เทคนิคการแพทย์ เอกอะไรบ้าง

อยากเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง?

เทคนิคการแพทย์ เป็นคณะที่อยู่ในสายวิทย์สุขภาพที่มาแรงมาก ๆ หากเช็คจากสถิติผู้สมัครสอบแต่ละปีแล้ว คณะนี้มีผู้สมัครสูงเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ใครที่เล็งคณะนี้ไว้ พี่ขอบอกเลยว่าน้องมาถูกทางแล้ว เพราะเมื่อเรียนจบไป น้องไม่ต้องกังวลเรื่องการหางานเลย เพราะมีงานรองรับแน่นอน 

เทคนิคการแพทย์ คืออะไร?

เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการรักษา คอยวิเคราะห์สิ่งที่คนไข้ส่งมาให้เราตรวจ ไม่ว่าจะเป็นเลือด เสมหะ ปัสสาวะ หรืออุจจาระ

คณะเทคนิคการแพทย์ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง?

  • คณิตศาสตร์ประยุกต์สามัญ
  • ภาษาอังกฤษสามัญ (บางมหาลัยอาจใช้ TGAT)
  • ฟิสิกส์สามัญ
  • ชีววิทยาสามัญ
  • เคมีสามัญ
  • ภาษาไทยสามัญ
  • สังคมศึกษาสามัญ

จะเห็นว่าวิชาที่ใช้สอบเข้าคณะนี้นั้นเยอะมาก ๆ แทบเทียบเท่าคณะแพทย์แล้ว ดังนั้นน้องต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือตั้งแต่เนิ่น ๆ หากใครอยากติวเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ ลองกดทดลองเรียนคอร์สสอบเข้าเทคนิคการแพทย์ดูนะ

เทคนิคการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับอะไร?

วิชาหลัก ๆ จะเป็น

  • โลหิตวิทยา
  • ธนาคารเลือด
  • แบคทีเรีย
  • ไวรัส
  • เคมีคลินิก
  • ภูมิคุ้มกัน

โดยส่วนใหญ่จะทำแล็ป สำหรับวิชาคำนวณแทบไม่ค่อยมีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาที่ใช้ความจำ วิเคราะห์ และเน้นการทดลองมากกว่า

จบไปทำงานอะไร?

สามารถทำงานสายตรง คือ เป็นนักเทคนิคการแพทย์ประจำโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้เลย หรืออาจจะเป็นตัวแทนการขายอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ของบริษัทก็ได้ หรือใครอยากเรียนต่อแพทย์ก็ได้อีกเช่นกัน

อยากเป็นนักเทคนิคการแพทย์ ต้องเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ กดทดลองติวฟรีได้ที่ คอร์สสอบเข้าเทคนิคการแพทย์

Skip to content

เปิดบ้าน

เปิดบ้านมหาวิทยาลัย เรียนอะไรกันเดี๋ยวจะบอก

เทคนิคการแพทย์ เอกอะไรบ้าง

สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 โดยจะได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต ซึ่งจะใช้เวลาศึกษา 4 ปี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์

ผู้ที่สำหรับการศึกษาในหลักสูตรนี้จะได้วุฒิการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science—B.Sc.) ในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology—Med. Tech.) โดยจะเป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ 4 ปี

การศึกษาในสาขาเทคนิคการแพทย์ฯนี้ จะเป็นการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ ในระยะเวลา 4 ปี และมีการแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ

  • แบบปกติ
  • โครงการพิเศษที่มุ่งเน้นสร้างเสริมศัพยภาพด้านการบริการตรวจในห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์
  • โครงการพิเศษที่มุ่งเน้นสร้างเสริมศักภาพเฉพาะด้านการจัดการ: โครงการ 4+1
  • โครงการพิสิฐวิธาน (Distinction Program)

โดยโครงการปกติและโครงการพิเศษ จะมีหน่วยกิตรวมทุกวิชาตลอดหลักสูตรอยู่ที่ 145 หน่วยกิต ในขณะที่โครงการพิสิฐวิธาน จะมีหน่วยกิตทุกวิชารวมตลอดหลักสูตรอยู่ที่ 147 หน่วยกิต

เป็นได้ทั้งนักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการแพทย์

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพทางด้านเทคนิคการแพทย์ได้ทั้งองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ ในสถานพยาบาลที่เป็นของรัฐและเอกชน หรือในภาคชุมชมก็ตาม รวมไปถึงนักวิจัย นักวิชาการ ในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยต่างๆ ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลทางการแพทย์ นักวิเคราะห์, ควบคุม, พัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลหรือคิดค้น จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในภาคของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างๆ ตลอดจนศึกษาต่อในระดับปริญญาโท, ปริญญาเอก

เรียนทั้งด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนวิชาชีพ

การเรียนการสอนโดยภาพรวมของสาขาเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดลจะเริ่มตั้งแต่วิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ แคลคูลัส ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมไปถึงทางด้านสังคมศาสตร์ การสื่อสาร ภาษาศาสตร์ ตลอดจนวิชาด้านการแพทย์ในด้านต่างๆ และห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงนักศึกษายังสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาอื่นๆ ตามที่นักศึกษาสนใจได้เช่นกันทั้งในวิชาเสริมสร้างศักภาพพิเศษต่างๆ และวิชาเลือกเสรี นอกจากนี้นักษาต้องศึกษาทางวิชาภาคนิพนธ์หรือโครงการวิจัย และเข้าฝึกงานทางด้านเทคนิคการแพทย์อีกด้วย

ค่าเทอม เทคนิคการแพทย์ มหิดล

สำหรับการค่าเทอมในการเรียนสาขาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น จะเป็นการจ่ายแบบเหมาที่ 25,000 บาท/เทอม (ตรวจสอบค่าเทอมม.มหิดลสาขาอื่นๆ ได้จากตรงนี้)

โครงสร้างหลักสูตร

ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรนี้ สาขาดาวน์โหลดโครงสร้างหลักสูตรเพื่อไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากตรงนี้

Post navigation

นักเทคนิคการแพทย์

ผู้ทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และช่วยนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ด้วยการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต รวมถึงการทดสอบตัวอย่างที่ได้จากร่างกายคนไข้ เช่น เลือด ของเหลวในร่างกาย เนื้อ ปัสสาวะ อุจจาระ ทำงานประจำวันเกี่ยวกับการเขียนป้ายติดของตัวอย่างและการบันทึกข้อมูลที่สำคัญๆ ตั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องระบบแรงหนีศูนย์ เครื่องเพาะ เครื่องทำระเหย เครื่องกวน เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อน หรืออ่างน้ำ เพื่อใช้ในกรรมวิธีการทดสอบและงานวิเคราะห์ เตรียมการเพาะเชื้อ จากตัวอย่าง เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม และใช้วิธีการดำเนินการตามแบบมาตรฐาน ตรวจพิสูจน์เชื้อบักเตรีที่เพาะไว้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และด้วยการกำหนดความต้องการและปฏิกิริยาของการเพาะที่มีต่อสื่อ จัดเตรียมสื่อการเพาะสีและ ตัวกระทำตามสูตรมาตรฐานทำการทดลองเป็นพิเศษ เช่นความรู้สึกทางปฏิชีวนะ การรวมกันและการผลักหรือการแยกออกจากกัน

ลักษณะของงานที่ทำ

1. ทำการวิเคราะห์ทางเคมีทั้งด้านคุณภาพและปริมาณเกี่ยวกับของเหลวและการไหลซึมในร่างกายมนุษย์เพื่อหาข้อมูลสำหรับใช้ในการวินิจฉัยและการรักษาโรค 

2. ทดสอบตัวอย่างที่ได้จากร่างกายมนุษย์ เช่น ปัสสาวะ เลือด ของเหลวจากไขสันหลัง น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงสารที่เกิดขึ้นและปริมาณของสารซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ภายใน ร่างกายมนุษย์และสัตว์ ตลอดจนสิ่งพลอยได้อื่นๆ เช่น น้ำตาล ธาตุไข่ขาว และ อซิโทน เป็นต้น 

3. ทดสอบสารเคมี ยารักษาโรค และยาพิษ ใส่ตัวกระทำลงในสิ่งที่จะทดสอบ ให้ความร้อน กรองหรือเขย่าสารละลายตามวิธีการ และบันทึกลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสี หรือการตกตะกอนผสมสิ่งที่จะทดสอบกับสารมาตรฐาน หรือตรวจสอบสารละลายเคมี โดยใช้ โฟโตมิเตอร์ สเปกโตรกราฟ หรือเครื่องวัดสีเพื่อพิจารณาหาปริมาณของสาร 

4. ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย โดยใช้เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัยโรค การทำนายความรุนแรงของโรค การติดตามผลการรักษาการป้องกันโรคและความพิการการสนับสนุนการรักษา 

5. การวิเคราะห์สารพิษสารปนเปื้อนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการควบคุมคุณภาพการพัฒนาและวิเคราะห์

ลักษณะงานเทคนิคการแพทย์สาขาต่างๆ ได้แก่ 

1. เคมีคลินิก 

2. จุลชีววิทยาคลินิก 

3. ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิกและธนาคารเลือด 

4. จุลทรรศน์ศาสตร์คลินิกและโลหิตวิทยา 

5. นักเทคนิคการแพทย์จะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างใน 4 สาขา ดังกล่าว ได้แก่ การเก็บสิ่งส่งตรวจที่ได้มาจากร่างกายมนุษย์ เก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการตรวจวิเคราะห์เพื่อทราบชนิดและปริมาณของสิ่งที่ส่งตรวจ โดยใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานในห้องปฏิบัติการทั่วไป เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย 

6. รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ และการทดสอบต่างๆ ควบคุมดูแลการใช้งานและการเก็บรักษาเครื่องมือ ตลอดจนการตรวจสอบการประกัน คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ร่วมงาน บุคลากรสาขาอื่น และประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้อง

สภาพการจ้างงาน

นักเทคนิคการแพทย์ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินรายเดือน ซึ่งแตกต่างกันไปตามความรู้และความชำนาญ ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดหรือทำงานล่วงเวลา อาจต้องมีการจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวด้วยการเปิดห้องแล็ปเพื่อตรวจ และวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ รายได้ที่ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถและความอุตสาหะ

สภาพการทำงาน

นักเทคนิคการแพทย์ต้องทำงานในห้องทดลอง ต้องอยู่กับสารเคมีที่ต้องใช้ในการทดสอบกับสิ่งส่งตรวจซึ่งอาจจะเป็นปัสสาวะ อุจจาระ เลือด เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ต้องไม่รังเกียจต่อการที่ต้องทดสอบสิ่งส่งตรวจดังกล่าวในข้างต้น และต้องระมัดระวัง การติดเชื้อที่ปนเปื้อนมากับสิ่งส่งตรวจ รวมทั้งสารเคมีในห้องปฏิบัติการทดลองอาจจะมีปฏิกิริยาที่ทำให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องทำงานตามขั้นตอนและการป้องกันตามระเบียบที่กำหนดไว้

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

-สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ 

-เป็นผู้ใฝ่รู้ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 

-ฝึกฝนตนให้มีความชำนาญในการตรวจวินิจฉัยที่ตัวผู้ตรวจเองต้องมีความรู้ในการตัดสินใจ 

- รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ให้เหมาะสม 

-เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการออกรายงานผลการตรวจ 

-เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทั้งกับผู้ที่มารับการตรวจและผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอก 

-มีความสามารถในการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานในทุกกรณีด้วยการใช้ปัญญา 

-มีคุณธรรมและจริยธรรมมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ 

-มีความสุขุมรอบคอบเยือกเย็น อดทน ชอบช่วยเหลือเสียสละ 

-ทำงานมีระเบียบแบบแผนและสามารถพัฒนาความรู้ในการทำงานให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ 

-ไม่มีความพิการหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ เช่น ตาบอดสี เป็นต้น 

-มีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในด้านเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา รวมทั้งคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 

-มีบุคลิกดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถปรับตัวในการทำงานและการให้ความร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ 

การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ

ผู้ที่ต้องการจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ต้องสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ และสมัครสอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาโดยทบวงมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น ใช้เวลาการศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องขอขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลป์สาขาเทคนิคการแพทย์ 

โอกาสในการมีงานทำ

ผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต(เทคนิคการแพทย์) และได้ขอรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์สาขาเทคนิคการแพทย์ สามารถสมัครงานในภาครัฐในตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ โดยปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการชันสูตรในโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย กองทัพ องค์การและสถาบันวิจัยต่างๆ 

สำหรับผู้ที่สนใจทำงานในภาคเอกชนสามารถสมัครงานตามโรงพยาบาลเอกชนห้องปฏิบัติการ ศูนย์แล็ปต่างๆ บริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพนี้ยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเนื่องจากยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ โดยเฉพาะในระดับภูมิภาคที่ไกลความเจริญ 

ปัจจุบัน ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดให้สาขาเทคนิคการแพทย์เป็นสาขาวิชาชีพขาดแคลน ซึ่งสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเพิ่มจำนวนการผลิตนักเทคนิคการแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพนี้จะได้รับเงินเพิ่มพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือน

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

สามารถได้รับการเลื่อนขั้นและเลื่อนตำแหน่งได้ตามผลงาน ประสบการณ์และอายุงานที่ปฏิบัติ โดยตำแหน่งสูงสุดสามารถขึ้นได้ถึงระดับบริหารในหน่วยงานนั้น นักเทคนิค การแพทย์สามารถหารายได้พิเศษโดยปฏิบัติงานในห้องทดลองในศูนย์แล็ปต่างๆ และสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งใน และต่างประเทศได้หลายสาขา เช่น สาขาเทคนิคการแพทย์ พยาธิวิทยาคลินิก จุลชีววิทยา ชีวเคมี พยาธิชีววิทยา สรีรวิทยา พิษวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ อายุรศาสตร์เขตร้อน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น หรืออาจจะเปลี่ยนไปเรียนสาขาอื่นเช่น ปริญญาโททางธุรกิจ หรือเข้าศึกษาแพทย์ เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพเป็นอาจารย์สอนในสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีการแพทย์ได้

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

2.มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

4.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

5.มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

6.มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

7.มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

8.มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

9.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

10.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาการเทคนิคการแพทย์

11.มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเทคนิคการแพทย์ 

12.มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

13.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะเทคนิคการแพทย์ 

14.วิทยาลัยนครราชสีมา คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

ที่มา: กองส่งเสริมการมีงานทำ