การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

  • เตรียมฮาร์ดแวร์ หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
  • อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ก่อนเริ่มประกอบคอมพิวเตอร์
  • ประกอบคอมพิวเตอร์ ได้ง่าย ๆ ใน 10 ขั้นตอน
  • บทสรุป

Show

เมื่อเราพูดถึง การประกอบคอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า นี่เป็นงานที่จะต้องใช้ช่างที่มีความรู้ในด้านนี้เท่านั้น เพราะในเคสคอมฯหนึ่งเครื่อง มีฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เยอะแยะมากมายครับ ทั้ง CPU, GPU, RAM, SSD, HDD, PSU และอีกมากมาย แตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง แถมอุปกรณ์แต่ละชิ้นก็มีหน้าตาและพอร์ตเชื่อมต่อที่ไม่เหมือนกันเลย บางชิ้นก็มีสายไฟเยอะแยะเต็มไปหมด แต่บางชิ้นก็ไม่มีพอร์ตและสายใด ๆ เลย ทำให้หลาย ๆ คนมองว่าเป็นงานที่ยุ่งยาก และมีความซับซ้อน

แต่เอาเข้าจริง ๆ การประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop PC) สักเครื่อง ไม่ได้ยากอย่างที่คิดครับ เพราะอุปกรณ์ทุกชิ้นมีการเขียนกำกับเอาไว้หมด ฉะนั้นหากคุณรู้ความหมาย คุณก็สามารถทำตามคูมือได้ไม่ยากครับ โดยในการประกอบคอมฯ ใช้เอง มีข้อดีหลายอย่างครับ แน่นอนอันดับแรก ก็คือ คุณจะได้สเปกที่ตรงกับความต้องของคุณที่สุด ไม่มีคำว่า “ได้อย่าง เสียอย่าง” เหมือนกับ All in One PC หรือ PC สำเร็จรูปทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้คุณยังสามารถรื้อคอมฯ มาปัดฝุ่น ทำความสะอาด หรือทำการอัพเกรดสเปกได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเสียทั้ง เงิน และเวลาอีกต่อไป

ดังนั้นถ้าหากคุณมีงบประมาณที่จำกัด แต่ต้องการซื้อคอมฯ ใหม่ที่มีสเปกที่คุ้มค่าและตรงกับการใช้งานของคุณ ทางที่ดีที่สุดคือ คุณต้องทำการเลือกฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นด้วยตัวเองและประกอบมันขึ้นมาเองกับมือครับ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเลือกได้ หากอันไหนเกินงบฯ คุณก็เอาไว้อัพเกรดทีหลังได้ รวมไปถึงเวลามีปัญหา หรือเมื่อคอมฯ คุณสกปรก คุณจะสามารถรื้อออกมาดูได้ทันที สำหรับวันนี้มาดูกันครับว่า การประกอบคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ? จะยุ่งยากอย่างที่คิดรึเปล่า ? ไปดูกันครับ

เตรียมฮาร์ดแวร์ หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์

การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เรานำมาเป็นตัวอย่างในวันนี้ เป็นสเปกระดับกลาง ๆ ครับ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ทั้ง การทำงาน และการเล่นเกม โดยเน้นราคาที่คุ้มค่า แต่มีความเร็วและความแรงระดับนึง สามารถใช้งานได้อีกหลายปี และในอนาคตคุณยังจะสามารถอัพเกรดสเปกได้ด้วย เพื่อทำให้เครื่องแรงขึ้น และนี่ก็เป็นสเปกโดยรวมของเครื่องนี้ครับ

การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
CPUINTEL Core i5-12600K
MBAsus Prime B660M-K WiFi D4
RAMKingston HyperX FURY (8GB x 2)
SSDWestern Digital WD Green SN350 NVMe 1TB
PSUCorsair CV650 (650 Watt 80 Plus Bronze)
CPU CoolerId Cooling Se-214-xt
CASETsunami 211-D ARGB

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ก่อนเริ่มประกอบคอมพิวเตอร์

1. ไขควงขนาดเล็ก (ถ้าเป็นไขควงแม่เหล็ก ชีวิตจะง่ายขึ้นมากครับ)

2. สายรัดเคเบิ้ลไทร์

3. กรรไกร หรือคีมขนาดเล็ก

4. วัสดุที่มีพื้นผิวที่เรียบ และจะต้องไม่นำไฟฟ้า เพื่อใช้วางชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ

5. ศึกษาคู่มือ

ประกอบคอมพิวเตอร์ ได้ง่าย ๆ ใน 10 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 : การติดตั้ง CPU 

ในการประกอบคอมพิวเตอร์ ในขั้นตอนแรกจะเป็นการจัดเตรียมเมนบอร์ดให้พร้อมสำหรับติดตั้ง CPU ซึ่งไม่ว่าจะเป็น Intel หรือ AMD การติดตั้งจะใกล้เคียงกันครับ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. นำเมนบอร์ดออกมาวางบนวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า (ซึ่งในที่นี้ เราจะใช้วัสดุที่ห่อมาในกล่องของเมนบอร์ดนั่นแหละครับ)

2. ทำการปลดล็อคซ็อกเก็ตซีพียู โดยการกดตัวล็อคที่ด้านข้างเบา จากนั้นกางออกให้สุด เพื่อเตรียมนำ CPU มาวาง

3. นำ CPU มาวางลงบนซ็อคเก็ต ที่เราปลดล็อคไว้ โดยให้รอยมาร์ค บน CPU ตรงกับรอยมาร์คบนซ็อกเก็ตเมนบอร์ด

4. จากนั้นค่อย ๆ ขยับ CPU ให้เข้าที่เข้าทาง ตรงกับซ็อคเก็ตของเมนบอร์ด และตรวจสอบการวาง CPU ถ้าตรงตำแหน่งแล้ว คุณก็ทำการปิดตัวล็อค CPU กลับคืนได้เลย เพื่อล็อค CPU ติดกับซ็อคเก็ตครับ

ข้อควรระวัง : บนซ็อคเก็ต CPU ของเมนบอร์ด และที่ด้านหลัง CPU จะมีขาทองแดงเล็ก ๆ เรียกว่า “พิน” เรียงรายอยู่เต็มไปหมดครับ ซึ่งคุณต้องระมัดระวังในส่วนนี้ให้มาก ๆ เพราะพินมีความบอบบางเป็นอย่างมากครับ แค่โดนสะกิดนิดหน่อยมันก็พร้อมที่จะงอแล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้ CPU ไม่สามารถทำงานได้

ขั้นตอนที่ 2 : การติดตั้ง RAM

ซึ่งในขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่ง่ายมาก ๆ ครับ เพราะมันตายตัว มีสล็อตเฉพาะของมันเอง และยังมีเขี้ยวที่ทำให้คุณใส่ได้อย่างถูกต้องแน่นอนครับ โดยจะมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

1. ขั้นแรกให้คุณทำการปลดล็อค สล็อต RAM ก่อนโดยการกดตัวล็อคสล็อต RAM ที่บริเวณปลายสุดของสล็อตใส่ RAM (ซึ่งเมนบอร์ดบางรุ่นอาจเป็นล็อคด้านเดียว หรือบางรุ่นอาจใช้ล็อคสองด้านเลย)

2. หากคุณใช้ RAM เพียง 1-2 สล็อต เราขอแนะนำให้เปิดคู่มือของเมนบอร์ดครับ เพื่อตรวจสอบลำดับในการติดตั้ง RAM ว่าควรติดตั้ง RAM ในสล็อตไหนก่อน-หลัง (แต่ถ้าคุณใส่เต็มพิกัด ทุกสล็อต คุณก็ใส่ไปได้เลยครับ)

3. ที่สล็อต RAM บนเมนบอร์ด และบนตัว RAM ที่บริเวณทองแดงจะมีการทำร่องเล็ก ๆ เอาไว้อยู่ครับ ให้คุณติดตั้ง RAM โดยเล็งให้ร่องนั้นตรงกัน

4. จากนั้นค่อย ๆ กด RAM ลงไปในสล็อต ซึ่งมันจะไปดันขาล็อคแรมให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งล็อคเช่นเดิม (หากเข้าล็อคมันจะมีเสียงดัง “คลิก” ครับ)

ขั้นตอนที่ 3 : การติดตั้งไดรฟ์ SSD M.2

สำหรับไดรฟ์ SSD M.2 เป็นหน่วยความจำข้อมูลแบบใหม่ ซึ่งมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงมาก ๆ ในปัจจุบันครับ โดยในการติดตั้งไม่ได้ยากเลยครับ ง่ายกว่าการติดตั้ง SSD หรือ HDD แบบเดิมเสียอีกเพราะไม่ต้องใช้สายใด ๆ เลย หากในสเปกของคุณเลือกใช้ SSD M.2 คุณก็สามารถทำตามง่าย ๆ ดังนี้

1. บนเมนบอร์ดจะมีจุดที่เขียนว่า M.2 PCI-e อยู่ ให้คุณใช้ไขควงไขน็อตที่ยึดช่อง M.2 บนเมนบอร์ดออกก่อน

2. เมื่อไขออกแล้ว ให้คุณนำไดรฟ์ M.2 ค่อย ๆ เสียบเข้าไปในช่อง M.2 บนเมนบอร์ด ด้วยมุมประมาน 45 องศา

3. จากนั้นทำการกดตัวไดร์ฟ M.2 ลงมา โดยให้ขนาดไปกับเมนบอร์ด แล้วค่อยไขน็อตยึดช่อง M.2 กลับไปที่เดิม เพื่อยึดไดร์ฟ M.2 เอาไว้

ข้อควรระวัง : ก่อนที่คุณจะทำการกดไดรฟ์ M.2 ลงไป (ในข้อ 3) คุณควรตรวจเช็คให้มั่นใจก่อนว่าไดรฟ์ M.2 ของคุณเข้าล็อคแล้วหรือยัง ? เพื่อป้องกันความเสียหายทั้ง ไดรฟ์ M.2 และเมนบอร์ด ครับ

ขั้นตอนที่ 4 : ติดตั้งพัดลมระบายความร้อน CPU (CPU Cooler)

สำหรับซีพียู Intel Core i5-12600K ที่เราเลือกใช้ในวันนี้ จะไม่มี CPU Cooler มาให้ครับ แถมยังมีการเปลี่ยน Socket ใหม่ ในรอบสิบปี เป็น LGA1700 ทำให้ไม่สามารถใช้ของเก่าที่มีอยู่ได้ครับ เพราะฉะนั้นคุณจำเป็นต้อง ซื้อ CPU Cooler ใหม่ หรือไม่ก็ต้องหาซื้อ ขาแปลง (Mounting) มาใช้งานแทนครับ ซึ่งในวันนี้เราใช้ CPU Cooler ราคาประหยัด จาก ID Cooling Se-214-xt ครับ โดยมีขั้นตอนการติดตั้งดังต่อไปนี้

1. เริ่มต้นด้วยการใส่แผ่น Backplate ที่ด้านหลัง ของเมนบอร์ด จากนั้นมายึดแผ่น Backplate อีกหนึ่งชิ้นที่ด้านหน้า เพื่อเป็นฐาน สำหรับรองรับ CPU Cooler

2. ต่อมาให้ทาซิลิโคนลงบนกระดอง CPU (ควรทาในปริมาณที่พอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปครับ)

3. จากนั้นนำฮีทซิงค์มาวางทับลงบนกระดอง CPU ตรง ๆ เลย โดยที่แผ่น Backplate จะมีน็อตโผล่ขึ้นมาเล็กน้อย ให้คุณขันน็อตตัวแรกแบบหลวม ๆ ก่อน แล้วสลับไปขันน็อตอีกตัวหนึ่ง (สลับขันไปมาเรื่อย ๆ) จนแน่น (พอตึงมือ)

4. เมื่อติดตั้งฮีทซิงค์เสร็จแล้ว ต่อมาก็ให้ติดตั้งพัดลมเข้ากับฮีทซิงค์ โดยคุณจะต้องเล็งทิศทางให้เรียบร้อยว่า คุณจะเก็บซ่อนสายอย่างไร ? เมื่อได้ทิศทางแล้ว ให้คุณเชื่อมต่อสายพัดลมเข้ากับขั้ว CPU Fan บนเมนบอร์ดเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ข้อควรระวัง : การใส่ซิลิโคน ควรใส่ในปริมาณที่พอเหมาะพอดีครับ เพราะหากคุณใส่น้อยเกินไปก็จะทำให้ผิวหน้ามีสัมผัสไม่ดี แต่ถ้าหากใส่มากเกินไปก็จะทำให้ซิลิโคนเยิ้มลงไปในซ็อกเก็ตได้

ขั้นตอนที่ 5 : การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคสคอมพิวเตอร์

เมื่อทำการประกอบอุปกรณ์บางส่วนเข้ากับเมนบอร์ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอน การนำเมนบอร์ดเข้าไปติดตั้งภายในเคสคอมพิวเตอร์กันครับ ซึ่งคุณจะต้องเตรียมน็อต (ที่มากับเคส) และไขควง เอาไว้ให้พร้อมครับ

1. อันดับแรกให้คุณนำแผ่น I/O Shield (แผ่นปิดพอร์ตต่างๆ ที่มากับเมนบอร์ด) ติดตั้งบริเวณด้านหลังเคสฯ โดยกดลงไปตรง ๆ ให้เข้าล็อคของมัน หลังจากนั้นให้จับเคสคอมพิวเตอร์ นอนลง ครับ

2. หันเมนบอร์ดด้านที่มีพอร์ตต่าง ๆ ให้ตรงกับแผ่น I/O Shield โดยการเอียงเมนบอร์ด 45 องศา เมื่อตรงกันแล้วก็ค่อย ๆ วางเมนบอร์ดลงไปได้เลย

3. เมื่อวางลงไปแล้วให้คุณขยับเมนบอร์ดเล็กน้อย เพื่อให้รูน็อตบนเมนบอร์ดตรงกับรูน็อตของเคส จากนั้นก็ไล่ขันน็อตให้แน่น (พอตึงมือ) เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส (ส่วนจำนวนน็อตทั้งหมด จะต่างกันไปครับ ขึ้นอยู่กับขนาดของเมนบอร์ด)

ข้อควรระวัง : การขันน็อตเพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส ข้อควรระวังที่สุดคือ คุณไม่ควรขันแน่นจนเกินไปครับ เพราะรูน็อตอยู่บนเมนบอร์ดโดยตรง ฉะนั้นหากคุณขันน็อตแน่นจนเกินไป มันอาจจะทำให้วงจรบนเมนบอร์ด ได้รับความเสียหายได้ แต่ถ้าหากคุณต้องการการติดตั้งที่แน่นหนา เพื่อรองรับอุปกรณ์ขนาดใหญ่ อย่าง การ์ดจอ หรือพัดลมซีพียู เราขอแนะนำให้คุณ ยึดน็อตให้ครบทุกช่องครับ โดยขันให้แน่นพอตึงมือ

ขั้นตอนที่ 6 : ติดตั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (SSD หรือ HDD)

ในขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้ง อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง SSD SATA และ HDD ครับ หากสเปกที่คุณเลือกมาใช้ตัวใด ตัวหนึ่ง หรือใช้ทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็น ขนาด 2.5 นิ้ว หรือ 3.5 นิ้ว คุณก็สามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้ครับ แต่ถ้าหากคุณใช้แค่ SSD M.2 PCIe/NVMe เพียงอย่างเดียวคุณก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ครับ แต่ถ้าหากในอนาคตจะมีการอัพเกรดเพิ่มเติม คุณก็สามารถทำตามขั้นตอนได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. นำฮาร์ดไดรฟ์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม ติดตั้งเข้ากับเคสฯ (โดยเคสส่วนใหญ่ มีช่องสำหรับติดตั้งทั้ง SSD และ HDD ให้อยู่แล้วครับ)

2. จากนั้นทำการเสียบสาย SATA (สายที่มากับเมนบอร์ด) โดยด้านหนึง เสียบเข้ากับฮาร์ดไดรฟ์ และอีกด้าน ให้เสียบเข้ากับพอร์ต SATA Slots บนเมนบอร์ด

3. ส่วนขั้นตอนสุดท้ายให้คุณทำหลังจากติดตั้ง Power supply เสร็จแล้ว โดยนำสาย SATA power จาก Power supply ต่อเข้ากับฮาร์ดไดรฟ์ (ต่อให้ครบทุกไดรฟ์ทั้ง SSD และ HDD) ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ

ขั้นตอนที่ 7 : การติดตั้งกราฟฟิกการ์ด หรือการ์ดจอ (GPU)

มากันที่ส่วนยอดนิยม สำหรับทั้ง คนเล่นเกม และคนทำงาน ครับ สำหรับการติดตั้ง กราฟฟิกการ์ด หรือการ์ดจอ (GPU) ซึ่งวิธีการติดตั้งก็จะคล้ายคลึงกับการติดตั้ง RAM เลยครับ ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนี้

1. ขั้นแรกให้คุณทำการถอด แผ่นปิดสล็อต PCI-e ที่ด้านหลังเคสออกก่อน ซึ่งจะอยู่ตรงกับช่อง PCI-e x16 สำหรับติดตั้งกราฟฟิกการ์ด (ซึ่งจะใช้กี่ช่องก็อยู่ที่กราฟฟิกการ์ดของคุณ อย่างรุ่นไฮเอ็นด์ที่มีขนาดใหญ่ จะจำเป็นต้องใช้ 2 ช่อง)

2. ทำการปลดล็อค ตัวล็อคสล็อต PCI-e โดยการดันตัวล็อคที่อยู่ปลายสล็อตออก (ซึ่งเมนบอร์ดบางรุ่น อาจเป็นล็อคด้านเดียว หรือบางรุ่นอาจใช้ล็อคสองด้านเลย)

3. นำการ์ดจอมาใส่ โดยเล็งแผงทองแดงให้ตรงกับสล็อต PCI-e และเล็งด้านหลังการ์ดให้ตรงกับที่ปิดสล็อต PCI-e ที่ได้ถอดไว้ในข้อที่ 1 จากนั้นค่อย ๆ กดการ์ดลงไปในสล็อตจนมีเสียงดัง “คลิก” (ซึ่งเสียงเกิดจากขาล็อคสล็อตถูกดันกลับมาอยู่ในตำแหน่งล็อคเช่นเดิม)

4. เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คุณมาขันน็อตยึดการ์ดจอที่ด้านหลังของเคสคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วน (โดยนำน็อตจากข้อที่ 1 มาขันกลับเข้าที่เดิมครับ)

5. หากการ์ดจอที่คุณใช้งาน มีพอร์ต 6 Pin, 8 Pin หรือ 12 Pin นั่นหมายถึง การ์ดจอรุ่นนั้น จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมครับ ฉะนั้นขั้นตอนสุดท้ายให้คุณทำหลังจากติดตั้ง Power supply เสร็จแล้ว โดยการนำสาย 8 Pin (6+2 Pin) หรือ PCI-E มาต่อเข้ากับการ์ดจอด้วย

ข้อควรระวัง : กราฟิกการ์ดหรือการ์ดจอระดับไฮเอนด์บางรุ่น ได้รับการออกแบบโดยเน้นไปที่การระบายความร้อนที่ดีขึ้น ทำให้มีฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ ใช้พัดลม 3 ตัว ส่งผลให้มีทั้งความยาว และน้ำหนักที่มากกว่าการ์ดจอปกติครับ ดังนั้นหากการ์ดจอของคุณจัดอยู่ในประเภทนี้ เราขอแนะนำให้คุณหาซื้อตัวค้ำการ์ดจอมาใช้ด้วย เพราะถ้าไม่มีการค้ำใด ๆ เลย เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ด้วยน้ำหนักที่มาก อาจทำให้ตัวการ์ดงอได้ หรือเมนบอร์ดได้รับความเสียหายได้ครับ

ขั้นตอนที่ 8 : การติดตั้ง Power Supply (PSU) 

มาต่อกันที่การติดตั้ง Power Supply (PSU) ครับ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนเป็นอย่างมากครับ เนื่องจากมันมีสายไฟ และพอร์ตต่าง ๆ เยอะแยะเต็มไปหมด ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เราขอแยกขั้นตอนออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้

8.1 การติดตั้ง Power Supply (PSU) เข้ากับเคสคอมพิวเตอร์
การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

ในขั้นนี้เป็นการติดตั้งตัวกล่อง PSU เข้ากับเคส โดยทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. ในขั้นแรก ทำการติดตั้ง PSU เข้ากับเคสคอมพิวเตอร์ โดยยึดน็อตให้ครบทั้ง 4 ตัว เพื่อความแน่นหนา

2. ร้อยสายไฟทั้งหมดไปเก็บไว้ที่ด้านข้างของเคสอีกฝั่งนึง (หลังเมนบอร์ด) เพื่อเป็นการเก็บซ่อนสายไฟที่ไม่ได้มีการใช้งาน หรือสายที่มีความยาวมากเกินไป เพื่อความสวยงามครับ

8.2 การเชื่อมต่อสาย Power Supply เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ บน Mainboard

ก่อนจะลงมือทำ เรามาทำความรู้จักกับสายต่าง ๆ ของ PSU ในแต่ละเส้นกันก่อนครับ ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 6 เส้น หลัก ๆ ดังนี้

การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
1. สาย 24 Pin : เป็นสายที่มี 24 Pin (20+4 Pin) ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดครับ ใช้เชื่อมต่อเข้ากับเมนบอร์ด โดยทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้เมนบอร์ดครับ
การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
2. สาย 8 Pin หรือ ATX 12V : เป็นสาย 8 Pin แยก 4+4 Pin ใช้เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดเช่นกัน แต่มีหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยง CPU (พอร์ตจะอยู่ด้านบน ใกล้ CPU) ส่วนที่แยกเป็น 4+4 Pin เนื่องจากมีเมนบอร์ดบางรุ่น ต้องการใช้งานเพียง 4 Pin เท่านั้น
การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
3. สาย 8 Pin หรือ PCI-E : เป็นสาย 8 Pin เช่นกัน แต่แยก 6+2 Pin ครับ ทำหน้าที่เพื่อจ่ายไฟเลี้ยงให้กับการ์ดจอ ซึ่งการ์ดจอรุ่นเริ่มต้นไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง แต่ถ้ามีสเปกสูงขึ้น มันก็จะใช้ไฟมากขึ้น 6 Pin หรือ 8 Pin ขึ้นไป ทำให้ต้องแยก 6+2 Pin ครับ
การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
4. สาย SATA Power : เป็นสายที่มีหน้าตาแตกต่างไปจาก 3 สายก่อนหน้านี้ โดยจะมีขนาดเล็กและแบนกวว่ามาก ตัวพอร์ตคล้ายตัว L  มีหน้าที่จ่ายไฟให้กับตัวจัดเก็บข้อมูลเป็นหลักครับ
การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
5. สาย Molex (4 Pin) : เป็นสายหัวแบนที่หนากว่าสาย SATA Power ภายในมี 4 Pin มีหน้าที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ทุกชิ้นที่เชื่อมต่อ อาทิเช่น พัดลมเคส, แสงไฟ RGB หรือชุดควบคุมฟีเจอร์ต่าง ๆ เป็นต้น
การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
6. สาย FDD : เป็นพอร์ตขนาดเล็กที่สุด ซึ่ง PSU ส่วนใหญ่ ใส่มาให้ 1 พอร์ตเสมอ ซึ่งในอดีตใช้จ่ายไฟให้กับฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy A) แต่ยุคสมัยนี้คงไม่มีใครใช้เเล้ว เพราะมีแฟลชไดร์ฟมาทดแทน

การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

เมื่อรู้จักหน้าตาและหน้าที่ของพอร์ตทุก ๆ ตัวบน PSU กันไปแล้ว ต่อจากนี้ก็จะเป็นการเชื่อมต่อแต่ละพอร์ตเข้ากับซ็อกเก็ตของเมนบอร์ด และอุปกรณ์ต่าง ๆ ครับ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า หน้าตาของแต่ละพอร์ตจะไม่เหมือนกันเลย ฉะนั้นการเชื่อมต่อในส่วนนี้จึงไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คุณคิดเลยครับ เพียงแค่คุณทำการเลือกพอร์ตให้ตรงกัน มันก็สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างพอดี

1. เชื่อมต่อ สาย 24 Pin เข้ากับ ซ็อกเก็ต 24 Pin บนเมนบอร์ด โดยจะอยู่ทางด้านขวามือของเมนบอร์ด ซึ่งคุณสามารถสังเกตุได้ง่าย ๆ จาก ซ็อกเก็ตนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุดครับ

2. จากนั้นให้เชื่อมต่อ สาย 8 Pin (4+4 Pin) เข้ากับ ซ็อกเก็ต 4 Pin หรือ 8 Pin (ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ดที่ใช้) ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านบนของเมนบอร์ด (ก่อนเสียบลงไปคุณต้องดูก่อนว่าเมนบอร์ดของคุณใช้กี่ Pin ? ถ้าหากใช้ 4 Pin ก็ให้แยกพอร์ตเป็น 4 Pin ก่อน แล้วค่อยเสียบลงไป แต่ถ้าใช้ 8 Pin ก็เสียบลงไปได้เลยครับ)

3. ส่วนต่อมาให้เชื่อมต่อ สาย 8 Pin (6+2 Pin) เข้ากับ กราฟฟิกการ์ด (GPU) ซึ่งจะใช้ซ็อกเก็ตกี่ Pin ? มันก็จะขึ้นอยู่กับกราฟฟิกการ์ดรุ่นที่คุณใช้ครับ (หากเป็นกราฟิกการ์ดรุ่นเริ่มต้น ส่วนใหญ่ก็จะไม่ใช้ไฟเลี้ยงเพิ่ม เพราะไฟจากเมนบอร์ด ผ่านพอร์ต PCI-e ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นรุ่นไฮเอนด์ที่มีพัดลม 2-3 ตัว ก็อาจต้องใช้ 8 Pin หรือ 12 Pin (8+8 Pin) ครับ

4. เชื่อมต่อ สาย SATA Power เข้ากับ ฮาร์ดไดรฟ์ ที่เป็น HDD หรือ SSD ครับ

5. สุดท้ายเชื่อมต่อ สาย Molex (4 Pin) เข้ากับ อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น พัดลมเคส, ไฟ LED และอื่น ๆ ตามต้องการ

หมายเหตุ : ในสเปกที่เราใช้เป็นตัวอย่างในวันนี้ ไม่มีทั้ง กราฟฟิกการ์ด, ฮาร์ดดิสก์ และไดรฟ์ DVD ถ้าหากว่าในสเปกของคุณมีอุปกรณ์เหล่านี้ คุณก็แค่นำสายไปเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์

คำแนะนำ : วิธีการเลือก Power supply (PSU) ที่เหมาะกับสเปกของคุณ สามารถทำได้ง่าย ๆ ครับ เพียงค้นหาคำว่า “Power Supply Calculator” คุณจะพบกับ เว็บฯ คำนวณค่าวัตต์ ที่จะให้คุณเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในสเปกของคุณ จากนั้นเว็ปฯ จะคำนวณค่าวัตต์ออกมาให้ ซึ่งที่เหลือคุณแค่นำค่าวัตต์ที่ได้ไปใช้ในการเลือก PSU ครับ โดยคุณจำเป็นต้องเลือก PSU ที่มีกำลังวัตต์มากกว่าที่สเปกของคุณต้องการ เพื่อรองรับการอัพเกรดในอนาคตครับ

ขั้นตอนที่ 9 : การเชื่อมต่อสายจากพอร์ตต่าง ๆ หน้าเคส (Front Panel)

ในขั้นตอนนี้ อาจจะมีความยุ่งยากสักเล็กน้อยครับ เนื่องจากพอร์ตส่วนใหญ่มันมีหน้าตาที่เหมือน ๆ กัน แถมยังมีบางพอร์ตอยู่ติดกันอีก และอีกอย่างเมนบอร์ดแต่ละรุ่น ตำแหน่ง และการเขียนกำกับก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นเพื่อความถูกต้อง เราขอแนะนำให้คุณเปิดคู่มือของเมนบอร์ดควบคู่ไปด้วยครับ

1. เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่อปุ่มและไฟต่าง ๆ หน้าเคสทั้ง ปุ่มเปิด-ปิด (Power), ปุ่มรีเซ็ต (Reset), ไฟสถานะ Power LED, ไฟสถานะ HDD LED เข้ากับช่อง System Panel header บนเมนบอร์ด (โดยส่วนใหญ่จะอยู่มุมขวาล่างของเมนบอร์ด)

2. จากนั้นเชื่อมต่อสาย USB ที่อยู่หน้าเคส ไม่ว่าจะเป็น USB2.0, USB3.0 รวมถึง USB Type-C เข้ากับพอร์ต USB2.0, USB3.0 และ USB Type-C บนเมนบอร์ด (ถ้าเคสที่คุณใช้มี แต่หากไม่มี USB3.0 และ USB Type-C สาย USB นั้น ๆ ก็จะไม่มีมาให้ครับ) ซึ่งโดยทั่วไป พอร์ต USB ต่าง ๆ จะอยู่บริเวณขอบของเมนบอร์ด ทั้ง ด้านล่าง และด้านขวา)

3. ปิดท้ายด้วยการ เชื่อมต่อสาย HD Audio ซึ่งเป็นแจ็คไมค์ (Mic) และหูฟัง (Headphone) หน้าเคส เข้ากับช่อง Front Panel Audio header ของเมนบอร์ด ครับ

ขั้นตอนที่ 10 : การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

สำหรับขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการไม่ได้มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อนเลยครับ เพียงแค่คุณทำตามขั้นตอนไปเรื่อย ๆ ก็เป็นอันเรียบร้อย โดยวิธีการก็ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

1. ขั้นแรกให้เตรียมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึง และแฟลชไดรฟ์ ขนาด 8GB ขึ้นไป (ทำการสำรองข้อมูลให้เรียบร้อย เพราะจะต้องมีการลบข้อมูลหรือฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์)

2. เปิดเบราว์เซอร์ขึ้นมา พิมพ์ค้นหาคำว่า “Windows 10” เลือกหัวข้อ “ดาวน์โหลดดิสก์อิมเมจ ของ Windows 10 (ไฟล์ ISO) – Microsoft” บนเว็บไซต์ https://www.microsoft.com

3. เมื่อเข้ามาที่เว็ปไซต์ของ Microsoft แล้ว ให้คุณคลิกคำว่า “ดาวน์โหลดเครื่องมือทันที” หลังจากดาวน์โหลดคุณจะได้โปรแกรม Media Creation Tool 21H2.exe มา (ด้านล่างมีคำแนะนำอย่างละเอียด ในการใช้เครื่องมือเพื่อสร้างสื่อข้อมูลสำหรับการติดตั้ง Windows 10 ลงบนพีซีเครื่องอื่น ซึ่งคุณสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ครับ)

4. จากนั้นเปิดโปรแกรม Media Creation Tool21H2.exe ขึ้นมาเพื่อทำการสร้าง Image file บน USB Flash Drive ซึ่งให้คุณทำตามขั้นตอนไปเรื่อย ๆ โดยตัวโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยการฟอร์แมต หรือลบข้อมูลในไดรฟ์ออกทั้งหมดก่อน

5. เมื่อได้ Image file Windows 10 บน USB Flash Drive มาแล้ว คุณสามารถนำแฟลชไดรฟ์ดังกล่าวไปติดตั้งวินโดวส์บนคอมฯ เครื่องใดก็ได้ครับ โดยนำไปเสียบเข้ากับพอร์ต USB ของเครื่องที่ต้องการลงวินโดวส์ (ขอแนะนำให้เลือกพอร์ต USB บนเคสคอมฯ ที่เป็น USB-3 ได้ทั้ง สีแดง และสีน้ำเงิน ครับ)

6. หลังจากที่เสียบแฟลชไดรฟ์คาไว้แล้วให้ทำการเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เข้าไปตั้งค่าใน BIOS (โดยให้กดปุ่มใดปุ่มหนึ่งย้ำ ๆ ซึ่งส่วนใหญจะใช้ F2, F10 หรือ F12 เป็นต้น หากไม่ได้ให้ค้นหาผ่านอินเทอร์เน็ต) จากนั้นไปที่แถบ Boot > Boot Option เมื่อเข้าไปแล้ว ให้ย้ายแฟลชไดรฟ์ที่เป็นเครื่องมือขึ้นไปบนสุด เพื่อให้เครื่องบูตแฟลชไดรฟ์ก่อนฮาร์ดดิสก์

7. จากนั้นให้คุณเลื่อนไปที่แถบ Save and Exit ตัวเครื่องจะรีสตาร์ทใหม่ และครั้งนี้เครื่องจะบูทผ่านแฟลชไดรฟ์เข้าไปที่ตัวติดตั้ง Windows 10 ก่อน เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ให้คุณทำตามขั้นตอนไปเรื่อย ๆ เป็นอันเสร็จสิ้นครับ


การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

สำหรับสเปกที่เราได้จัดมาในวันนี้ เป็นสเปกที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงพอสมควรเลย สามารถรองรับได้ทั้งการทำงาน การเล่นเกมและอื่น ๆ ได้ทั้งหมด ด้วยซีพียูเป็นตัวท็อปในระดับราคานี้อย่าง Intel Core i5-12700K 12th Gen ที่มีการออกแบบบนสถาปัตยกรรม Alder lake ซึ่งจะแบ่งการประมวลผลออกเป็น 2 ชุด ทำให้มีแกนประมวลผลถึง 10 คอร์ 16 เธรด มอบความเร็วที่สูงถึง 4.9GHz เลยทีเดียว ทำให้ในการทดสอบ i5-12700K ทำคะแนนสูงกว่า ทั้ง i7-11700K และ i9-11900K เสียอีกครับ

ซึ่งถึงแม้ว่า สเปกในวันนี้จะยังไม่มีการ์ดจอ แต่ด้วยประสิทธิภาพของซีพียู แค่นี้สามารถใช้งานในด้านต่าง ๆ ได้ดีในระดับนึงแล้วครับ สามารถประมวลผลได้อย่างลื่นไหล บวกกับ Ram 16GB และ SSD M.2 ความจุ 1TB ต่างก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพ ให้มันแรงยิ่งขึ้นครับ ฉะนั้นการใช้งานด้านต่าง ๆ จึงไม่มีปัญหาครับ แถมด้วยความที่ซีพียูเป็นเจนฯ ใหม่ ส่งผลให้สามารถใช้งานได้อีกนานครับ โดยอนาคตหากเรามีงบประมาณมากพอเราก็สามารถซื้อมาเพิ่มเติมได้ ทำให้สเปกนี้ถือว่ามีความคุ้มค่ามากจริง ๆ


บทสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ 10 ขั้นตอน หลัก ๆ ในการประกอบคอมพิวเตอร์ แบบง่าย ๆ ซึ่งต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการประกอบคอมพิวเตอร์มาก่อนเลย คุณสามารถทำตามขั้นตอนได้ง่าย ๆ ครับ แต่ฮาร์ดแวร์บางรุ่น อาจจะมีรายละเอียดที่มากกว่านี้ ดังนั้นทางที่ดี เราขอแนะนำให้คุณอ่านคู่มือควบคู่ไปด้วย เพราะในคู่มือจะมีคำแนะนำที่ถูกต้องไว้ให้อยู่แล้วครับ แต่หลักการติดตั้งก็จะเหมือนกันทั้งหมด

การประกอบคอมพิวเตอร์ ไม่ได้สำคัญกับคนที่กำลังจะซื้อคอมฯ เท่านั้น แต่มันสำคัญสำหรับทุกคนที่ใช้คอมฯ ครับ ไม่ว่าจะเป็น NotebookLaptopหรือ Desktop PC ซึ่งทุกคนทราบกันดีว่า เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง คอมพิวเตอร์จะมีฝุ่นอยู่ภายในเต็มไปหมด เพราะมันเข้ามาทางพัดลมเคส ซึ่งหากคุณไม่มีการทำความสะอาดเลย แน่นอนครับว่า ประสิทธิภาพการระบายอากาศจะแย่ลงเรื่อย ๆ จนท้ายที่สุดมันส่งผลถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ จนเสียหายได้ ดังนั้นหากคุณสาารถ ประกอบคอมฯ ได้ นั่นก็หมายความว่า คุณก็สามารถทำความสะอาดคอมฯ ของตัวเองได้ครับ ไม่ต้องเสียเวลา และเสียเงิน พาไปที่ร้าน

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการประกอบคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

นี่คือส่วนประกอบที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม:.
เมนบอร์ด.
การ์ดแสดงผล.
ตัวระบายความร้อน CPU..
หน่วยความจำ.
อุปกรณ์เก็บข้อมูล (HDD หรือ SSD).
เพาเวอร์ซัพพลาย.

อุปกรณ์ที่สําคัญสําหรับประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์คือข้อใด

จากภาพเลยครับ ที่ต้องมี คือ -เมนบอร์ด(แผงวงจรใหญ่ๆมีสล็อตส้มๆเหลืองๆ)พร้อมฝาหลังเคส ฝาหลังวางอยุ่ตรงหลังพัดลมCPU. -CPU(ชิพสีเงินๆ ใกล้พัดลม) -พัดลมระบายความร้อนCPU(จะมาพร้อมCPU)

ขั้นตอนการประกอบคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

ประกอบคอมพิวเตอร์ ได้ง่าย ๆ ใน 10 ขั้นตอน.
ขั้นตอนที่ 1 : การติดตั้ง CPU. ... .
ขั้นตอนที่ 3 : การติดตั้งไดรฟ์ SSD M.2. ... .
ขั้นตอนที่ 4 : ติดตั้งพัดลมระบายความร้อน CPU (CPU Cooler) ... .
ขั้นตอนที่ 5 : การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคสคอมพิวเตอร์ ... .
ขั้นตอนที่ 7 : การติดตั้งกราฟฟิกการ์ด หรือการ์ดจอ (GPU).