การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

วิกฤตโควิด-19 ทำให้ ‘การบินไทย’ อยู่ในภาวะระส่ำระสายจากการขาดรายได้ กลายเป็นที่มาที่ทำให้ต้องหารายได้ใหม่เพื่อเข้ามาพยุงธุรกิจ

ไม่ว่าจะเป็น การขายปาท่องโก๋, เปิดร้านอาหาร Royal Orchid Dining Experience ซึ่งเป็นการนำเมนูที่ปกติแล้วจะให้บริการใน Business Class และ First Class มาเสิร์ฟ, กระเป๋า Re-Life Collection ที่ดัดแปลงมาจาก Life Vest (เสื้อชูชีพ) และ Slide Raft (แพยาง) บนเครื่องบินที่หมดอายุการใช้งานแล้ว

หุ้นสายการบินนกแอร์, หุ้นบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), เครื่องยนต์ของเครื่องบิน Boeing 737-400 ที่ไม่ได้ใช้งาน (จำนวน 5 เครื่องยนต์) และอาคารศูนย์ฝึกอบรมหลักสี่ ซึ่งถูกระบุว่าไม่ได้เป็นทรัพย์สินหลักที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจการบิน

และล่าสุดการบินไทยได้วางขาย ‘DIY ครัวซองต์’ ขนมยอดฮิตที่กำลังเป็นกระแสในหมู่ผู้บริโภค

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

TAGS:  


การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

ABOUT THE AUTHOR
ถนัดกิจ จันกิเสน

Content Creator ประจำกองบรรณาธิการ THE STANDARD WEALTH

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป

สำนักงานการบินไทย สาขาท่าอากาศยานดอนเมือง

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไทยมีมติให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศอยู่ในขณะนั้น กับสายการบินสแกนดิเนเวียน (SAS) สายการบินร่วมของประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกันเพื่อดำเนินธุรกิจการบริการสายการบินระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท การบินไทย จำกัด ด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท โดยเที่ยวบินแรกคือจากกรุงเทพฯ ไปยังฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 SAS คืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ตามมติคณะรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยได้ควบรวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้เป็นสายการบินแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเมื่อปี พ.ศ. 2537[1]

รายชื่อผู้บริหาร[แก้]

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี)[แก้]

  • นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุชีวะ (2503-2512)
  • พลอากาศตรี ไกรวัลย์ ถาวรธาน (2512-2514)
  • พลอากาศโท สวน สุขเสริม (2514-2518)
  • พลอากาศโท ชู สุทธิโชติ (2518-2522)
  • เรืออากาศเอก พร้อม ณ ถลาง (2522-2523)
  • พลอากาศเอก บัญชา สุขานุศาสน์ (2523-2527)
  • พลอากาศเอก จรรยา สุคนธทรัพย์ (2527-2529)
  • พลอากาศเอก ประหยัด ดิษยะศริน (2529-2531)
  • พลอากาศเอก วีระ กิจจาทร (3 ตุลาคม 2531 – 6 กันยายน 2535)
  • ร้อยตำรวจโท ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ (2535 – 2536)
  • ธรรมนูญ หวั่งหลี (2536 – 2543)
  • พิสิฐ กุศลาไสยานนท์ (2543 – 2544)
  • สมใจนึก เองตระกูล (รักษาการ) (2544 – 2545)
  • กนก อภิรดี (2545 – 2549)
  • เรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี (รักษาการ) (2549-2551)
  • เรืออากาศโท นรหัช พลอยใหญ่ (รักษาการ) (2551-2552)
  • พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ (รักษาการ) (2552)
  • ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (2552 – 2555)
  • สรจักร เกษมสุวรรณ (2555 – 2557)
  • โชคชัย ปัญยายงค์ (รักษาการ) (2557)
  • จรัมพร โชติกเสถียร (2557 – 2560)
  • อุษณี แสงสิงแก้ว (รักษาการ) (2560 – 2561)
  • สุเมธ ดำรงชัยธรรม (2561 – 2563)
  • จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล (รักษาการ) (2563 – 2564)
  • สุวรรธนะ สีบุญเรือง (รักษาการ) (2564-ปัจจุบัน)

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2503-2512[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยดำเนินการให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company Limited; ชื่อย่อ: บดท.; TAC) กับ สายการบินสแกนดิเนเวียน (อังกฤษ: Scandinavian Airlines System; ชื่อย่อ: SAS) ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท การบินไทย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ โดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
  • พ.ศ. 2503 - กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ รับจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท การบินไทย จำกัด ต่อมาเปิดเที่ยวบินแรกจากท่าอากาศยานกรุงเทพ ไปยังท่าอากาศยานไคตั๊ก ด้วยเครื่องบินใบพัด ดักลาส ดีซี 6 บี ขนาด 60 ที่นั่ง ซึ่งมีผู้โดยสารเต็มลำ จากนั้นจึงเริ่มเส้นทางบินอีก 11 จุดในทวีปเอเชีย ได้แก่ย่างกุ้ง กัลกัตตา ไทเป โตเกียว กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ พนมเปญ โฮจิมินห์ มะนิลา จาการ์ตา โดยมีฝูงบินเป็นเครื่องบินรุ่นเดียวกันอีกสองลำ ในปีแรกของกิจการ
  • พ.ศ. 2504 - มีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 83,000 คน พร้อมทั้งสร้างเอกลักษณ์ของบริการเอื้องหลวง (Royal Orchid Service) คือการบริการบนเครื่องโดยพนักงานต้อนรับ จะผสมผสานด้วยความเป็นไทย จนกระทั่งสัญลักษณ์ตุ๊กตารำไทย รวมถึงชุดไทยเรือนต้นของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่ตัดเย็บด้วยผ้าไหมไทย ซึ่งทั้งสองสิ่งออกแบบโดย หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิไชย เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
  • พ.ศ. 2505 - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ของเครื่องบินไอพ่น คอนแวร์ 990 โคโรนาโด ขนาด 99 ที่นั่ง อันมีสมรรถนะรวดเร็วที่สุดในขณะนั้น ซึ่งจัดซื้อเข้าประจำการเป็นลำแรก นอกจากนั้น การบินไทยยังเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 40 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2506 - เปิดทำการบินจากกรุงเทพฯ ไปยังฮ่องกง-กัลกัตตา-สิงคโปร์ โดยร่วมมือกับสายการบินในทวีปเอเชียหลายแห่ง เพื่อเพิ่มเที่ยวบินให้บริการผู้โดยสารมากขึ้น และสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนั้น สำนักงานใหญ่ของการบินไทย ตั้งอยู่ในอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ริมถนนเจริญกรุง มีพนักงานทั้งหมด 600 คน
  • พ.ศ. 2507 - จัดซื้อเครื่องบินไอพ่น คาราเวล เอสอี 210 ผลิตในประเทศฝรั่งเศส ขนาด 72 ที่นั่ง ซึ่งมีความทันสมัยในเวลานั้น โดยมีผู้โดยสารใช้บริการในปีนี้ประมาณ 100,000 คน พร้อมทั้งเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังโอซากาของญี่ปุ่นด้วย ในวันที่ 7 กันยายน
  • พ.ศ. 2508 - ผลการดำเนินงานได้รับกำไรเป็นเงิน 3.9 ล้านบาทเป็นปีแรก และต่อมาก็มีกำไรอย่างต่อเนื่องทุกปี นับแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน เปิดเส้นทางบินใหม่ไป ธากา ในวันที่ 1 พฤศจิกายน
  • พ.ศ. 2509 - เริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องบินไอพ่นทั้งฝูงบิน ประกอบด้วยเครื่องบินคาราแวล เอสอี 210 จำนวน 5 ลำ ซึ่งนับเป็นสายการบินแรกในทวีปเอเชีย โดยเริ่มรับนักบินชาวไทยเข้าปฏิบัติการบินมากขึ้น จากเดิมที่มีเพียงนักบินชาวต่างชาติ ซึ่งเอสเอเอสส่งมาช่วยปฏิบัติการบินในระยะแรกเท่านั้น เปิดเส้นทางบินใหม่ไป ปีนัง ในวันที่ 4 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2510 - เป็นปีแรกที่ให้บริการผู้โดยสารถึงหลัก 1 ล้านคน และเป็นสายการบินนานาชาติแห่งแรก ที่เปิดเส้นทางบินไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย ในวันที่ 24 ธันวาคม เป็นผลให้ธุรกิจท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้พัฒนาขึ้น
  • พ.ศ. 2511 - เปิดเส้นทางบินไปยังกรุงกาฐมาณฑุของเนปาลเป็นครั้งแรก ในวันที่ 4 ธันวาคม และเพิ่มเที่ยวบินสู่ ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ โซลของเกาหลีใต้ ในวันที่ 17 มีนาคม และกรุงนิวเดลีของอินเดีย ในวันที่ 2 กรกฎาคม
[2]
  • พ.ศ. 2512 - เปลี่ยนไปใช้ฝูงบินไอพ่นทั้งหมดในการให้บริการ โดยมีเส้นทางการบินครอบคลุมเมืองสำคัญในเอเชีย เป็นจำนวนมากกว่าสายการบินอื่น ทั้งเริ่มเผยแพร่วัฒนธรรม และรณรงค์การท่องเที่ยวประเทศไทย แก่ชาวต่างชาติทั่วโลก

พ.ศ. 2513-2522[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

B747-200 ประจำการลำแรก 2 พฤศจิกายน ปี 2522

  • พ.ศ. 2513 - ในโอกาสที่ร่วมมือกันก่อตั้งการบินไทยมาครบรอบ 10 ปี บดท.กับเอสเอเอส ลงนามต่อสัญญาร่วมทุนระหว่างกันออกไปอีก 7 ปี และยังจัดซื้อเครื่องบิน ดีซี 9-41 และ ดีซี 8-33 มาให้บริการเพิ่ม เนื่องจากมีสมรรถภาพที่ดี และยังประหยัดพลังงานกว่ารุ่นที่ใช้อยู่ ทั้งนี้ยังเริ่มจัดรายการท่องเที่ยวขึ้นเป็นพิเศษ ภายใต้ชื่อ รอยัลออร์คิดฮอลิเดย์ (Royal Orchid Holiday) โดยลูกค้าสามารถเลือกวันเดินทางและรายการท่องเที่ยวตามความต้องการได้ในราคาพิเศษ รวมทั้งการเดินทางเป็นหมู่คณะด้วย
  • พ.ศ. 2514 - เปิดเส้นทางบินข้ามทวีปเป็นครั้งแรกจากกรุงเทพฯ แวะลงที่ สิงคโปร์ สิ้นสุดที่ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ในวันที่ 1 เมษายน และเปิดให้บริการอาคารคลังสินค้าหลังใหม่ ซึ่งสามารถขนส่งสินค้าเข้าและออกเป็นจำนวน 2,000 ตันในปีแรก
  • พ.ศ. 2515 - วันที่ 3 มิถุนายน ทำการบินข้ามไปยังทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ไปยังกรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก[3] โดยเปิดศูนย์ฝึกอบรมนักบินแห่งใหม่ พร้อมติดตั้งเครื่องฝึกบินจำลองแบบ ดีซี 8-33 ซึ่งมีระบบควบคุมอัตโนมัติ เป็นเครื่องแรกของประเทศ นอกจากนี้ยังเปิดภัตตาคารการบินไทย ภายในท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าใช้บริการ
  • พ.ศ. 2516 - เปิดจุดบินใหม่กรุงเทพไป แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ในวันที่ 2 มิถุนายน และลอนดอน สหราชอาณาจักร ในวันที่ 6 มิถุนายน ทั้งเปิดให้บริการ ร้านค้าปลอดภาษี (Duty-Free Shop) ภายในท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชีย
  • พ.ศ. 2517 - วันที่ 16 เมษายน เปิดเส้นทางบินไปยังกรุงโรม อิตาลี ทั้งเริ่มใช้การสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแก่ผู้โดยสาร โดยการบินไทยนับเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสมัยนั้นแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีพนักงานทั้งในและต่างประเทศ รวมกว่า 3,000 คน
  • พ.ศ. 2518 - เปลี่ยนแปลงภาพตราสัญลักษณ์ใหม่ จากตุ๊กตารำไทยให้เป็นรูปแบบสากลมากยิ่งขึ้น โดยว่าจ้างให้วอลเตอร์ แลนเดอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทด์ บริษัทโฆษณาระดับโลกเป็นผู้ออกแบบ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง ความงามทางธรรมชาติและอารยธรรมไทย โดยใช้สีม่วง สีชมพู และสีทองเป็นสื่อ ทั้งยังเปิดเส้นทางบินไปยัง กรุงเทพ ไป กรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 3 เมษายน กรุงเทพไป กรุงเอเธนส์ กรีซ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน และกรุงเทพไป กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในวันที่ 4 พฤศจิกายน
  • พ.ศ. 2520 - หลังจากครบสัญญาร่วมทุนเป็นระยะเวลา 17 ปี กระทรวงการคลังก็ซื้อหุ้นคืนจากเอสเอเอส ส่งผลให้การบินไทยตกเป็นของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ เปิดเส้นทางบินใหม่ไป คูเวตซิตี คูเวต[4] ในวันที่ 3 พฤศจิกายน การบินไทยมีเครื่องบินเป็นของบริษัทเองลำแรกได้แก่ HS-TMC เครื่องบินแบบ DC-10-30 ประจำการลำแรก 3 มีนาคม

ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรี พนักงานคนแรกได้แก่ กัปตัน พร้อม ณ ถลาง อีกทั้งยังเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทยในปี พ.ศ. 2522 - 2523 อีกด้วย

  • พ.ศ. 2521 - จัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 300-บี 4 ขนาด 223 ที่นั่ง เครื่องบินมาในปี 2522 เพิ่มจากแบบ ดีซี 10-30 เข้าประจำการฝูงบิน เพื่อให้บริการในเที่ยวบินระยะไกล ทั้งสามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น เปิดเส้นทางบินใหม่ไป มานามา บาห์เรน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน
[5]
  • พ.ศ. 2522 - จัดซื้อที่ดิน 26 ไร่ ริมถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นการรวมหน่วยงานภายในของการบินไทย ให้อยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งรับเครื่องบินแบบโบอิง 747-200 ขนาด 371 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำในวันที่ 2 พฤศจิกายน และวันที่ 15 ธันวาคม[6]ทะเบียน HS-TGA HS-TGB เพื่อให้สามารถบินตรงถึงจุดบินต่างๆ ในทวีปยุโรปโดยไม่ต้องพักเครื่อง และยังจัดซื้อเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 300 เพื่อใช้บินภายในทวีปเอเชีย จำนวน 4 ลำด้วย เปิดเส้นทางบินไป ดาห์ราน ซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 4 เมษายน

พ.ศ. 2523-2532[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

B747-300 HS-TGD ประจำ 16 ธันวาคม 2530

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

บีเออี 146-300 ของการบินไทยประจำการลำแรก 23 มิถุนายน 2532 ในรูปเป็นลำที่สอง HS-TBM

  • พ.ศ. 2523 - เปิดเส้นทางบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกกรุงเทพแวะโตเกียวแวะนครซีแอตเทิลปลายทางนครลอสแอนเจลิส ในวันที่ 30 มีนาคม ด้วยฝูงบินโบอิง 747-200 หรือจัมโบ้เจ็ท นับเป็นจุดบินแรกในสหรัฐอเมริกาและทวีปอเมริกาเหนือ ก่อนเลิกบินเส้นทางนี้ในวันที่ 31 ธันวาคม และยังเพิ่มเส้นทางบินเมลเบิร์น ในวันที่ 4 เมษายน นูเมีย ประเทศนิวแคลิโดเนีย ในวันที่ 2 พฤศจิกายน รับเครื่องบินแบบโบอิง 747-200 ขนาด 371 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ[7]ทะเบียน HS-TGC HS-TGF
  • พ.ศ. 2524 - เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,100 ล้านบาท เปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-กว่างโจวของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 2 เมษายน เปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะคูเวตปลายทางแฟรงเฟิร์ต เที่ยวบิน TG920 และเปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะเดลีปลายทางปารีส เที่ยวบิน TG932 เปิดเส้นทางบิน กรุงเทพแวะโตเกียวแวะซีแอตเทิลปลายทางแดลลัส ในวันที่ 1 มกราคม ในเที่ยวบินที่ TG740[8]
  • พ.ศ. 2525 - การบินไทยผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการลดค่าเงินบาท โดยมีผลกำไรก่อนหักภาษีเป็นมูลค่า 26.3 ล้านบาท เป็นผลมาจากการปรับฝูงบิน รวมถึงความร่วมมือกับสายการบินอื่น ในเส้นทางบินที่สำคัญ การบินไทยเปิดเส้นทาง กรุงเทพไปเพิร์ทในวันที่ 31 มีนาคม และกรุงเทพไปบริสเบนในวันที่ 2 เมษายน
  • พ.ศ. 2526 - เริ่มการให้บริการในชั้นธุรกิจ (Royal Executive Class) โดยแบ่งห้องโดยสารออกเป็นสัดส่วน ปรับปรุงเบาะนั่งให้ตัวใหญ่ขึ้น ขยายเท้าแขนให้มากขึ้น รวมทั้งเปิดบริการห้องรับรองพิเศษก่อนขึ้นเครื่อง นอกจากนั้นยังร่วมลงทุนกับ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (BAFS), โรงแรมรอยัลออร์คิด และโรงแรมแอร์พอร์ต เปิดเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-ปักกิ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 29 มีนาคม
  • พ.ศ. 2527 - เริ่มเส้นทางบินผ่านในประเทศอีกสองเส้นทางคือ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่-สิงคโปร์ กับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-สิงคโปร์ โดยก่อนหน้านี้มีเส้นทางแรกคือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-ฮ่องกง มาก่อนแล้ว เปิดเส้นทางบินกรุงเทพไปมัสกัต ในวันที่ 7 มิถุนายน 2527 และ กรุงเทพ-ซูริก ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527
  • พ.ศ. 2528 - เปิดศูนย์ซ่อมอากาศยานแห่งใหม่ ในบริเวณท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อเพิ่มศักยภาพการซ่อมบำรุง เครื่องบินลำตัวกว้างด้วยตนเองภายในประเทศ แทนการส่งไปซ่อมต่างประเทศ ซึ่งในช่วงแรกเปิดทำการ 2 โรงซ่อม ซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินโบอิง 747-200 พร้อมกัน และสร้างโรงซ่อมที่ 3 ในเวลาต่อมา ซึ่งสายการบินสแกนดิเนเวียน เข้ามาช่วยเหลือการจัดสร้าง ซึ่งสามารถซ่อมโบอิง 747 2 ลำ และเครื่องบินลำตัวแคบ 1 ลำ พร้อมกันในคราวเดียว และเปิดอาคารคลังสินค้าขนาดใหญ่ ติดอันดับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยพื้นที่ 43,000 ตารางเมตร เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณสินค้า ทั้งของการบินไทย กับอีก 28 สายการบิน ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เปิดเส้นทางบินไปเวียงจันทน์ ในวันที่ 4 เมษายน ไปบันดาร์เซอรีเบอกาวัน ในวันที่ 5 เมษายน กรุงเทพแวะซูริกปลายทางไคโร ในวันที่ 29 ตุลาคม เที่ยวบินที่ TG960 และไปริยาด ในวันที่ 30 ตุลาคม เที่ยวบินที่ TG509
  • พ.ศ. 2529 - เพิ่มเส้นทางบินไปยังกรุงสต็อกโฮล์มของสวีเดน ในวันที่ 30 ตุลาคม และดึสเซิลดอร์ฟ ในวันที่ 30 ตุลาคม รวมถึงเปิดให้บริการภัตตาคารการบินไทย สาขาอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ ภายในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ นับเป็นสาขาแรกนอกท่าอากาศยานกรุงเทพ
  • พ.ศ. 2530 - เพิ่มเส้นทางบินไปยังกรุงมาดริดของสเปน ในวันที่ 5 ธันวาคม และเมืองออกแลนด์ของนิวซีแลนด์ ในวันที่ 5 ธันวาคม พร้อมทั้งย้ายการให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งหมด ไปยังอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และภายในประเทศหลังใหม่ทั้งสอง นับเป็นร้อยละ 80 ของการให้บริการทั้งหมดของการบินไทย นอกจากนั้น ยังร่วมรณรงค์ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย

รับเครื่องบินแบบโบอิง 747-300 จำนวน 2 ลำ[9]ทะเบียน HS-TGD รับวันที่ 16 ธันวาคม HS-TGE รับวันที่ 3 ธันวาคม เป็นเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดของการบินไทย

  • พ.ศ. 2531 - คณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ มีมติให้รวมกิจการ บดท.เข้ากับการบินไทย โดยรับมอบเครื่องบินจาก บดท.11 ลำ รวมมีฝูงบินจำนวน 41 ลำ ปฏิบัติการบินระหว่างประเทศ 48 จุดบินใน 35 ประเทศ กับภายในประเทศอีก 23 จุดบิน เปิดเส้นทางบิน ฮานอย ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 4 เมษายน เปิดเส้นทางบิน แคร์นส์ ประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ 19 พฤษภาคม เที่ยวบินที่ TG487 เปิดเส้นทางบิน เวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 30 พฤษภาคม เปิดเส้นทางบิน โตรอนโต ประเทศแคนาดา ทวีปอเมริกาเหนือ โดยให้ผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่องบินที่ซีแอตเทิล ในวันที่ 16 กรกฎาคม เปิดเส้นทางบิน นาโกยา ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 30 ตุลาคม เปิดเส้นทางบิน ไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เที่ยวบินที่ TG493 ในวันที่ 7 ธันวาคม ;[10]
    • การบินไทยเปิดเส้นทางสู่อเมริกาเปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะไทเปและซีแอตเทิลปลายทางโตรอนโต ในเที่ยวบิน TG762 ในวันที่ 27 ตุลาคม สัปดาห์ละ 3 เทียวบิน เปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะไทเปและซีแอตเทิลปลายทางแดลลัส สัปดาห์ละ 1 เทียวบิน ในเที่ยวบิน TG742 ในวันที่ 30 ตุลาคม เปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะนะริตะและซีแอตเทิลปลายทางโตรอนโตสัปดาห์ละ 1 เทียวบิน ในวันที่ 30 ตุลาคม ในเที่ยวบิน TG760[11]

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศ ก็รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัดมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2537[12]

  • พ.ศ. 2532 - สำนักงานใหญ่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งโครงการ และเริ่มจัดรายการบัตรโดยสารราคาพิเศษชื่อ Discover Thailand เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทย เนื่องในปีศิลปหัตถกรรมไทย รวมถึงพัฒนาทัวร์เอื้องหลวงให้หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเปิดครัวการบินไทยแห่งใหม่ โดยมีกำลังการผลิตอาหารมากกว่า 20,000 สำรับต่อวัน ซึ่งมีความทันสมัยและขนาดใหญ่ติดอันดับในเอเชีย รับเครื่องบินแบบ BAe146-300 2 ลำทะเบียน HS-TBL และ HS-TBM

พ.ศ. 2533-2542[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

B747-400 HS-TGA ประจำการ 2พฤศจิกายน ปี 2533

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

McDonnell Douglas MD-11 HS-TMD ประจำการ 27 มิถุนายน ปี 2534

  • พ.ศ. 2533
    • ครบรอบ 30 ปีการบินไทย ผลประกอบการก่อนหักภาษี ได้รับกำไร 6,753.6 ล้านบาท ถือเป็นลำดับรองจากจุดสูงสุดของผลกำไรตลอดกาบ และให้บริการผู้โดยสารสูงสุดตลอดมาที่ 8.3 ล้านคน ทั้งนี้ ยังจัดซื้อเครื่องบินโบอิง 747-400 ลำแรก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนั้น
    • 27 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
    • 30 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปมิวนิก ประเทศเยอรมัน
    • 29 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไปเกาสฺยง
    • 2 พฤศจิกายน – รับเครื่องบินแบบ B747-400 ลำแรก ในวันที่ เป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุดของการบินไทยในปีนั้น
    • 16 พฤศจิกายน – เปิดเส้นทางบินไปเกาะลังกาวี
  • พ.ศ. 2534
    • ร่วมเป็นสมาชิกระบบสำรองที่นั่งเบ็ดเสร็จ อะมาดิอุส (Amadeus) ซึ่งเชื่อมโยงกับอีก 98 สายการบิน และผู้แทนการท่องเที่ยวทั่วโลก 47,500 ราย ครอบคลุมทั่วโลกด้วยระบบอินเทอร์เน็ต
    • 1 กรกฏาคม – เปิดเส้นทางบินใหม่จากกรุงเทพแวะโซลปลายทางลอสแอนเจลิส ในเที่ยวบิน TG770 [13]
    • 4 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไป บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
    • 30 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไป โกตากีนาบาลู ในวันที่ 30 ตุลาคม
    • เปิดเส้นทาง โตเกียวไปภูเก็ต ในเที่ยวบินที่ TG647
    • การบินไทยเริ่มกระบวนการแปรรูปบริษัท ด้วยการนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยขณะนั้นคือ 100 ล้านหุ้น โดยมีผู้ลงทุนซื้อหุ้นจำนวน 256,000 คน และสามารถระดมทุนเป็นจำนวน 14,000 ล้านบาท รับเครื่องบินแบบ McDonnell Douglas MD-11 2 ลำ HS-TMD วันที่ 27 มิถุนายน HS-TME วันที่15 กรกฎาคม
  • พ.ศ. 2535
    • 30 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปคุนหมิง
    • 31 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไปกวม
    • การบินไทยเปิดเส้นทางบินแวะกรุงโรมสิ้นสุดที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน[14] ในวันที่ 3 กรกฎาคม การบินไทยเปิดเส้นทางบินไป ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 26 ตุลาคม[15]รับเครื่องบินแบบ McDonnell Douglas MD-11 2 ลำ HS-TMF วันที่ 2 กรกฎาคม HS-TMG วันที่ 31 กรกฎาคม การบินไทยซื้อเครื่อง HS-TVA แบบ Canadair Challenger-601-3A-ER สำหรับฝึกนักบินและเช่าเหมาลำ รับเมื่อ 25 พฤษภาคม ในปีนี้เปิดเส้นทางบิน ฮ่องกงไปโตเกียว เที่ยวบิน TG642
  • พ.ศ. 2536 – รับบริการผู้โดยสารจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน และเปิดรับสมัครรอยัลออร์คิดพลัส รายการสะสมจำนวนไมล์บิน โดยมีผู้เข้าเป็นสมาชิกจำนวน 200,000 คนจาก 115 ประเทศภายในปีแรก การบินไทยเปิดเส้นทางบินไป เซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน การบินไทยเปิดเส้นทางบินไป ดูไบ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน
  • พ.ศ. 2537 – จดทะเบียนเป็น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งเพิ่มเส้นทางบินไปยัง ลาฮอร์ของปากีสถาน ในวันที่ 1 กรกฎาคม และ อิสตันบูล ในวันที่ 31 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2538 – ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเชิงปฏิบัติการ เชิงบริการลูกค้า เชิงจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาการบริหารธุรกิจจากต่างประเทศ และประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ของการบินไทย เพื่อสร้างสรรแนวทางและเป้าหมายร่วมกัน มีใจความว่า The First Choice Carrier. Smooth as Silk. First Time. Every Time.
  • พ.ศ. 2539
    • สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมฝ่ายช่าง เนื่องในโอกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทย ทรงเดินเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรน 800 จำนวน 2 ตัว ที่ติดตั้งภายในเครื่องบินโบอิง 777-200 ขนาด 358 ที่นั่ง ซึ่งสั่งซื้อเป็นลำแรกของโลก และเปิดให้บริการข้อมูลแก่สาธารณชนผ่านอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.thaiairways.com และ www.thaiairways.co.th
    • การบินไทยเช่าเครื่องบินมาจากสายการบิน Atlas Air เพื่อมาบินขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว เป็นเครื่องบิน B747-200SF ทะเบียน N522MC ทำการบินไป ปารีส สตอกโฮล์ม ฮ่องกง และโตเกียว
  • พ.ศ. 2540
    • 30 มีนาคม – เปิดเส้นทางบินไป กรุงเทพแวะเกาะบาหลีปลางทางสุราบายา เที่ยวบินที่ TG435
    • 14 พฤษภาคม – การบินไทยร่วมกับสายการบินลุฟต์ฮันซา, แอร์แคนาดา, เอสเอเอส, และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก่อตั้งพันธมิตรการบินแห่งแรกและใหญ่ที่สุด สตาร์อัลไลแอนซ์ ขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจการบินดำเนินไปด้วยความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จากนั้นจึงเริ่มขยายที่หมายการบินใหม่ไปยัง เฉิงตู, ปูซาน, เชนไน, เซียะเหมิน, มิลาน, มอสโก, อิสลามาบาด, ไฮเดอราบัด และ ออสโล
  • พ.ศ. 2541
    • ปีนี้มีนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น เนื่องมาจากมาตรการลดค่าเงินบาท การบินไทยร่วมต้อนรับปีมหัศจรรย์ท่องเที่ยวไทย (อะเมซิง ไทยแลนด์) โดยร่วมเป็นสายการบินผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร และขบวนรถบุปผชาติที่จัดส่งเข้าประกวด ได้รับรางวัลชนะเลิศในงานโรสพาเหรด ซึ่งจัดที่เมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา
    • ช่วงปลายปียกเลิกเส้นทางบินตรงกรุงเทพไปอัมสเตอร์ดัม
    • เปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพไปท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ[16][17]
  • พ.ศ. 2542
    • ลงลายภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ บนเครื่องบินโบอิง 747-400 และประดับตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 บนเครื่องบินทุกลำ
    • 31 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไปดานัง

พ.ศ. 2543–2552[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

A340-541 ประจำการลำแรก 6 เมษายน ปี 2548 ในรูปคือ HS-TLB เป็นลำที่สอง

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

A340-642 HS-TNA ประจำการ 29 มิถุนายน ปี 2548

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

A330-343X HS-TEN ประจำการ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

  • พ.ศ. 2544 – เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสืบสานความสัมพันธ์อันดีตามความคาดหมาย จึงเปิดให้บริการ ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เป็นครั้งแรก เปิดเส้นทางบินจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ตั้งแต่เดือน เมษายน

เปิดเส้นทางบินใหม่ไปยัง มุมไบ ประเทศอินเดีย ในวันที่ 30 ตุลาคม

  • พ.ศ. 2545 – เปิดเส้นทางบินตรงจากกรุงเทพไปเฉิงตู ในวันที่ 2 มกราคม เซี่ยเหมิน ในวันที่ 29 ตุลาคม ปูซาน ในวันที่ 31 มีนาคม บาห์เรน ในวันที่30 พฤศจิกายน อาบูดาบี ในวันที่ 30 พฤศจิกายน จิตตะกอง ในวันที่ 11 ธันวาคม และกลับมาบินกรุงคูเวตซิตีของคูเวต ในวันที่ 31 มีนาคม การบินไทยเปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะเอเธนส์ไปเจนีวา ในวันที่ 29 ตุลาคม เที่ยวบิน TG946 อีกครั้งหนึ่งส่วนผลประกอบการมีกำไรสูงสุดนับแต่ก่อตั้ง และเป็นปีที่ 38 ติดต่อกัน

ในวันที่ 29 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2545 การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพ แวะกรุงเอเธนส์ ไปกรุงเจนีวา

  • พ.ศ. 2546 – ให้บริการเลือกเที่ยวบิน สำรองที่นั่ง ออกบัตรโดยสาร เช็กอิน ฯลฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง ภายใต้ชื่อรอยัล อี-เซอร์วิส และเริ่มการประมูลจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction) เพื่อความโปร่งใสถูกต้อง มีธรรมาภิบาล และยังลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย การบินไทยเปิดเส้นทางบินกรุงเทพแวะซูริกไปเจนีวา ในวันที่ 31 มีนาคม เที่ยวบิน TG972[18]การบินไทยเปิดเส้นทางบินตรงจากกรุงเทพไปเชนไน ในวันที่ 26 ตุลาคม และ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน เปิดเส้นทางบินตรงจากกรุงเทพไปหลวงพระบาง การบินไทยเปิดเส้นทางเมลเบิร์นไปภูเก็ตในวันที่ 27 ตุลาคม ในเที่ยวบินที่ TG980[19]
  • พ.ศ. 2547 – ลงนามในสัญญาร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนอินเตอร์แบรนด์ เพื่อปรับปรุงเอกลักษณ์ของการบินไทย ภายใต้กลยุทธ์พัฒนาเอกลักษณ์และบริการ รวมทั้งเปิดบริการลูกค้าสัมพันธ์ชั้นพิเศษ (Premium Customer Service) สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ และถือหุ้นร้อยละ 39 เพื่อร่วมทุนเปิดนกแอร์ (อังกฤษ: Nok Air) สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airlines)การบินไทยเปิดเส้นทางบินกรุงเทพ ไป บังคาลอร์ ในวันที่ 29 มีนาคม จิ่งหง ในวันที่ 31 มีนาคม มิลาน ประเทศอิตาลี ในวันที่ 4 พฤษภาคม
  • พ.ศ. 2548
    • เปิดตราสัญลักษณ์รูปแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นจากตราแบบเดิม สะท้อนเอกลักษณ์ไทยตามแนวคิดใหม่ของบริษัทคือ High Trust, World Class and Thai Touch พร้อมทั้งเปลี่ยนเแปลงเครื่องแบบพนักงานประชาสัมพันธ์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและภาคพื้น และเปิดจุดบินตรงไปยังมหานครนิวยอร์ก เที่ยวบิน TG790 ในวันที่ 1 พฤษภาคม และนครลอสแอนเจลิส เที่ยวบิน TG794 ของสหรัฐอเมริกา บนเครื่องบินแบบ A340-541 ในวันที่ 2 ธันวาคม การบินไทยเปิดเส้นทางไปยังกรุงมอสโกของรัสเซีย ในวันที่ 1 พฤศจิกายน เปิดเส้นทางบินไปยัง อิสลามาบาด ในวันที่ 2 พฤศจิกายน นอกจากนั้น ยังลงนามสัญญาทำรหัส กับสายการบินนิวซีแลนด์ และแอร์มาดากัสการ์ด้วย
    • รับเครื่องบินแบบ A340-541 ลำแรก ในวันที่ 6 เมษายน ทะเบียน HS-TLA A340-642 ในวันที่ 29 มิถุนายน ทะเบียน HS-TNA[20]
    • การบินไทยได้เปิดเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพ  – นิวยอร์ก ด้วยเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 340-500 ถือเป็นเที่ยวบินตรงเส้นทางแรกสู่สหรัฐอเมริกา ต่อมาได้เปลี่ยนเที่ยวบินตรงไปยังลอสแอนเจลิสแทน แต่เนื่องด้วยเครื่องบินรุ่นนี้ใช้น้ำมันมากจึงได้ระงับไปในปี พ.ศ. 2551 แม้จะมีผู้โดยสารจองที่นั่งกว่าร้อยละ 80 ก็ตาม
  • พ.ศ. 2549
    • 30 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไปยังไฮเดอราบัด
    • 31 ตุลาคม – และเปิดเส้นทางบินสายแรกในทวีปแอฟริกา ไปยังโจฮันเนสเบิร์กของแอฟริกาใต้
    • การบินไทยเริ่มย้ายฐานทำการบินหลัก จากท่าอากาศยานกรุงเทพที่ดอนเมือง ไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงเริ่มโครงการ THAI Grand Season Campaign เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในวโรกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และจัดส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลอดปี ด้วยการออกบัตรโดยสารราคาพิเศษในชื่อ THAI Value Card
    • พ.ศ. 2549 การบินไทยได้ย้ายฐานการปฏิบัติการไปยังสนามบินใหม่ สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมกันนี้ การบินไทยได้ปรับภาพลักษณ์ของสายการบินใหม่ ตั้งแต่นำเครื่องบินรุ่นใหม่มาปฏิบัติการบิน ปรับปรุงที่นั่งรุ่นเก่าให้เป็นรุ่นใหม่ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนการให้บริการภาคพื้น และ บนเครื่องบินอีกด้วย เปิดเส้นทางใหม่ไป โจฮันเนสเบิร์ก ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  • พ.ศ. 2550 – ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศเต็มรูปแบบ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพียงแห่งเดียว โดยยังให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาล และเปิดจุดบินใหม่กรุงเทพแวะพุทธคยาไปพาราณสีของอินเดียในเที่ยวบินที่ TG8820 เป็นเที่ยวบินที่บินตามฤดูกาลไม่ใช่เส้นทางประจำ นอกจากนี้ ยังเปิดจุดบริการเช็กอินแก่ผู้โดยสารภายในประเทศ (THAI City Air Terminal) ที่สถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้ามหานครด้วย
  • พ.ศ. 2551 – เปิดเส้นทางบินตรงไปยังเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ และปรับปรุงเว็บไซต์การบินไทย เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถสำรองที่นั่ง ตรวจสอบเที่ยวบิน หรือเข้าถึงข้อมูลต่างๆ อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น 17 กรกฎาคม การบินไทยเปิดเที่ยวบินจากโตเกียว ท่าอากาศยานนาริตะ มา ภูเก็ต บนเที่ยวบิน TG671 ยกเลิกเที่ยวบิน TG942 จากโรมไปมาดริด และยกเลิกเที่ยวบิน TG942 จากมาดริดไปโรม บินเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเที่ยวสุดท้าย 30 มิถุนายน เที่ยวบิน TG 793

[21]

  • พ.ศ. 2552 – เริ่มเส้นทางบินไปยังกรุงออสโลของนอร์เวย์ ในวันที่ 15 มิถุนายน เที่ยวบินที่ TG954 เป็นจุดบินระหว่างประเทศที่ 59 ซึ่งการบินไทยเปิดทำการบินใน 34 ประเทศ เพื่อให้บริการผู้โดยสารครอบคลุมทั่วโลก รับเครื่องบินแบบใหม่ A330-343X ลำแรกทะเบียน HS-TEN ประจำการ 1 เมษายน พ.ศ. 2552
    การบินไทยปรับเปลี่ยนเส้นทาง TG921 แฟรงเฟิร์ตแวะกรุงเทพไปภูเก็ต TG923 แฟรงเฟิร์ตแวะกรุงเทพไปเชียงใหม่ โดยเปลี่ยนให้ทั้งสองเที่ยวบินสิ้นสุดที่กรุงเทพ

พ.ศ. 2553–2562[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

A380-841 HS-TUA ประจำการลำแรก 26 กันยายน พ.ศ. 2555

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

B777-300ER HS-TKU ประจำการลำแรก 21 มกราคม พ.ศ. 2557

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

Boeing 787-8 Dreamliner เช่ามาประจำการลำแรก 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในรูปเป็นลำที่หก HS-TQF

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

A350-900 XWB ประจำการลำแรก 1 กันยายน 2559 ในรูปเป็น HS-THB

  • พ.ศ. 2553 –
    • ครบรอบ 50 ปี การบินไทย โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 มีการดำเนินธุรกิจตามแผนยุทธศาสตร์ Mission TG 100 ระยะ 5 ปี ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี และเปิดเส้นทางบินใหม่ที่กรุงโตเกียว (ท่าอากาศยานฮาเนดะ) ในวันที่ 31 ตุลาคม ของญี่ปุ่น ซึ่งการบินไทยเคยบินมาก่อนหน้านี้แล้ว
    • 28 มีนาคม การบินไทยยกเลิกเที่ยวบิน มะนิลาไปโอซาก้า
    • 2 มิถุนายน การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่ไปท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ หลังหยุดบินไปช่วงหนึ่ง
    • เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี การบินไทย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผู้อำนวยการใหญ่ ในขณะนั้น ได้ตั้งเป้าหมายในอนาคตของการบินไทย โดยสร้างแผนงานในการนำฝูงบินใหม่ มาทดแทนฝูงบินเก่า และปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น โดยวางแผนซื้อเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 787 และ แอร์บัส เอ350 รวมไปถึงการนำเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 747 และ 777 มาปรับปรุงห้องโดยสารใหม่อีกด้วย
  • พ.ศ. 2554
    • 17 พฤศจิกายน – การบินไทยเปิดเส้นทางบินไปบรัสเซลส์
    • 11 พฤศจิกายน – การบินไทยเปิดเส้นทางบินโคเปนฮาเกนแวะภูเก็ตปลายทางกรุงเทพ ในเที่ยวบินที่ TG953 และบินเที่ยวบิน TG947 เอเธนส์มากรุงเทพ เที่ยวบินสุดท้ายวันที่ 10 พฤศจิกายน และยกเลิกเส้นทางดังกล่าว
    • 3 กุมภาพันธ์ – การบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษ TG8830 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปกลับท่าอากาศยานนานาชาติไคโร[22]
  • พ.ศ. 2555
    • การบินไทยรับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลำแรกของประเทศไทย จากโรงงานของบริษัทแอร์บัส โดยจดทะเบียนด้วยชื่อ HS-TUA และมีนามพระราชทานว่า ศรีรัตนะ
    • 24 มีนาคม – เลิกเที่ยวบิน กรุงเทพแวะพุทธคยาไปพาราณสี TG8820 บินเที่ยวสุดท้าย ก่อนให้การบินไทยสมายล์บินเป็นเส้นทางประจำ
    • 29 เมษายน – การบินไทยบินตรงจากท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิสมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วย A340-500 เที่ยวบิน TG795 เป็นเที่ยวบินสุดท้ายก่อนปลดเครื่องบินรุ่นดังกล่าว
    • 1 พฤษภาคม – การบินไทย กลับมาบินสู่ ลอสแอนเจลิส อีกครั้งโดยแวะพักที่โซล ด้วยเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 340-600 และปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย โบอิง 777-200ER สำหรับเส้นทาง กรุงเทพ  – โซล  – ลอสแอนเจลิส
    • 30 ตุลาคม – เปิดเส้นทางบินไปซัปโปะโระ ในเที่ยวบินที่ TG670[23]
    • 2 พฤศจิกายน – เปิดเส้นทางบิน สต็อกโฮล์มแวะภูเก็ตปลายทางกรุงเทพ เที่ยวบิน TG963
  • พ.ศ. 2556
    • 1 กันยายน – ยกเลิกเที่ยวบินเที่ยวฮ่องกงสู่ไทเป[24]
    • การบินไทยเปิดเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำไปสามเมืองในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ได้แก่โทะยะมะ[25]เมืองโคมัตสึ จังหวัดอิชิกะวะ ท่าอากาศยานฮิโระชิมะ
    • 24 กันยายน – คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ บมจ.การบินไทย ดำเนินโครงการลงทุนจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ โดยจัดตั้ง บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยในเครือของ บมจ.การบินไทย ซึ่ง บมจ.การบินไทย ถือหุ้นร้อยละ 100 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สายการบินไทยสมายล์เป็นสายการบินภูมิภาค มีเครือข่ายการเชื่อมต่อผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจาก บมจ.การบินไทยในขณะนั้นมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 51.03 และมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้บริษัท ไทยสมายล์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย[26]
    • 28 ตุลาคม – การบินไทยทำการบินลงที่ท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ เป็นครั้งแรกเนื่องจากสภาพอากาศที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ไม่สามารถลงจอดได้[27]
    • 3 ธันวาคม – การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพไปท่าอากาศยานเซ็นได เที่ยวบิน TG680 นับเป็นครั้งแรกที่มีเครื่องบินของการบินไทยบินประจำที่เมืองเช็นได การบินไทยปลดเครื่องแบบ ATR72-201 ที่ให้สายการบินนกแอร์เช่า
  • พ.ศ. 2557
    • เปิดให้บริการ THAI Sky Connect (บริการ Wi-Fi) บนเครื่องบิน[28];และเปิดเส้นทางบินใหม่ไป ฉงชิ่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม ในเที่ยวบิน TG684 และ รับมอบเครื่องบินแบบใหม่ โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ลำแรกของประเทศไทย ทะเบียน HS-TQA นามพระราชทาน "องครักษ์" รับมอบเครื่องบินแบบ B777-300ER ทะเบียน HS-TKU ถือเป็นเครื่องบินแบบ B777-300ER ลำแรกที่การบินไทยเป็นเจ้าของ และรับเครื่อง Boeing 787-8 Dreamliner ที่เช่ามาจากบริษัท AerCap
    • 31 กรกฎาคม – การบินไทยบินด้วย แอร์บัส เอ 300-600 เป็นครั้งสุดท้าย[29]และปลดเครื่องบินรุ่นนี้ออกจากฝูงบิน
      และบินตรงจากท่าอากาศยานเซ็นไดมากรุงเทพเที่ยวสุดท้าย วันที่ 18 เมษายน ก่อนยกเลิกเส้นทางดังกล่าว
    • 31 ธันวาคม – การบินไทยทำการบินด้วยเครื่องบิน 102 ลำ รวมการบินไทยสมายล์
  • พ.ศ. 2558
    • การบินไทยยกเลิกเที่ยวบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ บินเที่ยวสุดท้ายวันที่ 15 มกราคม TG991 ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัม สคิปโฮล บินเที่ยวสุดท้ายวันที่ 11 กุมภาพันธ์ TG899 ท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว บินเที่ยวสุดท้ายวันที่ 27 มีนาคม TG975 ท่าอากาศยานนานาชาติมาดริดบาราคัส บินเที่ยวสุดท้ายวันที่ 5 กันยายน TG949 ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส บินเที่ยวสุดท้ายวันที่ 25 ตุลาคม TG693 ในปีดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2558 การบินไทยยกเลิกเที่ยวบิน 5 ประเทศในปีนี้ และยกเลิกการบินบนเครื่องบินแบบ B747-400BCF ในวันที่ 28 มีนาคม เที่ยวบิน TG897 ส่วนบริการแบบพาณิชย์บนเครื่องบินแบบ A340-600 เที่ยวสุดท้ายในวันที่ 28 มีนาคม เที่ยวบินสุดท้ายมาจากท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต ทั้งสองแบบเครื่องบิน
    • 1 มกราคม – การบินไทยและการบินไทยสมายล์มีเครื่องบินที่ทำการบินรวมกันมากถึง 102 ลำ มากที่สุดในประวัติศาสตร์
    • 15 มกราคม – การบินไทยบินเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเที่ยวบิน TG991 เป็นเที่ยวบินสุดท้าย
    • 11 กุมภาพันธ์ – การบินไทยบินเที่ยวบินขนส่งสินค้าโดยเครื่องบิน 747-400BCF เที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติอัมสเตอร์ดัม สคิปโฮลมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเที่ยวบิน TG899 เป็นเที่ยวบินสุดท้าย
    • 27 มีนาคม – การบินไทยบินเที่ยวบินขนส่งสินค้าโดยเครื่องบิน 747-400BCF เที่ยวสุดท้าย ในเที่ยวบิน TG897 แฟรงเฟิร์ต-กรุงเทพ ก่อนปลดประจำการเครื่องบินรุ่นดังกล่าวและปลดเครื่องบินแบบ A340-600 ลำสุดท้ายในวันที่ 28 มีนาคม[30]ให้บริการเที่ยวบินสุดท้ายในเที่ยวบิน TG923 แฟรงก์เฟิร์ตมากรุงเทพ
    • 27 มีนาคม – การบินไทยบินเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโวมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นเที่ยวสุดท้าย ในเที่ยวบิน TG975 และกลับมาบินอีกครั้ง ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
    • 5 กันยายน – ในเที่ยวบิน TG949 บริการเส้นทางไปท่าอากาศยานนานาชาติมาดริดบาราคัสมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเที่ยวบินสุดท้ายก่อนยกเลิก และ บริการเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิสมาท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เที่ยวสุดท้าย ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ในเที่ยวบิน TG693
      การบินไทย เปิดโฆษณา ปลายทางคือคุณ เป็นเพลงฉลองครบรอบ 55 ปี และจัดโปรโมชั่นให้ผู้โดยสาร[31] และจัดงาน TG Online Market Fair ครั้งที่ 1[32]ในวันที่ 28-29 เมษายน พ.ศ. 2558
  • พ.ศ. 2559
    • การบินไทยยกเลิกสามเที่ยวบินระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานบรัสเซลส์ในระหว่างวันที่ 24–29 มีนาคม โดยย้ายไปลงท่าอากาศยานลีแยฌแทนในระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 7 เมษายน[33]การบินไทยเปิดเส้นทางบินไป เตหะราน
    • 1 ตุลาคม – การบินไทยรับเครื่องบินแบบ A350-900 2 ลำในปีนี้ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2559 การบินไทย TG327 บินไป คยา เที่ยวสุดท้ายก่อนให้การบินไทยสมายล์บินเส้นทางนี้ และการบินไทยบินเที่ยวบิน กรุงเทพ-เชียงใหม่-คุนหมิง ในเที่ยวบิน TG612 เป็นเที่ยวสุดท้ายในวันที่ 27 ตุลาคม โดยเปลี่ยนเส้นทางบินเป็น กรุงเทพ-คุนหมิง แทน ในปีนี้การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่ TG926 กรุงเทพแวะภูเก็ตปลายทางแฟรงก์เฟิร์ต และ TG927 แฟรงก์เฟิร์ตแวะภูเก็ตปลายทางกรุงเทพ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน การบินไทยเปิดเส้นทางบินเส้นทาง โคเปนฮาเกนแวะภูเก็ตปลายทางกรุงเทพ เที่ยวบิน TG953 อีกครั้งในวันที่ 9 ธันวาคม และ สต็อกโฮล์มแวะภูเก็ตปลายทางกรุงเทพ เที่ยวบิน TG963 เปิดอีกครั้งในวันที่ 10 ธันวาคม
    • 15 ธันวาคม – การบินไทยเปิดเส้นทางบินกรุงเทพไปท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว ประเทศรัสเซีย เที่ยวบิน TG974 อีกครั้งหนึ่ง
  • พ.ศ. 2560
    • 26 มีนาคม – การบินไทยเปิดเที่ยวบินใหม่ TG684 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปภูเก็ตสิ้นสุดที่ปักกิ่ง
    • 27 มีนาคม – เปิดเที่ยวบิน TG685 จากปักกิ่งมาภูเก็ตสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
    • 1 มิถุนายน – การบินไทยปลดเครื่องบิน HS-TEL ซึ่งเป็นเครื่องบินชนิด แอร์บัส เอ 330-322 ลำสุดท้ายของการบินไทย ส่งผลให้การบินไทยไม่มีเครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-322 ทำการบินอีกต่อไป
    • 24 กรกฎาคม – การบินไทยเปิดเที่ยวบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานมะดีนะห์ เมืองอัลมะดีนะฮ์ เป็นครั้งแรก เที่ยวบินที่ TG8800 และ วันที่ 20-23 สิงหาคมการบินไทยจัดเที่ยวบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานเจดดาห์ เมืองญิดดะฮ์เป็นครั้งแรก โดยจัดเพียง 4 เที่ยวบิน[34]ในวันที่ 16 กันยายน การบินไทยรับมอบเครื่อง HS-TWA Boeing 787-9 Dreamliner ลำแรก
    • 16 พฤศจิกายน – การบินไทยเปิดเที่ยวบินใหม่จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา
    • การบินไทยบริการเที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปอัลมะดีนะฮ์และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปเจดดาห์ เป็นครั้งแรกเพื่อบริการผู้โดยสารที่ไปทำพิธีฮัจญ์
    • ระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง 26 มีนาคม พ.ศ. 2561 การบินไทยมีเที่ยวบินจากต่างประเทศมาภูเก็ต ระยะทางบินรวม 37,260 กิโลเมตร มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการบินไทย ในวันดังกล่าวมีเที่ยวบิน 5 เที่ยวบิน คือจากแฟรงก์เฟิร์ต, สต็อกโฮล์ม, โคเปนฮาเกน, ปักกิ่ง และฮ่องกง
  • พ.ศ. 2561
    • 28 กุมภาพันธ์ – การบินไทยยกเลิกเที่ยวบินไปยังเตหะราน
    • 3 พฤษภาคม – การบินไทยเลิกการบินลงจอดที่ราวัลปินดี โดยเปลี่ยนไปลงจอดที่อิสลามาบาด
    • 1 กรกฎาคม – การบินไทยสมายล์ปรับเส้นทางบินกรุงเทพ-ภูเก็ต-กว่างโชว โดยเปลี่ยนเป็น กรุงเทพ-กว่างโชว ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 การบินไทยทำการบินด้วยเครื่องบิน 104 ลำ รวมการบินไทยสมายล์ สูงที่สุดนับตั้งแต่ทำกิจการของการบินไทย ก่อนที่จะยกเลิก และทำการปลด โบอิง 737-4D7 ออกจากฝูงบินในวันดังกล่าว วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561 การบินไทย ยกเลิกเที่ยวบิน จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานสมุย[35]การบินไทยดำเนินธุรกิจโดยมีเที่ยวบินระหว่างต่างประเทศน้อยที่สุด กล่าวคือ โชล ไทเปไปโซล-อินช็อน การาจีไปมัสกัต ทั้งหมดเป็นเที่ยวบินไปกลับระหว่างต่างประเทศ เส้นทางภายในประเทศเหลือเพียง 3 เส้นทางได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และ กระบี่ การบินไทย ยกเลิกเที่ยวบิน TG608/TG609 ภูเก็ตไปกลับฮ่องกง โดยบินเที่ยวสุดท้ายวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561
  • พ.ศ. 2562
    • 12 สิงหาคม – จากการประท้วงต่อต้านร่างรัฐบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฮ่องกง พ.ศ. 2562 ส่งผลให้การบินไทยต้องยกเลิก 4 เที่ยวบิน ได้แก่ TG602 กรุงเทพ-ฮ่องกง TG606 กรุงเทพ-ฮ่องกง TG639 ฮ่องกง-กรุงเทพ TG607 ฮ่องกง-กรุงเทพ ส่วน TG638 กรุงเทพ-ฮ่องกง ที่กำลังจะบินไปฮ่องกง ต้องบินกลับกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2563 : โควิด-19 และการฟื้นฟูกิจการ[แก้]

ก่อนยื่นฟื้นฟูกิจการ[แก้]

  • พ.ศ. 2563
    • 23 เมษายน – สำนักข่าวนิกเกอิของญี่ปุ่นรายงานว่า การบินไทยอาจเป็นสายการบินแห่งชาติรายแรกของโลกที่จะล้มละลายท่ามกลางสถานการณ์การระบาดทั่วของโรค COVID-19 เนื่องจากปัญหาขาดสภาพคล่องซึ่งสะสมมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติ โดยบริษัทเตรียมขอเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง 70,000 ล้านบาท[36] ทั้งนี้ผลดำเนินงานของบริษัทย้อนหลัง 3 ปีพบขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2562 ขาดทุน 12,017 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2561 ขาดทุน 11,569 ล้านบาท และปี พ.ศ. 2560 ขาดทุน 2,072 ล้านบาท ด้านสำนักบริหารหนี้สาธารณะรายงานว่า ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัทมีหนี้สะสม 1.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 101,511 ล้านบาท และหนี้ต่างประเทศ 47,209 ล้านบาท[37] แม้ว่ากระทรวงการคลังจะออกเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาทที่กระทรวงการคลังค้ำประกันให้ แต่จำนวนดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทคงสภาพคล่องไปได้ถึงสิ้นปี พ.ศ. 2563 เท่านั้น[38]
    • 18 พฤษภาคม – ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ และได้มีการเสนอคณะรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น[39]
    • 19 พฤษภาคม – คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งมีผลให้การบินไทยในฐานะลูกหนี้สามารถหยุดพักชำระหนี้ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อเริ่มต้นขั้นตอนเจรจาเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะมีการดำเนินการรวมทั้งหมด 10 ขั้นตอน[40]
    • 25 พฤษภาคม –
      • บมจ.การบินไทย ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ (จำนวน 1,113,931,061 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 51.03 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระทั้งหมดของบริษัทฯ) ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ลงต่ำกว่าร้อยลง 50 ของจำนวนจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระทั้งหมดของบริษัทฯ แล้ว โดยจำหน่ายหุ้นร้อยละ 3.17 ให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แต่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (ร้อยละ 47.86) ทั้งนี้ ภายหลังการลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ทำให้การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[41][42]
      • คณะกรรมการบริษัทการบินไทยฯ มีมติแต่งตั้งให้พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, บุญทักษ์ หวังเจริญ, ไพรินทร์ ชูโชติถาวร และปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ แทนกรรมการเดิม[43]

ยื่นฟื้นฟูกิจการ[แก้]

  • พ.ศ. 2563
    • 26 พฤษภาคม –
      • การบินไทยยื่นคำร้องขอทำแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง[44]
      • ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ลาออกจากกรรมการการบินไทย เนื่องจากติดกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพราะนายไพรินทร์ยังพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้ไม่ถึง 2 ปี[45]
    • 27 พฤษภาคม – ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องขอฟื้นฟูการบินไทย และนัดไต่สวนครั้งแรกในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:00 น. ซึ่งทำให้การบินไทยอยู่ในภาวะหยุดจ่ายหนี้ทุกรายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483[44]
    • 14 กันยายน – ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้การบินไทยดำเนินการฟื้นฟูกิจการตามที่บริษัทร้องขอ และได้เห็นสมควรให้บริษัท อีวาย คอร์ปอเรทแอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด รวมถึงกรรมการบริษัทอีก 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน, นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, นายบุญทักษ์ หวังเจริญ, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการตามที่การบินไทยเสนอ
    • 5 พฤศจิกายน การบินไทยประกาศขายเครื่องบินเพิ่มเติม 22 ลำ ประกอบด้วย B777-200 6 ลำ (HS-TJA, HS-TJB, HS-TJC, HS-TJD, HS-TJG, HS-TJH) / B777-300 6 ลำ (HS-TKA, HS-TKB, HS-TKC, HS-TKD, HS-TKE, HS-TKF) / B747-400 10 ลำ (HS-TGA, HS-TGB, HS-TGF, HS-TGG, HS-TGO, HS-TGP, HS-TGW, HS-TGX, HS-TGY, HS-TGZ) ถือเป็นการปลดประจำการฝูงบิน Boeing 747 และในรุ่น Boeing 777 เหลือเพียงรุ่น ER (Extended Range) เท่านั้น ทำให้จำนวนเครื่องบินในฝูงบินการบินไทยเหลือเพียง 61 ลำ (ไม่นับรวม Thai Smile)
  • พ.ศ. 2564
    • 4 กรกฎาคม ​การบินไทยเปิดเที่ยวบินTG917 บินจากลอนดอนแวะภูเก็ต​ก่อนเข้าปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ​ และ TG973บินจากซูริคแวะภูเก็ตก่อนเข้าปลายทางท่าอากาศยาน​สุวรรณภูมิ​

กรณีซื้อและเช่าเครื่องบินซึ่งผลดำเนินการขาดทุน[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

การบินไทยซื้อเครื่องบินแอร์บัส 340 โดยกรรมการใหญ่ผู้จัดการใหญ่ในขณะนั้น นายกนก อภิรดี ซื้อมาโดยวางแผนบินเส้นทางกรุงเทพไปนิวยอร์ก กรุงเทพไปลอสแอนเจลิส ผลของการซื้อเครื่องบินแบบดังกล่าวคือการขาดทุนมหาศาลทั้งผลการดำเนินงานที่ขาดทุนทุกเที่ยวบินที่บินไปนิวยอร์ก[46] และต่อมาก็ขาดทุนทางบัญชี ค่าเสียโอกาส เนื่องจากการบินไทยเลือกที่จะนำเครื่องบินรุ่นดังกล่าวไปจอดไว้ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองผลจากเรื่องนี้นำมาสู่การยึดอำนาจนายกนก อภิรดี[47] การบินไทยนับจากการซื้อเครื่องบินเมื่อปี พ.ศ. 2548 จนถึงปี พ.ศ. 2559 ไม่สามารถขายเครื่องบินได้เนื่องจากหากขายเครื่องบินรุ่นดังกล่าวจะต้องขายเครื่องบินแบบขาดทุนอย่างมาก จนไม่มีกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใดกล้าขายเพราะต้องเผชิญเสียงวิจารณ์ในทางลบอย่างมากจากภายในบริษัทและภายนอกบริษัท อีกทั้งเสี่ยงต่อการถูกสอบสวน ในข้อหาทำให้บริษัท การบินไทย เสียหายนับว่าเป็นวิกฤตจนถึงปัจจุบันที่เครื่องบินไม่สามารถขายได้และมีค่าเสื่อมราคาลงอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นแล้วในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ได้สั่งโยกย้าย นายพฤทธิ์ บุปผาคำ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เนื่องจากผลดำเนินการขาดทุนของการบินไทยคาร์โก้ โดยให้เหตุผลว่า นายพฤทธิ์ กระทำการเกินอำนาจหน้าที่ตนเอง โดยการเซ็นสัญญาเช่าเครื่องบินเพื่อขนส่งสินค้า 2 ลำกับ Southern Air ต้องเป็นหน้าที่ของบอร์ดที่จะต้องมีการพิจารณาและอนุมัติก่อน นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุมาจากการกระทำที่ผิดนโยบาย คือ เดิมการบินไทยมีเป้าหมายจะให้เช่าพื้นที่คาร์โก้ แต่กลับไปเช่าเครื่องบิน[48] ท้ายที่สุดแล้วการบินไทยเช่าพื้นที่คาร์โก้ของเครื่องบินทั้งสองลำ และผลดำเนินการขาดทุนกว่า 100 ล้านบาทจนต้องรีบคืนเครื่องบิน 1 ลำ ก่อนครบสัญญาเช่า

ประวัติการบินไทยคาร์โก้[แก้]

การบินไทยมีเครื่องบินขนส่งสินค้าทั้งหมด10ลำ เป็นของการบินไทยเองเพียง2ลำนอกนั้นเช่่จากสายการบินอื่นหรือให้สายการบินอื่นทำการบินให้

พ.ศ. 2520–2522[แก้]

พ.ศ. 2520 การบินไทยมีเครื่องบินคาร์โก้ 2 ลำเป็นเครื่องบินแบบ DC8-61CF ทะเบียน HS-TGG และ HS-TGF[49]

พ.ศ. 2522–2542[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

Douglas DC-8-62F ทะเบียน OY-KTE

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

Douglas DC-8-62F เครื่องบินทะเบียน HS-TGZ ภายหลังขายให้กองทัพอากาศ

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

Douglas DC-8-62AF ทะเบียน HS-TGS

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

B747-200SF ทะเบียน N522MC

  • พ.ศ. 2522- การบินไทยเปิดเที่ยวบินเฉพาะขนส่งสินค้าบนเครื่องแบบ Douglas DC-8-62AF เป็นเครื่องที่การบินไทยซื้อมา ทะเบียน HS-TGS ใช้ขนส่งสินค้าไปกรุงเทพแวะการาจี สิ้นสุดที่แฟรงเฟิร์ต TG020 ปารีส กรุงเทพแวะการาจีสิ้นสุดที่โคเปนฮาเกน TG022 กรุงเทพไปฮ่องกง TG011 โคเปนฮาเกนแวะปารีสแวะการาจีสิ้นสุดที่กรุงเทพ TG023 [50]
  • พ.ศ. 2525- การบินไทยขายเครื่องบิน Douglas DC-8-62AF ให้ กองทัพอากาศไทย ในเดือนตุลาคม
  • พ.ศ. 2527- การบินไทยรับเครื่องบินขนส่งสินค้าแบบDouglas DC-8-62CF 2ลำ ทะเบียน OY-KTE ทำการบินโดย SAS และทะเบียน HS-TGZ[51]
  • พ.ศ. 2539- การบินไทยเช่าเครื่องบินมาจากสายการบิน Atlas Air เพื่อมาบินขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว เป็นเครื่องบิน B747-200B(SF) ทะเบียน N522MC แต่เดิมเป็นเครื่องผู้โดยสารของการบินไทยเองทะเบียน HS-TGB นามพระราชทาน ศิริโสภาคย์ เข้าประจำการเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ต่อมาขายให้กับ สายการบิน Atlas Air เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2539 และเช่ามาจากสายการบิน Atlas Air รับมอบวันที่ 1 ตุลาคม 2539 ขนส่งสินค้าได้ สูงสุด 90 ตัน ระวางบรรทุกสามารถรองรับแผ่นบรรทุกสินค้ามาตรฐานได้ 38 แผ่น
    • การบินไทยใช้เครื่องบินลำนี้เพื่อใช้ขนส่งสินค้า เส้นทางอาทิ กรุงเทพไปฮ่องกง กรุงเทพไปปารีส กรุงเทพไปแฟรงเฟิร์ต กรุงเทพไปสต็อกโฮล์ม
  • พ.ศ. 2542- การบินไทยคืนเครื่อง B747-200SF ให้สายการบิน Atlas Air ในวันที่ 30 กันยายน[52]

พ.ศ. 2543–2554[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

  • พ.ศ. 2553- การบินไทยเช่าเครื่องบินแบบ B777-FZB มาใช้บินเที่ยวบินขนส่งสินค้าโดยเช่ามาจากเซาท์เทิร์นแอร์และบินโดยนักบินจากเซาท์เทิร์นแอร์ สองลำได้แก่ทะเบียน N774SA ส่งมอบ 17 กุมภาพันธ์ และ N775SA ส่งมอบ 22 มีนาคม เป็นเครื่องยนตร์แบบ 2x GE GE90-110B1 สามารถบรรทุกสินค้าได้ถึง 102 เมตริกตันต่อเที่ยว ระวางบรรทุกสามารถรองรับแผ่นบรรทุกสินค้ามาตรฐานได้ 37 แผ่น และมีพื้นที่เก็บสินค้าที่ไม่ได้บรรทุกบนแผ่น/ตู้ (Bulk Cargo) อีก 17 ลูกบาศก์เมตร การบินไทยใช้บินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553[53]
    • การบินไทยใช้มาบินขนส่งสินค้าในเส้นทาง แฟรงเฟิร์ต เที่ยวบิน SOO9920 ฮ่องกง เที่ยวบิน SOO9774 ซิดนีย์ เที่ยวบิน SOO9524 อัมสเตอร์ดัม เที่ยวบิน SOO9801 และ SOO9421[54] ลีแยฌ[55] มาสทริชท์[56]กัวลาลัมเปอร์[57]ปราก[58]นะริตะ[59]ลักเซมเบิร์ก (เมือง)[60]มาดริด[61]
  • พ.ศ. 2554- การบินไทยคืนเครื่อง N774SA ก่อนครบสัญญาเช่า ในวันที่ 27 กรกฎาคม โดยบินเที่ยวบินสุดท้ายในวันที่ 11 กรกฎาคม[62] ไปแฟรงเฟิร์ต
    • ผลประกอบการการบินไทยคาร์โก้ขาดทุนในปีนั้นเกือบ 100 ล้านบาท [63]

พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน[แก้]

การบินไทยดำเนินธุรกิจด้านใดบ้าง

B747-400BCF ทะเบียน HS-TGJ

  • พ.ศ. 2555- การบินไทยคืนเครื่อง N775SA ในวันที่ 11 มีนาคม เนื่องจากครบสัญญาเช่า 2 ปี
    • การบินไทยเริ่มทำการบินโดย B747-400BCF ทะเบียน HS-TGJ ประจำการ 30 มีนาคม HS-TGH ประจำการ 4 พฤษภาคม เป็นครั้งแรกที่การบินไทยมีเครื่องบินขนส่งสินค้าแบบ 4 เครื่องยนต์ โดยเป็นเครื่องบินของการบินไทยเอง 2 ลำ เครื่องยนต์แบบ 4x GE CF6-80C2B1F ขนส่งสินค้าได้สูงสุด 100 ตัน มีที่นั่งชั้นบน8ที่นั่งทั้งสองลำ
    • การบินไทยเปิดเส้นทางกรุงเทพแวะเชนไนไปอัมสเตอร์ดัม ในวันที่ 21 พฤษภาคม[64] เป็นเที่ยวขนส่งสินค้า ในเที่ยวบินที่ TG898 เป็นเที่ยวบินแรกหลังจากการบินไทยยกเลิกไปอัมสเตอร์ดัม นานกว่า 15 ปี

การบินไทยเปิดเส้นทางบิน กรุงเทพไปนะริตะ TG862 นะริตะไปเทเปกลับกรุงเทพ TG863

กรุงเทพแวะเดลีสิ้นสุดที่แฟรงเฟิร์ต TG890 กรุงเทพแวะไฮเดอราบัดสิ้นสุดที่แฟรงเฟิร์ต TG894

กรุงเทพไปซิดนีย์ TG865[65]

  • พ.ศ. 2557- การบินไทยเปิดเส้นทางบินขนส่งสินค้า แฟรงเฟิร์ต แวะ เซี่ยเหมิน สิ้นสุดที่ กรุงเทพ TG897[66]ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  • พ.ศ. 2558- ยกเลิกทุกเที่ยวบินขนส่งสินค้าแบบ B747-400BCF ในวันที่ 27 มีนาคม[67]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • การบินไทย
  • เครื่องบินของการบินไทย
  • จุดหมายปลายทางของการบินไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) Archived 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในเว็บไซต์การบินไทย
  2. พัฒนาการการบินไทย พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2511 Archived 2013-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์การบินไทย
  3. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/257203/1972-thai-network/?highlight=THAI International Network
  4. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/261617/197778-thai-international-network/?highlight=THAI International Network
  5. พัฒนาการการบินไทย พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2521[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์การบินไทย
  6. https://www.planespotters.net/production-list/search?fleet=Thai-Airways-International&manufacturer=Boeing&type=747&fleetStatus=historic
  7. https://www.planespotters.net/production-list/search?fleet=Thai-Airways-International&manufacturer=Boeing&type=747&fleetStatus=historic
  8. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/101202/198586-thai-international-network/?highlight=THAI International Network
  9. https://www.planespotters.net/production-list/search?fleet=Thai-Airways-International&manufacturer=Boeing&type=747&fleetStatus=historic
  10. พัฒนาการการบินไทย พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2531[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์การบินไทย
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-21. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.
  12. ประวัติบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) Archived 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในเว็บไซต์การบินไทย
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-01. สืบค้นเมื่อ 2016-01-29.
  14. https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/83342/199293-thai-international-network/
  15. http://publicinfo.thaiairways.com/international-destinations.htm
  16. http://www.airliners.net/photo/Thai-Airways-International/Airbus-A300B4-605R/0011117/&sid=4226823d3608756b77fdcf75598334ee
  17. พัฒนาการการบินไทย พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2541[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์การบินไทย
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-27. สืบค้นเมื่อ 2016-01-27.
  19. http://www.travelweekly-asia.com/Travel-News/Phuket-direct-tempts-Aussies
  20. https://www.planespotters.net/production-list/search?fleet=Thai-Airways-International&manufacturer=Airbus&type=A340&fleetStatus=historic
  21. พัฒนาการการบินไทย พ.ศ. 2542 - 2551[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์การบินไทย
  22. กต.ส่งเครื่องบินรับคนไทยในอียิปต์ รอบ 2 คาดถึงไทยพรุ่งนี้เช้า
  23. พัฒนาการการบินไทย พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน Archived 2013-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์การบินไทย
  24. http://airlineroute.net/2013/07/16/tg-hkgtpe-sep13/
  25. https://www.facebook.com/welovethaiair/posts/605171699493870
  26. http://www.gprocurement.go.th/wps/wcm/connect/b301d121-214d-476b-b62e-a8b200938e3a/mof04213_c106_020359.pdf?MOD=AJPERES&CACHEID=ROOTWORKSPACE-b301d121-214d-476b-b62e-a8b200938e3a-lZDGI7S หนังสือกรมบัญชีกลาง ลงวันที่ 2 มีนาคม 2559]
  27. https://www.youtube.com/watch?v=YLCaibaxNUw
  28. [1]
  29. http://www.naewna.com/business/114947
  30. http://airlineroute.net/2015/02/18/tg-346-mar15/
  31. http://thaiairways.com/offers/royal-orchid-plus-promotions/th/Celebration-Miles.htm[ลิงก์เสีย]
  32. http://www.thailandexhibition.com/TradeShow-2015/6273
  33. http://www.thaiairways.com/th_TH/news/news_announcement/news_detail/TicketBrussels.page?
  34. สั่งเด็ดขาดไปฮัจย์ปีนี้ใช้บริการ”การบินไทย”เท่านั้น โขกหนักหัวละ 44,500 บาท
  35. Thai ends Koh Samui service in Sep 2018
  36. Thai Airways on financial brink as government debates rescue
  37. คนร.อุ้มการบินไทย คงสภาพรัฐวิสาหกิจ
  38. โควิด-19 : วิกฤตโรคระบาดทำสายการบินทั่วโลก ลดคน-ลดเงินเดือน-ขอรัฐช่วย
  39. ผู้จัดการออนไลน์ (18 พฤษภาคม 2563). "คนร.กลับลำ เคาะ "การบินไทย" ยื่นศาลล้มละลายฟื้นฟูกิจการ". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563.
  40. ฐานเศรษฐกิจ (20 พฤษภาคม 2563). "เปิด 10 ขั้นตอน "การบินไทย" ยื่นศาลล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการ". www.thansettakij.com. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563.
  41. 'การบินไทย' พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจแล้ว หลัง 'คลัง' ขายหุ้นให้วายุภักษ์วันนี้ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563)
  42. มติชน (25 พฤษภาคม 2563). "'การบินไทย' แจ้งตลาดหลักทรัพย์ กรณี 'คลัง' ขายหุ้นลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ หลุดเป็นรัฐวิสาหกิจ". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563.
  43. การบินไทยตั้งบอร์ดใหม่ 4 คน มีผล 25 พฤษภาคม 2563 จาก ไทยพีบีเอส
  44. ↑ 44.0 44.1 บีบีซีไทย (27 พฤษภาคม 2563). "การบินไทย : ศาลล้มละลายกลาง นัดไต่สวนคำร้องฟื้นฟูกิจการ 17 ส.ค. นี้". www.bbc.com. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563.
  45. ฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (28 พฤษภาคม 2563). ""ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ลาออกบอร์ดการบินไทย หลังแต่งตั้ง 1 วัน". news.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563.
  46. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  47. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000107850
  48. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1279280049&catid=05
  49. Thai airways Dc8-61CF​​
  50. แผนบินของการบินไทยปี 2522​
  51. Douglas DC-8-62CF Thai airways​
  52. https://www.planespotters.net/airframe/Boeing/747/21783/N522MC-Thai-Airways-International[ลิงก์เสีย]
  53. http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000057168[ลิงก์เสีย]
  54. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.
  55. https://www.planespotters.net/photo/351186/n775sa-thai-airways-international-boeing-777-fzb
  56. https://www.planespotters.net/photo/155889/n774sa-thai-airways-international-boeing-777-fzb[ลิงก์เสีย]
  57. https://www.planespotters.net/photo/243089/n775sa-thai-airways-international-boeing-777-fzb
  58. http://www.airliners.net/photo/Thai-Cargo-(Southern/Boeing-777-FZB/1961620/&sid=9100596e9d53fe1397fc59fbb0b6fe2d
  59. http://www.airliners.net/photo/Thai-Cargo-(Southern/Boeing-777-FZB/1957568/&sid=9100596e9d53fe1397fc59fbb0b6fe2d
  60. http://www.airliners.net/photo/Thai-Cargo-(Southern/Boeing-777-FZB/1673926/&sid=9100596e9d53fe1397fc59fbb0b6fe2d
  61. http://www.airliners.net/photo/Thai-Cargo-(Southern/Boeing-777-FZB/1679943/&sid=9100596e9d53fe1397fc59fbb0b6fe2d
  62. http://www.planepictures.net/netshow.php?id=1067956
  63. http://m.thairath.co.th/content/294232
  64. https://www.schiphol.nl/B2B/Cargo/NewsPublications/CargoNews5/ThaiAirwaysCargoInauguralFlight.htm[ลิงก์เสีย]
  65. THAI Cargo Adds Xiamen Service from June 2014
  66. http://www.routesonline.com/news/29/breaking-news/241815/thai-cargo-adds-xiamen-service-from-june-2014/?highlight=THAI Cargo
  67. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2016-03-14.