ยาสามัญประจำออฟฟิศ มีอะไรบ้าง

ยาสามัญประจำออฟฟิศ มีอะไรบ้าง
 

ยาสามัญประจำบ้าน (Household Remedy)

             ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาคัดเลือกว่าเป็นยาที่เหมาะสมที่จะให้ประชาชนหาซื้อมาใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่มักจะเกิดขึ้นได้ เป็นยาที่มีความปลอดภัยอย่างสูง หากประชาชนใช้ยาได้อย่างถูกต้องก็จะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น ประกอบกับยาดังกล่าวมีราคาย่อมเยา ประชาชนสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา ศูนย์การค้า ร้ายขายของชำ ร้านกาแฟ ปั้มน้ำมัน ป้ายรถเมล์ ตลอดจนหาบเร่ แผงรอย มีขายทั้งในเมืองและตามชนบท ทั้งนี้ก็เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีความต้องการให้ยาสามัญประจำบ้าน ได้กระจายไปถึงประชาชนทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนดูแลตนเองได้อย่างทั่วถึง จึงไม่บังคับให้ต้องขายยาสามัญประจำบ้านในร้านขายยาเหมือนยาอื่น ๆ ยาสามัญประจำบ้านมีทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาแผนโบราณ

                ยาแผนปัจจุบันมีทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้กับโรคหรืออาการของโรคได้ 16 กลุ่ม ยาสามัญประจำบ้านอาจมีชื่อทางการค้า หรือยี่ห้อแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายจะตั้งชื่อยาของบริษัทฯ ว่าอย่างไร แต่ควบคู่ไปกับชื่อการค้าจะต้องมีชื่อยาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ ฉลากของยาสามัญประจำบ้านจะต้องมีคำว่า "ยาสามัญประจำบ้าน" อยู่ในกรอบสีเขียว

การเลือกซื้อยา

               ในกรณีที่เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะสังเกตว่า มีเลขทะเบียนตำรับยาอยู่บนฉลาก ยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วถือว่าเป็นยาที่ได้มาตรฐาน มีสรรพคุณใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตาม ยาย่อมมีการเสื่อมสภาพ เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลงได้ตามกาลเวลาและสภาพการเก็บรักษา ดังนั้นควรเลือกซื้อยาใหม่ โดยดูวันผลิต และวันที่สิ้นอายุบนฉลาก ไม่ควรซื้อยาที่สิ้นอายุ หรือหมดอายุแล้ว เพราะนอกจากใช้ไม่ได้ผลแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายได้ด้วย ควรซื้อยาที่มีฉลาก และเอกสารกำกับยาครบถ้วน มีตัวหนังสืออ่านได้ชัดเจน ภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ยาที่บรรจุอยู่ก็ต้องมีสภาพดี สมบูรณ์ เช่น ยาเม็ดต้องไม่แตก สีเรียบไม่เป็นจุดด่าง (ยกเว้นยาบางชนิดที่ทำให้มีหลายๆ สีเป็นลายกระ) หากเป็นยาหยอดตาต้องไม่ตกตะกอน ยาน้ำแขวนตะกอน เมื่อเขย่าแล้วยาต้องกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ยาขี้ผึ้งหรือครีมต้องมีเนื้อเนียนผสมเป็นเนื้อเดียว ไม่มีน้ำไหลเยิ้มหรือส่วนที่แห้งแข็ง

การใช้ยาสามัญประจำบ้านให้ปลอดภัยมีหลักใหญ่ 3 ประการคือ

            1. อ่านฉลากและเอกสารกำกับยาก่อนใช้ยา

2. ใช้ยาให้ถูกต้อง - ถูกโรค ถูกคน ถูกทาง ถูกวิธี ถูกขนาด ถูกเวลา ถูกจำนวนครั้ง

3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาในทางที่ผิดโรคหรืออาการของโรค 16 กลุ่ม กับยาสามัญประจำบ้าน 53 ชนิด

1. ยาบรรเทาปวดลดไข้

1. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้ แอสไพริน

2. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้ พาราเซตามอล ขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก. และยาน้ำ                 บรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล

3. พลาสเตอร์บรรเทาปวด

2. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก

ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน

3. ยาแก้ไอ ขับเสมหะ

1. ยาน้ำแก้ไอ ขับเสมหะสำหรับเด็ก

2. ยาแก้ไอน้ำดำ

4. ยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

1. ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม

2. ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก

3. ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง

5. ยาแก้เมารถ เมาเรือ

ยาแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท

  6. ยาสำหรับโรคปาก และลำคอ

1. ยากวาดคอ

2. ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต

3. ยาแก้ปวดฟัน

4. ยาดมบรรเทาอาการระคายคอ

7. ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

1. ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง

2. ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามิ้นท์

3. ยาขับลม

4. ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต

5. ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์

6. ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา - แมกนีเซีย

7. ยาน้ำลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซียม

8. ยาแก้ท้องเสีย

ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่

9. ยาระบาย

1. ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารหนักสำหรับเด็ก

2. ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่

3. ยาระบายแมกนีเซีย

4. ยาระบายมะขามแขก

5. ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร

10. ยาถ่ายพยาธิลำไส้

ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ได้แก่ พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิเข็มหมุด และพยาธิแส้ม้า

11. ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย

ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง

12 ยาสำหรับโรคตา

1. ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์

2. ยาล้างตา

13. ยาสำหรับโรคผิวหนัง

1. ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต

2. ยารักษาหิด ขึ้ผึ้งกำมะถัน

3. ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า

4. ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง

5. ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์

6. ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต

14.ยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

1.ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล

2. ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม

15. ยาใส่แผล ยาล้างแผล

1. ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน

2. ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล

3. ยาใส่แผลโพวิโดน ไอโอดีน

4. ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์

5. ยาเอทธิล แอลกอฮอล์

6. น้ำเกลือล้างแผล

16.ยาบำรุงร่างกาย

1. ยาเม็ดวิตามินบีรวม

2. ยาเม็ดวิตามินซี

3. ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต

4. ยาเม็ดวิตามินรวม

5. ยาน้ำมันตับปลา ชนิดแคปซูล

6. ยาน้ำมันตับปลาชนิดน้ำ

ยาที่ใช้ภายในมีอะไรบ้าง

ยาที่ใช้ภายใน คือ ยาที่ใช้ไปเพื่อหวังผลใน ทางรักษาทั้งตัว ได้แก่ ยากิน และยาฉีด เช่น ยา ปฏิชีวนะ ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาจำพวกวิตามิน ยา ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ยาฉีดเข้าใต้ ผิวหนัง ฯลฯ

ยาสามัญประจําบ้าน มีกี่รายการ

รายการยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบัน 52 รายการ (ปรับปรุงล่าสุดตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบัน (ฉบับที่๓) พ.ศ. ๒๕๕๐) กลุ่มอาการรักษา ลําดับ รายการ สูตรตํารับ สรรพคุณ ขนาดและวิธีใช้ คําเตือน การเก็บรักษา ขนาดบรรจุ

ยาสามัญประจำบ้าน (Household Medicine) ประกอบด้วยยาอะไรบ้าง

ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร ?.
1. กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้ ประกอบไปด้วย ... .
2. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ประกอบไปด้วย ... .
3. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ ประกอบไปด้วย ... .
4. กลุ่มยาดม หรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก ประกอบไปด้วย ... .
5. กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ ประกอบไปด้วย ... .
6. กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ ประกอบไปด้วย.

ตู้ยาประจำบ้านควรมียาอะไรบ้าง

รวมลิสต์สิ่งจำเป็นที่ควรมีในตู้ยาประจำบ้าน.
ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน.
ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด.
ผงน้ำตาลเกลือแร่ แก้ท้องเสีย.
ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย.
ยาระบายมะขามแขก.
ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซล.
ยาพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาปวด.
ยาคลอร์เฟนิรามีน แก้แพ้ ลดน้ำมูก.