คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

�س����ɢͧ�������С�âҴ�س���� ���¸���

�س����ª���͵��ͧ

��ʹҷء��ʹ�����ѡ�������͹������ͧ�ִ�˹���ǨԵ� ��ѡ�������͹�ͧ��ʹ� ������������ǡѹ��� �͹��餹�繤��� �����˵ع���������� ��ѡ�����ͧ��ʹҨ֧�դس������ҧ��� ��ͤ���� ��ѡ�س���� ���¸��� ��������� �Ӥѭ�ͧ ������ʹ� ������͹�����ȷ��Ъ��Ӥ� �ء�����件֧������¤�� �����آ������ԧ�ͧ���Ե ������ԪҤ������ ����շ�Ѿ�����ѵ� �դ�����Ҵ��� �Ҩ�����繴Һ�ͧ������Ѻ�� ������ ��������ҡ������ҹ�鹢Ҵ�س���� ���¸��� ���͢Ҵ����� ������ͧ�ִ�˹��������Ҩ�� ���ҫ�觤�����¹����ͤ����ԺѵԪ���������

�س���ͻ���ª��ͧ�������ѡ��������ͤس���� ���¸���
����ִ���㹤س���� ���¸��� ������ѡ�������͹�ҧ��ʹҷ�����Դ�س����ª���� ��͵��ͧ ����ѧ�� ��е�ͻ���Ȫҵ�

�س����ª���͵��ͧ
1. ��������������ͧ�س��Ңͧ���Ե
2. �����ѡ㹡�ô��Թ���Ե������ä�� ���������
3. �繡�þѲ�ҨԵ㨢ͧ��������дѺ�Ե��٧��� ���ѡ��������������������
4. ���������繤س��Ңͧ���¸����ҡ� �� �����صԸ��� ���������ѵ�� �ب�Ե ����ʹ��
5. �����ѡ㹡�õѴ�Թ��� ���ô� ���ê��� ���ö١ ���üԴ

�س����ª�����ѧ��
1. ��������ѧ��������º��Ъ�����餹��ѧ�����������ѹ���ҧ�դ����آ
2. ���¸����ͧ�ؤ����ѧ����������ѧ�����������ҧ�դ����آ
3. ��������Դ�������§���� �١��ͧ ��������Ѻ��Ҿ�ͧ�ѧ����� �

�س����ª���ͻ���Ȫҵ�
����ȪҵԷ��ؤ��㹪ҵ��դس���� ���¸������է��㹨Ե� �������ʺ�������ԭ ������ͧ �س���� ���¸��� �֧���ҡ�ҹ��觤�����ԭ�ͧ�ҵԷ�駻ǧ

��ѡ�������͹�ͧ��ʹҪ������ҧ������繤���
�����繷����ö�Ңͧ�ء�� �š����ѧ�Ҵ���������ҡ ��觡��ҢҴ�Ź���ç������� ᢹ� ��ҧ � �����ա ������ԧ�š �����Ҵ�Ź����դ���������ͼ������Ǫҭ��Ңҵ�ҧ � �ҡ�ѡ ����Ҵ�Ź�ҡ ���ͤ��� �š�֧�����´ѧ�Ѩ�غѹ ���� �繤�������ͧ����ѡ �ִ��蹻�Ш�㨤���� ��ʹ� ����ըԵ� �ִ����ҡ����� ���������繤����ҡ�����蹤���ҹ�� ���ҧ��� ����´մ��� �ç�ѹ������������ ��á�зӵ�ҧ � ���������仴��� ������ʹ� ��������ѡ���� �դس�������繤��� ��������ա��Ҩ �繤����� ��չ͡ ���չ͡�з� �����ա���������ռ�������� �����Ӥ������ǡ���������դ���� ������������� ����� ���Ҩ�зӤ��� ��������� �褹�������ö�Ӥ��������駵��˹����� �Ѻ��ѧ�� ������Ӥ������� ��駵��˹����� �Ѻ��ѧ ��駹���������ѡ���������� �����͵ѻ�� �������� �ç��ѧ��ͤ������� ���ʹ��� �ç �ӹҨ����Ѻ����˹������駨Ե㨢ͧ������� ������������кһ ���筺ح�

�ѡɳТͧ����
����ִ��蹵����ѡ�������͹�ͧ��ʹ����ѡɳТͧ���շ���ѧ����ͧ��� ��駡�� �繤��� 㹰ҹкص� �ҹ��١����� ��аҹ���ʹԡ����������������繤��շ���ѧ����ͧ��� �ѡ���繤����˵��ռ� �����ҭ ʹ�� ʹ���� �դ��������ѵ�� �ب�Ե �ա���� ����ҷ�� ���ʹ��� �ըԵ㨧�� ����ҵ���ѵ�������� ���ѡ��������� ʧ����������� ��þ㹤����Դ��Ф����� ��Ңͧ �ͧ������ �ٴ�����觷��١��ͧ�繤�����ԧ �ٴ������� ��͹��ҹ �������Դ���� ���Ѥ�� ������������褳� �繵�

�ɢͧ��âҴ�س���� ���¸���
�����������Ӥѭ��ǹ˹�觢ͧ���Ե ��âҴ������Ҩ�������ʺ�Ѻ����������� ��з���� ���Ե�Ѻ�ҧ�� ����ɷ���Դ �Ѻ���ͧ �ѧ����л���Ȫҵ� ������ҧ�����������ҧ �Ѵਹ㹻Ѩ�غѹ �� ��÷�褹㹪ҵԢҴ�س���� ���¸���㹡�� ���Թ���Ե ������ѡ�� �������������ʹ��͹�ͧ�ѧ����� ����Ȫҵ� ������Դ����ѡ�ͺ�ʾ ������ʾ�Դ ���Դ ���� ��ʹ��͹�·���� ��˹��§ҹ����Ѻ�Դ�ͺ ��ͧ�͡�һ�Һ��������索Ҵ ������� �����Ũҡ������Ū��ءᢹ� ���ʹ� ���ǡ�èѺ��� ����ʾ ����� ��м���������ͧ��ѧ ���ҧ������ͧ �ѭ�ҷ����ŷ�������ҹ������§������ҧ��硹��·����ǹ�����˵��Ҩҡ ��âҴ �س���� ���¸����ͧ����ѧ��������

Ref : http://www2.se-ed.net/nfed/religion/index_rel.html 14/02/2008

บทความ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

  • ผศ.ดร.สถาพร วิชัยรัมย์
  • ปร.ด.(รัฐประศาสนศาสตร์)

จริยธรรมสำหรับนักบริหาร 

[Ethics for Administrators]

“ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม“

การที่มนุษย์เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุข ร่มเย็น หรือทำงานร่วมกันให้บรรลุผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวให้ทุกคนคิดและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและทุกคนถึงพอใจร่วมกัน สิ่งนั้นเรียกว่า “ความดี” กล่าวคือ การคิดดี พูดดี ทำดี ซึ่งหากมีในบุคคลใดสังคมใดแล้ว บุคคลนั้นสังคมนั้นอาจเรียกได้ว่ามี “คุณธรรมจริยธรรม” อันจะนำมาซึ่งคุณประโยชน์ส่วนตนและสังคมส่วนรวม เพราะความเจริญก้าวหน้าของสังคมตั้งแต่ระดับเล็กสุด คือ ครอบครัว ชุมชน จนกระทั่งระดับใหญ่สุดคือประเทศชาติ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนในชาติทุกระดับชั้นมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องหล่อหลอมให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ มีแรงผลักดันในการพัฒนาประเทศ สามารถเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม ขณะเดียวกันองค์การระดับต่างๆ ผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งสมาชิกในองค์การจำเป็นต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเป็นหลักในการดำรงพฤติกรรมในการครองตน ครองคนและครองงาน อันจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ในบทความนี้ผู้เขียนจะได้กล่าวถึง คุณธรรมจริยธรรมซึ่งประกอบด้วยความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรมกับจริยธรรม โดยมีสาระสำคัญดังนี้

ความหมายของคุณธรรม

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

คุณธรรม (Virtue) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ที่หมายถึง “คุณความดี” เป็นเรื่องของจิตใจ เช่นเดียวกับจริยธรรม คุณธรรมกับจริยธรรมเป็นคำที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน จริยธรรมมีความหมายเกี่ยวกับความประพฤติ การปฏิบัติ ตลอดจนการดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือถูกต้องกับเกณฑ์ของสังคม ส่วนคุณธรรมเป็นเรื่องภายในจิตใจของคน โดยมีความหมายจากทัศนะของบุคคลต่างๆ ดังนี้

  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546) ได้ให้ความหมายของคำว่า คุณธรรม หมายถึง คุณสมบัติฝ่ายดี
  • ปรีชา เศรษฐีธร (2523) ได้กล่าวไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดี อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน คือ
    1. คุณธรรมทางสติปัญญา ได้แก่ ความรู้ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ที่ส่งผลต่อความมีเหตุผลในการทำหน้าที่ต่างๆ
    2. คุณธรรมทางศีลธรรม คือ ความมีจิตสำนึกในสิ่งที่ดีงามและมีเหตุผล คุณธรรมทางศีลธรรมนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิดด้วย ตามหลักและศีลธรรมแล้วคนควรจะแสวงหาคุณธรรมเพื่อคุณธรรม คือแสวงหาความดีเพื่อความดี ไม่ควรแสวงหาคุณธรรมเพื่อความสุข คุณธรรมหรือความดีนั้นอยู่ที่การฝึกฝนและปลูกฝัง อารมณ์จะต้องถูกกำจัดออกไปได้หมดโดยสิ้นเชิง
  • กีรติ บุญเจือ (2538) ได้ให้ความหมายในทำนองเดียวกันว่า คุณธรรม หมายถึง ความเคยชินในการประพฤติดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรงข้ามกับกิเลส เช่น ความเคยชินในการประพฤติผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • พระเมธีธรรมาภรณ์ (2538) กล่าวว่า คุณธรรม คือ คุณสมบัติที่ดีในจิตใจ ถ้าปลูกฝังในเรื่องคุณธรรมได้จะกลายเป็นพื้นฐานของจรรยาบรรณ
  • พระธรรมปิฎก (2540) ได้กล่าวว่า คุณธรรมเป็นคุณภาพของจิตใจ กล่าวคือ คุณสมบัติที่เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม ให้เป็นจิตใจที่สูงส่ง ประณีต และประเสริฐ
  • วศิน อินทสระ (2541) ได้แสดงความเห็นตามหลักจริยศาสตร์ว่า คุณธรรม หมายถึง อัธยาศัยอันดีงามที่สั่งสมอยู่ในดวงจิต อันเกิดจากความเพียรพยายาม และความประพฤติปฏิบัติที่ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน คุณธรรมมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับหน้าที่เป็นอย่างมาก เพราะการปฏิบัติงานในหน้าที่จนเป็นนิสัย จะกลายมาเป็นอุปนิสัยอันดีงามที่สั่งสมในดวงจิตกลายเป็นบารมี
  • Good (1974) ได้ให้ความหมายใน Dictionary of Education ว่า คุณธรรม มีความหมาย 2 นัย นัยแรก คือ ความดีความงามของลักษณะนิสัยที่ได้กระทำมาจนเกิดความเคยชิน และ นัยที่สอง หมายถึง คุณภาพของบุคคลที่ได้กระทำตามความคิดและตามมาตรฐานของสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความประพฤติและหลักของศีลธรรม

อาจสรุปได้ความหมายที่ตรงกันว่า คุณธรรม คือ สภาพแห่งความดีงามในจิตใจ ซึ่งทำให้เคยชินกับการประพฤติปฏิบัติดี บุคคลผู้มีคุณธรรม คือ ผู้มีความเคยชินในการประพฤติดี ภายใต้ความรู้สึกดีงาม และตามมาตรฐานของสังคมที่เกี่ยวข้องกับหลักของศีลธรรม

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม (Ethics) มีที่มาจากคำว่า “จริยะ” หรือ “จริยา” หมายถึง ความประพฤติ การปฏิบัติ พฤติกรรมการแสดงออก ส่วนคำว่า “ธรรม” หมายถึง หน้าที่ที่คนในสังคมต้องปฏิบัติ อันเกี่ยวถึงความถูกต้องดีงามที่คนในสังคมประพฤติ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมความหมายของนักวิชาการและเอกสารทางวิชาการที่ได้ให้ความหมายของจริยธรรม ไว้ดังนี้

  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎแห่งศีลธรรม
  • พระราชวรมุนี (2528) ได้อธิบายความหมายของจริยธรรมไว้ว่า หมายถึง การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การยังชีวิตให้เป็นไป การครองชีวิต การใช้ชีวิต การเคลื่อนไหวของชีวิตทุกแง่ทุกมุม ทุกด้าน ทุกระดับ ทางกายวาจาใจ ทั้งด้านส่วนตัว ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านปัญญา อย่างถูกต้อง
  • พระเมธีธรรมาภรณ์ (2534) ได้อธิบายความหมายของจริยธรรมว่า หมายถึง หลักแห่งความประพฤติ หรือแนวทางการปฏิบัติให้เป็นคนดีเพื่อประโยชน์สุขของตนและส่วนรวม
  • พระเมธีธรรมาภรณ์ (2538) ได้อธิบายหลักจริยธรรมว่า เป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงามสำหรับทุคนในสังคม ถ้าเป็นข้อประพฤติที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เรียกว่า ศีลธรรม ทั้งนี้ มิได้อิงแต่หลักศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีงามของสังคมด้วย
  • กีรติ บุญเจือ (2538) ได้ให้ความหมายเชิงสรุปว่า จริยธรรม  หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติของคน
  • ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2539) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า หมายถึง ระบบการกระทำความดี ละเว้นความชั่ว รวมทั้งสาเหตุที่บุคคลจะกระทำหรือไม่กระทำ และผลของการกระทำหรือไม่กระทำนั้น ตลอดจนกระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านั้นด้วย
  • บุญมี แท่นแก้ว (2541) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรมชาติหรือหลักธรรมที่บุคคลควรประพฤติ จัดว่าเป็นคุณธรรมที่แสดงออกทางกายที่ดีงาม

จึงสรุปได้ว่า จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ที่เกี่ยวข้องกับหลักคำสอนของศาสนา และยังรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ยอมรับกันว่าดีงามของสังคมโดยรวม เพื่อให้ตนเองและสังคมรอบข้างมีความสุข สันติสุข ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี

ความสำคัญของคุณธรรม

คุณธรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความเป็นระเบียบ ความสงบสุข ความเจริญให้แก่ปัจเจกบุคคล สังคม และประเทศชาติโดยส่วนรวม ดังที่ พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ และนุชนารถ สุนทรพันธ์ (2537) และ ประวัติ พื้นผาสุก (2549) ได้อธิบายความสำคัญของคุณธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่บุคคลและเป็นฐานแห่งความสุขแก่ส่วนรวม ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. คุณธรรม เป็นเครื่องธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เราไม่ตีค่าความเป็นมนุษย์ที่ตัวเงิน แต่จะตีค่ากันที่คุณธรรม ผู้มีคุณธรรมจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี เป็นคนมีค่าของสังคม ส่วนผู้ไร้คุณธรรมจะเป็นคนมีค่าน้อยและอาจถูกประณามจากสังคมว่า “เป็นคนแต่ก็เหมือนมิใช่คน” คือ เป็นคนแต่เพียงร่างกายแต่ใจนั้นไม่มีความเป็นคน ความเป็นคนในที่นี้ก็คือความเป็นผู้มีคุณธรรมและเป็นคนดีของสังคมนั่นเอง
  2. คุณธรรม เป็นเครื่องส่งเสริมบุคลิกภาพ เช่น “ความซื่อตรง” ทำให้คนมีความสมบูรณ์ในความคิดและการกระทำ เพราะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างความคิด การพูดและการกระทำของบุคคลนั้น หรือหากจะกล่าวเป็นสำนวนก็จะได้ว่า “เป็นบุคคลที่ปากกับใจตรงกันอยู่เสมอ” นั่นเอง
  3. คุณธรรม เป็นเครื่องเสริมมิตรภาพ เช่น “ความจริงใจ” ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นไปอย่างราบรืน คนไม่จริงใจย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น ไม่แต่เฉพาะในเรื่องใหญ่ๆ หรือสำคัญๆ แม้แต่เรื่องเพียงเล็กน้อยก็จะไม่มีใครให้ความไว้วางใจ จึงทำให้เสียประโยชน์ที่ควรจะได้
  4. คุณธรรม เป็นการสร้างความสบายใจ ซึ่งนอกจากจะสบายใจเพราะการกระทำแต่สิ่งที่เหมาะที่ควรแล้ว ยังสบายใจที่ไม่ต้องระมัดระวังภัยอันตรายที่จะมีมาอีกด้วย เพราะผู้ที่มีคุณธรรมจะเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกต้องและไม่ทำผิดใดๆ ทั้งจะเป็นผู้ที่น่ารักน่าคบค้าสมาคมอีกด้วย
  5. คุณธรรม เป็นเครื่องส่งเสริมความสำเร็จ ความมั่นคงในการประกอบอาชีพการงานและการดำรงชีวิต
  6. คุณธรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความสงบสุข และความเจริญให้แก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม นั้นก็เพราะว่า ความสงบสุขของประเทศชาติจะมีได้ก็ต่อเมื่อคนในชาติมีคุณธรรมบางประการที่ทำให้ไม่เบียดเบียนกัน ไม่กลั่นแกล้งกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่ใช้เสรีภาพจนเกินเลยล่วงล้ำสิทธิของกันและกัน ไม่ละเลยต่อการที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย วินัย และจรรยาวิชาชีพที่ใช้บังคับกัน เป็นต้น คนที่ไม่มีคุณธรรมจะไม่สามารถช่วยสร้างสรรค์จรรโลงและป้องกันรักษาประเทศชาติได้เลย เพราะการสร้างสรรค์จรรโลงและป้องกันประเทศชาติเป็นงานใหญ่ที่สำคัญ การทำงานใหญ่ที่สำคัญเช่นนี้ต้องอาศัยคุณธรรมหลายประการ เช่น ความสุจริต ความมุ่งมั่น ความอดทน เป็นต้น

ดยที่คุณธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมความสงบสุขและความเจริญ ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการควมสงบสุขและความเจริญจึงต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม ทั้งนี้ มิใช่เพียงเพื่อให้ตนเองสงบสุขและมีความเจริญเป็นการส่วนตัวเพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ประเทศชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวมมีความสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองด้วย ด้วยเหตุที่บุคคลและส่วนรวมต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

จะเห็นได้ว่า ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติขึ้นอยู่กับการกระทำของคนภายในชาติเป็นสำคัญ และการกระทำที่เป็นการส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยของชาติก็ย่อมจะเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยคุณธรรม ฉะนั้น ผู้หวังความสงบสุข ความเจริญและความมั่นคงปลอดภัยแก่ตัวเองและประเทศชาติ จึงต้องหมั่นฝึกฝนตนเองให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมทุกเมื่อ

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

นอกจากนี้ คุณธรรมยังต้องอาศัยความรู้ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ คือ รู้ว่าอะไรเป็นความดี รู้ว่าอะไรควร ไม่ควร รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น รวมทั้งรู้จักสังคม ดังนั้น ความรู้จึงจำเป็นต้องคู่กับคุณธรรมซึ่งจะสามารถเป็นเครื่องดำรงตนเองและสังคมประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้

ความสำคัญของจริยธรรม

จริยธรรมมีความสำคัญสำหรับเป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติสำหรับตนเองและสังคมโดยรวม ซึ่งเมื่อบุคคลได้นำมาปฏิบัติแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สุข มีความสงบและเจริญก้าวหน้า องค์การใดหรือหมู่คณะใด ได้ประพฤติปฏิบัติในหลักของจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นสังคมแห่งอารยะ คือ สังคมแห่งผู้เจริญอย่างแท้จริง โดยมีผู้กล่าวถึงความสำคัญของจริยธรรม ไว้ดังนี้

  • วศิน อินทสระ (2541) ได้แสดงความสำคัญของจริยธรรมโดยสรุป ดังนี้
    1. จริยธรรม เป็นรากฐานของความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคง และความสงบสุขของประชาชน สังคม ประเทศชาติ เพราะประเทศชาติแม้จะได้รับการพัฒนาในด้านวัตถุ เทคโนโลยี ความทันสมัยของวิทยาการต่างๆ มากมายเพียงใด หากแต่ขาดจริยธรรมแล้ว การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด เพราะเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดการแข่งขัน แย่งชิง และเบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน
    2. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาด้านจิตใจก่อน เพราะการพัฒนาจิตใจของคนในสังคม หมายถึง การพัฒนารากฐานแห่งความเป็นมนุษย์ เมื่อรากฐานแห่งความเป็นมนุษย์ถูกเติมเต็มในจิตใจแล้ว การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการพัฒนาด้านอื่นๆ ย่อมเจริญรุดหน้าไปด้วย และถือได้ว่าเป็นการพัฒนาที่สร้างสรรค์
    3. จริยธรรมมิได้จำกัดความหมายอยู่ที่การถือศีล การเข้าวัดปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนาโดยไม่มุ่งทำประโยชน์ต่อสังคมเท่านั้น หากแต่หมายถึง การประพฤติปฏิบัติโดยวางรากฐานความคิด ความเห็นที่ถูกต้อง การทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ เว้นสิ่งที่ควรเว้น กระทำในสิ่งที่ควรทำ ดำเนินชีวิตถูกต้องตามเหตุผล ตามกาลเทศะ ดังนั้น จริยธรรมจึงมีความจำเป็นและมีคุณค่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนในสังคม
    4. จริยธรรม เป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมให้เกิดการยอมรับในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น จริยธรรมจะเป็นเครื่องมือหล่อหลอมให้คนเกิดความรัก ความสามัคคีต่อกัน ประพฤติปฏิบัติต่อกันด้วยความเอื้ออาทร ต่อผู้อาวุโสกว่า และมีความอ่อนโยนต่อผู้ที่ด้อยกว่าทั้งด้านอายุ ตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือสถานภาพทางสังคม

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

  • ลำดวน ศรีมณี (2543) ได้สรุปความสำคัญของจริยธรรมไว้ว่า
    1. เพื่อเป็นหลักปฏิบัติให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ โดยมีกฎระเบียบประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อเป็นเครื่องผูกพันไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงาม ตลอดทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดี ประโยชน์ที่ได้รับคือความสงบสุขทางร่างกายในสังคม
    2. เพื่อเป็นหลักให้เศรษฐกิจสมบูรณ์ จากการที่ได้มีการวางหลักการจัดสังคมมนุษย์ไว้หลายอย่างที่สำคัญที่สุดมี 2 อย่าง คือ ศาสนาและเศรษฐกิจ โดยศาสนาเกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ ถ้ามนุษย์รู้จักควบคุมตนเองได้ รู้จักใช้ปัจจัยสี่อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม สังคมก็สงบสุข ส่วนเศรษฐกิจเป็นเรื่องทางวัตถุ ซึ่งเชื่อว่าถ้ามนุษย์มีปัจจัยสี่บริบูรณ์ มีการจัดสรรแบ่งปันอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม สังคมก็จะสงบสุขตามความต้องการของมนุษย์
    3. เพื่อเป็นหลักให้สังคมเกิดความเจริญก้าวหน้า เนื่องจากจริยธรรมมีความจำเป็นต่อชีวิตและจิตใจของมนุษย์ ทำให้บุคคลมีหลักปฏิบัติชีวิตที่ดีขึ้นก้าวหน้าขึ้น ปกครองตนเองได้ ทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมอันมีประโยชน์ต่อชีวิตและจิตใจของมนุษย์ในสังคมส่วนรวม เป็นบ่อเกิดแห่งความเจริญทั้งหลายที่เรียกว่า “วัฒนธรรม อารยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี” ที่สำคัญที่สุดคือจริยธรรมมีประโยชน์แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ทางด้านจิตใจของมนุษยชาติในสังคมโลก

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

  • ภิภพ วชังเงิน (2545) ได้อธิบายคุณค่าของจริยธรรมต่อชีวิตมนุษย์ โดยจริยธรรมมีส่วนในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตทำให้มนุษย์รู้จักตนเองมากขึ้น จริยธรรมเป็นวิถีทางแห่งปัญญา มีส่วนช่วยในการสร้างสันติภาพในสังคมและโลก ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีระเบียบ ทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสังคมได้ จริยธรรมยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและเป็นหลักปฏิบัติทำให้มนุษย์มีความหนักแน่น ช่วยทำให้มนุษย์สามารถกำหนดเป้าหมายของชีวิตได้และช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตได้

สรุปได้ว่า ทั้งความหมายและความสำคัญของจริยธรรมเป็นแบบอย่างของความประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่สังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์ และเมื่อบุคคลได้ประพฤติปฏิบัติแล้วย่อมยังประโยชน์สุขให้แก่ตนเองและสังคมโดยรวม

จะเห็นได้ว่า จริยธรรมมีความสำคัญทั้งในระดับชีวิตส่วนตน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นผู้มีจิตใจที่ดีงาม เกิดความสงบความระลึกได้ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อตนเองและผู้อื่น ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และระดับส่วนรวมซึ่งหมายถึงความสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ลดเงื่อนไขความขัดแย้งในสังคม การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมจะนำมาซึ่งสันติภาพในองค์การ ชุมชน สังคม รวมทั้งสร้างสันติภาพในโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรมกับจริยธรรม

เมื่อเราพูดถึงจริยธรรม เรามักนึกถึงพันธกิริยา (กิริยาหรือพฤติกรรมที่กระทำระหว่างกัน) ที่มนุษย์มีต่อเพื่อนมนุษย์เป็นพันธะหรือหน้าที่ที่เราจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น จงอย่าฆ่า จงอย่าพูดเท็จ จงอย่าทุจริต เป็นต้น แต่เมื่อสังคมได้เพิ่มความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น มนุษย์จึงมีพันธะเพิ่มอีก คือ พันธกิริยาที่มนุษย์มีต่อสังคม หรือต่อรัฐ ซึ่งเรียกว่า จริยธรรมทางสังคม หรือจริยธรรมองค์การ ดังนั้น จริยธรรม คือ หลักที่ดีงามในการประพฤติปฏิบัติของคนในองค์การต่างๆ เพราะสมาชิกในองค์การใดหากขาดจริยธรรมในการดำรงตนแล้ว องค์การหรือหน่วยงานนั้นย่อมประสบปัญหา มีแต่ความยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในด้านพฤติกรรมของคนในองค์การ

คำว่า “คุณธรรม” กับ “จริยธรรม” มักถูกกล่าวคู่กันเสมอ เพราะมีความหมายที่ใกล้เคียงกันที่บ่งบอกถึงสภาพแห่งความดี ความงามของหลักประพฤติปฏิบัติ ความจริงแล้วคำสองคำนี้มีความหมายใกล้เคียงกันและสัมพันธ์กัน แม้แต่คำในภาษาอังกฤษที่ใช้ก็มักใช้ไปในลักษณะที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน กล่าวคือ คุณธรรม (Virtue, Moral, Principles) และจริยธรรม (Morals, Ethic) แต่อย่างไรก็ตาม คุณธรรม และ จริยธรรม ก็จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

จะเห็นได้ว่า คุณธรรม เป็นลักษณะของความรู้สึกนึกคิดที่ดีทางจิตใจ ส่วน จริยธรรม เป็นลักษณะการแสดงออกที่ดี ซึ่งเป็นพฤติกรรมทางกายวาจา โดยที่จริยธรรมเป็นกฎระเบียบของสังคมที่สร้างขึ้นมา และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มบุคคลในสังคมรวมทั้งตัวเราเองด้วย เป็นลักษณะพฤติกรรมที่ดีงามที่แสดงออกทางกายวาจา ส่วนคุณธรรมนั้นจะเป็นกระบวนการต่อเนื่องในการทำความดีตามที่จิตใจของเราเห็นดีเห็นงามหรือยินยอมพร้อมใจ เมื่อคนเราปฏิบัติตามเกณฑ์ของสังคมย่อมได้รับการยอมรับหรือยกย่องว่าเป็นความดีงาม ซึ่งคนเราจะอยู่และเป็นคนดีในสังคมได้นั้น จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักพื้นฐานทางด้านจิตใจ สองประการนี้มักแยกกันไม่ออก แต่บางกรณีเราอาจกระทำลงไปโดยที่เราไม่รู้ว่านี่เป็นจริยธรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อได้กระทำลงไปด้วยความเคยชินจนเป็นปกติวิสัย เป็นสิ่งที่ตนเองเห็นว่าดีแล้ว เหมาะสมแล้ว แล้วยังเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับอีกก็ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ดีงาม และยังเป็นจริยธรรมอันถุกต้องอีกด้วย

ารอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มากของมนุษย์นั้น จำเป็นจะต้องมีเครื่องยึดเหนี่ยวบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ร่วมกัน ทำงานด้วยกัน แบ่งปันความสุขซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาในองค์การจะต้องกำกับดูแลให้องค์การปฏิบัติงานไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนร่วมมือกันทำงาน มีความพึงพอใจและความสุขกับการทำงาน ดังนั้น ทุกคนในสังคมจึงต้องมี “คุณธรรมจริยธรรม” ประจำใจและเป็นแนวประพฤติปฏิบัติ

คนมีจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

ผศ.ดร.สถาพร วิชัยรัมย์. (2559). จริยธรรมสำหรับนักบริหาร. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

เอกสารอ้างอิง

  1. กีรติ บุญเจือ. (2538) จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  2. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  3. บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์.
  4. ประวัติ พื้นผาสุก. (2549). คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
  5. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540) พระพุทธศาสนากับการพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
  6. พระเมธีวราภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรม จริยศาสตร์และจริยศึกษา ความรู้คู่คุณธรรม. ในรวมบทความเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และการศึกษา (น. 81-82). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  7. พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2528). พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  8. พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ และนุชนารถ สุนทรพันธุ์. (2537). การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  9. ภิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.
  10. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
  11. ลำดวน ศรีมณี. (2543). จริยธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ : ดวงแก้ว.
  12. วศิน อินทรสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : ทองกวาว.
  13. Good, Carter Victor. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill.
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
    • ระบบคลังข้อมูลBRU

หัวข้ออื่น

    • ธรรมาภิบาลในองค์การภาครัฐ

ลักษณะ ของ คุณธรรม จริยธรรม คือ อะไร

ประวัติ พื้นผาสุข (2549 : 12) ได้สรุปลักษณะความสัมพันธ์ของคุณธรรมกับจริยธรรมไว้ว่า คุณธรรม เป็นคุณลักษณะที่เป็นสภาพแห่งความดีความงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล อันเป็นหลักในการด าเนินชีวิต ส่วนจริยธรรม เป็นแนวทางเป็นเครื่องชี้แนะ หรือกฎเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติของบุคคล

จริยธรรมสำหรับคนดีมีอะไรบ้าง

๙ คุณธรรมพื้นฐาน.
๑. ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง.
๒. ประหยัด ... .
๓. ซื่อสัตย์ ... .
๔. มีวินัย ... .
๕. สุภาพ ... .
๖. สะอาด ... .
๗. สามัคคี ... .
๘. มีน้ำใจ.

ลักษณะของจริยธรรมมีอะไรบ้าง

ลักษณะของจริยธรรม.
ความรับผิดชอบ.
ความซื่อสัตย์.
ความมีเหตุผล.
ความกตัญญูกตเวที.
ความอุตสาหะ.
ความสามัคคี.
ความมีระเบียบวินัย.
ความเสียสละ.

ลักษณะของคุณธรรม มีอะไรบ้าง

ประเภทของคุณธรรม คุณธรรมจริยธรรม คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน ๑. ความมีวินัย ๒. ความอดทนอดกลั้น ๓. ความขยันหมั่นเพียร คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง ๔. ความซื่อสัตย์ซื่อตรง ๕. ความรับผิดชอบ คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง ๖. ความมีสติ ๗. ความพอเพียง