อุปกรณ์ช่างเชื่อมมีอะไรบ้าง

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า คืออะไร? หลายๆคนอาจจะเคยสงสัยว่ามันมีการใช้งานอย่างไร เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด หลักๆก็คือ ชนิดกระแสตรงหรือเครื่องเชื่อม DC และชนิดกระแสสลับหรือเครื่องเชื่อม AC...

see more

ในปัจจุบันการเชื่อมก็เป็นทักษะที่คุณสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การสร้างงานศิลปะในสวนหรือการตกแต่ง คุณสามารถใช้มันเพื่อปรับปรุงงานปัจจุบันของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการเกษตรหรือยานยนต์...

see more

ข้อมูลการปรับค่าพารามิเตอร์ในการเชื่อมต่าง ๆ เป็นค่ามาตรฐานสากลทั่วไป ในการใช้งานจริงอาจมีการเปลี่ยนแปรงได้ตามสภาวะการใช้งาน ซึ่งทางเราจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากการนำข้อมูลนี้ไปใช้...

see more

วิธีการเชื่อม โดยใช้ตู้เชื่อม / เครื่องเชื่อม และวิธีการเลือกแบบมือโปร จุดเริ่มต้นก่อนที่เราจะลงมือเลือกเครื่องเชื่อมเราจะมาบอกถึงขอบเขต...

see more

รู้หรือไม่? ช่างเชื่อม คือผู้ดำเนินการที่เชี่ยวชาญในการรวม วัสดุเข้าด้วยกัน โดยใช้เครื่องเชื่อม การเชื่อมหมายถึง การดำเนินการจากแหล่งหรือเครื่อง......

see more

เมื่อพูดถึงเครื่องเชื่อม ส่วนใหญ่ก็ต้องนึกถึงการเชื่อมโลหะ ก่อนจะเลือกซื้อเครื่องเชื่อม เราก็ต้องรู้ก่อนว่าการเชื่อมมีกี่แบบ เพราะแต่ละแบบก็มีประโยชน์ต่างกันไป......

see more


สำหรับการเชื่อมเหล็กนั้นจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่จำเป็นอยู่ 7 อย่างหากขาดเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้แค่อย่างเดียวก็จะไม่สามารถทำงานเชื่อมได้เนื่องจากจะทำให้การปฏิบัติงานของท่านมีความเสี่ยง ดังนั้นหากท่านจะเริ่มทำการเชื่อมควรมีอุปกรณ์เชื่อมเหล่านี้ต้องครบครัน ช่างเชื่อมหลายคนละเลยสิ่งเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ซึ่งอุปกรณ์ในการที่ช่างจะทำการเชื่อมเหล็กนั้นมีอะไรบ้างวันนี้เราจะพาท่านไปดู capitallaboratory

ประเภทตู้เชื่อมไฟฟ้ามีแบบใดบ้าง

ประเภทตู้เชื่อมไฟฟ้า เป็นเครื่องสำหรับงานช่างประเภทงานเชื่อม ซึ่งงานเชื่อมไฟฟ้าเป็นการเชื่อมด้วยไฟฟ้า โดยการผสมผสานระหว่างโลหะเข้าด้วยกัน หรือติดกัน ตู้เชื่อมไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงให้กับช่างเชื่อมในการเชื่อมโลหะ หรือเหล็ก โดยวิธีการทำงานของ ตู้เชื่อมไฟฟ้า จะใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์กของไฟฟ้าหลอมให้โลหะหรือเหล็กละลาย โดย ตู้เชื่อมไฟฟ้า มีให้เลือกหลายแบบ arc,mig,tig ดังนั้นจึงควรเลือก ตู้เชื่อมไฟฟ้า ให้เหมาะกับงาน

ตู้เชื่อมไฟฟ้า กระแสคงที่

ตู้เชื่อมไฟฟ้า ชนิดกระแสคงที่ เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้า ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าและพลังงานออกมา เป็นเครื่องเชื่อมอัตโนมัติที่สามารถเชื่อมลวดขนาดใหญ่หรือลวดแบบไวต่อแรงดันไฟฟ้า ตู้เชื่อมไฟฟ้า ชนิดกระแสคงที่จะมีแรงดันไฟฟ้าสูงสุดเมื่อไม่มีกระแสเชื่อม และแรงดันไฟฟ้าต่ำเมื่อกระแสเชื่อมเพิ่มสูงขึ้น ตู้เชื่อมไฟฟ้า ชนิดกระแสคงที่มีทั้งชนิดกระแสไฟตรงและกระแสไฟสลับ หรือเป็นแบบชนิดกระแสไฟตรงและกระแสไฟสลับรวมกัน

ตู้เชื่อมไฟฟ้า กระแสไฟสลับ

ตู้เชื่อมไฟฟ้า ชนิดกระแสไฟสลับ เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้า ที่มีโครงสร้างเหมือนกับหม้อแปลงไฟฟ้า จึงทำให้ ตู้เชื่อมไฟฟ้า ชนิดนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อคือ ตู้เชื่อมไฟฟ้า แบบหม้อแปลงไฟฟ้า วิธีการทำงานของตู้เชื่อมไฟฟ้า คือมีหม้อแปลงในการเปลี่ยนแปลงไฟฟ้าแรงสูงให้เป็นไฟฟ้าแรงต่ำ ตู้เชื่อมไฟฟ้า ชนิดกระแสไฟสลับหรือแบบหม้อแปลงไฟฟ้านี้ ช่างเชื่อมที่ใช้งานเกี่ยวกับการเชื่อมอุปกรณ์เกี่ยวกับรถ หรืออู่ซ่อมรถยนต์เลือกใช้เพราะเหมาะกับงานช่างซ่อมรถยนต์

ตู้เชื่อมไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าคงที่

ตู้เชื่อมไฟฟ้า ชนิดแรงดันไฟฟ้าคงที่ เป็น ตู้เชื่อมไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้าคงที่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามขนาดของกระแสเชื่อม สามารถเชื่อมได้ทั้งแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ ตู้เชื่อมไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าคงที่เป็นที่นิยมในการใช้ของช่างมากที่สุด เพราะสามารถทำงานเชื่อมได้ดี

ตู้เชื่อมไฟฟ้า ระบบอินเวอร์เตอร์

ตู้เชื่อมไฟฟ้า ระบบอินเวอร์เตอร์ เป็นชนิดกระแสไฟฟ้าคงที่ จึงทำให้งานเชื่อมเกิดความต่อเนื่อง แนวเชื่อมของชิ้นงานสวยงามเป็นระเบียบกว่า ตู้เชื่อมไฟฟ้า ระบบอื่น ซึ่งช่วยในการประหยัดต้นทุนและประหยัดไฟฟ้าในการใช้งานของ ตู้เชื่อมไฟฟ้า ได้มากขึ้น และที่สำคัญคือการประหยัดเวลาในการทำงานให้เร็วขึ้น

ตู้เชื่อมไฟฟ้า แบบหมุน

ตู้เชื่อมไฟฟ้าแบบหมุนมือ หรือเป็นแบบเก่า ซึ่งเป็นชนิดแกนหม้อแปลงเป็นเหล็กปรับกระแสไฟออกด้วยทิศทางของสนามแม่เหล็ก ตู้เชื่อมไฟฟ้า แบบหมุนมือนี้เป็นที่นิยมสำหรับช่างและผลิตมากในประเทศไทย แต่มีประสิทธิภาพงานเชื่อมต่ำ และไม่ค่อยมีความแม่นยำมากนัก

เทคนิคการใช้งานเครื่องเชื่อม

การจะใช้เครื่องเชื่อมให้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้น ผู้ใช้งานสามารถสังเกตได้จาก Nameplate ที่ติดอยู่ที่เครื่องเชื่อม โดย Nameplate จะระบุค่ากระแสไฟเชื่อมและค่าแรงดันไฟฟ้าขณะเชื่อม

ยกตัวอย่าง จาก Nameplate หากต้องการใช้งานเครื่องเชื่อมให้เต็มประสิทธิภาพ100% จะต้องใช้กระแสเชื่อมที่ไม่เกิน 155 A สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง แต่หากต้องการใช้กระแสเชื่อมสูดสุดคือ 200A ประสิทธิภาพของเครื่องเชื่อมอยู่ที่ 60% ซึ่งหมายความว่าเครื่องเชื่อมจะใช้งานได้ต่อเนื่อง 6 นาที และต้องหยุดพักเครื่องอย่างน้อย 4 นาที ทั้งนี้การกำหนดความสามารถของเครื่องนั้น เพื่อเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ช่างเชื่อมใช้งานเครื่องหนักจนเกินไปซึ้งอาจจะทำให้เครื่องเชื่อมเสียหายได้ง่าย

เทคนิคการเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะกับเครื่องเชื่อม

ลวดเชื่อมนั้นถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของงานเชื่อม ดังนั้นการใช้กระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับลวดเชื่อม จึงจะทำให้งานเชื่อมออกมาเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเราสามารถทราบกระแสที่เหมาะสมกับลวดเชื่อมได้จากด้านข้างห่อลวดเชื่อม

จากตัวอย่างด้านบน ช่อง Dia x Length หมายถึงขนาดของลวดเชื่อม ในที่นี้คือขนาด 2.6MM x 350 MM ช่อง Current Range คือ ช่วงกระแสที่ใช้ในการเชื่อม ในที่นี้ Flat หรือ ท่าราบ ใช้กระแสอยู่ในช่วง 60-90 A Vertical and Overhead หรือ ท่าเชื่อมในแนวตั้งและเหนือศีรษะ ใช้กระแสอยู่ในช่วง 50-80 A ช่อง Polarity of Electrode คือ ชนิดของกระแส ในที่นี้สามารถใช้ได้ทั้งกระแสเชื่อมและกระสสลับ

เทคนิคการเชื่อม

โดยทั่วไปผู้เชื่อมมักจะใช้หัวเชื่อมเป็นขั้วบวกและต่อขั้วลบเข้ากับชิ้นงาน ซึ่งจะได้งานเชื่อมที่มีการซึมลึกน้อย แต่ในการทำงานเชื่อมนั้น เราสามารถสลับขั้วเชื่อมได้ โดยต่อหัวเชื่อมเป็นขั้วลบและต่อขั้วบวกเข้ากับชิ้นงาน ซึ่งจากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่าการสลับขั้วดังกล่าวทำให้งานเชื่อมมีการซึมลึกมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เชื่อมสามารถเลือกวิธีการต่อขั้วเชือม ได้ตามความเหมาะสมของลักษณะงาน

เครื่องเชื่อม TIG – ย่อมาจาก Tungsten Inert Gas คือการเชื่อมชิ้นงานสองชิ้นเข้าด้วยกัน โดยอาศัยความร้อนจากกการอาร์คแท่งอิเล็กโทรดที่ทำจากทังสเตนกับตัวชิ้นงาน โดยใช้แก๊สเฉื่อยเป็นตัวปกคลุมแนวเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศภายนอกเข้ามาทำเกิดปฎิกริยากับแนวเชื่อม ซึ่งแก๊สเฉื่อยที่ใช้กับงานเชื่อมจะเป็นแก๊สอากอน (Argon) เท่านั้น การเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อม TIG นั้น สามารถเชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด งานเชื่อมแข็งแรงและสวยงามแต่ต้องใช้ทักษะการเชื่อมค่อนข้างสูง และในการเชื่อมโลหะแต่ละชนิดนั้น ควรเลือกใช้ลวดที่มีความเหมาะสมด้วยเช่นกัน