภทไม่ใช่เหล็ก (Non-Ferous Metals); N คือ

โลหะที่ไม่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ หรือมีเพียงเล็กน้อย เช่น
● ดีบุก (Tin)
● อลูมิเนียม (Aluminum)
● สังกะสี (Zinc)
● ตะกั่ว (Lead)
● ทองแดง (Copper)
● ทองคำ (Gold)
● เงิน (Silver)
● ทองคำขาว (Platinum)
● แมกนีเซียม (Magnesium)
● พลวง (Antimony)

โลหะประเภทที่ไม่ใช่เหล็ก Non-Ferrous บางชนิดราคาสูงกว่าเหล็กมาก จึงต้องกำหนดใช้กับงานทางอุตสาหกรรมบางประเภทที่เหมาะสมเท่านั้น เช่น ทองแดงใช้กับงานไฟฟ้า ดีบุกใช้กับงานที่ต้องการทนต่อการกัดกร่อนเป็นสนิม อลูมิเนียมใช้กับงานที่ต้องการลดน้ำหนักให้เบาลง

การระบุคุณสมบัติ และแบ่งชนิดของโลหะรวมไปถึงเมทัลลิคนั้น สามารถใช้ธาตุทางเคมีตามตารางธาตุเป็นตัวแบ่งได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโลหะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติและความสามารถมากมาย ได้แก่ ความสามารถในการทนความร้อนได้ดี มีความมันวาว มีคุณสมบัติในการคงรูปหรือเสียรูปที่อุณหภูมิห้อง และสามารถนำไฟฟ้าได้ จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของโลหะนั้นค่อนข้างมีความแตกต่างและหลากหลาย ทำให้ในปัจจุบันโลหะได้ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางในหลายๆ ด้าน โดยที่คุณสมบัติของโลหะสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของโลหะ

คุณสมบัติของโลหะสามารถแยกได้ทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้

  1. คุณสมบัติทางกล (Mechanical properties) ได้แก่ ความแข็ง (Hardness) ความแกร่ง (Strength)
  2. คุณสมบัติความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด ได้แก่ โมดูลัสความยืดหยุ่น (Modulus of elasticity)
  3. คุณสมบัติทางเคมี (Chemical properties) ได้แก่ ความทนทานต่อการกัดกร่อน
  4. คุณสมบัติทางไฟฟ้า (Electrical properties) ได้แก่ ความต้านทานทางไฟฟ้า
  5. คุณสมบัติทางความร้อน (Thermal properties) ได้แก่ อุณหภูมิจุดหลอมเหลว
  6. คุณสมบัติอื่นๆ ได้แก่ ความสึกหรอ (Wear) และความหนาแน่น

คุณสมบัติทางกล

สำหรับวิชาโลหะวิทยา คุณสมบัติขั้นพื้นฐานในทางกลนั้นประกอบด้วยความแข็งแกร่ง ความแข็ง และความเหนียว (Ductility) ซึ่งทั้ง 3 คุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โดยที่ค่าความแข็งและความแข็งแกร่งจะแปรผกผันกับค่าความเหนียว กล่าวคือ เมื่อวัสดุมีค่าความเหนียวมาก ค่าความแข็งและความแข็งแกร่งจะลดลง ตรงกันข้ามเมื่อวัสดุมีค่าความแข็งและความแข็งแกร่งมากขึ้น ค่าความเหนียวจะลดลงจนทำให้วัสดุมีความเปราะ (Brittle)

ความแข็ง

ความแข็ง หมายถึงความต้านทานการเสียรูปถาวรของวัสดุ ซึ่งที่วัสดุที่มีค่าความแข็งมากจะมีค่าความแข็งแกร่งมากขึ้นเช่นเดียวกัน หากต้องการให้ค่าความแข็งและความแข็งแกร่งเพิ่มโดยที่ค่าความเหนียวไม่ลดลง สามารถทำได้โดยการเติมส่วนผสมของธาตุลงไปในโลหะหลอมขณะอยู่ในขั้นตอนการหลอมโลหะ วิธีการดังกล่าวสามารถเพิ่มคุณภาพด้านความแข็งและความแข็งแกร่งแก่โลหะได้ โดยที่มีค่าความเหนียวคงที่

ความเหนียวและความเปราะ 

ความเหนียวและความเปราะ เป็นคุณสมบัติที่ตรงข้ามกันเสมอ ซึ่งคุณสมบัติทั้งสองดังกล่าวได้ถูกนำมาศึกษาและทดสอบเกี่ยวกับความเหนียวของวัสดุ โดยที่วัสดุที่มีความเหนียว หมายถึงวัสดุที่สามารถยืดได้มากก่อนจะขาดออกจากกัน ส่วนวัสดุที่มีความเปราะหรือมีความเหนียวน้อย หมายถึงวัสดุที่สามารถยืดได้น้อยหรือไม่สามารถยืดได้เลย ก่อนจะขาดออกจากกัน

อโลหะ เป็นวัสดุที่ขาดคุณสมบัติทั่วไปทางองค์ประกอบเคมีของโลหะ จึงมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากโลหะโดยสิ้นเชิง แต่มีโลหะบางชนิดที่สามารถเป็นได้ทั้งโลหะและอโลหะ โลหะเหล่านั้น ได้แก่ คาร์บอน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ และซิลิคอน

อัลลอยด์ หมายถึงการนำโลหะจำนวนตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นโลหะที่มีความแตกต่างและหลากหลายทางคุณสมบัติ โดยการสร้างอัลลอยด์ไม่สามารถสร้างขึ้นได้จากธาตุโลหะบริสุทธิ์ เนื่องจากธาตุเหล่านั้นอ่อนแอเกินกว่าจะนำมาใช้งานได้ ดังนั้นอัลลอยด์จึงถูกสร้างตามสูตรที่กำหนดขึ้นเพื่อให้โลหะมีคุณสมบัติเฉพาะ สามารถนำไปใช้งานเฉพาะด้านตามความเหมาะสมได้

โลหะ มีการค้นพบในรูปของสารประกอบและสินแร่ ซึ่งจะมีการนำสินแร่หรือสารประกอบเหล่านี้มาถลุงเพื่อให้ได้โลหะแยกออกมาอีกที แต่ในขณะเดียวกัน โลหะเนื้อค่อนข้างบริสุทธิ์ที่ได้จากการถลุงนั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที เพราะมีเนื้ออ่อนไม่แข็งแรง และมีคุณสมบัติไม่เพียงพอกับการใช้งานจึงต้องมีการนำไปปรับปรุงคุณสมบัติก่อน เพื่อให้โลหะมีความแข็งแรงพอที่จะนำมาใช้งานได้ ซึ่งโลหะที่ปรับปรุงแล้วนั้นก็จะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานมาก

คุณสมบัติของโลหะในงานอุตสาหกรรม

เมื่อต้องการนำโลหะมาใช้ประโยชน์ในด้านงานอุตสาหกรรม จะต้องมีคุณสมบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

  1. สามารถนำความร้อนได้ดี เพราะงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะต้องใช้ความร้อนเป็นหลัก
  2. เป็นตัวนำไฟฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม
  3. มีความคงทน สามารถทนทานต่อสภาพการใช้งานได้อย่างยาวนาน ไม่เสื่อมอายุได้ง่าย
  4. มีอุณหภูมิปกติ แต่ยกเว้นโลหะประเภทปรอท
  5. ต้องมีความเหนียวและความแข็งสูงมาก แต่ยกเว้นโลหะปรอทเช่นกัน
  6. มีผิวมันขาว ซึ่งก็เป็นสีของโลหะทั่วไป
  7. สามารถขยายตัวที่อุณหภูมิสูงๆ

ประเภทของวัสดุโลหะ

สำหรับประเภทของวัสดุโลหะนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. วัสดุโลหะประเภทเหล็ก

เป็นโลหะที่มีเหล็กเป็นฐาน โดยจะนิยมใช้กันมากในวงการอุตสาหกรรม ตัวอย่างวัสดุโลหะประเภทนี้ ก็คือ เหล็กกล้า เหล็กเหนียวและเหล็กหล่อ เป็นต้น ที่สำคัญวัสดุประเภทนี้ ก็สามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพ ให้มีความแข็งทนยิ่งขึ้นและสามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้หลายวิธีอีกด้วย โดยวิธีที่นิยมใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงรูปทรงส่วนใหญ่นั้น ก็คือการกลึง การหล่อและการอัดรีดขึ้นรูป เป็นต้น

2. วัสดุโลหะประเภทไม่ใช่เหล็ก

เป็นวัสดุโลหะที่ไม่มีเหล็กเป็นส่วนผสมเลย แถมโลหะบางชนิดก็มีราคาสูงกว่าเหล็กอีกด้วย ซึ่งโลหะประเภทนี้ก็ได้แก่ ดีบุก สังกะสี ทองแดง ทองคำ เงิน แมกนีเซียม ตะกั่ว เป็นต้น โดยโลหะประเภทนี้ก็สามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมบางประเภท อย่างเช่น ดีบุกกับงานที่ต้องการความทนต่อการกัดกร่อน ทองแดงกับงานไฟฟ้าและอลูมิเนียมกับงานที่ต้องใช้น้ำหนักเบาอีกด้วย

ความเหนียวและความเปราะของโลหะ

ความเหนียวและความเปราะของโลหะ จะมีความแตกต่างและตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งก็สังเกตได้จากการที่วัตถุนั้นๆ สามารถยืดออกจากกันได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็คือ หากวัสดุสามารถยืดออกจากกันได้มาก ก็แสดงว่ามีความเหนียว แต่หากวัสดุยืดออกจากกันได้แค่นิดเดียวก็ขาดออก นั่นหมายความว่าวัตถุนั้นๆ มีความเปราะมากกว่า

สำหรับโลหะ ได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีความเหนียวแน่น เพื่อคุณสมบัติในการใช้งานที่คงทนและสามารถทนทานต่อการกระแทกได้ดี ทั้งยังสามารถซึมซับพลังงานก่อนจะเกิดความเสียหายได้มากกว่าวัสดุที่เปราะ จึงสรุปได้ว่าโลหะส่วนใหญ่จะมีความเหนียวมากกว่าความเปราะนั่นเอง

แร่โลหะ

โลหะหมายถึงอะไรแบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง

แร่โลหะ ก็คือแร่ที่มีธาตุโลหะเป็นส่วนประกอบหลักอยู่ ซึ่งจะนิยมนำแร่โลหะเหล่านี้มาถลุงเพื่อแยกเอาโลหะบริสุทธิ์ออกมา โดยแร่โลหะก็ถูกแบ่งได้เป็นหลายชนิดดังนี้

  • แร่เหล็ก เป็นแร่ที่มีความแข็งแกร่งที่สุด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในด้านงานการผลิตที่ต้องการความแข็งแรงเป็นหลัก ซึ่งแร่โลหะก็ถือได้ว่าเป็นแร่ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
  • แร่เงิน จะมีลักษณะเป็นเส้นฝอย เหมาะกับการนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับเงิน ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในสายแร่ที่ปนอยู่กับแร่ทองแดง
  • แร่กาลีนา เป็นแร่ที่มีสีน้ำเงิน เมื่อนำมาเผาจะได้กลิ่นกำมะถัน และเมื่อนำมาถลุงจะได้ตะกั่ว
  • แร่ทองแดง นิยมนำมาผสมกับทองเพื่อให้ได้นาก และนิยมนำมาผสมกับสังกะสี เพื่อให้ได้ทองเหลือง ซึ่งส่วนใหญ่จะพบปนอยู่กับแร่เงิน
  • แร่ทองคำ เป็นแร่ที่มักจะพบอยู่ในแร่ชนิดอื่นอีกที เมื่อนำมาถลุงจึงจะได้แร่ทองคำที่บริสุทธ์
  • แร่ดีบุก ส่วนใหญ่แล้วจะมีความแข็งมาก และอยู่ในรูปของก้อนผลึกมากกว่า ซึ่งก็จะนำมาถลุงและเอามาตีแผ่เป็นแผ่นบางๆ มีคุณสมบัติกันความชื้น ใช้ในการห่ออาหารและห่อผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ต้องป้องกันไม่ให้ถูกความชื้น
  • แร่อลูมิเนียม เป็นแร่ที่สามารถนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากการถลุงแร่บอกไซต์
  • แร่แมงกานีส นิยมนำมาถลุงเหล็กเป็นโลหะผสม เพื่อให้ได้เหล็กกล้า ซึ่งส่วนใหญ่แร่แมงกานีสจะพบในสายแร่ที่อยู่ร่วมกับหินแกรนิตและหินอัคนี เป็นต้น
  • แร่แมกนีเซียม มักจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมถลุงโลหะ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแร่แมงกานีสปนอยู่ด้วย โดยจะมีลักษณะเป็นโลหะเบาสีขาวอ่อนและมีความเหนียว
  • แร่ทองคำขาว เป็นเม็ดสีเทาเงินวาว และมักจะไม่เกิดปฏิกิริยากับสาร
  • แร่ตะกั่ว มักจะพบในรูปของสารตะกั่วและกำมะถัน สามารถนำมาทำเป็นแบตเตอรี่ กระสุนปืนและอื่นๆ ได้อีกมากมาย

โลหะ เป็นแร่ธาตุที่นิยมนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในหลายๆ ด้าน จึงถูกนำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมมากที่สุด โดยเฉพาะคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าและความเหนียวแน่น ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโลหะนั้น จะมีความคงทนและสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ทั้งแร่โลหะก็มีอยู่มากมายหลายชนิดซึ่งก็ต้องลองศึกษากันไป ถึงประเภทและคุณสมบัติที่เหมาะกับการนำมาใช้งาน

โลหะแบ่งออกเป็นกี่ประเภทมีอะไรบ้าง

โลหะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ โลหะกลุ่มเหล็ก (ferrous metals) และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (non-ferrous metals)

โลหะ m E t A l S หมายถึงอะไรและแบ่งได้กี่ชนิด

วัสดุประเภทโลหะ(Metals)คือวัสดุที่ได้จากการถลุงสินแร่ต่าง ๆ อันได้แก่ เหล็ก ทองแดงอลูมิเนียม นิเกิล ดีบุก สังกะสี ทองคำ ตะกั่ว เป็นต้น โลหะเมื่อถลุงได้จากสินแร่ในตอนแรกนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นโลหะเนื้อค่อนข้างบริสุทธิ์ โลหะเหล่านี้มักจะมีเนื้ออ่อนไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยตรง ส่วนมากจะนำไปปรับปรุง ...

โลหะที่เป็นเหล็กแบ่งออกได้กี่ชนิด

เหล็ก เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทกับการนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันมากที่สุด และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเหล็กจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เหล็ก (Iron) และ เหล็กกล้า (Steel) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ มีคุณสมบัติที่ต่างกันหลายประการ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะถูกเรียกอย่างเหมารวมกันว่า “เหล็ก” นั่นเอง วันนี้ KACHA จะพาไปทำความเข้าใจ ...

อะไรคือความหมายของโลหะ

โลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น เป็นตัวนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก ไม่ยอมให้แสงผ่าน ผิวของโลหะที่ขัดเรียบจะมีลักษณะเป็นมันวาว