การ กํา กับ ดูแล กิจการ หมาย ถึง อะไร เพราะ เหตุ ใด จึง ต้องมีการ กํา กับ ดูแล กิจการ

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เชื่อมั่นว่ากระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะช่วยเสริมสร้างให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือ  โปร่งใส  และเป็นพื้นฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืน นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการของตลาดหลักทรัพย์ฯ สะท้อนถึงหลักการพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity), ความเป็นธรรม (Fairness), ความโปร่งใส (Transparency), การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ (Responsibility) และความรับผิดชอบ (Accountability)

โครงสร้างการกำกับ ดูแลกิจการ

นโยบายการกำกับ ดูแลกิจการและจรรยาบรรณ

การป้องกันความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์

การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน และการรักษาข้อมูลความลับ

การต่อต้านการทุจริตและ คอร์รัปชัน

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้กำหนดแนวทางในการกำกับดูแลกิจการของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯและมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และด้านกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายจัดการ มีหน้าที่บริหารกิจการของตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามนโยบายที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด ทั้งนี้ โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ เป็นดังนี้

organizechart_policy1

กฎบัตรของคณะกรรมการ และ
คณะอนุกรรมการด้านการ
กำกับดูแลกิจการที่ดี

กฎบัตรของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ

กฎบัตรของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ

กฎบัตรของคณะอนุกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน

กฎบัตรของคณะอนุกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

กฎบัตรของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง

กฎบัตรคณะอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎบัตรของคณะอนุกรรมการกฎหมาย

นโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณ

คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัตินโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณสำหรับกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) มาใช้เป็นแนวทาง รวมทั้งได้นำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนมาปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงาน และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสนับสนุนการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน องค์ประกอบสำคัญของนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณสำหรับกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย

นโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณสำหรักลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ

การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์  โดยผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการตัดสินใจ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติโดยคำนึงถึงประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ อีกทั้งยังไม่สนับสนุนให้มีการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน เว้นแต่รายการดังกล่าวมีความจำเป็น และเป็นรายการที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงมีการจัดโครงสร้างหน่วยงาน และบุคลากรที่ดูแลข้อมูลที่เป็นความลับแยกต่างหากอย่างชัดเจน และมีการกำหนดแนวปฏิบัติ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลไปยังผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง

แนวปฏิบัติ
เพื่อป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

นอกเหนือจากการกำหนดจรรยาบรรณสำหรับระดับกรรมการ อนุกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ และระดับพนักงาน เพื่อการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์แล้ว  ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้กำหนด Guideline เพิ่มเติมสำหรับพนักงาน โดยใน Guideline ได้ระบุถึงตัวอย่างสถานการณ์และแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ  โดยในการปฏิบัติงานของพนักงานจะต้อง ไม่มีการเอื้อประโยชน์ หรือให้สิทธิพิเศษแก่ตนเองหรือแก่บุคคลใดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม   ทั้งนี้ พนักงานที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นสำคัญ

การป้องกันการใช้ข้อมูลภายในและการรักษาข้อมูลความลับ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทย่อย เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและผลประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติงานของพนักงาน มีความโปร่งใส และมีมาตรการจัดการข้อมูลรวมถึงข้อมูลที่เป็นความลับอย่างเหมาะสม  ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และพนักงาน (Chinese Wall)  รวมถึงหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของกรรมการ และพนักงาน

การปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการ และพนักงาน

ระเบียบตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง ข้อพึงปฏิบัติและข้อห้ามของกรรมการเกี่ยวกับ การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์จดทะเบียนและ การรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ

ระเบียบตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ จดทะเบียนของพนักงาน

การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และโปร่งใส คณะกรรมการได้อนุมัติ “มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน” เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับ กรรมการ อนุกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมาตรการฯ ดังกล่าวได้กำหนดหลักปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (โครงการ CAC) และยังคงยึดถือนโยบายการงดรับของขวัญ (No Gift Policy) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอย่างโปร่งใส ไม่มุ่งหวังผลตอบแทน มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ

4 มาตรการ
ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
กำหนดมาตรการหลัก ได้แก่


นอกจากนี้ ในมาตรการดังกล่าวยังระบุถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันและการร้องร้องเรียนหรือแจ้งกรณีพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่าฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามมาตรการฉบับนี้

มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการกํากับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การกำกับ การติดตาม การควบคุม และการดูแล ผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ไปทำหน้าที่ทางการบริหาร เพื่อให้ทรัพยากรขององค์กรได้นำไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตรงตามเป้าหมาย อย่างคุ้มค่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบแทนกลับไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ...

ทำไมถึงต้องมีการกำกับที่ดีในองค์กร

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์กรได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อบังคับและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่จำเป็นอย่างครบถ้วน อีกทั้งตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ถือหุ้นและ ผู้มีส่วนได้เสีย

การกํากับดูแล คืออะไร

การกำกับดูแลกิจการ” หมายถึง ความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแล รวมทั้งกลไกมาตรการที่ใช้กำกับการตัดสินใจของคนในองค์กรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งรวมถึง (1) การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลัก (objectives)* (2) การกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และพิจารณาอนุมัติแผนงานและงบประมาณ และ (3) การติดตาม ประเมิน และดูแลการรายงานผลการดำเนิน ...

หลักการสากลของการกํากับดูแลคืออะไร

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีหลักสำคัญอันเป็นมาตรฐานสากล 7 ประการ ดังนี้.
1. Accountability. ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่.
2. Responsibility. ความสำนึกในหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ.
3. Equitable Treatment. ... .
4. Transparency. ... .
5. Value Creation. ... .
6. Ethics. ... .
7. Participation..