มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

โซเชียลมีเดีย เป็นสังคมออนไลน์ที่ผู้ให้บริการเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ พัฒนาขึ้นเพื่อทำให้ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบต่าง ๆ อย่างรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผู้คนทั่วโลกจึงสามารถสื่อสารและส่งผ่านข้อความ ภาพ เสียง คลิปวีดีโอ รวมไปถึงการถ่ายทอดสดได้ทันทีในเวลาพร้อม ๆ กัน ปัจจุบันมีผู้ให้บริการของเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมสูงอาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ วอตส์แอปป์ และอื่น ๆ ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้ต่างพยายามพัฒนาระบบของตนเองให้รองรับและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเครือข่ายสังคมเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากผู้คนมากมาย และเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสารกันจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ ขณะเดียวกัน เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มากก็จำเป็นที่จะต้องมีความเคารพซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า จริยธรรมและมารยาท เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้เป็นปกติสุข 

มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

 

ทำอย่างไรจึงจะถูกจริยธรรม มารยาท  

ปัจจุบันมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ใช้งานโซเชียลมีเดียทั้งเพื่อการทำงาน การผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสารสาระบันเทิงต่าง ๆ การโพสต์ข้อความ การแสดงความคิดเห็น การใช้ภาษาในการโต้ตอบ การส่งรูปภาพหรือคลิป หลายครั้งที่บุคคลสาธารณะที่เกิดเป็นข่าวขึ้นมา ก็จะมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นทั้งในช่องทางส่วนตัวหรือหน้าสาธารณะ ตั้งแต่การชื่นชม ยินดี ให้กำลังใจไปจนกระทั่ง การใช้คำหยาบ การด่าทอ การเยาะเย้ย การส่อเสียด การเสียดสี การเผยแพร่ภาพ เสียง คลิปที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นในทางเสียหายและไม่เป็นธรรม   

ดังนั้น การใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่ดี คือ ผู้ใช้ทุกคนควรตระหนักถึงจริยธรรมและมารยาทในการใช้ร่วมกัน เพื่อป้องกันการก่อให้เกิดความเสียหายและแตกความสามัคคีในสังคม

 

มารยาทที่พึงปฏิบัติร่วมกันในการใช้สื่อสังคมออนไลน์

การใช้สติในการรับฟังและแสดงความคิดก่อนจะโพสต์ หรือเผยแพร่ข้อความ ภาพ หรือเสียง
ทุกครั้ง ด้วยการลองตั้งคำถามกับตัวเองดูว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ทำนั้น ตรงกับคำถามเหล่านี้หรือไม่

  • ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือไม่
  • ละเมิดความคิดทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือไม่
  • ข้อความ ภาพ และเสียง ผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมายหรือไม่
  • ก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมหรือไม่
  • ละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นหรือไม่
  • เป็นการหลอกลวง ล่อลวง ฉ้อโกง หรือไม่
  • เป็นการล้วงความลับ ข้อมูลของผู้อื่น เพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่
  • ก่อให้เกิดความรำคาญ การทะเลาะ การใช้ความรุนแรง หรือไม่
  • ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในสังคมหรือไม่    


     

จริยธรรมที่ดีในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย

หน้าที่ของผู้ใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียทุกคนคือ ต้องมีจริยธรรมเป็นตัวนำ ควรรู้จักคิด พิจารณา แยกแยะ สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ คำนึงถึงคุณธรรมเป็นสำคัญ และเลือกใช้สื่อในทางสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

  • การให้ความรู้ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
  • ไม่ละเมิดคัดลอกผลงานของผู้อื่น
  • ไม่โกหก หลอกลวง ไม่ขายสินค้าที่ก่อให้เกิดอันตราย
  • ไม่สร้างความเสียหายทางธุรกิจแก่ผู้อื่น
  • ไม่คุกคาม ละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ของผู้อื่น
  • ไม่ก่อกวน สร้างความรำคาญ
  • เลือกใช้ภาษาที่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ผิดหลักภาษาไทย
  • ไม่จำหน่ายสินค้าที่ผิดกฎหมาย และทำลายข้อมูลของผู้อื่น
     

โครงการ “Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง” โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงอยากช่วยเตรียมความพร้อมคนไทยให้รู้เท่าทันการใช้สื่อดิจิทัลที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว สร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความตื่นตัวให้คนไทยในยุคประเทศไทย 4.0 ใช้สื่อออนไลน์ต่าง  ๆ อย่างเข้าใจ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีมารยาท เลือกใช้สื่อในทางสร้างสรรค์ เพื่อให้สังคมไทยก้าวทันและใช้สื่อดิจิทัลอย่างชาญฉลาด

ก่อนส่งอีเมล หรือโพสต์ข้อความอะไรบนอินเทอร์เน็ต คุณต้องถามตัวเองว่า ถ้าเจอกันต่อหน้าคุณจะพูดแบบนี้กับเขาหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ ก็จงแก้ข้อความนั้นแล้วอ่านใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนรู้สึกว่าไม่ลำบากใจที่จะพูดแบบนี้กับใครแล้วจึงค่อยส่ง

2. ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียว กับการสื่อสารในชีวิตจริง

ในชีวิตจริง คนส่วนใหญ่มักจะเคารพกฎหมาย เพราะกลัวโดนจับ แต่ในโลกอินเทอร์เน็ต โอกาสถูกจับมีน้อย ก็เลยปฏิบัติต่อกันโดยมีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำกว่าในโลกจริง ถ้าอยากทำอะไรผิดกฎหมายในไซเบอร์สเปซ สิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นก็น่าจะผิดด้วย

3. รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ

การกระทำอะไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยอมรับได้ในที่หนึ่ง แต่ถ้าเป็นที่อื่นอาจจะไม่ใช่ ลองใช้เวลาสักพักสังเกตการณ์ก่อนว่า ที่นั่นเขาคุยอะไรกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หรือเข้าไปอ่านข้อความเก่าๆ จากนั้นค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา

4. เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ

ปัจจุบันดูเหมือนคนจะมีเวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมามากนัก เมื่อคุณส่งอีเมลหรือโพสต์ข้อความลงเน็ต รู้ไว้ว่าคุณกำลังทำให้คนอื่นเสียเวลามาอ่าน ดังนั้นเป็นความรับผิดชอบที่คุณควรแน่ใจก่อนส่ง ว่าข้อความหรืออีเมลนั้นไม่ทำให้ผู้รับเสียเวลา

5. ทำให้ตัวเองดูดีเวลาออนไลน์

โลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนโลกจริง คนที่สื่อสารกันในนั้นอยากให้คนอื่นชอบ แต่คุณไม่ต้องถูกตัดสินด้วย สีผิว, สีตา, สีผม, น้ำหนัก, อายุ หรือการแต่งตัวของคุณ

คุณจะถูกตัดสินผ่านคุณภาพของสิ่งที่คุณเขียน ดังนั้น การสะกดคำให้ถูกและเขียนให้ตรงตามหลักไวยากรณ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรรู้ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ และพูดอย่างมีเหตุมีผล

มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

6. แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ

จุดแข็งของไซเบอร์สเปซ คือ มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่อ่านคำถามบนอินเทอร์เน็ต และถึงแม้ว่าจะมีส่วนน้อยมากในจำนวนนั้นที่ตอบคำถาม ความรู้โดยรวมของโลกก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี แม้ว่ามารยาทเน็ตจะมีข้อห้ามยาวเหยียด คุณก็มีความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น อย่ากลัวที่จะแบ่งปันในสิ่งที่คุณรู้

7. ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์

เวลาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรง ควรรู้จักยับยั้งชั่งใจหรือพยายามควบคุมอารมณ์ให้มาก

8. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น

คุณไม่ควรไปเปิดอ่านอีเมลของคนอื่น การไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นไม่ได้เป็นแค่มารยาทเน็ตที่ไม่ดี มันยังอาจทำให้คุณเสียงานด้วย

9. อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์

การรู้มากกว่าคนอื่นหรือมีอำนาจมากกว่า ไม่ได้แปลว่าคุณมีสิทธิที่จะเอาเปรียบคนอื่นได้ เช่น ผู้ดูแลระบบ ไม่ควรอ่านอีเมลส่วนตัวของคนอื่น

10. ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น

ทุกคนเคยเป็นมือใหม่มาก่อน บางคนจึงทำผิดพลาดในแง่มารยาทเน็ต จงใจเย็นเข้าไว้ ถ้าคุณตัดสินใจจะบอกคนที่ทำผิดมารยาทเน็ต ก็จงบอกอย่างสุภาพและเป็นส่วนตัว ดีกว่าไปป่าวประกาศให้คนอื่นรับรู้ด้วย จงให้โอกาสในความไม่รู้ของคน

มารยาทในการอยู่สังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

มารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต.
1. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำร้ายหรือรบกวนผู้อื่น.
2. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม.
3. ไม่เจาะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของตนเองและผู้อื่น.
4. ไม่ใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้อื่นและไม่ใช้เครือข่ายที่ไม่ได้รับอนุญาต.

พฤติกรรมที่สร้างความรำคาญไม่เหมาะสมในสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

ผลสรุปของประเทศไทยพบว่า พฤติกรรมที่น่าหงุดหงิด 5 ลำดับของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคือ (1) การใช้คำพูดหยาบคาย 43% (2) การแพร่กระจายข่าวลือที่เป็นเท็จ 40% (3) การส่งคำเชิญชวนเล่นเกมออนไลน์ 32% (4) การโพสต์ข้อความก่อกวนเพื่อยั่วยุ 28% และ (5) การเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม 20%

ข้อใด เป็นมารยาทในการสื่อสารบนโลกโซเชียลมีเดีย

ไม่ใช้ข้อความหยาบคายในการส่งข้อความ ไม่ใช้ภาพที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ควรเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น

ข้อใดเป็นมารยาทในการใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์

1. ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย 2. ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน 3. ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้