การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีมีลักษณะอย่างไร

อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบเกือบทุกด้านในชีวิตประจำวันของเรา มันช่วยให้เราสามารถเข้าถึงขุมทรัพย์ข้อมูลจำนวนมหาศาล หากเราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และอินเทอร์เน็ตยังทำให้ทุกคนสามารถทำการเผยแพร่ข้อมูลได้ด้วย ซึ่งหมายความว่าทุกคนสามารถเผยแพร่อะไรก็ตามที่พวกเขาต้องการ ทุกคนสามารถแสดงความคิด ความเห็น หรืออารมณ์ได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือคำนึงถึงผลกระทบจากคำพูดหรือภาพของตน

ความเป็นพลเมืองหมายถึงการเป็นคนของประเทศ ความเป็นพลเมืองในประเทศหนึ่ง ๆ จะมาพร้อมกับสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนกฎหมายและข้อบังคับที่พลเมืองดีต้องปฏิบัติตาม บ่อยครั้งที่ความคาดหวังสำหรับพลเมืองดีเหล่านี้เป็นเรื่องของความเข้าใจร่วมกันในหมู่พลเมืองของดินแดนนั้น

แต่อินเทอร์เน็ตไม่ใช่ประเทศเดียว ใครก็ตามที่เข้าไปมีส่วนในโลกออนไลน์เป็นประจำย่อมเป็นพลเมืองดิจิทัลในระดับหนึ่ง ไม่มีประมวลกฎหมายหรือความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล กฎและความคาดหวังของพรมแดนใหม่นี้จึงขึ้นอยู่กับการควบคุมตนเองเป็นส่วนใหญ่

นั่นคือจุดที่ผู้นำเช่นคุณเข้ามามีบทบาท ในฐานะผู้นำองค์กรภาคประชาสังคม คุณมีบทบาทในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางออนไลน์ในเชิงบวก เพียงแค่ปลูกฝังแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีก็สามารถทำให้ผู้คนคิดได้ลึกซึ้งขึ้นว่าสิ่งนี้คืออะไรและอาจกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม

ต่อไปนี้คือองค์ประกอบสำคัญบางประการของความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี

การใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ

การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีหมายถึงการมีพฤติกรรมออนไลน์ในเชิงบวกและปฏิบัติต่อผู้อื่นในลักษณะที่เอาใจเขามาใส่ใจเรา การให้เกียรติและสุภาพต่อผู้อื่นสามารถส่งเสริมให้พวกเขาทำเช่นเดียวกัน ด้วยวิธีนี้เราสามารถเป็นผู้นำโดยทำเป็นตัวอย่าง

นั่นหมายถึงการให้เครดิตผลงานของผู้อื่น ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับข้อพิพาทที่โกรธเกรี้ยวทางออนไลน์ และแชร์เฉพาะข้อมูลที่เรารู้ว่าเป็นความจริง

การรู้เท่าทันดิจิทัล

รู้ว่าข้อมูลดิจิทัลของคุณมาจากไหน เมื่อใดที่คุณสามารถเชื่อถือได้ และคุณจะใช้ข้อมูลนั้นได้อย่างไร การรู้เท่าทันดิจิทัล หมายถึง การคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับแหล่งที่มาของข้อมูลและสาเหตุที่มีการแชร์ข้อมูลบางอย่าง 

ปกป้องตัวเอง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลออนไลน์ของคุณมีความปลอดภัย ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณโดยเฉพาะรหัสผ่าน และปกป้องคนรอบข้างด้วยการไม่แชร์ข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้ง 

คิดก่อนแชร์ 

“คิดก่อนแชร์” เป็นกฎที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งในการเป็นพลเมืองดิจิทัล คุณสามารถสอนกฎนี้ต่อผู้อื่นได้ เพียงแค่ถามตัวเองก่อนแชร์ว่าโพสต์ของคุณมีประโยชน์ ให้เกียรติ และเป็นความจริงหรือไม่

เด็ก ๆ ทั่วโลกถูกสอนให้หยุด ดู และคิดก่อนข้ามถนน หากพวกเขาก้าวออกจากขอบถนนในเวลาที่ผิดจะมีผลที่ร้ายแรงตามมาในทันที

พฤติกรรมในอินเทอร์เน็ตก็มีผลที่ตามมาในชีวิตจริงเช่นกัน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้ที่จะทำตนให้ปลอดภัยในอินเทอร์เน็ต การพิมพ์อะไรในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์อาจดูปลอดภัยและเป็นส่วนตัว แต่อาจส่งผลตามมาอย่างใหญ่หลวง เราทุกคนต้องเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี นั่นก็เพื่อประโยชน์ของพวกเราทุกคน

แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์: แหล่งข้อมูล – We Think Digital (fb.com)

7 ทักษะจำเป็นของการเป็นพลเมืองดิจิทัล

ทุกวันนี้ความรู้พื้นฐานด้านดิจิทัลมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทุกตำแหน่งงาน ทุกอุตสาหกรรมต้องใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาผนวกเข้ากับการทำงาน เพื่อสร้างผลงาน หรือชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการพัฒนาทักษะเพื่อให้การใช้ชีวิตได้ก้าวทันกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคดิจิทัลและอยู่ล้อมรอบตัวเราในปัจจุบัน

ทำไมต้องรู้พื้นฐาน Digital Literacy

สิ่งที่เห็นได้ชัดมากที่สุดเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ตัวอย่างเช่น เมื่อเรามองไปยังเรื่องการทำการตลาด ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งสิ้น น้อยมากที่ธุรกิจจะมีเพียง Local Business เพียงอย่างเดียว ร้านค้าต่าง ๆ ต้องผลักตัวเองเข้าสู่ออนไลน์ เพื่อให้สามารถมีตัวตน หรือต่อให้เป็นร้านต้นตำรับที่เจ้าของร้านไม่สันทัดเรื่องการใช้เทคโนโลยีก็ตาม หากสินค้าหรือบริการมีคุณภาพดีจนเกิดการบอกเล่าปากต่อปาก ท้ายที่สุดแล้วการบอกเล่านั้นก็อาจจะถูกนำขึ้นสู่ออนไลน์ เป็นการพาธุรกิจนั้นเข้าไปอยู่บนโลกดิจิทัลทางอ้อม ด้วยการแนะนำรีวิวร้านตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งปลายทางของผลลัพธ์ก็คือการมีตัวตนบนโลกออนไลน์อยู่ดี

เมื่อมองไปยังภาคการเงินก็เป็นเรื่องดิจิทัลอีกเช่นกัน ทั้งระบบจ่ายเงินผ่าน QR Code การโอนชำระค่าสินค้า การทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร การยื่นภาษีเข้าระบบ ไปจนถึงเรื่องการลงทุนในเหรียญดิจิทัล Cryptocurrency

ระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน ก็ขยับขยายเข้าสู่ออนไลน์เช่นกัน ทั้งการเรียนในคลาสเรียน การทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ไปจนถึงการสอบวัดผลความรู้ เรียกได้ว่าแทบจะทุกอุตสาหกรรมในตอนนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของข้อมูล และเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวพันอย่างเลี่ยงไม่ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ผลักดันให้หลายองค์กรต้องทำงานรูปแบบ Work from Home ก็เหมือนเป็นการต้องยกเครื่ององค์กรกลายๆ ว่าทั้งพนักงาน และผู้บริหารล้วนต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ได้ ดังนั้น การมีรากฐานที่แข็งแรงด้วยความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากจะต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของดิจิทัลแล้ว ยังต้องเรียนรู้วิธีการใช้ประโยชน์ และระมัดระวังโทษหรืออันตรายจากดิจิทัลด้วยเช่นกัน

การเพิกเฉยหรือมองข้ามความรู้ด้านนี้อาจทำให้เราเสียโอกาสหลาย ๆ อย่างและอาจสูญเสียโอกาสในการก้าวหน้าในอนาคต เพราะสิ่งแวดล้อมตอนนี้ได้เร่งเวลาให้สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้า ให้เกิดเร็วขึ้น มีบริษัทมากมายที่ค้นพบว่าการทำงานรูปแบบ Work from Home นั้นตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรและพนักงานมากกว่า จนตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น WFH แบบถาวร บางบริษัทอยู่ระหว่างการผสมผสาน และบางบริษัทกำลังเริ่มต้นปรับเปลี่ยน

7 ทักษะจำเป็นที่ควรมีติดตัว

1. Technology Basics (ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยี)

เริ่มตั้งแต่การใช้งาน Web Browser เข้าใจคอนเซปต์การติดตั้งซอฟต์แวร์ การเชื่อมต่อ Network เบื้องต้น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การจัดการกับฮาร์ดแวร์ เช่น การตั้งค่าเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่เมื่อก่อนหากอยู่ในสำนักงานก็สามารถเรียกไอทีซัพพอร์ตมาช่วยดูให้ได้ แต่เมื่อต้องทำงานแบบ Work from Home หรือกรณีที่ไม่มีฝ่ายไอทีมาช่วยดูแล การรู้วิธีทำงานเบื้องต้นของระบบต่าง ๆ จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเองได้

2. Digital Citizenship (ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล)

หมายถึงเมื่อเราต้องใช้ชีวิตไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยี แน่นอนว่ามันมีทั้งประโยชน์ และข้อควรระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี เราควรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี นโยบายการใช้งานต่าง ๆ การให้ความยินยอมในการเข้าถึงข้อมูล ทุกสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องระวังตัว เพื่อที่จะได้รับทราบว่าตัวเรานั้นกำลังถูกใครคุกคามหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอยู่หรือไม่ และในทางกลับกันเราเองกำลังทำสิ่งเดียวกันนั้นกับผู้อื่นอยู่หรือไม่

3. Information Management (ทักษะการจัดการสารสนเทศ)

คำนี้เมื่อแปลเป็นภาษาไทยอาจมีความหมายไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เราจะขยายความให้อีกนิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ต้องการ โดยเฉพาะเรื่องการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลในไฟล์ ข้อมูลบนเว็บเพจ รวมไปถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อจำกัดต่าง ๆ การเข้าถึงและนำไปใช้ในแง่ของลิขสิทธิ์ ทั้งข้อมูลที่เป็น Public Domain และแบบ Creative Commons เพราะทุกผลงานไม่ว่าจะเป็นงานเขียน ศิลปะ เพลง ภาพถ่าย หรือข้อมูลใดก็ตามที่ได้รับการสร้างสรรค์รวบรวมขึ้นเป็นชิ้นงานใหม่ ทุกอย่างล้วนมีลิขสิทธิ์ในตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องจดลิขสิทธิ์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทราบว่าสิ่งใดนำมาใช้ได้ สิ่งใดนำมาใช้ไม่ได้ ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนหรือไม่

4. Content Creation (ทักษะการสร้างสรรค์เนื้อหา)

ในที่นี้เราหมายรวมถึงคอนเทนต์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร งานนำเสนอ งานด้านคำนวณกับการทำงานบนสเปรดชีต การจัดระเบียบเรียบเรียงเนื้อหา ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การนำเสนอเนื้อหาสื่อดิจิทัลทั้งแบบภาพนิ่ง และเคลื่อนไหว ซึ่งพลเมืองยุคดิจิทัลนั้นเรียกได้ว่ามีความรอบรู้ในทักษะหลากหลายแขนง สามารถรับมือกับเทคโนโลยีได้ทุกรูปแบบ และนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี การเข้าใจโครงสร้างหรือวิธีการทำงานเบื้องต้นนั้นจะช่วยให้สามารถต่อยอดพัฒนาความรู้ และประหยัดเวลาในการทำงานได้มากกว่ายุคที่ดิจิทัลยังไม่เฟื่องฟู

5. Communication (ทักษะด้านการสื่อสาร)

เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมในการสื่อสาร เพราะไม่ว่าจะสื่อสารเรื่องอะไรก็แล้วแต่ การเลือกช่องทาง และกลุ่มผู้รับสารที่เหมาะสมจะช่วยทำให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ว่าวิธีการสื่อสารตอบโต้ในสื่อต่าง ๆ แบบไหนมีดี แบบไหนไม่ดี แบบไหนที่อาจมีผลกระทบตามมา รวมไปถึงการสื่อสารด้านการค้าขายบนแพลตฟอร์มดิจิทัลด้วย เพราะเดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็เริ่มหันมาจับธุรกิจและก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์กันแล้ว การมีทักษะการสื่อสารที่ดีจะช่วยส่งเสริมกิจการให้ดีได้ หรือในมิติของการเป็นผู้ซื้อ เราก็จำเป็นจะต้องมีความรู้เบื้องต้นด้านการชำระเงิน ข้อควรระวังความปลอดภัย ทำอย่างไรจะไม่ถูกโกง ทุกสิ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งสิ้น

6. Collaboration (ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน)

บางคนอาจสงสัยว่าการทำงานร่วมกันเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล แต่สิ่งที่เราจะพูดถึงนี้ไม่ใช่การทำงานร่วมกันในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่คือการแชร์ไฟล์เพื่อทำงานร่วมกันบนเครือข่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะบนระบบ Cloud ซึ่งเมื่อคลาวด์ช่วยให้เราสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีข้อที่ต้องระวังเช่นกันหากต้องทำงาน หรือใช้ไฟล์ร่วมกันกับเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ แน่นอนว่าเมื่อทำงานไปสักพักย่อมจะเกิดคำถามว่าใครปรับแก้ตรงไหน ใครใช้งานคนล่าสุด ถ้าทำงานพร้อมกันไฟล์งานจะทับกันจนข้อมูลหายไหม สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ วิธีการทำงานของระบบเพื่อที่จะได้สามารถใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่นก็เป็นอีกเรื่องที่ควรใส่ใจ เช่น เมื่อมีการประชุมหรือสัมมนาออนไลน์ เราควรที่จะเป็นผู้รับฟังที่ดีเมื่อเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เป็นฝ่ายนำเสนอ ปิดไมค์ และสอบถามเมื่อถึงช่วงเวลา ไม่พูดแทรก ไม่ขัดจังหวะ และในขณะเดียวกันเมื่อเราต้องเป็นฝ่ายนำเสนอ ก็ควรจะฝึกใช้งานระบบต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อให้ไม่ติดขัดในการทำงานร่วมกัน ถึงจะเป็นทักษะเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็ช่วยรักษาระดับความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี

7. Safety and Security (ความมั่นคงและการรักษาความปลอดภัย)

เมื่อชีวิตก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลก็จำเป็นต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยทั้งในแง่ของอุปกรณ์ และความปลอดภัยของตัวบุคคล เพราะโลกดิจิทัลนั้นเชื่อมต่อถึงกันได้หมด ดังนั้นความเสี่ยงในการถูกลิดรอนความปลอดภัยจึงมีช่องโหว่มากขึ้น การจะเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีนั้นควรรู้ว่าวิธีไหนที่สามารถรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลของตนเองได้ ตั้งแต่วิธีพื้นฐานอย่างการตั้งค่ารหัสผ่านเพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้อง การปกป้องข้อมูลจากไวรัส หรือสิ่งอื่นที่จะมาเจาะข้อมูลของเรา นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่เราจะต้องปกป้องคือ การปกป้องสุขภาพและจิตใจที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับผลกระทบจากโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการเสพติดอุปกรณ์ดิจิทัล ความทรุดโทรมของร่างกายเมื่อต้องใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลในระยะยาว (ออฟฟิศซินโดรม) ผลกระทบจากการโพสต์สื่อเชิงลบหรือไม่เหมาะสม การถูกรังแกบนโลกออนไลน์ การถูกคุกคามทางออนไลน์

จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีทักษะดิจิทัล อยู่ในระดับไหน

7 ทักษะจำเป็นที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ไม่ได้มีใครตั้งกฎเกณฑ์เอาไว้โดยตรง แต่เป็นสิ่งที่เราแนะนำว่าถ้าหากมีสิ่งเหล่านี้ติดตัวไว้ ก็จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตดิจิทัลได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

แต่หากใครอยากจะรู้ว่าตัวเองมีทักษะ 7 ข้อเหล่านี้อยู่หรือไม่ ก็สามารถใช้วิธีวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ความเข้าใจผ่านข้อสอบมาตรฐานสากลที่มีชื่อว่า IC3 Digital Literacy Certification ใบรับรองสำหรับการันตีความเป็นพลเมืองดิจิทัลมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกนำไปใช้

IC3 Digital Literacy คืออะไร

คือ เครื่องมือวัดทักษะที่สามารถนำมาใช้รับรองความรู้ ความสามารถ ในการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน ประกอบด้วย ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ด้านโปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป และด้านเครือข่าย กับอินเทอร์เน็ตพื้นฐาน ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็น และเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน นอกจากนี้ประกาศนียบัตร IC3 ยังได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งในประเทศไทย อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) TPQI และมาตรฐานระดับโลก (อ่านเพิ่มเติม : การรับรองมาตรฐาน IC3 Digital Literacy Certification)

ซึ่งปัจจุบันประกาศนียบัตร IC3 Digital Literacy พัฒนามาจนถึงเวอร์ชัน Global Standard 6 (GS6) เพื่อตอบโจทย์การวัดมาตรฐานความรู้ที่พลเมืองดิจิทัลควรมีทั้ง 7 ด้าน

ใครบ้างที่ควรทดสอบ

อาจกล่าวได้ว่าความจริงแล้วการทดสอบ IC3 นั้นเหมาะสมกับคนทุกวัย เพราะเนื้อหาการทดสอบครอบคลุมเรื่องที่เราทุกคนควรรู้ไว้เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในแบบดิจิทัลได้อย่างเข้าใจและรู้เท่าทัน แต่หากจะเจาะลึกความสำคัญให้เฉพาะเจาะจง เราแนะนำว่าการทดสอบนี้ควรใช้วัดความรู้สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะเรียนจบ และบุคคลที่เริ่มต้นเข้าสู่การทำงาน (ไม่ว่าสายอาชีพใดก็ตาม) บุคลากรที่ทำงานในสำนักงานทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ ตัวอย่างเช่น ข้าราชการโครงการ HIPPS ที่สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดให้มีการสอบวัดทักษะความรู้ด้านพื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วย IC3 Digital Literacy (เวอร์ชัน GS5) เพื่อยกระดับความสามารถของข้าราชการไทยให้ก้าวทันเทคโนโลยี และสามารถปฏิบัติงานโดยใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ข้อมูลอ้างอิง :

  • IC3 Global Standard Six
  • Certiport: IC3 Digital Literacy Certification
  • ARIT: Digital Literacy Certification Certificate (IC3)

ลักษณะพลเมืองดิจิทัลที่ดี มีอะไรบ้าง

โดยสรุป คือ การจะเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีนั้น ต้องมีความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่ง ประกอบด้วยชุดทักษะทั้ง 8 ประการนี้และต้องมีความรู้เชิงเทคโนโลยีและทักษะการคิดขั้น สูง หรือที่เรียกว่า “ความรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)” เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารในโลกไซเบอร์รู้วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ ...

พลเมืองดิจิทัลที่ดีควรมีการปฏิบัติตนอย่างไร

โดยสรุป คือ การจะเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีนั้น ต้องมีความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่ง ประกอบด้วยชุดทักษะทั้ง 8 ประการนี้และต้องมีความรู้เชิงเทคโนโลยีและทักษะการคิดขั้น สูง หรือที่เรียกว่า “ความรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)” เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารในโลกไซเบอร์รู้วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ ...

คุณลักษณะพลเมืองดิจิทัล 3 อย่าง มีอะไรบ้าง

จากผลของความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตระดับ ปริญญาตรี สามารถสรุป คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตระดับปริญญาตรี ดังนี้ ด้านที่ 1 ทักษะการใช้เทคโนโลยี มีพฤติกรรมบ่งชี้ คือ 1) ความรู้และทักษะในการใช้ เทคโนโลยีและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 2) มีเจตคติที่ดี 3) เคารพสิทธิ เสรีภาพ และความ ...

กรอบแนวคิดการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี มี 3 ด้านอะไรบ้าง

1.2 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบไปด้วย 1) การเคารพ ตนเองและผู้อื่น (respect yourself and others) ได้แก่ 1.1) การใช้สื่อดิจิทัลอย่างมีมารยาท (digital etiquette) 1.2) การเข้าถึงสื่อดิจิทัล (digital access) 1.3) การปฏิบัติตามกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการสื่อสารดิจิทัล (digital law) 2) การให้การศึกษาตนเองและ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน