การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

1. เตยหรือหลิ่น

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

ภาค  ภาคเหนือ
จังหวัด  ตาก
สถานที่เล่น ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
อุปกรณ์ ไม่มี
ำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน
วิธีเล่น
ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ
โอกาส

เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

2 ม้าจกคอก

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

ภาค  ภาคเหนือ
จังหวัด  กำแพงเพชร
การเล่นม้าจกคอก ภาคกลางเรียก ลาวกระทบไม้ การเล่นชนิดนี้เข้าใจว่าอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการละเล่นของชาวลัวะ
อุปกรณ์และวิธีเล่น
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป
อุปกรณ์
๑. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ ๕ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
๒. ขอนไม้สูงประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๑-๒ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
สถานที่เล่น เล่นบริเวณที่เป็นลานกว้าง
วิธีการเล่น
๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกมี ๒ คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ ๒ มี ๒ คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
๒. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอก หรือม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้น ในระหว่างคานนั้นบ้าง
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวันขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา
สาระ
การเล่นม้าจกคอก เป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

3การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

ภาค          ภาคเหนือ
จังหวัด    กำแพงเพชร

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวน การเล่น
วิธีการเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุด ไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
พยายามตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทาง จมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อ เช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกม นั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดย ใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เป็นการเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ – ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด

คุณค่า / แนวคิด / สาระ
เป็นการเล่นที่ง่ายไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์และการเก็บรักษาอุปกรณ์ เนื่องด้วยไม้ที่ ใช้เล่นนิยมใช้ไม้สดเนื่องจากมีน้ำหนักในการใช้โยนหรือตีได้ไกล และเป็นการเล่นที่ต้องใช้ทักษะการงัด ให้ได้ไกล ดังนั้นจะต้องวางไม้ลูกให้ได้จุดกึ่งกลาง วางมุมไม้แม่ให้ได้องศาการดีดขึ้น ฝ่ายรับจะต้องมีทักษะการรับประสาทสั่งการความสัมพันธ์ของสายตาและอันตรายที่ อาจเกิดขึ้น แต่ละช่วงของการเล่นจะมีเทคนิคการเล่นที่ต้องใช้ความสังเกต และฝึกความชำนาญในโอกาสต่อไป เช่น คนที่เล่นได้ดีคือจะงัดให้ไกลหรือเดาะได้จำนวนครั้งได้มาก และเวลาไม้ตีลูกก็จะได้ไกลเนื่องจากในขณะตีนั้นจะต้อง ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างการปล่อยมือไม้ลูกและไม้แม่ให้ตรงจุดกึ่งกลาง ศูนย์กลางของน้ำหนัก เช่นเดียวกับการตีเทนนิส หรือแบดมินตัน หรือเบสบอลและฝึกความแม่นยำในการโยนกลับ หรือพัดลูกกอล์ฟบนกรีนหรือเปตอง

4โพงพาง 

 

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

ภาค               : ภาคเหนือ
จังหวัด            : ตาก
สถานที่เล่น       : สนาม,ลานกว้าง
อุปกรณ์           : ผ้าปิดตา
จำนวนผู้เล่น      : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น            : ยิ้งฉุ บกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่นๆจับมือเป็นวงกลมร้องเพลง “โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอด ปล่อยลูกช้างเข้าในวง” ขณะเดินวนรอบๆโพงพางตาบอดร้องเพลง1-3จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่นๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางต่อไปอีกเรื่อยๆ
โอกาส            : เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆเล่นกันโดยทั่วไป

5เบี้ยขี่โก่ง

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-เบี้ย (ก้อนหินที่มีลักษณะแบน) วิธีการเล่น
๑.ขุดหลุมให้พอเหมาะกับเบี้ย ๑ หลุม และขีดเส้นใต้ห่างจากหลุมให้พอเหมาะ
๒.ถ้าผู้เล่นมีไม่ครบคู่ให้เล่นคี่ก็ได้
๓.จุดโยนเบี้ยต้องห่างจากหลุมไม่ต่ำกว่า ๕ เมตร
๔.ผู้เล่นต้องโยนหินให้ใกล้หลุมมากที่สุดหรือลงหลุมเลยก็ได้
๕.ผู้ที่โยนเบี้ยไกลที่สุดจะถูกคนที่ใกล้หลุมมากที่สุดเก็บเบี้ยขึ้นมาแล้ว โยนจากหลุมให้ข้ามเขต ๕ เมตร แล้วโยนเบี้ยให้ถูกคนที่อยู่ไกลหลุม
๖.ถ้าถูกคนนั้นก็จะขี่หลังของคนที่ตีเบี้ยโดนนั้น แล้วโยนหินบนหลังนั้นให้เข้าหลุมก็ได้ หรือไม่เข้าก็ต้องตีโดนเบี้ยนั้นให้ได้
๗.ถ้าโยนไม่ถูก คนที่ได้ขี่หลังก็จะถูกคนที่ขี่หลังเก็บเบี้ยของตนแล้วมาตีให้ถูกเบี้ยของคน นั้นให้ได้ ถ้ายังไม่ถูกคนที่เหลือก็จะต้องตีให้ถูกหินของใครก็ได้แล้วคนที่ขี่หลังโยน หินต่อ แต่ถ้าไม่โดนสักคนก็เริ่มต้นใหม่

6.เล่นตากระโดด

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-ก้อนหิน หรือกระเบื้อง

จำนวนผู้เล่น  ๔ คนขึ้นไป

วิธีการเล่น
๑.ขีดช่องสำหรับกระโดดเป็น ๖ ช่อง ขนาดโตพอที่จะกระโดดเข้าไปยืนได้ แล้วแบ่งครึ่งช่องที่ ๓ ที่ ๕ สำหรับที่พัก และกลับหลังหัน จึงมีช่องทั้งหมด ๘ ช่อง แล้วเขียนหัวกระโหลกเล็ก ๆ ในช่องบนสุด
๒.ใช้อะไรเป็นเบี้ยก็ได้ แต่ควรเป็นของที่มีน้ำหนัก ถ้าใครโยนเข้าหัวกระโหลกที่เล็ก ๆ นั้น ก็จะได้เล่นก่อน
๓.โยนเบี้ยลงช่องที่ ๑ แล้วกระโดดขาเดียวข้ามช่องที่ ๑ เข้าไปยังช่องที่ ๒ แล้วกระโดด ๒ ขา เข้าไปในช่องที่ ๓ และ ๔ ให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ช่องที่ ๓ อีกข้างหนึ่งอยู่ที่ช่องที่ ๔ จากนั้นกระโดดขาเดียว ต่อไปยังช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ ตามลำดับ กระโดดตัวกลับ หันหน้ากลับมาทางเดิม กระโดดขาเดียวมายังช่องที่ ๕ สองขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ ขาเดียวที่ช่องที่ ๒ และช่องที่ ๑ พร้อมกับก้มลงเก็บเบี้ยที่ช่องที่ ๑ จากนั้นก็กระโดดออกมา
๔.ถ้าเกิดเล่นช่องที่ ๑ แล้วก็เล่นช่องที่ ๒ โดยโยนเบี้ยให้อยู่ในช่องที่ ๒ แล้วกระโดดขาเดียวไปยังช่องที่ ๑ ข้ามช่องที่ ๒ ไปยืน ๒ ขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ กระโดดไปยืนขาเดียวที่ช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วหันตัวกลับทำอย่างเดียวกับตาแรก คือ ต้องกระโดดกลับมาเก็บเบี้ยแล้วจึงกระโดดออกไป ถ้าเกิดเล่นถึงช่องหัวกระโหลกบนสุด ให้กระโดดกลับตัวในช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วก้มลงใช้มือลอดระหว่างขา เก็บเบี้ยในช่องกระโหลก เมื่อเก็บได้จึงกระโดดออกมาอย่างเดิม หากว่าเล่นทุกช่องหมดแล้วจะได้บ้าน ๑ หลัง จึงขีดกากบาทไว้กลางช่องต่อไป ใครจะเหยียบบ้านนี้ไม่ได้

7. อีหึ่ม

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-ไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซ็นติเมตร
-ไม้ยาวประมาณ ๒๐ เซ็นติเมตร เรียกว่า ลูก อาจใช้ตะเกียบแทนก็ได้

จำนวนผู้เล่น  ตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไป ควรจะเป็นคู่กันด้วย

วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละเท่ากัน เป่ายิงฉุบกันใครชนะเล่นก่อน ขุดหลุมน้อย ๆ เอาลูกพาดกลางหลุมไว้ใช้ไม้ยาว ๕๐ เซ็นติเมตร (ไม้วุด) งัดไม้ที่เป็นลูกหรือที่ยาว ๒๐ เซ็นติเมตรไปให้ไกลที่สุด แล้ววางไม้วุดปากหลุม ให้อีกฝ่ายที่ไม่ได้งัดโดยไม้ที่วุดไปให้มาถูกที่พาดไว้บนปากหลุม ถ้าวุดไม่ถูกก็ให้วุดไม้อีกครั้งจนกว่าจะถูก ถ้าถูกให้ผู้ที่เป็นฝ่ายโยนไม้มาปากหลุมแทน

8. ซิกโก๋งเก๋ง

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-ไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร
-ปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน

วิธีการประดิษฐ์
๑.เอาไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร
๒.ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ
๓.หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น

วิธีการเล่น
ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง

9.หมากล้อกลิ้ง

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-หมากล้อกลิ้ง

วิธีการประดิษฐ์
๑.นำไม้แผ่นมาถากหรือฉลุเป็นวงกลมขนาด ๑๐ – ๑๒ เซนติเมตร เพื่อทำเป็นล้อไม้
๒.เจาะรูตรงกลาง
๓.นำไม้ไผ่ขนาดพอมือจับ ยาวประมาณ ๑ – ๑.๒๐ เมตร มาผ่าส่วนปลายไม้ให้เป็นง่ามคล้ายหนังสะติ๊ก แล้วเจาะรูทำเป็นด้ามจับ
๔.นำล้อไม้มาประกอบติดกับด้ามจับสอดตะปูหรือเหลาไม้ทำแกนล้อ

วิธีการเล่น
นิยมเล่นคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม โดยนำหมากล้อกลิ้งมาวิ่งเล่นกันไปตามท้องถนนหรือลานบ้าน ลานวัดอาจมีการแข่งขันว่าใครจะวิ่งเร็วกว่ากัน

10.หมากข่าง

การละเล่นของชาวบ้านมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-ไม้ที่กลึงเกลาให้กลมแล้ว ขนาดกำมือ จำนวน ๒๐-๓๐ ลูก
-สะบ้า ๑๐ ลูก
-ลานดินกว้างขนาด ๕x๑๐ เมตร

วิธีการเล่น
การเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ข้าง แต่ละข้างไม่จำกัดว่าจะเป็นหญิงหรือชาย หรือทั้งหญิงและชายปนกัน ขอให้มีข้างละเท่ากันเท่านั้น แต่ละข้างจะมีอุปกรณ์ในการเล่น คือ หมากข่าง หรือลูกทอยข้างละ ๕-๑๐ ลูกเท่านั้น และมีลูกสะบ้า ๕ ลูก ตั้งเป็นรูปกากบาทให้ห่าง จากอีกข้างแล้วแต่จะตกลงกัน
เมื่อเริ่มเล่น จะมีการเสี่ยงว่าข้างไหนจะได้เป็นข้างที่จะโยนก่อน จากนั้นข้างที่ได้โยนก่อนจะไปยืนหลังเส้นที่ตั้งลูกสะบ้า แล้วโยนลูกให้กลิ้งไปโดยสะบ้าที่ตั้งเป็นรูปกากบาทของข้างตรงข้าม ถ้าฝ่ายใดสามารถโยนไปโดนลูกสะบ้าได้มากที่สุด ก็จะเป็นฝ่ายชนะการแข่งขัน

แหล่งที่มา

https://noolalida.wordpress.com/?p=19&preview=true

วิดีโอ

 

การละเล่นพื้นบ้านอะไรบ้าง

12 การละเล่นไทย มีอะไรบ้าง ที่เด็กๆ ควรรู้จัก.
1. วิ่งเปี้ยว วิ่งเปี้ยว เป็นการละเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กวัยประถมขึ้นไป โดยใช้เสาปักหลัก กับ ผ้า 2 ผืน (คนละสีกัน) เป็นอุปกรณ์ มีวิธีการเล่น ดังนี้ ... .
2. กระโดดเชือก ... .
3. ขี่ม้าส่งเมือง.
4. มอญซ่อนผ้า ... .
5. รีรีข้าวสาร ... .
6. ตี่จับ ... .
7. งูกินหาง ... .
8. เดินกะลา.

การละเล่นพื้นบ้านมีที่มาจากอะไร

การละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมนันทนาการประเภทหนึ่ งซึ่ งได้รับ การยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิต ของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่างๆ การละเล่นบางชนิด ได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ...

การละเล่นมีไว้เพื่ออะไร

การละเล่นของเด็กไทย มีลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของเด็กปรากฏอย่างชัดเจน คือ 1. เสริมสร้างพลานามัยให้สมบูรณ์ 2. เสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ให้เจริญ เช่น ทักษะในการใช้สายตาสังเกต ทักษะในการเคลื่อนไหวอวัยวะ 3. ส่งเสริมความเจริญทางสติปัญญา เช่น ฝึกให้ใช้ความคิด ฝึกให้มีไหวพริบ ฝึกการคาดคะเนด้านสังคม

การละเล่นพื้นเมืองแบ่งออกได้กี่ประเภท

การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมือง