บทเสภาสามัคคีเสวกประกอบด้วยตอนใดบ้าง

ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทเสภาสามัคคีเสวก

อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ ในกิจศิลปะวิไลละวาดงามแต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ ว่างการรบอริพลอันล้นหลามย่อมจำนงศิลปาสง่างาม เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดาอันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่าใครๆ เห็นไม่เป็นที่จำเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอายศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหายจำเริญตาพาใจให้สบาย อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญแม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสารเพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจเพราะการช่างนี้สำคัญอันวิเศษ ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง

          บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน  สามัคคีเสวก กล่าวถึงหน้าที่ของข้าราชบริพารที่ดี คือ จะต้องจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มีความสามัคคี มีวินัย เปรียบเสมือนลูกเรือที่จะต้องเชื่อฟังกัปตัน มิฉะนั้นเรือที่บังคับจะลงไปในที่สุด

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปศึกษาวิชาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 6 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ พระองค์ทรงเป็นทั้งนักปราชญ์และจินตกวี ทรงเชี่ยวชาญทั้งอักษรศาสตร์ โบราณคดี ทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณคดีประเภทต่างๆ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง มากกว่า 200 เรื่อง ชาวไทยได้ถวายสมัญญาแด่พระองค์ว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ผลงานพระราชนิพนธ์ที่สำคัญๆ เช่น หัวใจนักรบ มัทนะพาธา เวนิสวาณิช สาวิตรี ธรรมาธรรมะสงคราม เป็นต้น

ที่มาของเรื่อง

มาจากเรื่อง “บทเสภาขับระหว่างชุดระบำสามัคคีเสวก”

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

เป็นบทเสภาสำหรับขับอธิบายนำเรื่องในการฟ้อนรำตอนต่างๆ เพื่อให้พิณพาทย์ได้พักเหนื่อย

ลักษณะคำประพันธ์

เป็นกลอนสุภาพ

๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ  วรรคที่สองเรียกวรรครับ วรรคที่สามเรียกวรรครอง  วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด

๒.  เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้

          คำท้ายวรรคสดับ

กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง

          คำท้ายวรรครับ

กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี

          คำท้ายวรรครอง

กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

          คำท้ายวรรคส่ง

กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

 ๓. สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)

สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำที่ส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

ข.   สัมผัสใน ในแต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อักษร – สุนทรศรี

เนื้อเรื่องย่อ

ชาติใดที่มีการรบราฆ่าฟันกัน ชาตินั้นจะไม่มีเวลาที่จะมาสนใจศิลปะ แต่ถ้าชาติบ้านเมืองสงบก็มีเวลามาสนใจและนิยมงานศิลปะแขนงต่างๆ เพราะศิลปะเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ให้คุณค่าทางด้านจิตใจ ใครที่ไม่รักงานศิลปะก็เหมือนกับคนป่า ดังนั้นงานช่างทุกชนิดจึงเป็นงานที่ชาติไทยเราสมควรที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้ก้าวหน้าไปให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

๑ ศิลปะมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องแสดงความเจริญและแสดงความเจริญและแสดงเกียรติภูมิของประเทศ

๒ ชาติไทยมีศิลปะที่งดงามแขนงต่างๆ เป็นมรดกตกทอดอันทรงคุณค่า

๓ คนไทยควรสนับสนุนศิลปินและวิชาช่างไทยให้คงอยู่ถาวรสืบไป

๔ ศิลปะเป็นสิ่งทีมีคุณค่า ช่วยคลายความทุกข์โศก ทำให้จิตใจและร่างกายสบาย

ลักษณะเด่นของเรื่อง

๑.เป็นกลอนที่ใช้ถ้อยคำภาษาง่ายๆ แต่ฟังไพเราะ มีการอุปมาอุปไมย เปรียบอย่างสมเหตุสมผลบางตอนบางบทของเสภานี้จึงเป็นที่จดจำติดปากของคนไทยเรา เช่น

อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์     เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า

ใครๆ เห็นไม่เป็นที่จำเริญตา               เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

๒.เป็นเรื่องที่โน้นน้าวใจให้ผู้อ่านมีความรัก ความนิยมในงานศิลปะ ชี้ให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของศิลปะอันงดงามของไทยอันเป็นมรดกตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ

สาระสำคัญ บทเสภาสามัคคีเสวกมีลักษณะต่างจากเสภาเรื่องอื่นๆ คือ เป็นบทเสภาขนาดสั้น แบ่งออกเป็น ๔ ตอน แต่ละตอนมุ่งเสนอแนวคิดมากกว่าการเล่าเรื่อง โดยมีความคิดสำคัญ ที่ผูกร้อยแต่ละตอนเข้าด้วยกันคือ ความสมานสามัคคีและความจงรักภักดีของข้าราชการต่อองค์พระมหากษัตริย์และต่อประเทศชาติ เนื้อหาสาระโดยสรุปของแต่ละตอนมีดังนี้

ตอนที่ ๑ กิจการแห่งพระนนที มีเนื้อความสรรเสริญพระนนทีผู้เป็นเทพเสวก เมื่อพระอิศวรจะเสด็จไปแห่งมดพระนนทีจะแปลงเป็นโคอุสุภราชหะพระอิศวรประทับ เมื่อขับเสภาจบเป็นการแสดงระบำซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระอิศวรและพระอุมาเสด็จออกให้เทวดาเฝ้า ยักษ์กาลเนมีเข้ามาก่อกวนไล่จับนางฟ้า พระนนทีจึงให้เหล่าเทพเสวกช่วยกันจับยักษ์และชำระความ จากนั้นพระอินทร์และท้าวจัตุโลกบาลจึงออกมาเฝ้าพระอิศวร

ตอนที่ ๒ กรีนิรมิต มีเนื้อความสรรเสริญพระคเณศเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาและเป็นผู้สร้างช้างต่างๆ ในแผ่นดินเพื่อประดับพระยศของพระมหากษัตริย์ การแสดงระบำเริ่มต้นด้วยช้างประจำทิศทั้ง 8 ออกมาถวายบังคมพระคเณศและจับระบำยักษ์กาลเนมีออกมาไล่จับช้าง พระคเณศโกรธจึงไล่ลงไปต่อสู้กับยักษ์และขับไล่ยักษ์ไปได้ พระคเณศได้มอบช้างประจำแต่ละทิศให้ท้าวโลกบาลทั้ง 8 และร่ายมนต์สร้างพระยาช้างเผือกจากนั้นให้หมอเฒ่าจับช้างเผือกแล้วตั้งกระบวนแห่พระยาช้างเผือก

ตอนที่ ๓ วิศวกรรมา มีเนื้อความสรรเสริญพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการก่อสร้างและการช่างนานาชนิดกล่าวถึงความสำคัญของศิลปะที่มีต่อชาติ การแสดงระบำเริ่มจากพระวิศวกรรมออกมารำ ต่อนางวิจิตรเลขามารำทำท่าวาดภาพถวาย และพระรูปการมารำทำท่าปั้นรูปถวาย จากนั้นมีการแสดงอาวุธที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างงดงาม และปิดท้ายด้วยระบำนพรัตน์

ตอนที่ ๔ สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงการสมานสามัคคีในหมู่ข้าราชการ ให้บรรดาข้าราชการเหล่านั้นมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ซื่อตรง รักษาเกียรติยศและขยันทำงาน การแสดงระบำเริ่มด้วยราชเสวก ๒๘ หมู่ เดินแถวสวนสนามและร้องเพลงแสดงความจงรักภักดี

บทเสภาสามัคคีเสวกประกอบด้วยตอนใดบ้าง

อาขยานบทหลัก

บทเสภาสามัคคีเสวก

ตอน วิศวกรรมา

อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ                  ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ                             ในศิลปะวิไลละวาดงาม
แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ                           ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม
ย่อมจำนงศิลปะสง่างาม                              เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา
     อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์                   เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา                       เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก                          ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
จำเริญตาพาใจให้สบาย                               อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม                              เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ                    โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
เพราะการช่างนี้สำคัญอันวิเศษ                      ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป                        ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ใบงาน

เรื่อง บทเสภาสามัคคีเสวก

จงเติมข้อความที่ถูกต้องลงในช่องว่าง

๑.แรกเริ่มทีนั้นการขับเสภามีพัฒนาการมาจาก.........................................................................................

๒.บทเสภาสามัคคีเสวกมีความแตกต่างจากเสภาเรื่องอื่นๆ อย่างไร...........................................................

๓.ให้นักเรียนเขียนอธิบายบทเสภาสามัคคีเสวกดังต่อไปนี้

๓.๑บทเสภาตอนที่ ๑ กิจการแห่งพระนนที กล่าวถึง...........................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………

๓.๒บทเสภาตอนที่ ๒ กวีนิรมิต กล่าวถึง.............................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………

๓.๓บทเสภาตอนที่ ๓ วิศกรรมา กล่าวถึง............................................................................................

.............................................................................................................................................................

๓.๔บทเสภาตอนที่ ๔ สามัคคีเสวก กล่าวถึง.......................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………

๔.ให้นักเรียนตอบคำถามจากบทประพันธ์ต่อไปนี้

สอนช่างเขียนให้เพียรเขียนวาดสี                  แบบกระหนกนารีศรีสมร

อีกกระบี่ชะสง่างอน                                  แบบสุนทรจิตการสมานรงค์

เริ่มผูกลวดเลิศประเสริฐก่อน                       อรชรก้านกิ่งยิ่งประสงค์

สลับสีเพียบเพ็ญเบญจรงค์                          จัดประจงเป็นภาพพิไลตา

อนึ่งปั้นเป็นรูปเทวฤทธิ์                              ดูประหนึ่งว่ามีชีวิตพิศเพลินใจ

อีกสถาปนะการชาญฉลาด                          ปลูกปราสาทเคหฐานทั้งน้อยใหญ่

ก่อกำแพงกำแหงรอบกรุงไกร                       ท้าประยุทธ์ชองชัยแห่งไพรี

สร้างศาสตราอาวุธรุทธ์กำแหง                      เพื่อใช้แย้งยุทธากรสมรศรี

ทวยทหารได้ถือเครื่องมือดี                          ก็สามารถราวีอรีลาน

อนึ่งเครื่องประดับสลับแก้ว                         วะวับแววแก้วทองสองสมาน

ช่างประดิษฐ์คิดประจงคงตระการ                  เครื่องสำราญนัยนาน่าพึงใจ

    ๔.๑ จากคำประพันธ์ข้างต้นช่างของไทยที่กล่าวไว้มีช่างใดบ้าง..............................................................ช่างในแต่ละชนิดทำหน้าที่อะไรบ้าง......................................................................................................

จิตกรรม หมายถึง..................................................................................................................................

ประติมากรรม หมายถึง.........................................................................................................................

สถาปัตยกรรม หมายถึง.........................................................................................................................

หัตถกรรม หมายถึง................................................................................................................................

    ๔.๒ เหตุใดวิชาช่างแขนงต่างๆ จึงมีความสำคัญกับมนุษย์...................................................................... ............................................................................................................................................................... ...................................................... .......................................................................................................

    ๔.๓ นักเรียนมีวิธีช่วยกันบำรุงรักษาศิลปะให้ถาวรสืบไปอย่างไร............................................................. ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ 

๕.ผู้แต่งเรื่องบทเสภาสามัคคีเสวก คือ.....................................................................................................

๖.จุดประสงค์ในการแต่งเรื่อง คือ............................................................................................................

๗.คำว่า “เสวก” อ่านว่า......................................................หมายความว่า..............................................

.................................................................................................................................................................

๘.ลักษณะของเสภาเป็นอย่างไร...............................................................................................................

๙.ศิลปะมีประโยชน์ต่อมนุษย์ คือ.............................................................................................................

๑๐.ผู้เขียนเปรียบเทียบคนทีไม่รู้จักคุณค่าของศิลปะกับสิ่งใด...................................................................

๑๑.“อีกช่างสถาปนาถูกทำนอง” ช่างสถาปนา หมายความว่า...................................................................

๑๒.คำว่า รัชดา หมายความว่า...................................................................................................................

๑๓.งานช่างไทยมีหลายแขนง ได้แก่...........................................................................................................

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

๑๔.ความสามัคคีในหมู่ราชการเสวกผู้สวามิภักดิ์ ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่ออยู่ใต้เบื้องพระยุคลบาท...................................................................................................................................................................

๑๕.นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรถ้าเยาวชนในหมู่คณะแตกความสามัคคีกันจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๑๖.แม้ลูกเรืออวดดีมีทิฐิ                    และเริ่มริเฉโกยุ่งโยเส

เมื่อคลื่นลมแรงจัดซัดโซเซ       เรือจะเหล่มระยำคว่ำไป

แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง         นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน

แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวินัย                   เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง

กลอนบทนี้ให้ข้อคิดอะไรบ้าง..................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๑๗.ผู้นำที่ดีควรวางตนอย่างไรในการปกครองลูกน้อง (ตอบ ๕ ข้อ) ......................................................... ...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

๑๘.ลูกน้องที่ดีควรประพฤติปฏิบัติตนอย่างไรในการทำงานกับหัวหน้า (ตอบ ข้อ) ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๑๙.ว่าทรงงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว หมายความว่า...................................................................................................................................................................

๒๐.บทเสภาตอนที่ ๔ มีกลวิธทางวรรณศิลป์ที่เด่นที่สุด คือ......................................................................พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบประเทศชาติเหมือนกับ.............................................พระองค์ทรงเป็นผู้นำประเทศเปรียบได้กัปตันเรือแล้วเหลาข้าราชการบริพารทั้งหลายเปรียบเสมือน...................................................................................................................................................................

 ให้นักเรียนวงกลมหน้าข้อที่ถูกที่สุด

๑.บทร้อยกรองเรื่องนี้มีชื่อเต็มว่าอะไร

ก.บทเสภาสามัคคีเสวก

ข.บทเสภาระหว่างชุระบำสามัคคีเสวก

ค.บทเสภาขับชุดระบำสามัคคีเสวก

ง.บทเสภาขับระหว่างชุดระบำสามัคคีเสวก

๒.ใครเป็นผู้แต่งบทร้อยกรองนี้

ก.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ค.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

ง.พระยาอุปกิตศิลปสาร

 ๓.เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด

ก.กาพย์ยานี

ข.กลอนสักวา

ค.กลอนเสภา

ง.กลอนสุภาพ

๔.เรื่องนี้แต่งขึ้นเพื่อความมุ่งหมายใด

ก.ใช้ร้องสักวา

ข.ใช้ขับรองเพื่อปลุกใจ

ค.ใช้ขับเสภา

ง.ใช้ขับร้องในบทละคร

๕.เรื่องนี้มีใจความเกี่ยวกับอะไรเป็นสำคัญ

ก.ความสำคัญของศิลปะ

ข.กำเนิดของศิลปะ

ค.ความหมายของศิลปะ

ง.การบำรุงรักษาศิลปะ

๖.ศิลปะจะเกิดขึ้นและเจริญรุ่งเรืองในภาวการณ์อย่างไร

ก.บ้านเมืองกำลังรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ

ข.บ้านเมืองกำลังพัฒนาในทุกๆ ด้าน

          ค.บ้านเมืองสงบสุขปราศจากภัยสงคราม

          ง.ผู้บริหารบ้านเมืองเห็นความสำคัญของศิลปะ

๗.ผู้ไม่นิยมศิลปะจะได้รับความเสียหาย ประการสำคัญที่สุดอย่างไร

          ก.เมื่อเกิดความทุกข์ไม่อาจระงับได้

          ข.ทำให้รูปร่างทรามหมดสง่าราศี

          ค.ทำให้สุขภาพทางกายและใจเสื่อมโทรม

          ง.เป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยามของผู้อื่น

๘.ชาติที่ขาดช่างศิลปะเปรียบได้กับอะไร

          ก.หญิงที่ไม่ตกแต่งร่างกาย

          ข.หญิงที่ไม่มีศิลปะในการตกแต่งร่างกาย

          ค.หญิงที่แต่งงานแล้ว

          ง.หญิงที่มีรูปร่างอัปลักษณ์

๙.ศิลปะมีความสัมพันธ์กับสุขภาพอย่างไร

          ก.ทำให้จิตใจสงบ

          ข.ทำให้จิตใจมีคุณธรรม

          ค.ทำให้จิตใจรื่นเริงผ่องใส

          ง.ทำให้ใจและกายเป็นสุข

๑๐.ผู้ที่ดูถูกช่างศิลปะ จัดเป็นบุคคลประเภทใด

          ก.คนชั่ว                   ข.คนโง่                    ค.คนไร้การศึกษา                  ง.คนป่า

๑๑.เมืองไทยมีความเจริญเท่าเทียมเพื่อนบ้านเพราะเหตุผลใดเป็นสำคัญ

          ก.คนไทยมีความสามัคคี

          ข.คนไทยรักความสงบ

          ค.คนไทยมีความขยันหมั่นเพียร

          ง.คนไทยมีความชำนาญในการช่างหลาย

๑๒.ข้อใดใช้สัมผัสของคำดีเด่นที่สุด

          ก.อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ               ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่

          ข.ในชาตินั้นนรชนไม่สนใจ                ในศิลปะวิไลละวาดงาม
          ค.แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ                        ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม
          ง.ย่อมจำนงศิลปะสง่างาม                   เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา

๑๓.ในข้อ ๑๒ ข้อใด ไม่มี สัมผัสสระภายในวรรคครบทุกวรรค

          ก.ข้อ ก           ข.ข้อ ข                    ค.ข้อ ค                             ง.ข้อ ง

 ๑๕.ข้อใดแสดงเหตุผลดีเด่นที่สุด

          ก.แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ                        ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม

  ย่อมจำนงศิลปะสง่างาม                           เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา

          ข.ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก              ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
  จำเริญตาพาใจให้สบาย                             อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
          ค.แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม                 เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
  เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ                  โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
          ง.แต่กรุงไทยศรีวิไลทันเพื่อนบ้าน                  จึงมีช่างชำนาญวิเลขา

  ทั้งช่างปั้นช่างเขียนเพียรวิชา                      อีกช่างสถาปนาถูกทำนอง

๑๕.จากข้อ ๑๔ ข้อความคู่ใดมีใจความคล้ายคลึงกัน

          ก.ข้อ ก และ ข

          ข.ข้อ ข และ ค,ก และ ง

          ค.ข้อ ก และ ค,ข และ ง

          ง.ข้อ ก และ ข,ค และ ง

๑๖.ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง           ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง

    เหมือนคนป่าคนไพร่ไม่รุ่งเรือง        จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา

การเปรียบผู้ดูถูกช่างศิลปะกับคนป่าเพราะเหตุผลข้อใดสำคัญที่สุด

          ก.ต่างมีความคิดผิดทำนองคลองธรรม

          ข.ต่างมีความเป็นอยู่ต่ำต้อย

          ค.ต่างด้อยปัญญา

          ง.ต่างเป็นที่เหยียดหยามของผู้อื่น

๑๗.ข้อความ จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา หมายความว่าอย่างไร

          ก.ต้องใช้คำพูดเป็นอันมากจึงเข้าใจกัน

          ข.ต้องพยายามสรรหาคำพูดที่เหมาะสมจึงเข้าใจกัน

          ค.ต้องสิ้นเปลืองสติปัญญาในการพูดเป็นอันมากจึงเข้าใจกัน

          ง.ถึงจะพูดอย่างไร ๆ ก็ไม่เข้าใจกัน

๑๘.ทั้งช่างปั้นช่างเขียนเพียรวิชา         อีกช่างสถาปนาถูกทำนอง คำ ช่างสถาปนา หมายความว่ากระไร

          ก.ช่างก่อสร้าง                     ข.ช่างแกะสลัก

          ค.ช่างทอ                           ง.ช่างออกแบบเครื่องตกแต่งภายใน

 ๑๙. "ทั้งช่างรูปพรรณสุวรรณกิจ          ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผ่อง

อีกช่างถมลายลักษณะจำลอง               อีกช่ำชองเริงรัตนะประกร"

ข้อความนี้ ไม่ได้ กล่าวถึงช่างประเภทใด

          ก.ช่างทอง                                    ข.ช่างเงิน       

          ค.ช่างประดิษฐ์เครื่องเพชรนิลจินดา      ง.ช่างหล่อ

ใบงาน

เรื่อง โคลงสี่สุภาพ และกลอนสุภาพ

บทเสภาสามัคคีเสวกประกอบด้วยตอนใดบ้าง


ให้นักเรียนเติมคำตอบลงในช่องว่าง

๑.โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี...........................บาท

๒.โคลงสี่สุภาพมีที่บังคับวรรณยุกต์เอก...............................แห่ง วรรณยุกต์โท...............................แห่ง

๓.สัมผัสของโคลงสี่สุภาพเป็นสัมผัสประเภท..........................................................................................

๔.วรรคหน้าของทุกบาทมี...............................คำ

๕.วรรคหลังสามารถมีคำสร้อยได้ในบาทที่...............................และบาทที่...............................

๖.คำเดิมเป็นวรรณยุกต์โทแต่เขียนให้เป็นวรรณยุกต์โท เรียกว่า...............................

๗.คำเดิมเป็นวรรณยุกต์โทแต่เขียนให้เป็นวรรณยุกต์โท เรียกว่า...............................

๘.คำตายสามารถใช้แทนที่คำที่บังคับวรรณยุกต์...............................ได้

 ให้นักเรียนพิจารณาโคลงบทนี้แล้วโยงสัมผัสให้ถูกต้อง

                   บุเรงนองนามราชเจ้า    จอมรา-มัญเอย

          ยกพยุหแสนยา                    ยิ่งแกล้ว

          มอญม่านประมวลมา              สามสิบ หมื่นแฮ

          ถึงอยุธเยศแล้ว                    หยุดใกล้นคราฯ

กลอนสุภาพ

ให้นักเรียนนำคำเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

๑.ใจ ลม ไหล ขวัญ ชิด ใจ ใจ น่า

ขอฝากเพลงจากดวง.............ส่งให้มิตร  เพื่อแนบ............ยามนิทรา.......หลับ............

          เพลงตาม..........ลอยเลื่อนเตือน...........กัน                 เป็นของ.............มอบให้จาก.............จริง

๒.ชัก สุด ฮัก

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ            ประเสริฐ.............ซ่อนใส่เสียในฝัก

สงวนคมสมนึกใครอึก...............                    จึงค่อย..............เชือดฟันให้บรรลัย

๓.ได้ ไทย แน่ ว่า มา ปราสาท

 ในโลกนี้มีอะไรเป็นไทยแท้                         ของไทย..............นั้นหรือคือภาษา

ซึ่งผลิดอกออกผลแต่ต้น..........                     รวมเรียก..........วรรณคดีไทย

อนึ่งศิลป์งามเด่นเป็นของชาติ                      เช่น...................ปรางค์ทองอันผ่องใส

อีกดนตรีรำร่ายลวดลาย.............                            อวดโลก............ไทยแท้อย่างแน่นอน

๔.ตา พา นาริน โศก ร่างกาย

     อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์                   เหมือน..............ไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญ..........                  เขาจะ..............กันเย้ยให้อับอาย
ศิลปกรรมนำใจให้สร่าง..............                   ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
จำเริญตาพาใจให้สบาย                     อีก..............ก็จะพลอยสุขสบาย 

ให้นักเรียนหาสัมผัสสระและสัมผัสอักษรจากข้อความที่กำหนดให้

ความโกรธนั้นมันเหมือนทะเลบ้า                             คลื่นซัดซ่าสาดโครมโหมถลา

ลมกระหน่ำซ้ำคลื่นครืนครืนมา                      เหมือนอุราพลุ่งโชติเพราะโกรธครัน

สัมผัสสระ ได้แก่....................................................................................................................................

สัมผัสอักษร ได้แก่.................................................................................................................................

บทเสภาสามัคคีเสวก มีทั้งหมด 4 ตอน อะไรบ้าง

ความแตกต่าง Page 15 บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนที่๑ : กิจการแห่งพระนนที Page 16 ตอนที่๒ : กรีนิรมิต ตอนที่๓ : วิศวกรรมา ตอนที่๔ : สามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวกมีชื่อตอนอะไรบ้าง

ตอนที่ ๑ กิจการแห่งพระนนที ตอนที่ ๒ กรีนิรมิต ตอนที่ ๓ วิศวกรรมา ตอนที่ ๔ สามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวกทั้ง 2 ตอนมีการโน้มน้าวใจเรื่องใดบ้าง

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก ๑. เหล่าข้าราชการต้องให้ความร่วมมือกับองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้นำของประเทศ ๒. ข้าราชการต้องคำนึงถึงหน้าที่ของตนเป็นใหญ่ มีความเคร่งครัดในระเบียบวินัย ๓. ข้าราชการต้องมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน ๔. ข้าราชการต้องมีความสามัคคีปรองดองเพื่อนำชาติให้พัฒนาต่อไป

บทเสภาสามัคคีเสวกแต่ละตอนมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

สาระสำคัญ บทเสภาสามัคคีเสวกมีลักษณะต่างจากเสภาเรื่องอื่นๆ คือ เป็นบทเสภาขนาดสั้น แบ่งออกเป็น ๔ ตอน แต่ละตอนมุ่งเสนอแนวคิดมากกว่าการเล่าเรื่อง โดยมีความคิดสำคัญ ที่ผูกร้อยแต่ละตอนเข้าด้วยกันคือ ความสมานสามัคคีและความจงรักภักดีของข้าราชการต่อองค์พระมหากษัตริย์และต่อประเทศชาติ เนื้อหาสาระโดยสรุปของแต่ละตอนมีดังนี้