วิธีการประมวลผลข้อมูลมีอะไรบ้าง

SOLUTIONS CORNER
การประมวลผลข้อมูลคืออะไร
วิธีการประมวลผลข้อมูลมีอะไรบ้าง

การประมวลผลข้อมูลคืออะไร?


วิธีการประมวลผลข้อมูลมีอะไรบ้าง

  การค้นหาหรือการประมวลผลข้อมูลที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการจำแนกหรือลบออก มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป ในโลกที่ข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

  โดยส่วนใหญ่สถานประกอบการหรือองค์กรธุรกิจ จะมีการประมวลผลข้อมูล โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ในบางช่วงเวลา แต่ว่าอะไรคือคำจำกัดความของ "การประมวลผลข้อมูล" (Data Processing) ซึ่งตามหลักการแล้ว มันเป็นการรวบรวมและจัดการปรับเปลี่ยนข้อมูล เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant information)

  นอกจากนี้ ยังอาจครอบคลุมในส่วนของ การเก็บรวบรวม (Collection) , การบันทึก (Recording), การจัดระเบียบ (Organisation), การวางโครงสร้าง (Structuring), การปรับเปลี่ยนหรือแก้ไข (Adaptation or alteration), การดึงข้อมูลมาใช้ (Retrieving), การให้คำปรึกษา (Consultation), การนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ (Use), การเปิดเผยโดยการส่งผ่านข้อมูล (Disclosure by transmission), การเผยแพร่ (Dissemination) หรือวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้, การจัดวางหรือการจัดกลุ่มข้อมูล (Alignment or Combination), การจำกัดสิทธิ (Restriction), ตลอดจนการลบ (Erasure) หรือทำลายข้อมูล (Destruction) ส่วนบุคคล

  การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ นั้น ถือได้ว่าเป็นการประมวลผลข้อมูล แต่เนื่องจากข้อมูลดิบไม่ได้จัดว่าอยู่ในสถานะที่เหมาะสมสำหรับการรายงาน (Reporting), การวิเคราะห์ (Analytics), การเรียนรู้ด้วยเครื่อง (Machine Learning) รวมถึง Business Intelligence ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการสรุปภาพรวมของข้อมูลทางธุรกิจในหลายมิติ ดังนั้น จึงต้องทำการรวบรวมหรือหาข้อสรุป (Aggregate), ตกแต่ง (Enriched), แปลงข้อมูล (Transformation), กรอง (Filter) ตออดจน ทำความสะอาดข้อมูล (Cleaned)

คำจำกัดความของ GDPR ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูล


"GDPR" (General Data Protection Regulation) เป็นเป็นกฎหมายของสหภาพยุโรปที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นความสำคัญไปที่พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล

  ตามมาตราข้อ 4.2  ของกฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU GDPR) ซึ่งว่าด้วยวิธีการประมวลผล "ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ระบุตัวหรือสามารถระบุตัวตนได้ ('เรื่องข้อมูล'); ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามของ GDPR คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงข้อมูลที่สามารถนำมารวมกันแล้วใช้เพื่อระบุอัตลักษณ์ของบุคคลได้ เช่น หมายเลขประจำตัวประชาชน, ข้อมูลสถานที่อยู่อาศัย รวมถึงสิ่งที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลในโลกออนไลน์ (Online identifier) หรือการใช้เพียงหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งปัจจัยที่เฉพาะเจาะจงทางด้าน กายภาพ (Physical), สรีรวิทยา (Physiological), พันธุกรรม (Genetic), สภาพทางจิต (Mental), เศรษฐกิจ (Economic) ตลอดจนวัฒนธรรมหรือสังคมของบุคคลนั้นๆ"


 

ขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล


การประมวลผลข้อมูลมักจะประกอบไปด้วยหลายขั้นตอนที่คล้ายๆกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลที่คุณต้องการที่จะทำการประมวลผล หรือสิ่งที่คุณต้องการจะทำ
 

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection)


ขั้นแรกที่จะต้องทำก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะเกิดขึ้นโดยเป็นการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว หรือมันอาจจะเป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยมือมากกว่า
อย่างไรก็ตามข้อมูลก็จะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน มันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับรูปแบบและลำดับที่เหมาะสม และมันก็สามารถที่จะนำมาใช้ในส่วนที่เหลือของกระบวนการประมวลผลข้อมูลของคุณได้อีก ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถประมวลผลข้อมูลที่ไม่มีการจัดเรียงลำดับได้หรือไม่? และถ้าคำตอบของคุณคือ "ไม่" คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกเก็บรวบรวมในรูปแบบที่มีการจัดเรียงตามลำดับเรียบร้อยแล้ว

 

การจัดเตรียมข้อมูล (Preparation) 


ในลำดับถัดไป นั่นก็คือการจัดเตรียมข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นต้องทำกับข้อมูลดิบที่ได้ทำการรวบรวมมา เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ที่จะนำไปโหลดเพื่อเก็บเข้าฐานข้อมูล หรือนำไปวิเคราะห์ เนื่องจาก การทิ้งข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เกี่ยวข้อง จะเป็นการช่วยลดระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูล และยังเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ชักนำให้เข้าใจผิด ได้เช่นกัน
 

อินพุต (Input)


ในระหว่างขั้นตอนนี้ ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-readable) เพื่อที่จะสามารถผลักดันให้เหมาะสมกับเครื่องมือและวิธีการที่จะทำการวิเคราะห์ โดยในขั้นตอนนี้ของข้อมูลหรือการหยุดทำงานนี้ อาจจะต้องใช้เวลาที่นานมาก เท่ากับว่าข้อมูลต้องได้รับการตรวจสอบจากการป้อนข้อมูลของมัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดและมันอยู่ในรูปแบบที่แอพพลิเคชั่นสามารถประมวลผลได้ สำหรับข้อมูลใดๆ ที่ขาดหายไปและผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง
 

การประมวลผลข้อมูล (Processing)


การประมวลผลข้อมูลคือ ข้อมูลจะถูกจัดการโดยใช้อัลกอริทึม เพื่อสร้างข้อมูลที่ใช้งานได้และจำเป็นต่อการใช้งาน (Meaningful Information) มากยิ่งขึ้น
 

ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output)


ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว จากนั้นจะสามารถแสดงต่อผู้ใช้ในรูปแบบที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอในรูปแบบของรายงาน (Report), การแสดงผลด้วยกราฟ (Graph), วิดีโอ (Video), เสียง (Audio) หรือ เอกสาร (Document) ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยผู้ใช้ในการตัดสินใจ เกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว

 

วิธีการประมวลผลข้อมูลมีอะไรบ้าง

การจัดเก็บข้อมูล (Storage)


การจัดเก็บข้อมูลถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย ที่มีการจัดเก็บข้อมูล (Data) และ เมทาดาทา (Metadata) ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อการนำมาใช้งาน ต่อไป ในส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลนั้น ควรจะช่วยให้สามารถเข้าถึงและเรียกค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเป็นประโยชน์เมื่อผู้ใช้ต้องการ

  ในขณะที่แต่ละขั้นตอนต่างก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งยังกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฏจักรการประมวลผล ซึ่งก็หมายความว่าขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) และขั้นตอนอื่นๆ สามารถนำไปสู่การทำซ้ำของขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการเริ่มรอบใหม่ของการประมวลผลข้อมูล

ที่มา:www.itpro.co.uk

ควิกเซิร์ฟ
  • •  ติดต่อเรา
  • •  เกี่ยวกับเรา
  • •  ลูกค้าที่ไว้วางใจ
  • •  สิทธิส่วนบุคคล
  • •  แผนผังเว็บไซต์
สินค้า
  • •  เซิร์ฟเวอร์
  • •  ไฮเปอร์คอนเวิร์จ
  • •  สตอเรจ
  • •  เบรคเซิร์ฟเวอร์
  • •  เครื่องสำรองไฟ
  • •  อุปกรณ์เครือข่าย
  • •  เวิร์คสเตชั่น
  • •  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  • •  โปรแกรมสำเร็จรูป
งานระบบ
  • •  Domain Controller
  • •  File & Print Sharing
  • •  E-mail
  • •  Virtualization
  • •  Backup & Recovery
  • •  Business Security
  • •  Internet Data Center
  • •  Internet Logging
  • •  Internet Security
บริการ
  • •  ขอรับใบเสนอราคา
  • •  การชำระเงิน
  • •  การจัดส่งสินค้า
  • •  ระบบสมาชิก
  • •  Technology Update
  • •  Solution Conner
กิจกรรม
  • •  กิจกรรมเพื่อสังคม
  • •  กิจกรรมของบริษัทฯ
ออนไลน์
  • •  Facebook
  • •  YouTube
  • •  Commercial
  • •  Cloud Quickserv

ข้อใดเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูล

การประมวลผล หมายถึงกระบวนการคิด หรือ การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล การเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจใช้สูตร ทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ ทำได้โดย อาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล มีอะไรบ้าง

ประมวลผลข้อมูล (process).
หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU).
หน่วยควบคุม (Control Unit).
หน่วยความจำหลัก (Main Memory) Comments. Sign in|Recent Site Activity|Report Abuse|Print Page|Powered By Google Sites..

กรรมวิธี ในการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ มี อะไร บ้าง

การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยลาดับขั้นตอน ดังนี้ 1. การรับข้อมูลเข้า (Input) การรับข้อมูลเข้า เป็นขั้นตอนการรับข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางหน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เช่น การป้อนข้อมูลทางแป้นพิมพ์การรับข้อมูลทางเมาส์ เป็นต้น 2. การประมวลผล (Process) การประมวลผล เป็นขั้นตอนการจัดการข้อมูลที่รับเข้า ...

องค์ประกอบของการประมวลผลข้อมูลมีกี่องค์ประกอบ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง 2. ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน 3. บุคลากร (peopleware) หมายถึง ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์