หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชา คืออะไร

          สำหรับพุทธศาสนิกชน เมื่อถึงวันออกพรรษาก็ทำบุญตามประเพณี เช่น การทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะ ฟังเทศน์ รักษาศีล เป็นต้นและยังมีประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องปฏิบัติ คือประเพณีตักบาตรเทโว โดยเชื่อตามหลักพุทธประวัติตอนหนึ่งที่กล่าวว่าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ แล้วในพรรษาที่ 7 ได้เสด็จไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา และเมื่อถึงวันออกพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงได้เสด็จลงจากสวรรค์ที่เมืองสังกัสสนครและในวันนี้มีคนไปรอเฝ้ารับเสด็จ เป็นจำนวนมากและได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระพุทธเจ้าด้วย

    วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าถึง 3 เหตุการณ์ คือ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเหตุการณ์เหล่านั้น คติธรรมหลักคือไตรลักษณ์ หรืออนิจจลักษณะ อันได้แก่ความเป็นธรรมดาของโลก 3 ประการ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์คือตั้งอยู่ในสภาพเดิมมิได้ และอนัตตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ (เช่น บังคับไม่ให้แก่ไม่ได้ บังคับไม่ให้ตายไม่ได้) ซึ่งทุกสรรพสิ่งในโลก ล้วนตกอยู่ในสภาพ 3 ประการนี้ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของโลก ก็ยังต้องทรงตกอยู่ในกฎเหล่านี้ ไม่มีใครสามารถพ้นไปได้

สำหรับหลักธรรมคติเทียบเคียงกับเหตุการณ์ทั้ง 3 ที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้ 3 อย่าง คือ

     ความกตัญญู

หลักคติธรรมอุปมาที่ได้จากเหตุการณ์ในวันวิสาขบูชา ทั้ง 3 เหตุการณ์ คือ ความกตัญญู, อริยสัจ 4, และ สติ

ในเหตุการณ์วันประสูติ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ "หลักความกตัญญู" เพราะในพระพุทธประวัติ แม้พระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะจะสิ้นพระชนม์ไปหลังที่เจ้าชายประสูติได้เพียง 7 วัน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้แล้ว ก็ได้เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงสเทวโลก ถึงแม้พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดา พระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรดถึงพระราชวังที่ประทับ จนพระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนักใกล้สวรรคต พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปโปรดจนพระราชบิดาได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์และนิพพานในพระราชวังในวันนั้นเอง

ซึ่งในเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดา และผู้มีอุปการะก่อนนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้หลายพระสูตรด้วยกัน เช่นใน หลักทิศ 6 เป็นต้น ซึ่งความกตัญญูนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะกับบุคคลเท่านั้น แต่รวมไปแม้กระทั่งต้นไม้ที่ให้ร่มเงาด้วย ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

"บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม"

— 'พระพุทธพจน์จาก — พระไตรปิฏก ขุททกนิกาย ชาดก. 28/26 '

ความกตัญญู จึงนับได้ว่าเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างหลายเรื่องในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าพระพุทธองค์ทรงยกย่องผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดา เช่น เรื่องพระภิกษุเลี้ยงบิดามารดาในมหานิบาต[49] เป็นต้น ซึ่งทำให้พระพุทธองค์ตรัสว่า

"นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา" แปลว่า: "ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี"

— 'พระพุทธพจน์จาก — พระไตรปิฏก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต "ปุตตสูตร" '

กล่าวโดยสรุป เหตุการณ์ประสูตินี้เป็นเครื่องเตือนให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึงความกตัญญูกตเวที ที่ทุกคนควรมีในตนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม

อริยสัจ 4

ในเหตุการณ์วันตรัสรู้ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ "อริยสัจ 4" อันเป็นหลักธรรมในการแก้ปัญหาชีวิตที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ คือ

  1. "ทุกข์" ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สภาวะที่ทนได้ยากทั้งหลาย (ปัญหา)
  2. "สมุทัย" ต้นเหตุของความทุกข์ คือกิเลสตัณหา (ต้นเหตุของปัญหา)
  3. "นิโรธ" จุดหมายที่จะดับทุกข์ คือนิพพาน (วางเป้าหมาย)
  4. "มรรค" แนวทางในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ (ลงมือแก้ไข)
— พระพุทธพจน์จาก — พระไตรปิฏก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค 19/528/1664

ความไม่ประมาท

ในเหตุการณ์วันปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสปัจฉิมโอวาทไว้บทหนึ่ง อันเป็นยอดของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรนำมาปฏิบัติ คือ การมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่ให้ความทุกข์ร้อนใจอันเกิดจากอำนาจกิเลสเข้าครอบงำ กล่าวคือ ความไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ โดยพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

วันวิสาขบูชา (Vesak Day) ได้ถูกรับรองให้เป็น “วันสำคัญสากล” ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 55 พ.ศ.2542 โดยได้รับการรับรองจาก 16 ประเทศ คือ ศรีลังกา บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน

ในที่ประชุม นายวรวีร์ วีรสัมพันธ์ อุปทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงตอนหนึ่งว่า "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน..”

ประวัติวันวิสาบูชาในประเทศไทย มีระบุหลักฐานเป็นบันทึกของคนรุ่นก่อนที่กล่าวถึง “วันวิสาขบูชา” ว่าเป็นประเพณีที่กษัตริย์ได้เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน มาร่วมประกอบพิธีกรรม และบำเพ็ญกุศลในวันวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และสมัยรัตนโกสินทร์มีระบุพระราชพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จัดพระราชพิธีเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เริ่มตั้งแต่ ขึ้น 14 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู นพศก ราว พ.ศ. 1360

วันวิสาขบูชา คือ การบูชาวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ที่เวียนมาบรรจบในทุกๆ ปี เพื่อรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญ เกิดขึ้นตรงกับวันเดียวกัน แต่คนละปี ดังนี้

ประสูติ 81 ปี ก่อนพุทธศักราช :
พระนางสิริมหามายามีพระประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะ ที่รอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และเทวหะ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถือเป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา :
เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชได้ 6 ปี ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศมคธ ปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคยา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ยามต้นทรงระลึกชาติได้ทั้งหมดทั้งของตนเองและผู้อื่น ยามสอง ทรงบรรลุรู้แจ้งเห็นการเกิดและการดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และยามสาม ทรงได้ตรัสรู้พบหลักธรรมกำจัดกิเลส ด้วย อริยสัจ 4

ในทุกวันครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ทรงปฏิบัติพุทธกิจ 5 ประการ ตลอดทั้งวัน ได้แก่

ตอนเช้า - เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เพื่อสนทนาแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดและส่งเสริมให้ปฏิบัติชอบ
ตอนบ่าย - ทรงแสดงธรรมแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ
ตอนเย็น - ทรงแสดงโอวาทแก่ภิกษุ ที่ประจำอยู่สถานที่นั้น
ตอนเที่ยงคืน - ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาแก่เทวดา หรือเทพ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ
ตอนเช้ามืด - ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด เพื่อไปบิณฑบาตในช่วงเช้า


พระพุทธเจ้าปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา :
ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ขณะพระชนมายุ 80 พรรษา ทรงประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี ระหว่างนั้นทรงประชวร และขณะเดินทางไปยังเมืองกุสินารา ทรงประทับ ณ ป่าสาละ ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และได้กล่าวปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เฝ้าว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชา

“อริยสัจ 4” เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าค้นพบวิธีการดับทุกข์ โดยมีความหมายว่าความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นอริยะ มีอยู่ 4 ข้อ ได้แก่

  • ทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก
  • สมุทัย เหตุแห่งการเกิดทุกข์
  • นิโรธ การดับทุกข์
  • มรรค สาเหตุของการเกิดทุกข์ 8 ประการ

“กตัญญูกตเวทิตาธรรม” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงเสด็จขึ้นไปแสดงธรรมให้แก่พระมารดาบนสวรรค์ พระมารดาจึงบรรลุพระโสดาปัตติผล และทรงเดินทางไปแสดงธรรมแก่พระบิดาบรรลุโสดาปัตติผล และในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคต พระองค์ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอีกครั้งจนได้บรรลุพระอรหัตผล

ประเทศที่กำหนดให้วันวิชาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หลายประเทศทั้งนิกายมหายาน และเถรวาทที่จัดพิธีกรรมศาสนาวันวิสาขบูชาจึงกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ ได้แก่

  • อินเดีย
  • ไทย
  • เมียนมา
  • ศรีลังกา
  • สิงคโปร์
  • อินโดนีเซีย

กิจกรรมวันวิสาขบูชาของชาวพุทธ

กิจกรรมวันวิสาขบูชาของชาวพุทธในประเทศไทย และทั่วโลก แบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ พิธีหลวง (พระราชพิธี), พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชน) และ พิธีสงฆ์ โดยช่วงเช้าของวันวิสาขบูชาพุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมในช่วงบ่าย และเข้าวัดเวียนเทียนรอบอุโบสถ เพื่อรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อพระพุทธศาสนา

และเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 พิธีวิสาขบูชาของสำนักพระราชวังและภาครัฐจะจัดเป็นการภายใน ส่วนประชาชนมีคำแนะนำจากมหาเถรสมาคมงดกิจกรรม "เวียนเทียน" ที่วัด และแนะนำให้ปฏิบัติศาสนกิจพร้อมพระสงฆ์ที่บ้านแทน ทั้งวัดไทยและต่างประเทศ  

หลักธรรมในข้อใดเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชามากที่สุด

พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท ประวัติความเป็นมา

หลักธรรมเกี่ยวเนื้องในวันมาฆบูชาที่สำคัญมีอะไรบ้าง

หลักธรรมสำคัญในวันมาฆบูชา คือ “โอวาทปาติโมกข์” เป็นหลักธรรมอันเป็นหลักหัวใจสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้แก่พระอรหันต์ทั้ง 1,250 รูปในวันนั้น ได้แก่ การทำความดี, ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ SPONSORED.

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันเข้าพรรษาคือข้อใด

- วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือหลังวันอาสาฬหบูชา 1 วัน เป็นวันที่พระสงฆ์จะอยู่จำพรรษา ไม่ออกธุดงค์ตลอดฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือน หลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อธิษฐานบารมี เป็นการตั้งใจปฏิบัติด้วยปัญญา และความเพียร

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชาประกอบด้วยหลักธรรมกี่ประการ

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาฏิโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้ หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

หลักธรรมในข้อใดเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชามากที่สุด หลักธรรมเกี่ยวเนื้องในวันมาฆบูชาที่สำคัญมีอะไรบ้าง หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันเข้าพรรษาคือข้อใด หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชาประกอบด้วยหลักธรรมกี่ประการ การปฏิบัติตน วันวิสาขบูชา หลักธรรมที่ควรยึดถือปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา ได้แก่หลักธรรมในเรื่องใด ประวัติวันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชา เป็นการบูชาในวันใด วันวิสาขบูชา ความสําคัญ เหตุการณ์สำคัญในสมัยพุทธกาลที่ทำให้เกิดวันวิสาขบูชา คือข้อใด หลักธรรมในข้อใด หมายถึงความจริงอันประเสริฐ การปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชามีหลายประการ ยกเว้นข้อใด