อาการลิ้นหัวใจรั่วเป็นยังไง

ลิ้นหัวใจรั่วคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจทำให้หัวใจปิดไม่สนิท เป็นสาเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับหัวใจ จึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพออาจรักษาโดยใช้ยา และผ่าตัดซ่อมแซมรวมทั้งการใส่อุปกรณ์บางชนิดเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้า หรือไม่ต่อเนื่องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น หัวใจวาย ลิ่มเลือดอุดตัน ติดเชื้อที่สิ้นหัวใจ

Show

อาการ

หากการรั่วเกิดขึ้นไม่มากจะไม่แสดงอาการให้เห็นแต่หากเริ่มรุนแรงขึ้นอาจเกิดอาการได้ เช่น เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ เป็นลม ปวดที่บริเวณหน้าอก รู้สึกหัวใจเต้นผิดปกติ บวมที่เท้าและข้อเท้า

          อย่างที่บอกว่า โรคลิ้นหัวใจรั่วในระยะแรก ๆ จะไม่ค่อยแสดงอาการ ดังนั้นหากมีความผิดปกติอันใดกับร่างกายก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด เพราะไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคอะไร การตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็เพิ่มโอกาสในการรักษาให้เราได้นะคะ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Heart Disease)
      เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแต่มีอาการไม่รุนแรง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ตั้งแต่แรกเริ่ม โรคลิ้นหัวใจรั่วเมื่อเกิดกับใครแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือรบกวนชีวิตประจำวันของคนๆ นั้น เวลาทำอะไรก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น
อาการลิ้นหัวใจรั่วเป็นยังไง

โรคลิ้นหัวใจรั่ว จะแสดงอาการรุนแรงเมื่ออายุประมาณ 40 – 50 ปี ขึ้นไป ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อย และอ่อนเพลียมากขึ้นเกือบๆ จะทุกการเคลื่อนไหว ซึ่งบางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจรั่ว มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่วที่พบบ่อยในคนไทย คือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบน และห้องล่างด้านซ้าย โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดมักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น มีผลให้ออกกำลังกายได้น้อย ทำงานได้น้อยลง หรือแม้กระทั่งบางคนเพียงเดินขึ้น เดินลงบันได 1-2 ชั้น ก็รู้สึกเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หายใจไม่ออก เป็นต้น

สาเหตุการเกิดลิ้นหัวใจรั่ว

  • มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด อาจไม่มีอาการใดๆ ในวัยเด็ก หรือ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์
  • ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหว และรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้น จึงเกิดการเสื่อม ลิ้นหัวใจจะหนาตัวขึ้น และเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อทำให้ปิดไม่สนิท
  • โรคหัวใจรูห์มาติค (rheumatic heart disease) เริ่มต้นจากการติดเชื้อ streptococcus ในคอ พบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลที่ตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบ และรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ พบมากในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรืออยู่ในชุมชนแออัด
  • เกิดจากการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด (ในผู้ติดยาเสพติด) การเจาะตามร่างกาย เช่น เจาะลิ้น เจาะอวัยวะเพศ เป็นต้น

ลักษณะอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว    อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถของการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิต เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

การตรวจหาลิ้นหัวใจรั่ว      การตรวโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ให้ผลแม่นยำและเป็นมาตรฐาน จะตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงสะท้อน หรือเครื่องอัลตราซาวด์ ส่วนใหญ่การตรวจแบบใช้เครื่องอัลตราซาวด์สามารถใช้เวลาเพียง 30 นาที ก็สามารถรู้ผลการตรวจหัวใจว่ามีความผิดปกติ หรือไม่ และสภาพการทำงานเป็นอย่างไร เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจ เมื่อมีการหายใจเข้า ออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจ เมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

การดูแลรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

      สำหรับผู้ป่วยรายที่ลิ้นหัวใจรั่วมาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิด-เปิด ลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุด หรือไม่ ทั้งนี้ การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจรั่ว ผลการรักษาในบางรายอาจดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ และบางรายอาจมีการซ่อมแซมซ้ำได้เช่นกัน โดยมากแพทย์จะผ่าตัดเฉพาะในรายที่ลิ้นหัวใจชำรุดมากเท่านั้น หากชำรุดเพียงเล็กน้อย หรือปานกลาง แพทย์มักจะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและเฝ้าระวังติดตามอาการ เพราะการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจมีค่าใช้จ่ายสูง และการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจไม่สามารถรับประกันได้ทุกรายว่าจะหายเป็นปกติได้ตลอดชีวิตหลังการผ่าตัด บางรายอาจต้องมีการผ่าตัดซ่อมแซมซ้ำ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนอง และการดูแลตัวเองของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมบางราย หากเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือไตวาย ซึ่งพบได้น้อย แพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจทันที การรักษาสำหรับผู้ป่วยลิ้นหัวใจเสื่อม หรือเสียมาก แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบธรรมชาติที่ได้จากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว หรือเนื้อเยื่อหัวใจหมู และลิ้นหัวใจเทียมจากสารสังเคราะห์ ทั้งนี้ การรักษาในช่วงที่ลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรงมาก แพทย์มักจะแนะนำให้ป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงการทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรแจ้งข้อมูลการเจาะตามร่างกาย เช่น ผู้ที่ชอบเจาะลิ้น อวัยวะเพศ เป็นต้น

การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว      โรคลิ้นหัวใจรั่ว หากเป็นระยะไม่มาก อาการที่แสดงจะเป็นปกติ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิต และมีกิจกรรมปกติของตัวเองได้เหมือนอย่างคนทั่วไป แต่ถ้าลิ้นหัวใจรั่วมาก เช่น หอบเหนื่อยมาก แม้จะทำงานเพียงเล็กน้อย ก็ต้องทำกิจกรรม หรือทำงานให้น้อยลง หรือหากเป็นมากควรงดกิจกรรม งด หรือลดการดื่มแอลกอฮอลล์ สูบบุหรี่ รวมทั้งอาหารที่มีรสเค็มจัด มันจัด เป็นต้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบหักโหม มักจะอันตรายต่อผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มีอาการรุนแรง เพราะอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ ส่วนผู้ป่วยที่ต้องการตรวจรักษาฟัน เช่น ถอนฟัน ขูดหินปูน ที่จะทำให้เกิดแผลในช่องปาก ก็ควรระมัดระวัง และควรต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ เพื่อวางแผนป้องกันการติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดใดๆ ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร.0-2271-7000 ต่อ ศูนย์หัวใจ

อาการลิ้นหัวใจรั่วเป็นยังไง

โรคลิ้นหัวใจรั่วมีอาการแบบไหน

ผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วจะมีอาการอย่างไร เริ่มมีอาการตั้งแต่ เหนื่อยง่าย จนกระทั่งหอบเหนื่อย น้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้ มีอาการใจสั่น หรือเจ็บหน้าอก มีอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า

โรคลิ้นหัวใจรั่วอันตรายแค่ไหน

โรคลิ้นหัวใจรั่ว ภาษาอังกฤษเรียกว่า Heart Valve Regurgitation เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท มีรูรั่วหรือขาด เกิดภาวะเลือดไหลย้อนกลับ และการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติก็จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้

ลิ้นหัวใจรั่วดูแลตัวเองยังไง

สำหรับการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจหรือผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังสามารถออกกำลังกายได้ ควรออกกำลังกายตามความเหมาะสมเป็นประจำเพราะจะช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมและไม่ให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป

โรคลิ้นหัวใจ มีอะไรบ้าง

ลิ้นหัวใจ ทำหน้าที่เป็นประตูกั้นระหว่างห้องหัวใจทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ หากลิ้นหัวใจมีความผิดปกติอาจส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยโรคลิ้นหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือโรคลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis) และโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Regurgitation)