อาเซียนและอินเดียมีความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องใด

FTA อาเซียน-อินเดีย

11 มิ.ย. 62

4,856 View

 


อาเซียนและอินเดียมีความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องใด

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (ASEAN – INDIA Free Trade Agreement: AIFTA )

ลงนาม  13 ส.ค. 52
เริ่มลดภาษี 1 ม.ค. 53 ระหว่างอินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ส่วนประเทศที่เหลือจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 2553ลดภาษีเป็น 0  

ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน  และอินเดีย

31 ธ.ค. 56 = 71% ของพิกัดศุลกากร 6 หลัก

31 ธ.ค. 59 = 80% ของพิกัดศุลกากร 6 หลัก


   เมื่อปี 2545 ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและอินเดียเห็นชอบให้มีการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย และในปี 2546 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ  (Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between ASEAN and India) เพื่อเป็นกรอบแนวทางและแผนงานในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดียที่จะครอบคลุมถึงการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และกลไกระงับข้อพิพาท รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือในการอำนวยทางการค้า โดยเริ่มเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเป็นฉบับแรก  ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจาความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า และความตกลงว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท ตั้งแต่ปี  2547 ซึ่งต่อมา ในระหว่างการรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ได้มีลงนามความตกลงดังกล่าวและเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเป้าหมายให้ความตกลงมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2553  ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า ประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย) และอินเดียจะยกเลิกภาษีศุลกากรของสินค้าโดยรวมประมาณร้อยละ 80 ของรายการสินค้าภายในปี 2559 ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) จะยกเลิกภาษีภายในปี 2564 ส่วนฟิลิปปินส์และอินเดียจะยกเลิกภาษีภายในปี 2562  ความตกลงดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งเป็นการสร้างกลไกการค้าและการระงับข้อพิพาทที่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ทำให้สามารถคาดการณ์ได้และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุน


ประโยชน์ต่อผู้ส่งออกไทย

   อินเดียมีศักยภาพด้านเศรษฐกิจที่โดดเด่นและมีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและจีน ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีส่งผลให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้นและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อปานกลาง-สูงรวมกว่า 350 ล้านคน อินเดียจึงเป็นตลาดใหม่ทีมีศักยภาพรองรับการส่งออกของไทยเนื่องจากอินเดียมีระดับอัตราภาษีนำเข้าและมาตรการกีดกันสูง ดังนั้น การลด/ ยกเลิกภาษีนำเข้าของอินเดียจะช่วยลดภาระต้นทุนทางภาษีของสินค้าที่ส่งออกจากไทย ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าไทยและและสามารถแข่งขันกับสินค้าของคู่แข่งในตลาดอินเดียได้ดีขึ้น ตัวอย่างสินค้าที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของอินเดีย เช่น เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก  อัญมณีและเครื่องประดับ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง ผักและพืชประเภทถั่ว อาหารปรุงแต่ง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง และน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประโยชน์จากกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าที่จะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการมากขึ้น เนื่องจากสามารถใช้วัตถุดิบทั้งจากภายในอาเซียนและอินเดีย และยังสามารถรับใบสั่งซื้อจากประเทศนอกกลุ่มเพื่อทำการผลิตและส่งขายภายในภูมิภาคอาเซียน-อินเดีย โดยได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าเช่นกัน  


การเปิดตลาดสินค้า       

  การลด/ ยกเลิกภาษีศุลกากรแบ่งกลุ่มสินค้าเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ

1.     สินค้าปกติ (Normal Track: NT) แยกย่อยเป็นสินค้าปกติ 1 (NT 1) และสินค้าปกติ 2 (NT 2)

2.     สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track)

3.     สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive Track) และ

4.     สินค้าไม่ลดภาษี (Exclusion List)


อาเซียนและอินเดียใช้วิธีการลดภาษีศุลกากรแบบค่อยเป็นค่อยไปจากฐานอัตราภาษีทั่วไป ณวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 โดยใช้ระยะเวลาต่างกันในการลด/ ยกเลิกภาษี สำหรับอาเซียน 5 ประเทศ (ยกเว้นฟิลิปปินส์) กับอินเดีย ฟิลิปปินส์กับอินเดีย และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ตามตารางข้อผูกพันภาษีศุลกากรเป็นรายสินค้าซึ่งเป็นภาคผนวก 1 ของความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า  สำหรับสินค้าที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อผู้ผลิตภายในประเทศ ไทยจะไม่ลดภาษีของสินค้าสำคัญเหล่านั้น เช่น นมและผลิตภัณฑ์ เนื้อโคกระบือแช่เย็นแช่แข็ง หอม กระเทียม ชา กาแฟ ข้าว ไหมและผลิตภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ เป็นต้น  กรณีที่การลด/ ยกเลิกภาษีศุลกากรเป็นเหตุทำให้มีการนำเข้าสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ และอาจทำความเสียหายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรือคล้ายกันในประเทศผู้นำเข้าไม่ว่าเป็นสินค้าเกษตรหรือสินค้าอุตสาหกรรม ผู้ผลิตภายในประเทศสามารถใช้มาตรการปกป้องตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย เพื่อชะลอการนำเข้าสินค้านั้น เพื่อให้ผู้ผลิตภายในประเทศมีเวลาปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ โดยจะใช้มาตรการข้อใดข้อหนึ่งเป็นการชั่วคราว

- ระงับการลดภาษีนำเข้าของสินค้าที่พิสูจน์แล้วว่าเกิดความเสียหายขึ้นจริง หรือ

- ขึ้นอัตราภาษีนำเข้าแต่ต้องไม่เกินกว่าอัตราต่ำสุดที่เปรียบเทียบระหว่างอัตราเรียกเก็บจากประเทศ  อื่นๆ ในวันที่ใช้มาตรการกับอัตราเรียกเก็บก่อนหน้าวันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Agreement on Trade in Goods under the Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations and the Republic of India (ภาษาอังกฤษ // ภาษาไทย)


ภาคผนวก 1

- ตารางข้อผูกพันภาษีศุลกากรของไทยให้แก่ทุกประเทศ

- ตารางข้อผูกพันภาษีศุลกากรของอินเดียให้แก่อาเซียน (ยกเว้นฟิลิปปินส์)


กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

            สินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงฯ จะต้องเป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดของสินค้าภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและอินเดียตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เท่านั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจประเทศคู่สัญญาจะเป็นผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่แท้จริง โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้


1. เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นหรือใช้วัตถุดิบทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก (Wholly Produced or Obtained)

2. สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนและอินเดีย (Not Wholly Produced or Obtained) จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่ง ดังนี้

   ก) กฎทั่วไป (General Rule) โดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลัก (ซีทีเอสเอช) และมีสัดส่วนของวัตถุดิบที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกอาเซียนและอินเดีย (เรียกว่าสัดส่วนมูลค่าของอาเซียนหรือสัดส่วนมูลค่าของภูมิภาค: RVC) อย่างน้อยร้อยละ 35 ของราคาเอฟโอบี

   ข) มีถิ่นกำเนิดตามกฎเกณฑ์เฉพาะสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) จะมีการเจรจาต่อเนื่องเพื่อกำหนดเกณฑ์เฉพาะที่เหมาะสม   

3. สูตรในการคำนวณสัดส่วนมูลค่าของอาเซียน-อินเดียสามารถเลือกใช้ได้ ดังนี้

   ก) ทางตรง


RVC (%) =

ต้นทุนวัสดุในอาเซียนและอินเดีย


+ ค่าแรงทางตรง


+ ต้นทุนดำเนินการผลิตโดยตรง


+ ต้นทุนอื่น ๆ
+ กำไร  X 100% มากกว่าหรืเท่ากับ 35%
ราคาเอฟโอบี


ข) ทางอ้อม

RVC (%) =มูลค่านำเข้าของวัสดุ ส่วนประกอบ หรือผลิตผลนอกเอไอเอฟทีเอ

+ มูลค่านำเข้าของวัสดุ ส่วนประกอบ หรือผลิตผลที่ระบุถิ่นกำเนิดไม่ได้ X 100% น้อยกว่าหรือเท่ากับ 65%


ราคาเอฟโอบี


   ผู้ผลิต/ ผู้ส่งออกสามารถนำค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่น ๆ มาคำนวณเป็นต้นทุนสินค้าได้นอกเหนือจากต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนค่าแรงได้ อาทิ ค่าเช่าโรงงานและอุปกรณ์ การค้นคว้าและพัฒนา(อาร์แอนด์ดี)  ออกแบบ และวิศวกรรม ค่าสิทธิ หรือการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (เกี่ยวกับสิทธิบัตรในเครื่องจักร หรือกระบวนการที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือสิทธิในการผลิตสินค้า) และการตรวจสอบและทดสอบวัตถุและสินค้า เป็นต้น

4. การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า

สินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีหนึ่งและถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตในอีกประเทศหนึ่ง จะถือว่าได้ถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีที่มีกระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย ทั้งนี้ ในการอ้างถิ่นกำเนิดของสินค้าจะต้องไม่เข้าข่ายการปฏิบัติการหรือกระบวนการผลิตขั้นต่ำ เช่น การรักษาสินค้านั้นให้อยู่ในสภาพดี การบรรจุหีบห่อ การติดฉลาก รวมถึงกระบวนการอย่างง่าย ๆ      ไม่ว่าจะเป็นการตัด การผสม การประกอบ ฯลฯ ผู้ส่งออกสามารถขอรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดของสินค้า (Form AIFTA) ได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ  


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

- รายละเอียดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย

- ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (รายละเอียด)


เมื่อความตกลงมีผลใช้บังคับกับไทยแล้ว ในขั้นแรกผู้ผลิต/ ผู้ส่งออกควรทราบรหัสพิกัดศุลกากรของสินค้าก่อนเพื่อสะดวกในการค้นหาว่าสินค้านั้นอยู่ในรายการลดภาษีของประเทศภาคีหรือไม่ และกำหนดหลักเกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าอย่างไรเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี


อาเซียนและอินเดียมีความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องใด

ความเข้าใจเรื่องการลด/ ยกเลิกภาษีศุลกากร   

อาเซียนและอินเดียได้มีการยืนยันความเข้าใจ (Understanding) ไว้อย่างชัดเจนว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนและอินเดีย สามารถบังคับใช้มาตรการตามกฏหมายและข้อบังคับภายในประเทศเกี่ยวกับการควบคุมของเสียอันตรายแม้จะมีข้อผูกพันการลด/ ยกเลิกภาษีศุลกากรของสินค้านั้นก็ตาม เพื่อคุ้มครองชีวิตหรือสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Understanding on Article 4 of the Agreement on Trade in Goods under the Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations and the Republic of India (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)


กลไกระงับข้อพิพาท

เป็นความตกลงที่จะใช้ระงับข้อพิพาททุกกรณีระหว่างประเทศภาคีที่เกิดขึ้นจากกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ระหว่างอาเซียนและอินเดีย แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของประเทศภาคีในการระงับข้อพิพาทภายใต้สนธิสัญญาอื่น ๆ โดยมีการกำหนดกลไกการรับฟ้อง การปรึกษาหารือ การไกล่เกลี่ย การจัดตั้งอนุญาโตลุลาการ การชดใช้ค่าเสียหาย การระงับสิทธิประโยชน์ และกระบวนการระงับข้อพิพาทเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศภาคีในการปฏิบัติตามพันธกรณี


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Agreement on Dispute Settlement Mechanism under the Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations and the Republic of India (ภาษาอังกฤษ // ภาษาไทย)


พิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย เนื่องจากกรอบความตกลงฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ต่อมาทั้งสองฝ่ายตกลงให้ยกเลิกการเปิดเสรีสินค้าส่วนแรก (Early Harvest Programme) รวมทั้งการเจรจาความตกลงและการมีผลบังคับใช้ล่าช้ากว่าที่ระบุไว้ในกรอบความตกลงฯ จึงมีความจำเป็นต้องมีพิธีสารเพื่อแก้ไขบทบัญญัติในกรอบความตกลงฯ ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Protocol to Amend the Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations and the Republic of India (ภาษาอังกฤษ  // ภาษาไทย)


การค้าบริการและการลงทุน

อาเซียนและอินเดียอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ และความตกลงว่าด้วยการลงทุน โดยตั้งเป้าหมายสรุปผลการเจรจาสาระสำคัญของความตกลงทั้งสองฉบับภายในเดือนสิงหาคม 2553


เอกสารประกอบการพิจารณาเปิดตลาดการลงทุนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย

- International Standard Industrial Classification of All Economic Activities (ISIC), Rev. 3.1 … (Click here)

- International Standard Industrial Classification of All Economic Activities (ISIC), Rev. 4 … (Click here)


สรุปผลการประชุม

ในการประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอินเดีย ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ณ ประเทศสิงคโปร์ ที่ประชุมได้มีมติให้เริ่มการเจรจาความตกลงการค้าบริการและความตกลงการลงทุน ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – อินเดีย โดยกำหนดเป้าหมายให้สรุปสาระสำคัญของการเจรจาความตกลงทั้งสองฉบับภายในปี 2552 การเจรจาความตกลงการค้าบริการและความตกลงการลงทุนได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2551 สาระสำคัญของการเจรจามีดังนี้

  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่ 1
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่ 1
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่ 2
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่2
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่ 3
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่ 3
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่ 4
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่4
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่5
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่5
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่6
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน – อินเดีย  ครั้งที่6

  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่7
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่7
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่8
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่8
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่9
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่9
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่10
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่10
  • สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่11

เอกสารเผยแพร่

- หนังสือสรุปสาระสำคัญความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย

- ข้อมูลย่อประเทศอินเดีย

- เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “ภาพรวมโอกาสและช่องทางการทำธุรกิจในอินเดีย” เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมอมารีวอเตอร์เกต (รายละเอียด)

อาเซียนและอินเดียมีความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องใด *

2. ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียเป็นความสัมพันธ์อย่างรอบด้านในฐานะหุ้นส่วน โดยมีเอกสาร “ASEAN- India Partnership for Peace, Progress and Shared Prosperity” กาหนดแนวทางในการดาเนินความร่วมมือ ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา และมีแผนปฏิบัติการรองรับ รวมทั้งได้มีการจัดตั้ง ASEAN-India Fund เพื่อสนับสนุน ...

อินเดียเข้าร่วมอาเซียนเมื่อใด

ความเป็นมา อาเซียนกับอินเดียเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2535 ในลักษณะคู่เจรจาเฉพาะด้าน และยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นคู่เจราจาอย่างสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้พัฒนาความสัมพันธ์สู่ระดับ การประชุมสุดยอดครั้งแรก เมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา

อาเซียน – อินเดีย ได้ลงนามกรอบความตกลงความร่วมมือในด้านใด

อาเซียนและอินเดียอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ และความตกลงว่าด้วยการลงทุน โดยตั้งเป้าหมายสรุปผลการเจรจาสาระสำคัญของความตกลงทั้งสองฉบับภายในเดือนสิงหาคม 2553. เอกสารประกอบการพิจารณาเปิดตลาดการลงทุนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย

อาเซียนมีความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาใดบ้าง

ปัจจุบัน อาเซียนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ 10 คู่เจรจา (Dialogue Partner) ซึ่งประกอบด้วย 9 ประเทศ คือ อาเซียน – ญี่ปุ่น อาเซียน – ออสเตรเลีย อาเซียน – นิวซีแลนด์ อาเซียน – สหรัฐอเมริกา อาเซียน – แคนาดา อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี อาเซียน – อินเดีย อาเซียน – จีน อาเซียน – รัสเซีย และ 1 องค์กรระดับภูมิภาค คือ อาเซียน – ...