ทําบัตรประชาชนหมดอายุ ใช้อะไรบ้าง

ต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน

การต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน (โดยการออกบัตรใหม่แทนบัตรเก่าที่หมดอายุ)

บุคคลสัญชาติไทยที่มีถิ่นพำนักถาวรหรือพำนักระยะยาวในประเทศเยอรมนี ที่บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุ สามารถมายื่นขอต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน โดยการออกบัตรใหม่แทนบัตรที่หมดอายุ ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ตามเงื่อนไข ดังนี้


เงื่อนไข (ตามที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนด)

  1. ต้องไม่ใช่การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก หากเป็นการทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก บุคคลนั้นจะต้องกลับไปทำที่ประเทศไทย เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลลายนิ้วมือและรูปถ่ายที่อำเภอหรือเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. จะต้องเป็นการต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เป็นการทำบัตรใหม่ในกรณีชำรุด สูญหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล หรือเปลี่ยนที่อยู่ (ซึ่งจะต้องดำเนินการเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวในทะเบียนราษฎร์ที่ประเทศไทยก่อน)
  3. ผู้ยื่นคำร้องต้องเป็นบุคคลถือสัญชาติไทย อายุ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
  4. ผู้ยื่นคำร้องต้องมีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแล้ว
  5. ผู้ยื่นคำร้องต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ
  6. สำหรับผู้ยื่นคำร้องที่ยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกติ (ท.ร. 14) กรมการปกครองอนุโลมให้ยื่นคำร้องขอต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชนได้ โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง จะดำเนินการย้ายชื่อผู้ยื่นคำร้องนั้นจากทะเบียนปกติ (ท.ร. 14) ไปอยู่ทะเบียนบ้านชั่วคราวฯ ในภายหลัง
  7. ผู้ยื่นคำร้องต้องเป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศเยอรมนีเท่านั้น

รายการเอกสารประกอบการยื่นคำร้องผู้ยื่นคำร้องต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง โดยยื่นเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม พร้อมสำเนา
  • หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
  • ทะเบียนบ้านไทยฉบับปัจจุบัน
  • บัตรแสดงการมีสิทธิพำนักในเยอรมนี (Aufenthaltstitel) หรือใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีที่แสดงที่อยู่ในปัจจุบัน (Meldebescheinigung)
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
  • เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า เป็นต้น
  • ค่าธรรมเนียม 5 ยูโร

เวลาให้บริการบัตรประจำตัวประชาชน

จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการตามประกาศสถานกงสุลใหญ่ฯ) โดยจะต้องทำนัดหมายล่วงหน้ากับแผนกบัตรประชาชน

รายละเอียดการติดต่อ

หมายเลขโทรศัพท์: 069-698 68 205 (วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 14.00 - 16.00 น.)

อีเมล์:

แบบแจ้งความประสงค์ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

คำถามที่พบบ่อย

Q

ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางต้องดำเนินการอย่างไร

ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางต้องดำเนินการอย่างไร

A

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"

Q

ขอทำบัตรประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง

ขอทำบัตรประชาชนในต่างประเทศได้ในกรณีใดบ้าง

A

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีถิ่นพำนักนอกราชอาณาจักร
ตามรายชื่อประเทศที่รัฐมนตรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ประกาศ
กำหนดสามารถยื่นคำขอได้เฉพาะ

            1. กรณีขอมีบัตรใหม่ ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
                - กรณีบัตรเดิมสูญหาย
                - กรณีบัตรเดิมถูกทำลาย

            2. กรณีขอเปลี่ยนบัตร ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญในส่วนของรูปถ่าย หรือ
                  รายการบุคคลเจ้าของบัตรหรือวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง

                - กรณีผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล หรือ
                   เปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล                


สำหรับกรณีที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (ไม่เคยทำบัตร)

ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้

หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องมาดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น 

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้มีถิ่นพำนักนอกราชอาณาจักร
ตามรายชื่อประเทศที่รัฐมนตรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ประกาศ
กำหนดสามารถยื่นคำขอได้เฉพาะ

            1. กรณีขอมีบัตรใหม่ ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
                - กรณีบัตรเดิมสูญหาย
                - กรณีบัตรเดิมถูกทำลาย

            2. กรณีขอเปลี่ยนบัตร ได้แก่
                - กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญในส่วนของรูปถ่าย หรือ
                  รายการบุคคลเจ้าของบัตรหรือวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง

                - กรณีผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล หรือ
                   เปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล                


สำหรับกรณีที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (ไม่เคยทำบัตร)

ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้

หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องมาดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น 

Q

กรณีไม่เคยทำบัตรประชาชนจะทำในต่างประเทศได้หรือไม่

กรณีไม่เคยทำบัตรประชาชนจะทำในต่างประเทศได้หรือไม่

A

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะ
"ผู้เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาแล้วเท่านั้น"

สำหรับผู้ยังไม่เคยทำบัตรมาก่อน ไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรได้ในต่างประเทศ

หากจะทำบัตรต้องมาดำเนินการยื่นคำขอมีบัตรในประเทศไทย

ทั้งนี้ จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ประกอบที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
พร้อมพยานบุคคล ไปติดต่อขอทำบัตรได้ในท้องที่ที่ตนเองเกิดหรือในท้องที่ที่ตนเอง
มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการในต่างประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน
และ/หรือพยานบุคคล รวมทั้งเกี่ยวข้องกับระเบียบ/ข้อกฎหมายหลายข้อที่ต้องดำเนินการ
เพื่อให้แน่นอนว่าการออกบัตรประจำตัวประชาชนนั้นถูกต้องตรงกับบุคคลที่ยื่นขอมีบัตร

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะ
"ผู้เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนมาแล้วเท่านั้น"

สำหรับผู้ยังไม่เคยทำบัตรมาก่อน ไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรได้ในต่างประเทศ

หากจะทำบัตรต้องมาดำเนินการยื่นคำขอมีบัตรในประเทศไทย

ทั้งนี้ จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ประกอบที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
พร้อมพยานบุคคล ไปติดต่อขอทำบัตรได้ในท้องที่ที่ตนเองเกิดหรือในท้องที่ที่ตนเอง
มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน

สาเหตุที่ยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการในต่างประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน
และ/หรือพยานบุคคล รวมทั้งเกี่ยวข้องกับระเบียบ/ข้อกฎหมายหลายข้อที่ต้องดำเนินการ
เพื่อให้แน่นอนว่าการออกบัตรประจำตัวประชาชนนั้นถูกต้องตรงกับบุคคลที่ยื่นขอมีบัตร

Q

อายุการใช้งานบัตรประชาชน

อายุการใช้งานบัตรประชาชน

A

- ตัวบัตรประจำตัวประชาชนไม่ว่าจะเป็นขนาด สี ลักษณะของบัตร หรือการพิมพ์รายการข้อมูลในบัตรเหมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในประเทศไทยทุกประการ
- ระยะเวลาหมดอายุของบัตรก็เหมือนกัน คือ มีอายุแปดปี นับแต่วันออกบัตร
- ทั้งนี้ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้

- ตัวบัตรประจำตัวประชาชนไม่ว่าจะเป็นขนาด สี ลักษณะของบัตร หรือการพิมพ์รายการข้อมูลในบัตรเหมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ทำในประเทศไทยทุกประการ
- ระยะเวลาหมดอายุของบัตรก็เหมือนกัน คือ มีอายุแปดปี นับแต่วันออกบัตร
- ทั้งนี้ เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้

Q

อัตราค่าธรรมเนียม

อัตราค่าธรรมเนียม

A

            

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเป็นไป
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ ได้แก่

- การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
- บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล
- แก้ไขชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ (ตามมาตรา 6 จัตวา)

ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท
ไม่ว่าจะทำบัตรในประเทศหรือต่างประเทศก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากัน

ทั้งนี้ กรมการปกครองอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว
ให้เกิดความสอดคล้องกับเงื่อนไขและภาวการณ์ในปัจจุบัน

ดังนั้น ในขณะนี้ สถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ จะกำหนดอัตราที่เหมาะสม
ให้ใกล้เคียงกับอัตรา 100 บาท

เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บในเรื่องเงินทอน โดยรายได้จะโอนเข้าเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน  
อัตราค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุผลิตบัตร
ที่มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 150 บาทต่อใบ

            

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้นเป็นไป
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ ได้แก่

- การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
- บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล
- แก้ไขชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหรือย้ายที่อยู่ (ตามมาตรา 6 จัตวา)

ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท
ไม่ว่าจะทำบัตรในประเทศหรือต่างประเทศก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากัน

ทั้งนี้ กรมการปกครองอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวงในเรื่องดังกล่าว
ให้เกิดความสอดคล้องกับเงื่อนไขและภาวการณ์ในปัจจุบัน

ดังนั้น ในขณะนี้ สถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ จะกำหนดอัตราที่เหมาะสม
ให้ใกล้เคียงกับอัตรา 100 บาท

เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บในเรื่องเงินทอน โดยรายได้จะโอนเข้าเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน  
อัตราค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บในปัจจุบัน ถือเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุผลิตบัตร
ที่มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 150 บาทต่อใบ

Q

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ

การทำบัตรประชาชนในต่างประเทศ

บัตรประชาชนหมดอายุต้องทำที่ไหน

กรณีที่บัตรประชาชนหมดอายุและต้องการทำใหม่ จะต้องยื่นคำขอทำบัตรประชาชนใหม่ภายใน 60 วัน ณ สถานที่รับทำบัตรประชาชน นับตั้งแต่วันหมดอายุบนบัตรซึ่งไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่หากบัตรหมดอายุเป็นเวลานานและพ้นกำหนดแล้วจะมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

บัตรประชาชนหมดอายุต้องใช้ทะเบียนบ้านไหม

เอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับการต่ออายุบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประชาชนใบเดิมที่หมดอายุแล้ว หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน จะต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารองรับด้วย

ต่อบัตรประชาชนใช้อะไรบ้าง 2565

1. ให้ไปติดต่อแจ้งขอทำบัตรประชาชนใหม่ ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ / เทศบาล ภายใน 60 วัน (หากเกินเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท) 2. เอกสารหลักฐาน ดังนี้ - สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) - เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของเจ้าของบัตร เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น

การทำบัตรประชาชนใหม่เมื่อบัตรหมดอายุจะต้องทำภายในกี่วัน

บัตรใช้ได้ตั้งแต่วันออกบัตร และมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ให้ใช้ต่อไปได้ตลอดชีวิต เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ต้องยื่นคำขอมีบัตรใหม่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดต้องระวาง ...