อำนาจหน้าที่ของสมาคมนายจ้าง มีอะไรบ้าง

ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ....

ข้อมูลประกอบการพิจารณา

โดยที่กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวมีการจำกัด แบ่งแยกและควบคุมสิทธิเสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรองร่วมของแรงงาน ทำให้สหภาพแรงงานอ่อนแอ ไม่สอดคล้องกับการแรงงานสัมพันธ์ที่ได้พัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยีและรูปแบบทางธุรกิจที่มีการผลิต การบริการและการจำหน่ายในรูปแบบใหม่ ๆ มีผลทำให้ผู้ใช้แรงงานกายและแรงงานสมองถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างหรือผู้ประกอบการอย่างมากโดยไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมจากรัฐอย่างเหมาะสมตามหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานระหว่างประเทศด้านแรงงาน ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ดังนั้น เพื่อให้ขบวนการแรงงานมีความเป็นปึกแผ่นเข้มแข็ง มีผลในการปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันชอบธรรมของแรงงาน เป็นการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและความเข้มแข็งให้แก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญรวมถึงให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานระหว่างประเทศด้านแรงงาน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สาระสำคัญ

          ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้

1. กำหนดบทนิยามคำว่า “นายจ้าง” “แรงงาน” “สภาพการจ้าง” “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” “ข้อพิพาทแรงงาน” “ปิดงาน” “นัดหยุดงาน” “สมาคมนายจ้าง” “สหภาพแรงงาน” “สหพันธ์นายจ้าง” “สหพันธ์แรงงาน” “พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน” “อธิบดี” “รัฐมนตรี” (ร่างมาตรา 4)

2. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 5)

3. กำหนดให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนกลาง สำนักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และสำนักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและสำนักงานทะเบียนกลางมีหน้าที่และอำนาจในการออกใบสำคัญรับรองการจัดตั้งสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การแรงงานทั่วราชอาณาจักร (ร่างมาตรา 6)

4. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ร่างมาตรา 7)

5. กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน (ร่างมาตรา 8)

6. กำหนดวิธีการคัดเลือกตัวแทนสหภาพแรงงานในระบบไตรภาคีตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างมาตรา 9)

7. กำหนดวิธีการดำเนินการยื่นข้อเรียกร้องและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของสหภาพแรงงาน นายจ้างหรือสมาคมนายจ้าง (ร่างมาตรา 10 - ร่างมาตรา 20)

8. กำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน (ร่างมาตรา 21 – ร่างมาตรา 30)

9. กำหนดสิทธิและการดำเนินการนัดปิดงานและการหยุดงานของแรงงานและนายจ้าง (ร่างมาตรา 31
และร่างมาตรา 32)

10. กำหนดคุณสมบัติ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ร่างมาตรา 41 – ร่างมาตรา 40)

11. กำหนดคุณสมบัติ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ (ร่างมาตรา 41 – ร่างมาตรา 44)

12. กำหนดวิธีการจัดตั้ง การเป็นสมาชิกภาพ ข้อบังคับ การควบรวม อำนาจ หน้าที่ และการสิ้นสุดของสมาคมนายจ้าง (ร่างมาตรา 45 – ร่างมาตรา 75)

13. กำหนดวิธีการจัดตั้ง การเข้าเป็นสมาชิกภาพ การสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ ข้อบังคับ การควบรวม อำนาจ หน้าที่และการสิ้นสุดของสหภาพแรงงาน (ร่างมาตรา 75 – ร่างมานรา 102)

14. กำหนดวิธีการจัดตั้ง การเข้าเป็นสมาชิกภาพ การสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ ข้อบังคับ การควบรวมอำนาจ หน้าที่และการสิ้นสุดของสหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน (ร่างมาตรา 103 –ร่างมาตรา 111)

15. กำหนดข้อห้ามที่มีลักษณะอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและวิธีการดำเนินการของผู้ที่ได้รับความเสียหาย (ร่างมาตรา 112 – ร่างมาตรา 116)

16. กำหนดโทษผู้แทนนายจ้างหรือสมาคมนายจ้าง ผู้แทนแรงงาน หรือผู้แทนสหภาพแรงงานผู้ใด เสนอให้ รับหรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อกระทำการอันเป็นเหตุให้นายจ้าง สมาคมนายจ้าง แรงงานหรือสภาพแรงงานซึ่งตนเป็นผู้แทนในการเรียกร้องเจรจาทำความตกลง หรือรับทราบคำชี้แจง ต้องเสียผลประโยชน์อันควรได้ (ร่างมาตรา 117)

 17. กำหนดโทษที่ปรึกษานายจ้างหรือสมาคมนายจ้าง ที่ปรึกษาแรงงานหรือสหภาพแรงงานผู้ใด เสนอให้รับ หรือยอม จะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อกระทำการอันเป็นเหตุให้นายจ้าง สมาคมนายจ้างหรือแรงงานหรือสหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นที่ปรึกษาต้องเสียผลประโยชน์อันควรได้ (ร่างมาตรา 118)

18. กำหนดโทษกรณีนายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 16 หรือมาตรา 17 หรือมาตรา 22 วรรคสอง (ร่างมาตรา 119)

19. กำหนดโทษกรณีนายจ้างหรือแรงงานผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือคำชี้แจงข้อพิพาทแรงงานที่ได้จดทะเบียนตาม มาตรา 16 วรรคสองมาตรา 22 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ (ร่างมาตรา 120)

20. กำหนดโทษกรณีนายจ้าง สมาคมนายจ้าง แรงงาน สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง หรือสหพันธ์แรงงานใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 23 (ร่างมาตรา 121)

21. กำหนดโทษกรณีผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานผู้ใดรับหรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อจูงใจให้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานอันเป็นเหตุให้นายจ้าง แรงงาน สมาคม นายจ้าง หรือสหภาพแรงงาน ต้องเสียผลประโยชน์อันควรได้ (ร่างมาตรา 122)

22. กำหนดโทษกรณีผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 28 วรรคสอง (ร่างมาตรา 123)

23. กำหนดโทษกรณีนายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 30 วรรคหนึ่ง (ร่างมาตรา 124)

24. กำหนดโทษกรณีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนาจความสะดวกในการปฏิบัติงานของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามมาตรา 61 หรือมาตรา 96 (ร่างมาตรา 125)

25. กำหนดโทษกรณีนายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 20 (ร่างมาตรา 126)

26. กำหนดโทษกรณีนายจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง แรงงาน สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน หรือสภาองค์การลูกจ้าง ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 50 วรรคสอง มาตรา 59 มาตรา 80 วรรคสอง หรือมาตรา 94 (ร่างมาตรา 127)

27. กำหนดโทษ กรณีสมาคมนายจ้างใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 60 หรือมาตรา 64
และคณะกรรมการสมาคมนายจ้างที่รู้เห็นเป็นใจให้สมาคมนายจ้างกระทำการฝ่าฝืน (ร่างมาตรา 129)

28. กำหนดโทษกรณีผู้ชำระบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 74 (ร่างมาตรา 129)

29. กำหนดโทษกรณีสหภาพแรงงานใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 84 และกรรมการสหภาพแรงงานที่รู้เห็นเป็นใจให้สภาพแรงงานกระทำการฝ่าฝืน (ร่างมาตรา 130)

30. กำหนดโทษกรณีนายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 112 มาตรา 113 หรือมาตรา 114 (ร่างมาตรา 131)

31. กำหนดโทษกรณีผู้ใดใช้ชื่อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า “สมาคมนายจ้าง” หรือ “สหภาพแรงงาน” หรือ “สหพันธ์นายจ้าง” หรือ “สหพันธ์แรงงาน” หรือ “สภาองค์การนายจ้าง” หรือ “สภาองค์การแรงงาน”หรืออักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกันประกอบในป้ายชื่อดวงตราจดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นโดยมิได้เป็นสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง หรือสภาองค์การแรงงาน (ร่างมาตรา 132)

32. กำหนดโทษกรรีเมื่อสมาคมนายจ้าง สภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง หรือสภาองค์การแรงงาน ซึ่งได้เลือกตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการหรืออนุกรรมการ สมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง หรือสภาองค์การแรงงาน ผู้ใดขัดขวาง
การดำเนินการของผู้ชำระบัญชี (ร่างมาตรา 133)

33. กำหนดโทษกรณีผู้ใดยังคงดำเนินกิจการของสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง หรือสภาองค์การแรงงาน ซึ่งได้เลิกไปแล้วตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 134)

34. กำหนดโทษให้เสียค่าปรับเพิ่มเป็นสองเท่ากรณี ผู้กระทำผิดไม่ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่ระบุภายในสามสิบวัน (ร่างมาตรา 135)

35. การกำหนดโทษปรับกรณีกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน (ร่างมาตรา 136)

36. กำหนดให้ในวาระเริ่มแรก คณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายแรงงาน ฝ่ายละห้าคน ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านแรงงานสัมพันธ์เป็นที่ประจักษ์ ไม่น้อยกว่า
ห้าปี จำนวนสามคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ อธิบดี เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่คณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 137)

37. กำหนดให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 138)

38. กำหนดให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานซึ่งแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 139)

39. กำหนดให้บรรดาคำชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน มติ คำวินิจฉัยชี้ขาด หรือคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป บรรดาสภาพการจ้างที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 140)

40. กำหนดให้บรรดาคำร้องกล่าวหา ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงาน คำชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน คำชี้ขาดหรือคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือคดีซึ่งเกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุด แล้วแต่กรณี ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคำร้องกล่าวหา ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงาน คำชี้ขาด คำสั่ง หรือคดีนั้นจะถึงที่สุด (ร่างมาตรา 141)

41. กำหนดให้สมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การแรงงานที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ให้ถือว่าเป็นสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การแรงงานที่ได้รับใบสำคัญรับรองการจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 142)

42. กำหนดให้คำขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การแรงงานที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ให้ถือว่าเป็นคำขอรับใบสำคัญรับรองการจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 143)

43. กำหนดให้บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใช้บังคับการดำเนินการออก พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ (ร่างมาตรา 144)

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทนิยามคำว่า “นายจ้าง” “แรงงาน” “สภาพการจ้าง”“ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” “ข้อพิพาทแรงงาน” “ปิดงาน” “นัดหยุดงาน” “สมาคมนายจ้าง” “สหภาพแรงงาน” “สหพันธ์นายจ้าง” “สหพันธ์แรงงาน” “พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน” “อธิบดี” “รัฐมนตรี” (ร่างมาตรา 4)

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
(ร่างมาตรา 5)

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนกลาง สำนักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และสำนักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและสำนักงานทะเบียนกลางมีหน้าที่และอำนาจในการออกใบสำคัญรับรองการจัดตั้งสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง สหพันธ์แรงงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การแรงงานทั่วราชอาณาจักร (ร่างมาตรา 6)

4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ร่างมาตรา 7)

5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน(ร่างมาตรา 8)

6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวิธีการคัดเลือกตัวแทนสหภาพแรงงานในระบบไตรภาคีตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างมาตรา 9)

7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวิธีการดำเนินการยื่นข้อเรียกร้องและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของสหภาพแรงงาน นายจ้างหรือสมาคมนายจ้าง (ร่างมาตรา 10 - ร่างมาตรา 20)

8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน (ร่างมาตรา 21 – ร่างมาตรา 30)

9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดสิทธิและการดำเนินการนัดปิดงานและการหยุดงานของแรงงานและนายจ้าง (ร่างมาตรา 31 และร่างมาตรา 32)

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดคุณสมบัติ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ร่างมาตรา 41 – ร่างมาตรา 40)

11. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดคุณสมบัติ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริม
การแรงงานสัมพันธ์ (ร่างมาตรา 41 – ร่างมาตรา 44)

12. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวิธีการจัดตั้ง การเป็นสมาชิกภาพ ข้อบังคับ การควบรวม อำนาจ หน้าที่ และการสิ้นสุดของสมาคมนายจ้าง (ร่างมาตรา 45 – ร่างมาตรา 75)

13. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวิธีการจัดตั้ง การเข้าเป็นสมาชิกภาพ การสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ ข้อบังคับ การควบรวม อำนาจ หน้าที่และการสิ้นสุดของสหภาพแรงงาน (ร่างมาตรา 75 – ร่างมาตรา 102)

14. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวิธีการจัดตั้ง การเข้าเป็นสมาชิกภาพ การสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ ข้อบังคับ การควบรวมอำนาจ หน้าที่และการสิ้นสุดของสหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน (ร่างมาตรา 103 –
ร่างมาตรา 111)

15. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดข้อห้ามที่มีลักษณะอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
และวิธีการดำเนินการของผู้ที่ได้รับความเสียหาย (ร่างมาตรา 112 – ร่างมาตรา 116)

16. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทโทษของการฝ่าฝืนกรณีตามที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ใน หมวด 10 (ร่างมาตรา 117 – ร่างมาตรา 136)

17. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างมาตรา 137 –
ร่างมาตรา 144)

18. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)