หลักธรรมสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร *

เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

ข้อความตรงนี้ ผู้เขียนพุทธประวัติบอกว่า อุปกะไม่เชื่อบางฉบับเพิ่ม “แลบลิ้นปลิ้นตาหลอก” เข้าไปด้วย เพื่อให้ชัดแจ้งว่า แกไม่เชื่อพระพุทธองค์แน่ๆ แต่ตามวัฒนธรรมแขก การสั่นศีรษะหมายถึงการยอมรับนะครับ ใครไม่เชื่อลองไปพิสูจน์ดูได้ เรื่องนี้ผมเขียนไว้ที่อื่นแล้ว จึงไม่ขอเข้าสู่รายละเอียดในที่นี้

ข้อความตอนหนึ่งที่ตรัสแก่อุปกะว่า “เราจะเดินทางไปยังแคว้นกาสี เพื่อหมุนกงล้อคือพระธรรม และเพื่อลั่นกลองอมตะ” เป็นภาษาสัญลักษณ์ที่ชาวพุทธในกาลต่อมานำเอามาใช้ คือสายมหายานนำเอากลองมาใช้ในพิธีสวดมนต์ทำพิธีกรรมทางศาสนา (เวลาพระสวดท่านก็จะตีกลองไปด้วย ว่ากันว่าทำจังหวะให้เข้ากับบทสวด แต่ที่จริงน่าจะหมายความว่า ท่านกำลัง “ตีกลองอมตะ” คือสอนธรรมมากกว่า)

ทางฝ่ายเถรวาทก็คิดประดิษฐ์ธงธรรมจักรขึ้นเป็นสัญลักษณ์แห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีธงธรรมจักรที่ไหนก็แสดงว่าพระสงฆ์ท่านได้ “หมุนล้อธรรม” ไปที่นั่น

เมื่อพุทธองค์เสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พวกปัญจวัคคีย์มองเห็นแต่ไกลก็บอกกันว่า “โน่นไง! ผู้คลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากมาแล้ว พวกเราอย่าไปสนใจ ปูแต่อาสนะไว้ให้ก็พอ ไม่ต้องลุกขึ้นต้อนรับ” ว่าแล้วก็ทำเป็นไม่เห็น

แต่พอพระองค์เสด็จเข้าใกล้ ต่างคนต่างลืมสัญญาที่ให้กันไว้หมด ลุกขึ้นรับบาตรและจีวร แต่ปากยังแข็งอยู่ พูดทักทายพระพุทธองค์ว่า “อาวุโสโคตมะ” เทียบกับคำไทยก็คงเป็น “ว่าไง คุณโคตมะ” อะไรทำนองนั้น พระองค์ตรัสว่า “พวกเธออย่าพูดกับตถาคต จะแสดงธรรมให้ฟัง”

พูดยังไงๆ ปัญจวัคคีย์ก็ไม่เชื่อ “ท่านอดอาหารแทบตายยังไม่บรรลุเลย เมื่อกลายเป็นคนเห็นแก่กินยังมาพูดว่าได้บรรลุ ไม่เชื่อเด็ดขาด”

“ตั้งแต่อยู่ด้วยกันมา พวกเธอเคยได้ยินตถาคตพูดคำนี้บ้างไหม” พระพุทธองค์ย้อนถาม

ปัญจวัคคีย์อึ้ง “เออ จริงสินะ พระองค์ไม่เคยพูดเลย คราวนี้พูดขึ้นมา แสดงว่าคงจะจริงมั้ง”

จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรให้ปัญจวัคคีย์ฟัง เพื่อความเข้าใจง่าย

ผมขอสรุปเนื้อหาพระสูตรเป็นขั้นตอนคือ

ขั้นตอนที่หนึ่ง พูดถึงการปฏิบัติที่ไม่พึ่งการกระทำ หรือ “ทางที่ไม่ควรดำเนิน” 2 ทาง คือ การปล่อยกายปล่อยใจให้สนุกเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง 5 (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) แนวทางนี้เรียกว่า “กามสุขัลลิกานุโยโค” แปลตามตัวว่าการประกอบตนให้หมกมุ่นอยู่ในกามสุข ก็หมายถึงการติดอยู่ในการเสพสุขทางเนื้อหนังมังสานั่นแหละครับ

ที่ทรงสอนว่าไม่ควรเดินทางสายนี้ เพราะ “เป็นของต่ำ เป็นกิจกรรมของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่สิ่งประเสริฐ และไม่มีประโยชน์”

อีกทางหนึ่งที่ไม่ควรเดินตามก็คือ การทรมานตนให้ลำบากเดือดร้อนต่างๆ เรียกว่า “อัตตกิลมถานุโยค” อันหมายถึงการบำเพ็ญตบะต่างๆ ที่นิยมทำกันในสังคมอินเดียยุคโน้นนั่นแหละครับ เพราะเป็นทุกข์ไม่ใช่สิ่งประเสริฐและไม่มีประโยชน์

ทั้งสองทางนี้ท่านเรียกว่า “ทางสุดโต่ง” หรือ “ทางตัน” (อันตะ = สุดโต่ง, ตัน) ทางแรกก็หย่อนเกินไป ทางที่สองก็ตึงเกินไป

หมายเหตุไว้ตรงนี้ว่า กามสุขัลลิกานุโยคนั้น พระพุทธองค์ทรงเน้นไปที่ลัทธิโลกายตะ หรือลัทธิวัตถุนิยมอินเดีย ส่วนอัตตกิลมถานุโยค ทรงเน้นไปที่ลัทธิเชน (นิครนถ์) ของศาสดามหาวีระ หรือนิครนถนาฏบุตร

หลักธรรมสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร *

ขั้นตอนที่สอง ทรงแสดง “ทางสายกลาง” (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรค มีองค์แปด ได้แก่ เห็นชอบ, ดำริชอบ, เจรจาชอบ, การงานชอบ, เลี้ยงชีพชอบ, พยายามชอบ, ระลึกชอบ และตั้งใจมั่นชอบ

ขั้นตอนที่สาม ทรงแสดงอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อย่างพิสดารและครบวงจรว่าพระองค์ตรัสรู้สิ่งเหล่านี้อย่างไร?

ขั้นตอนที่สี่ ตอนนี้เป็นผมจากการแสดงธรรมจบลงท่านผู้รวบรวมนำมาผนวกไว้ด้วยว่า หลังจากพระพุทธองค์แสดงธรรมจบลง “โกณฑัญญะ” หัวหน้าปัญจวัคคีย์ “เกิดดวงตาเห็นธรรม” ขึ้น คือเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง (พูดอีกนัยหนึ่งก็ว่าได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน) พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า “โกณฑัญญะรู้แล้วหนอๆ”

ขั้นตอนที่ห้า แทรกเข้ามาเหมือนกัน ตอนนี้กล่าวถึงพวกเทพ (ไม่ใช่พรรคการเมืองนะครับ เทพจริงๆ) ตั้งแต่ภุมมเทวดาได้ป่าวประกาศให้รู้ทั่วกันจนถึงหมู่พรหมทั้งหลายว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระธรรมอันยอดเยี่ยมที่ใครๆ ไม่ว่าสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ก็คัดค้านไม่ได้

แม่บทแห่งธรรม ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

DOU ความรู้สากล
เรื่อง : พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙

 

หลักธรรมสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร *


     ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือที่เขียนตามพจนานุกรมว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณและเป็นพระสูตรที่เป็นแหล่งรวมของหลักธรรมสำคัญๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ พระสูตรนี้จึงได้สมญาว่า “ปฐมเทศนา” คือเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะประกาศพระศาสนา เพื่อประทานพุทธธรรมแก่ชาวโลก ให้มีธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต อันเป็นแนวทางให้เกิดสันติสุข และเป็นการประกาศความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งยังเป็นผู้เปิดทางสายเอกสายเดียวที่จะนำพามหาชนไปสู่พระนิพพาน

     นอกจากปฐมเทศนาแล้ว ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ไม่เคยปรากฏว่าพระพุทธ-องค์ทรงเทศนาพระสูตรนี้ ณ ที่ใดอีกเลย ทั้งนี้การตรัสเทศนาในโอกาสต่อ ๆ มา ล้วนแต่ทรงแสดงธรรมกถาขยายความแห่งปฐมเทศนาในแต่ละหมวดโดยเอกเทศ และยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่นักปราชญ์ทั้งหลายว่า การตรัสเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนานั้น ถือเป็นประเพณีแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์

    ธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไปหรือดำเนินไปด้วยการหมุนวงล้อแห่งธรรม เพื่อขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน ตรงกับวันอาสาฬหบูชาในปัจจุบันซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้มาเป็นครั้งแรก อันเป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลกและด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถแสดงเปิดเผย ทำให้แจ้งแก่ชาวโลกด้วยพระธรรมที่ทรงตรัสรู้แล้วนั้น จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือ ทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สัมมาสัมพุทธะ” คือ ทรงเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงสามารถแสดงสิ่งที่ทรงตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้

     การที่พระสัทธรรมเทศนาสูตรได้รับการขนานนามดังกล่าว ก็เนื่องด้วยปฐมเทศนานี้เปรียบประดุจธรรมราชรถ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะใช้บรรทุกสรรพเวไนยสัตว์ทั้งหลายออกจากห้วงวัฏสงสารไปสู่แดนเกษม คือ พระอมตนิพพาน โดยพระพุทธองค์ทรงเป็นสารถีเอง ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญประการหนึ่งอันจะทำให้รถแล่นไปสู่ที่หมายก็คือ ล้อรถ หรือที่เรียกว่า “จักร” นั่นเอง ดังนั้นล้อแห่งธรรมราชรถจึงได้ชื่อว่า “จักรธรรม”หรือ “ธรรมจักร”

     ตามธรรมดา “ล้อ” หรือ “จักร” ย่อมประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ ดุม กำและกง ส่วน “จักรธรรม” นี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุปมาเปรียบ โพธิปักขิยธรรมเป็น “ดุม” ปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็น “กำ”และ อริยสัจ ๔ เป็น “กง”

    ตราบใดที่ ดุม กำ และกง ยังวางแยกกันอยู่ ตราบนั้น “ล้อ” หรือ “จักร” ย่อมไม่บังเกิดขึ้น ต่อเมื่อนายช่างผู้ชาญฉลาดนำอุปกรณ์ทั้ง ๓ อย่างประกอบเข้าด้วยกันอย่างถูกต้องและสนิทแนบแน่นแล้ว “จักร” ที่แข็งแรงมั่นคงพร้อมที่จะนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงจะบังเกิดขึ้นฉันใด ขณะที่พระสัมมาสัม-พุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตรก็ฉันนั้น กล่าวคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาพระธรรมทั้ง ๓ หมวด ดังกล่าวแล้ว โดยมีความสัมพันธ์โยงใยกันอย่างใกล้ชิด เพราะเหตุนี้เอง พระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จึงได้ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” เพราะเป็นพระธรรมที่จะนำผู้ที่ได้ปฏิบัติไปสู่ความเจริญและความหลุดพ้นได้ในที่สุด นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะหานักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ใดที่จะมีปัญญาสามารถตรัสรู้และเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้มิได้เลย

     ธัมมจักกัปปวัตนสูตรมีเนื้อหาที่แสดงถึงการปฏิเสธการประพฤติปฏิบัติในส่วนที่สุดโต่ง ๒ ทางที่ไม่ควรปฏิบัติ คือ

          ๑. กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นอยู่ในกามสุข หมายถึงสภาวะกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ อันประกอบด้วย รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย เป็นต้น


          ๒. อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน

     และทรงเสนอแนวทางการดำเนินชีวิตโดยสายกลาง อันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์นำมาประพฤติปฏิบัติ คือ มัชฌิมาปฏิปทา ที่ชื่อว่า ทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา หรือข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ทั้ง ๘ ประการนี้มีชื่อภาษาบาลีว่า พระอัฏฐังคิกมรรค อันเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นปัจจัยให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงประจักษ์แจ้งในอริยสัจ ๔ การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ นี้ นอกจากเป็นปัจจัยให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือญาณหยั่งรู้ในธรรมอันเป็นเหตุให้สิ้นอาสวกิเลส กลายเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังส่งให้พระพุทธองค์ทรงบรรลุ พระสอุปาทิเสสนิพพาน หรือที่เรียกว่า นิพพานเป็น คือ ดับกิเลสโดยสิ้นเชิง แต่ยังทรงมีเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) เหลืออยู่ และภายหลังทรงบรรลุ พระอนุปาทิเสสนิพพาน หรือที่เรียกว่า นิพพานตาย ในที่สุด

     บุคคลผู้ปรารถนาจะพ้นจากวัฏสงสารสละเพศฆราวาสออกบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว พึงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทาหรือหนทางสายกลางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ หรือเรียกว่า “มรรคมีองค์ ๘” ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ประจักษ์แจ้งด้วย พระอนาวรณญาณ (พระปรีชาญาณเฉพาะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงรู้ทุกอย่างโดยตลอดทะลุปรุโปร่ง) อันวิเศษ มรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นเหตุให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ อันประกอบด้วย ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ นิโรธอริยสัจและมรรคอริยสัจ มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นเหตุปัจจัยให้ระงับกิเลส เป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้อริยสัจ เป็นเหตุปัจจัยให้เห็นแจ้งประจักษ์ในพระนิพพานอันเป็นอมตะ

     โดยเหตุนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่ามรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นธรรมอันอุดมล้ำเลิศยิ่ง เปรียบประดุจรัตนยานอันประเสริฐเยี่ยมยอด สามารถนำผู้ปฏิบัติไปสู่พระนิพพานได้เที่ยงแท้ ธรรมนี้ตถาคตทรงตรัสรู้แล้วด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง

     มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นธรรมอันอุดมล้ำเลิศยิ่งของพระอริยเจ้า เปรียบประดุจสมเด็จบรมจักรพัตราธิราชผู้ทรงไว้ซึ่งพระเดชาคุณอันสูงส่ง เหล่าอริราชทั้งมวลย่อมสยดสยองมิอาจต้านทานราชฤทธิ์ของพระองค์ได้ มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นที่ประชุมแห่งโพธิปักขิยธรรมทั้งปวง เปรียบประดุจดังมหาสมุทรอันเป็นที่ประชุมแห่งแม่น้ำทั้งปวง แม่น้ำน้อยใหญ่บรรดามีในโลกนี้ย่อมหลั่งไหลลงสู่มหาสมุทรทั้งสิ้นฉันใดก็ดี มรรคมีองค์ ๘ นี้ ก็เป็นองค์ประชุมแห่งโพธิปักขิยธรรมทั้งปวง อันประกอบด้วย สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗ ก็ฉันนั้น

 

หลักธรรมสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร *


     ดังได้กล่าวแล้วว่ามรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นปัจจัยให้เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ประการ เกี่ยวกับเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระญาณหรือปัญญาอันรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ นั้น พระองค์ทรงทบทวนถึง ๓ รอบ เป็นไปในอริยสัจทั้ง ๔ รวมเป็น ๑๒ แล้วจึงกล้าปฏิญาณว่า พระองค์ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ดังนั้นญาณทัสนะอันรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ จึงได้ชื่อว่า ญาณทัสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ว่า พระญาณทัสนะหรือปัญญาอันรู้ในอริยสัจ ๔ อันมีรอบ ๓ อาการ ๑๒ ของพระองค์นั้นหมดจดดีแล้ว จึงทรงกล้ายืนยันว่า พระองค์ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ทั้งในโลกมนุษย์ ในเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ หมู่สมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ อาสวกิเลสของพระองค์ไม่กลับมากำเริบขึ้นอีกแล้ว พระชาตินี้เป็นที่สุด จะมีภพใหม่อีกก็หาไม่

     เมื่อบุคคลใดก็ตามหากได้ปฏิบัติตามคำสอนอย่างถูกต้องพร้อมบริบูรณ์แล้ว ก็สามารถจะทำให้กิเลสตัณหาในตัวสูญสิ้นไปอย่างสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ สามารถบรรลุมรรค ผลนิพพาน ตามพระพุทธองค์ได้ในที่สุด ดังที่เมื่อพระโกณฑัญญะได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตรจบแล้ว ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล จึงกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระศาสดา แล้วพระพุทธองค์ก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นพระภิกษุสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา ด้วยอานุภาพของพระสูตรนี้จึงทำให้มีสังฆรัตนะบังเกิดขึ้นในโลกร่วมกับพุทธรัตนะและธรรมรัตนะ รวมเป็นพระรัตนตรัย คือ แก้ว ๓ ประการ

จากหนังสือ วิชา PD 006 แม่บทแห่งธรรม

 

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พร้อมคำแปล

หลักธรรมสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร *


หลักธรรมสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร

---ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คือ อริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง ...

ข้อใดเป็นสาระสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร * 1 คะแนน

สาระสำคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ คือ การประกาศทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ไม่เอียงไปทางกามสุขัลลิกานุโยค อันเป็นการประกอบตนแสวงหาความสุขจากกามคุณทั้ง ๕ และไม่เอียงไปทางอัตตกิลมถานุโยคอันเป็นการทรมานตนโดยหาประโยชน์มิได้ ซึ่งข้อปฏิบัติทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทานี้เป็นข้อปฏิบัติอันกระทำเครื่องเห็น ...

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นหลักธรรมที่แสดงในวันใด

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการไทย หนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรวันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และถือเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่ใด

พระธรรมเทศนาครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลังตรัสรู้คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ อันมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีแคว้นกาสี ณ วันที่พระจันทร์เสวยฤกษ์อาสาฬหะ (ตรงกับวันเพ็ญเดือนแปด) ซึ่งต่อมาได้กำหนดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นอีกวันหนึ่งชื่อว่า วันอาสาฬหบูชา