ข้อใด คือจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

คำว่า “จริยธรรม” แยก ออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “หลักแห่งความประพฤติ” หรือ “แนวทางของการประพฤติ”

จริยธรรมคอมพิวเตอร์

เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิด จริยธรรม เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว (information privacy)
2. ความถูกต้อง (information accuracy)
3. ความเป็นเจ้าของ (intellectual property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (data accessibility)

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในประเทศไทยได้มีการร่างกฏหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
1. กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4. กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6. กฏหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา

โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
ต่อมาได้มีการรวมเอากฏหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฏหมายลายมือชื่อ -อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2546)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime หรือ cyber crime)
- การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม
- การขโมยหมายเลขบัตรเครดิต
เมื่อ จะซื้อสินค้าและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะต้องแน่ใจว่าระบบมีการรักษาความปลอดภัย ซึ่งสังเกตง่าย ๆ จากมุมขวาล่างของเว็บไซต์จะมีรูปกุญแจล็อกอยู่ หรือที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL จะระบุhttps://
https://
รูปกุญแจ
- การแอบอ้างตัว
เป็น การแอบอ้างตัวของผู้กระทำต่อบุคคลที่สามว่าตนเป็นอีกคนหนึ่ง เช่นนำ หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต หนังสือเดินทาง และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ของผู้ถูกกระทำไปใช้แอบอ้างเพื่อหาผลประโยชน์
- การสแกมทางคอมพิวเตอร์
เป็นการกระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่น ปัจจุบันมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย
ตัวอย่างลักษณะการกระทำที่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ใน 3 ประเด็นคือ
1. การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. การก่อกวนหรือทำลายข้อมูล
3. การขโมยข้อมูลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์

1) การใช้ username หรือ user ID และ รหัสผ่าน (password) ผู้ใช้ควรเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองในภายหลัง และควรหลีกเลี่ยงการกำหนดรหัสที่เป็นวันเกิด หรือรหัสอื่นๆ ที่ แฮกเกอร์สามารถเดาได้
2) การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ ซึ่งรหัสผ่านไม่ควรใช้ปีเกิด หรือจดลงในบัตร
3) การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4) ระบบเรียกกลับ (callback system) เป็น ระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง หากข้อมูลถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะเรียกกลับให้เข้าใช้งานเอง อย่างไรก็ตามการใช้งานลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ขอใช้ระบบใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์จากตำแหน่งเดิม คือ จากบ้าน หรือที่ทำงาน (หมายเลขโทรศัพท์เดิม)ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาอาจต้องเปลี่ยนหมาย เลขโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า

ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกไซเบอร์
Haag ได้เสนอกฏไว้ 2 ข้อคือ ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อกมัน และถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (backup)

ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์

ถ้าท่านซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ให้พิจารณาข้อพึงระวังต่อไปนี้
1) บัตรเครดิตและการแอบอ้าง
2) การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
3) การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์
4) การหลีกเลี่ยงสแปมเมล์
5) การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
6) การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทำลายข้อมูลได้ที่ ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย (http://thaicert.nectec.or.th/)
นอกจากข้อควรระวังข้างต้นแล้ว ยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อการสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
2) การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
3) การใช้พลังงาน

จริยธรรมและความปลอดภัย
เทคโนโลยี สารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อ ป้องกันปัญหาดังกล่าว
ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม

หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)

R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึง ข้อมูลสารสนเทศ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
* ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
* สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สิน ทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจก ชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรม คอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการ ปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
* เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
* การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
* การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
* การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
* การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การ ควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิด พลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)
การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)
* การควบคุมอินพุท
* การควบคุมการประมวลผล
* การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
* การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
* การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
* การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)
* การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
* การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
* แผนการป้องกันการเสียหาย
* ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)

การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)
* ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
* การแปลงรหัส (Encryption)
* กำแพงไฟ (Fire Walls)
* การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
* การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
* การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศใดคือ “ความถูกต้อง”

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (บัญญัติ 10 ประการ).
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการผู้อื่น.
ไม่ทำการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ.

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศใดคือ “ความเป็นเจ้าของ”

3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดี ...

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

ความหมายของจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์.
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy).
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy).
3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property).
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility).

จริยธรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อใด *

หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ