การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึงข้อใด

1.หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ (Conservation) หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด ถูกกาล

ถูกเวลา ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์มากที่สุด มีผลกระทบน้อยที่สุด ระยะเวลาในการใช้ยาวนานที่สุดหรือให้ผลยั่งยืน

1.1 วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์มุ่งเน้นควบคุมสิ่งแวดล้อมให้สามารถฟื้นฟูตัวเองสู่สมดุลตามธรรมชาติได้ รวมทั้งอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ค้นคว้า ร่องรอยอารยธรรม การที่ต้องอนุรักษ์เนื่องจาก การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากเกินกว่าการปฏิบัติการป้องกัน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ สร้างขึ้นด้วย วัตถุประสงค์หลักของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อ

1) เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของ คน พืชและสัตว์ ถ้าสิ่งมีชีวิตอื่นถูกกระทบย่อมส่งผลกับมนุษย์ด้วย

2) เพื่อสงวนรักษาการกระจายของซาติพันธุ์ มีการปรับปรุงขยายพันธุ์ให้พืชและสัตว์ดำารงซีวิตอยู่ได้ ป้องกันการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์จนเกิดวิกฤตกลายพันธุ์หรือสูญพันธุ์

3) เพื่อสงวนรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษได้ สร้างไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาร่องรอยอารยธรรมในอดีต 

1.2 วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติเมื่อถูกนำมาใช้ย่อมเกิดความเสื่อมโทรมหรืออยู่ในสภาวะร่อยหรอ จนอาจจะเกิดวิกฤตขึ้นได้ ดังนั้น จึงต้องทำความเข้าใจถึงวิธีการอนรักษ์ให้ชัดเจน เพื่อไปสู่ขั้นตอนการวางมาตรการและ สร้างแผนงานอนุรักษ์ต่อไปได้ วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ

1) การใช้ ต้องคำนึงถึงการใช้แบบยั่งยืน ให้มีทรัพยากรใช้ตลอดไป ซึ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้น อาจหมายถึง การอุปโภคบริโภคโดยตรง การสัมผัส การดู หรือการได้ยินเสียง ก็ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากร ทั้งสิ้น

2) การเก็บกัก เหมาะสำหรับทรัพยากรธรรมชาติที่มีแนวโน้มว่าจะขาดแคลน หรือคาดว่ากำลัง มีปัญหาการเกิดทดแทนไม่ทันในบางช่วงเวลา แต่อาจนำมาใช้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น การห้ามจับปลา บางชนิดในฤดูวางไข่ เพื่อให้ปลามีเวลาในการขยายพันธุ์ แต่เมื่อพ้นฤดูวางไข่ก็สามารถทำการประมงได้ตาม ปกติ การปิดป่าไม่มีสัมปทานป่าไม้ เป็นต้น

3) การรักษา/ซ่อมแซม ใช้กับสถานการณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมจากการใช้งานจน เกิดความผิดปกติในบางจุดหรือบางพื้นที่ เช่น การปลูกป่าเพิ่มเติมในพื้นที่เสื่อมโทรมจากการทำลายป่าเมื่อใน อดีต เป็นต้น

4) การฟื้นฟู คือ การดำเนินการใด ๆ ต่อทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ค่อนข้างรุนแรงให้เป็น ปกติขึ้นมาจนใกล้เคียงธรรมชาติ ซึ่งจะต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วยเสมอ เช่น การฟื้นฟูและปรับปรุง พื้นที่เหมืองแร่เก่าให้เป็นพื้นที่ป่าไม้เหมือนเดิม หรือดัดแปลงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น

5) การพัฒนา คือ การทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นโดยการวางแผนและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติจนกระทั่งนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น การพัฒนาพื้นที่ป่าไม้บนที่สูงให้เป็นอทยาน แห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวควบคู่กันไปด้วย

6) การป้องกัน คือ การป้องกันไม่ให้การทำลายทรัพยากรธรรมชาติลุกลามต่อไป หรือเป็นการ ป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น เช่น การวางแผนป้องกันไฟป่าไม่ให้ลุกลามในวงกว้าง หรือการป้องกันการ พังทลายของดินริมตลิ่ง โดยการปลูกหญ้าแฝกตามแนวยาวริมตลิ่ง เป็นต้น

7) การสงวน เป็นการเก็บทรัพยากรธรรมชาติไว้ โดยไม่ให้แตะต้องหรือห้ามนำไปใช้ด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ซึ่งการสงวนทรัพยากรธรรมชาติจะกำหนดระยะเวลาให้เห็นด้วยก็ได้ และเมื่อถึงเวลาหนึ่งถ้าเก็บไว้จน ทรัพยากรฟื้นฟูดีแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในภายหลังต่อไปได้

วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ โดย เลือกให้เหมาะสมกับทรัพยากรนั้น ๆ เช่น การใช้หลักการ 5 R ได้แก่การลดการใช้ (Reduce) สถานการณ์ใช้ ๓๒eel การนำกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านกระบวนการผลิตใหม่ (Recycle) ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด (Repair) และ ปฏิเสธการใช้วัสดุบางชนิดที่ก่อให้เกิดมลพิษ (Reject) เป็นต้น

หลักการและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม

        การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Conservation) หมายถึงการใช้สิ่งแวดล้อม อย่างมีเหตุผล เพื่ออำนวยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไปแก่มนุษย์
โดยมีแนวความคิดที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดผลอยู่ 6 ประการคือ

    1) ต้องมีความรู้ในการที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ผลแก่มนุษย์ทั้งที่ เป็นประโยชน์และโทษ และคำนึงถึงเรื่องความสูญเปล่าในการจะนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้

    2) รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง ตระหนักเสมอ ว่าการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจะเป็นการไม่ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
        ฉะนั้นต้องทำให้อยู่ในสภาพเพิ่มพูนทั้งด้านกายภาพและเศรษฐกิจ

    3) รักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ให้มีสภาพเพิ่มพูนเท่ากับอัตราที่ต้องการใช้เป็น อย่าง น้อย

    4) ประมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรได้ พิจารณาความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญ

    5) ปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิตและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ ทดแทนการใช้ทรัพยากรจากแหล่งธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชากร

    6) ให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อการทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดี โดยปรับความรู้ที่จะเผยแพร่ให้เหมาะแก่วัย คุณวุฒิ บุคคล
        สถานที่หรือท้องถิ่น ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นหนทางนำไปสู่อนาคตที่คาดหวังว่ามนุย์จะได้อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดีได้

วิธีการรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    วิธีการอนุรักษ์ มีขั้นตอนดังนี้

    1) กำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า
    2) ดูแลรักษาทรัพยากรที่หายากหรือมีน้อย ให้อยู่ในสภาวะที่มากพอเสียก่อนจึงจะให้ใช้ทรัพยากรนั้น ๆ ได้
    3) ผู้ใช้ทรัพยากรทั้งหลายควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทรัพยากรแต่ละอย่างจะมีความสัมพันธ์ต่อกันยากที่จะแยกจากกันได้
    4) การเพิ่มผลผลิตของพื้นที่แต่ละแห่งควรจะต้องทำ
    5) ต้องพยายามอำนวยให้สภาวะต่าง ๆ ดีขึ้น

    ทั้ง 5 ประการนี้เป็นสิ่งที่ควรจะได้กระทำ เพื่อให้การอนุรักษ์ได้ผลตามเจตนารมย์ โดยไม่ลืมว่าวัตถุประสงค์สุดยอดของการอนุรักษ์คือ ต้องทำให้โลกนี้ดี (Rich) ให้ผลผลิตเหมือนเมื่อพบครั้งแรก (Productive) พยายามอย่าให้โลกทรุดโทรมหรือขาดแคลนทรัพยากร ตามคำกล่าวสนับสนุนที่ว่า

                    “ ชาติที่จะเจริญรุ่งเรืองนั้นต้องรู้ว่าจะผลิตและสร้างทรัพยากรอย่างไรโดย ปราศจากการทำลาย การอนุรักษ์จึงเป็นหัวใจของการพัฒนา ”

    การที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องตาม หลักการอนุรักษ์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อีกทั้งต้องมีความสนใจต่อการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งในด้านการปฏิบัติและการจัดการทรัพยากร รวมทั้งการขวนขวายหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม เพื่อการคงไว้ซึ่งทรัพยากร ทั้งนี้การมีความรู้เรื่องการอนุรักษ์จะช่วยให้รู้จักการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงการสูญเปล่า (Waste) และการทำลาย การสูญเปล่าตามหลักอนุรักษวิทยานั้น เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ ขั้นผลิตกรรม (Production) และขั้นบริโภค (Consumption) แยกได้เป็น

1) การสูญเปล่าแบบสมบูรณ์ (Absolute Waste) ได้แก่การสูญเปล่าที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถกลับคืน เช่น การพังทลายของดินจากทั้งลมและน้ำ

2) การสูญเปล่าแบบเพิ่มพูน (Waste Plus) เป็นขบวนการสูญเปล่าที่รุนแรงคือนอกจากสูญเสียทรัพยากรต่าง ๆ แบบสมบูรณ์แล้ว ยังมีผลทำให้สิ่งหรือขบวนการอื่น ๆ
    สูญเปล่าไปด้วย เช่น การเกิดไฟฟ้า ทำลายต้นไม้ในป่าและยังสูญเสียปริมาณสัตว์ป่า สูญเสียดินและอื่น ๆ

3) การสูญเปล่าแบบสัมพันธ์ (Relative Waste) ได้แก่ การสูญเสียที่เกิดจาก การแสวงหาสิ่งหนึ่ง แต่ทำให้เกิดผลเสียอีกอย่างหนึ่ง เช่น การทำเหมืองแร่ อาจทำให้เกิดการทำลายพืชพรรณธรรมชาติ
    ทำให้น้ำในลำธารขุ่นการเก็บของป่าอาจต้องทำลายหรือตัดฟันต้นไม้เพื่อให้ได้ มาซึ่งผลผลิตจากป่า อาทิ น้ำผึ้ง ยาสมุนไพร เป็นต้น

4) การสูญเปล่าแบบตั้งใจ (Organized Waste) ได้แก่การทำให้เกิดการสูญเปล่าโดยตั้งใจจะจัดการกับบางอย่าง เพื่อรักษาราคาหรือค่าทางเศรษฐกิจของทรัพยากรธรรมชาติ หรืออุตสาหกรรมไว้ให้ดีที่สุด
    เช่น การที่ประเทศบราซิลยอมทิ้งกาแฟลงในทะเลเพราะผลิตมากเกินไป จำเป็นต้องรักษาราคากาแฟให้เป็นไปตามต้องการ การเผาใบยาสูบทิ้งเพราะผลิตมากเกินไป การนำแอ๊ปเปิ้ลเทบนถนนให้รถบรรทุก
    บดเพื่อทำลาย เนื่องจากมีผลผลิตล้นตลาด

YouTube Video