ความ ขัดแย้ง ทางเศรษฐกิจ เกิด จาก อะไร

การเมืองโลกที่กำลังก่อตัวรุนแรงมากขึ้นระหว่าง กรณีแรก (บริบทของโลก 1 ขั้วอำนาจ) Unipolar World) ประเทศมหาอำนาจหลังสงครามเย็นอย่างประเทศสหรัฐกับประเทศที่กำลังก้าวมาเป็นอีกหนึ่งมหาอำนาจอย่างประเทศจีน 

ส่วนกรณีที่สอง (บริบทของโลก 2 ขั้วอำนาจ Bipolar World) ประเทศมหาอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองอย่างประเทศสหรัฐกับประเทศมหาอำนาจเก่าอย่างประเทศรัฐเซียในปัจจุบัน 

ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็จะมีผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งต่อประเทศไทย และการคาดการณ์ของความเป็นไปได้ของแนวทางที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ 

ทั้งนี้ การคาดการณ์สามารถมองจากได้หลายมุมมอง การมองจากมุมประวัติศาสตร์ของการเมืองระหว่างประเทศบนบริบทของทั้งการเมืองและเศรษฐกิจก็สามารถให้เห็นภาพโดยรวมแบบสแนปชอต (snap shot) ที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจได้มากขึ้น ความรุนแรงจะไปในทิศทางใดนั้นจะต้องคำนึงถึงปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบันที่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศของมหาอำนาจ เนื่องจากปัจจุบันทุกประเทศกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่กระทบคนส่วนใหญ่ในประเทศซึ่งจะแตกต่างจากปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมา

ดังนั้นหากประเทศมหาอำนาจมีนโยบายที่การเมืองนำเศรษฐกิจก็จะส่งผลกระทบลดลงต่อการลงทุน ซึ่งก็จะมีผลการกระทบตรงต่อ อย่างเช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

สามารถอธิบายได้จาก ปัจจัยแรกของแนวนโยบายระบบเศรษฐกิจนิยมหรือทุนนิยม หากมองย้อนไปในมุมมองของประวัติศาสตร์ นักวิชาการหลายสำนักได้ให้มุมมองไว้ว่าที่ผ่านมาการตัดสินใจดำเนินนโยบายในปัจจุบันเป็นที่น่ากังวลเนื่องจากหลายประเทศมีนโยบายให้ความสำคัญทางการเมืองมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันประชาชนในประเทศที่จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด ภาวะเงินเฟ้อ และการพุ่งขึ้นของราคาพลังงาน การลดความสำคัญต่อการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) การเพิ่มขึ้นของนโยบายป้องกันเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น (protectionism) หากแนวโน้มยังเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องไปอีกก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ

ปัจจัยที่สองการเมืองระหว่างประเทศ ความขัดแย้งที่ก่อตัวขึ้นแต่ปัจจุบันยังไม่มาถึงภูมิภาคเรา(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เหมือนสมัยช่วงปีค.ศ. 1970 เป็นช่วงของนโยบายการเลือกข้าง การทำเกิดสงครามที่เรียกว่าสงครามตัวแทน หรือ proxy war หากมองย้อนไปในมุมมองของประวัติศาสตร์การที่ประเทศที่เลือกไปอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ (foreign assistance) จากประเทศมหาอำนาจนั้นมาในหลายรูปแบบ การเลือกอยู่ฝั่งเสรีนิยมทำให้ประเทศเรามีการพัฒนาไปในหลายๆด้านเนื่องจากได้รับความช่วยเหลือที่แตกต่างกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน 

ขณะที่เวียดนามที่เลือกฝั่งคอมมิวนิสต์ทำให้พัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นไม่เท่ากับประเทศเรา แต่เมื่อประเทศเวียดนามเปิดประเทศและประเทศสหรัฐได้ยกเลิกการห้ามการค้า (trade embargo) ใน ค.ศ. 1994 ทำให้การพัฒนาด้านต่างๆของเวียดนามโตแบบก้าวกระโดดและแซงหน้าประเทศเราในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเจริญเติบโตของการลงทุน ซึ่งทำให้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจของการลงทุนในภูมิภาคนี้

ในโลกที่ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน เมื่อเกิดผลกระทบในพื้นที่หนึ่ง ก็อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่อีกซีกหนึ่งก็ได้ และไม่เลือกว่าต้องเป็นประเด็นด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองเพราะไม่ว่าจะเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งผลที่เกิดขึ้นจะกระทบอีกเรื่ืองหนึ่งเสมอ ความขัดแย้งทางการเมืองหลายครั้งจึงเป็นที่มาของความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและหลายครั้งปัญหาเศรษฐกิจก็นำไปสู่การเมือง ไทยแม้ไม่ใช่ผู้เล่นในเวทีการเมืองโลกแต่ก็เป็นผู้จะได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งตราบใดที่เศรษฐกิจไทยยังต้องการเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศอยู่

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ กับจีนดูเหมือนจะมาถึงจุดเปลี่ยน ขณะที่การพัฒนาของสาธารณรัฐประชาชนจีนและการเป็นผู้นำของนายสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรค ทำให้ความท้าทายด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงสูงขึ้น แล้วอะไรคือคำตอบสำหรับนโยบายที่เป็นไปได้และมีประสิทธิภาพมากที่สุดกันแน่ แนวทางหนึ่งคือใช้การเจรจาต่อรองทางเศรษฐกิจและการมีส่วนร่วมทางการทูต เพื่อโน้มน้าวให้คณะปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเดินหน้าสู่เศรษฐกิจตลาดแบบตะวันตก พร้อมกับอยู่ร่วมกันภายใต้สถานภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นอยู่ แต่ข้อถกเถียงที่ตามมาระบุว่าไม่มีตัวเลือกนี้แล้ว นโยบายด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของจีนได้พัฒนามาไกลเกินไป ในแง่ของทิศทางการยกระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ และนายสีมุ่งมั่นต่อการพลิกผันดังกล่าวมากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด

นโยบายด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของนายสี

เมื่อนายสีขึ้นสู่ตำแหน่งใน พ.ศ. 2555 ก็ได้รับช่วงเศรษฐกิจตลาดที่นำโดยรัฐซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับการปรับปรุงกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนประมาณร้อยละ 10 ต่อปีนับตั้งแต่ พ.ศ. 2522 จะพึ่งพาตลาดและภาคเอกชนที่ไม่หยุดนิ่งและมีนวัตกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่จีนยังคงรักษาบทบาทผู้นำของรัฐในการปกป้องการควบคุมและเสถียรภาพทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองเอาไว้

ในขณะที่หลายฝ่ายคาดหวังว่านายสีจะกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อิงตามตลาดอีกครั้ง แต่เขากลับเพิ่มการควบคุมรัฐเป็นสองเท่าแทน นายสีใช้กฎระเบียบและการอุดหนุนสินเชื่อ เพื่อสนับสนุนรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มีสายสัมพันธ์อันดีต่อกัน มากกว่าบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงบริษัทต่างชาติ

นอกจากนี้ นายสียังสานต่อความพยายามของผู้นำคนก่อนที่ให้เพิ่มการใช้เงินในคลังของรัฐเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของจีน คณะกรรมการทบทวนด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีนเน้นย้ำถึง “แผนบูรณาการทุกหน่วยงานของภาครัฐเพื่อบรรลุความเหนือกว่าด้านเทคโนโลยีขั้นสูง” ดังนั้น แผนเมดอินไชน่า พ.ศ. 2568 จึงพยายามสร้างการพึ่งพาตนเองในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีชีวภาพ ไปจนถึงอุปกรณ์การขนส่ง แล้วการพึ่งพาตนเองจะต่อด้วยการเจาะตลาดต่างประเทศ

ความ ขัดแย้ง ทางเศรษฐกิจ เกิด จาก อะไร
หญิงคนหนึ่งสวมเสื้อแจ็คเก็ตสีแดงเดินผ่านห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่ที่ตกแต่งด้วยภาพดวงตาในกรุงปักกิ่ง ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

แผนนี้มีนัยสำคัญสองประการ ประการแรก นายสีไม่ได้คาดการณ์ว่าจีนจะเข้าสู่การกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นการเพิ่มการกระจายงานในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีระดับสูงไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ดังที่ปรากฏในสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก นายสีตั้งใจที่จะใช้เงินอุดหนุนและตั้งกฎระเบียบเพื่อเกื้อหนุนผู้จัดหาภายในประเทศในตลาดจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นก็จะใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบด้านราคาที่เกิดขึ้นเพื่อครองตลาดต่างประเทศ ประการที่สอง อุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงที่เป็นเป้าหมายมีการประยุกต์ใช้ทางทหารแบบควบคู่ ซึ่งสามารถใช้เพื่อยุติหรือเรียกคืนความได้เปรียบทางเทคโนโลยีที่กองทัพสหรัฐฯ และกองทัพพันธมิตรมีอยู่

สำหรับภายนอก นายสีได้สานต่อการพัฒนาทางการทหารของผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมใช้วาทศิลป์และนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น ดังความจริงที่ว่าตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2543) ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมเพิ่มขึ้นในอัตราสองเท่า และกองทัพปลดปล่อยประชาชนยังดำเนินการปรับปรุงเชิงคุณภาพที่น่าทึ่งอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ท้ายที่สุดนายสีก็ล้มเลิกนโยบายต่างประเทศของนายเติ้ง เสี่ยวผิง ในการ “ซ่อนความแข็งแกร่ง” และ “ไม่เป็นจุดเด่น” สำหรับนายสี แนวคิดความฝันของจีนไม่เพียงครอบคลุมถึงมาตรฐานการครองชีพที่เพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นการหวนคืนสู่บทบาทการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของจีนในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย วาทศิลป์นี้สอดคล้องกับนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้นในพื้นที่รอบนอกทั้งทางตะวันออกและตอนใต้ของจีน ตั้งแต่หมู่เกาะเซ็งกะกุที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของญี่ปุ่นไปจนถึงไต้หวัน ตลอดจนการอ้างสิทธิ์ด้วยเส้นประเก้าเส้นและในพรมแดนหิมาลัยของอินเดีย นอกจากนี้ยังมีโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งเป็นความพยายามทั่วโลกของจีนที่จะใช้เงินอุดหนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อซื้ออิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ การทูต และการทหาร

นโยบายเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อสร้างผลกระทบสูงสุดในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก และเช่นเคย แทนที่จะเข้าสู่การกระจายงานทางเศรษฐกิจที่มีอยู่และอยู่ร่วมกันในสถาปัตยกรรมความมั่นคงที่มีอยู่ นายสีกลับพยายามที่จะใช้ระเบียบแบบใหม่ที่จีนเป็นผู้กุมอำนาจ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งจะถูกแทนที่จากตลาดในภูมิภาคของตน เศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำและปานกลางของภูมิภาคจะถูกปิดกั้นไม่ให้เลื่อนระดับห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เติบโตเต็มที่ หากวิสัยทัศน์ของนายสีบรรลุผล จะมีห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคที่รวมเป็นหนึ่งเดียว โดยมีจีนครองอันดับสูงสุดและเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคจะอยู่ที่อันดับล่างสุด ในทำนองเดียวกัน เมื่อกองทัพสหรัฐฯ สูญเสียแสนยานุภาพของตน อาจมีการใช้การผสมผสานระหว่างแรงจูงใจเชิงบวกและเชิงลบทางเศรษฐกิจและทางทหารเพื่อยับยั้งการประสานงานในระดับภูมิภาค และเพื่อตัดทอนสัมปทานที่สำคัญและการเชื่อฟังทางการทูต หากนายสีบรรลุจุดประสงค์

สถานภาพที่ไม่ยั่งยืน

ในยุคการปฏิรูปตลาดของนายเติ้ง ดูเหมือนเศรษฐกิจของจีนจะเอนเอียงมาทางเศรษฐกิจตลาดแบบตะวันตก ในขณะที่รัฐบาลจีนครองบทบาทการเป็นผู้นำ โดยใช้การเลือกปฏิบัติทางการเงินและกฎระเบียบ รวมถึงการโจรกรรมเทคโนโลยีเพื่อเอาใจบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสายสัมพันธ์อันดีต่อกัน และในกระบวนการที่ดำเนินการเกินดุลการค้าจำนวนมากเกินจริง สหรัฐฯ และพันธมิตรอาจสามารถประวิงเวลาของตนได้ จีนมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานมาก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ลดลงอย่างมากในสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน หากจีนยังคงเดินหน้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจตลาดแบบธรรมดา ตลาดขนาดใหญ่ภายในประเทศก็จะเปิดโอกาสที่ยากจะปฏิเสธสำหรับภาคส่วนที่ใช้เงินทุนสูงและเทคโนโลยีระดับสูงของตะวันตก

ความ ขัดแย้ง ทางเศรษฐกิจ เกิด จาก อะไร
ผู้ประท้วงชูนิ้วห้านิ้วเพื่อแสดงถึงสโลแกน “5 ข้อเรียกร้อง ไม่ขาดแม้แต่ข้อเดียว” ในห้างสรรพสินค้าฮ่องกงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

สภาพความอดทนและการมีส่วนร่วมที่เป็นอยู่นี้ ถูกบ่อนทำลายสะสมมาเรื่อย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจพื้นฐาน การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นการสูญสิ้นศัตรูร่วมที่ยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ กับจีนตั้งแต่ทศวรรษ 1970 (พ.ศ. 2513-2522) หลังจากเผชิญกับประสบการณ์เกือบล่มสลายที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อ พ.ศ. 2532 พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เสียขวัญก็หันไปพึ่งลัทธิชาตินิยมของจีน (ที่เรียกว่าการปลูกฝังให้รักชาติ) เพื่อฟื้นฟูความชอบธรรมและเริ่มทุ่มทรัพยากรจำนวนมากในการปรับกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้ทันสมัย ขณะเดียวกัน การเติบโตอย่างรวดเร็วและการปรับความทันสมัยทางเทคโนโลยีของจีนอย่างต่อเนื่องก็ได้ก่อให้เกิดคู่แข่งโดยตรงกับอุตสาหกรรมต่างประเทศที่ใช้เงินทุนสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ การอุปถัมภ์ของรัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะสงวนตลาดภายในประเทศไว้สำหรับบริษัทของตนเอง ขณะที่เงินอุดหนุนของจีนลดลงในการครองตลาดต่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสีได้ยกระดับนโยบายความมั่นคงและเศรษฐกิจที่แข็งกร้าวเหล่านี้ ผ่านการดำเนินการที่ก้าวร้าว ซึ่งรวมถึงการใช้กำลังทหาร

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ทำลายฉันทามติของนโยบายด้านประเทศจีนฉบับเดิมของสหรัฐฯ โดยมีผู้นำทางการเมืองและผู้มีตำแหน่งสูงด้านนโยบายจำนวนหนึ่งถกเถียงกันอย่างจริงจังว่า จีนยังเป็นภัยคุกคามทางทหารอยู่หรือไม่ ธุรกิจที่ใช้เงินทุนและเทคโนโลยีระดับสูงส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนถูกปิดกั้นหรือกลายเป็นชนชายขอบในตลาดจีน ขณะที่คู่แข่งสัญชาติจีนของธุรกิจเหล่านั้นใช้เงินอุดหนุนและเทคโนโลยีที่ขโมยมา เพื่อให้ได้เปรียบต่างชาติอย่างไม่เป็นธรรม ความตระหนักเหล่านี้กลายเป็นการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและแทรกแทรงความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น แม้ว่าการใช้ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติในอินโดแปซิฟิกของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และภาษีศุลกากรเพื่อเจรจาต่อรองให้มีการปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางการค้าที่เป็นธรรมและการเข้าถึงตลาดจีนมากขึ้นมีความคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่กลับกลายเป็นการแก้ที่ปลายเหตุมากกว่า การเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากสภาพเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป และประธานาธิบดีคนต่อไปก็ไม่มีแนวโน้มที่จะหันเหไปจากแนวทางใหม่นี้มากนัก 

อนาคตจะเป็นอย่างไร

ลักษณะทางการเมืองที่มีโครงสร้างและความเอนเอียงส่วนบุคคลทำให้นายสีมีแนวโน้มที่จะไม่ปรับแนวทางของจีน เพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจ พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องใช้การควบคุมโดยตรงต่อภาคส่วนที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เช่น โทรคมนาคม สื่อสังคมออนไลน์ บริการอินเทอร์เน็ต และหน่วยรับข้อมูลฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับประกันถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ยังเห็นว่าจำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงความไม่มั่นคงทางการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องควบคุมธนาคารที่ใหญ่ที่สุด และบริษัทที่ให้บริการทางการเงินอื่น ๆ ด้วย นอกเหนือจากอุตสาหกรรมกลาโหมแล้ว กลุ่มเทคโนโลยีแบบใช้งานได้สองทางยังดึงดูดการสนับสนุนจากรัฐด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ

ความ ขัดแย้ง ทางเศรษฐกิจ เกิด จาก อะไร
ธงของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ซ้าย) ธงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (กลาง) และธงของสหรัฐฯ แสดงอยู่บนแนวประดับธงที่ตลาดขายส่งอี้อู ในเมืองอี้อู มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน รอยเตอร์

โดยพื้นฐานแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะสนับสนุนการพัฒนาตลาด ซึ่งไม่ใช่การใช้กฎหมายแบบตะวันตกที่มุ่งมั่นรับประกันการคุ้มครองและสิทธิอย่างเท่าเทียมแก่ผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจทุกคน แต่เป็นการใช้ความร่วมมือภายในที่ซับซ้อนระหว่างผู้มีตำแหน่งสูงของพรรคและองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงไม่สามารถหยุดให้การดูแลพิเศษแก่บริษัทที่มีสายสัมพันธ์กับพรรค โดยไม่เปลี่ยนแนวทางการกำกับดูแลทั้งหมดในลักษณะที่จะคุกคามการควบคุมทางการเมืองและรุกล้ำผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ความเอนเอียงส่วนตัวของนายสี คือการรับมือกับทุกปัญหาด้วยการเพิ่มการควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีการเปิดกว้างด้านการแข่งขันมากขึ้น แต่การขับเคลื่อนจะมุ่งไปที่การพึ่งพาตนเองมากขึ้น ความต้องการในการพึ่งพาตนเองดังกล่าวเพิ่มสูงมากขึ้น จากความปรารถนาของนายสีที่จะปลุกปั้นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงแบบใช้งานได้สองทาง ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้เป็นคู่แข่งที่เทียบเคียงกองทัพสหรัฐฯ

ดังนั้น การเจรจาต่อรองระหว่างผู้นำจีนกับผู้นำสหรัฐฯ จึงไม่ได้นำไปสู่อนาคตที่มีการแข่งขันและการค้าอย่างเสรีและเปิดกว้าง นายสีจะยังคงพยายามสร้างห่วงโซ่อุปทานโลกที่เป็นเอกภาพในประเทศจีน ซึ่งดูดกลืนภาคส่วนที่ใช้เงินทุนสูงและเทคโนโลยีระดับสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ และพันธมิตรจึงตอบสนองได้เพียงการปกป้องส่วนที่สำคัญของตลาดภายในประเทศจากการแข่งขันของจีน ซึ่งก็คือการรักษาห่วงโซ่อุปทานอิสระส่วนมากในอันดับรอง แล้วหลักการสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้การตอบสนองนี้มีประสิทธิภาพสูงสุดมีอะไรบ้าง

ประการแรก สหรัฐฯ รวมถึงพันธมิตรและหุ้นส่วนต้องใช้ภาษีศุลกากรและเงินอุดหนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อรักษาความเป็นอิสระทางเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำในภาคส่วนเทคโนโลยีระดับสูงแบบใช้งานได้สองทางที่สำคัญหากเป็นไปได้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและระบบคลาวด์ การบิน และหุ่นยนต์ เช่นเดียวกับภาคส่วนที่ต้องใช้เงินทุนสูงในเชิงยุทธศาสตร์ทางทหาร เช่น โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และเภสัชกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายการธนาคารและการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงระบบโครงข่ายไฟฟ้า จะต้องได้รับการปกป้องด้วยมาตรการจำกัดเช่นเดียวกับที่ใช้กับหัวเว่ย การแข่งขันอย่างต่อเนื่องของจีนในตลาดระดับสูงหลายแห่งเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แต่ควรกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดจีนให้ดีขึ้น รวมทั้งการตอบโต้ต่อเงินอุดหนุนของจีนและการโจรกรรมด้านเทคโนโลยี

ประการที่สอง มาตรการดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากมีการเจรจาและดำเนินการในหลายฝ่าย ห่วงโซ่อุปทานแบบคู่ขนานจะมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันน้อยลง หากสร้างขึ้นโดยแบ่งเป็นประเทศหรือภูมิภาค ทว่าห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้จะแข็งแกร่งที่สุดหากสร้างขึ้นจากการกระจายงานอย่างกว้างขวาง เปิดกว้าง และสามารถแข่งขันได้ ซึ่งประกอบด้วยแรงงานจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ตลอดจนพันธมิตรและหุ้นส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะจากภูมิภาคอินโดแปซิฟิก การปกป้องห่วงโซ่อุปทานอิสระจะช่วยให้พันธมิตรและหุ้นส่วนสามารถเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจีนได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตและอำนาจต่อรองของพันธมิตรและหุ้นส่วน ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นยังคงแสวงหาการเข้าถึงตลาดจีนในระดับสูงสุด อีกทางเลือกหนึ่งคือ ห่วงโซ่อุปทานที่เป็นเอกภาพมากขึ้นโดยมีจีนเป็นผู้กุมอำนาจ ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีการต่อรองแยกกันจากตำแหน่งที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่าและมีการพึ่งพากันมากขึ้น

ประการที่สาม เชื่อมโยงความพยายามด้านนโยบายเศรษฐกิจร่วมกันดังกล่าวกับภัยคุกคามทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีร่วมกัน ซึ่งการหาทางออกร่วมกันจะดีที่สุด เศรษฐกิจที่พึ่งพาตลาด เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานของจีนจะเป็นภัยต่อขีดความสามารถทางทหาร รวมถึงการทูตและยุทธศาสตร์อิสระ ตัวอย่างที่โดดเด่นของอันตรายเหล่านี้เห็นได้จากปฏิกิริยาของจีน ที่มีต่อการใช้ระบบป้องกันขีปนาวุธในบริเวณพิกัดตำแหน่งสูงของเกาหลีใต้ จีนให้การปกป้องและช่วยเหลือเกี่ยวกับขีดความสามารถด้านอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือที่มีศักยภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้ตอบโต้ต่อการตอบสนองเชิงป้องกันของเกาหลีใต้ โดยการปิดกั้นการท่องเที่ยวและทำการคว่ำบาตรผลิตภัณฑ์ของเกาหลีใต้อย่างไม่เป็นทางการ ขณะที่เกาหลีใต้ต้องการที่จะรักษาการเข้าถึงตลาดจีนในระดับสูงสุด การรักษาห่วงโซ่อุปทานแบบคู่ขนานที่ไม่มีการควบคุมจากจีนไม่เพียงปกป้องขีดความสามารถของเกาหลีใต้ในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพภายนอกประเทศจีน แต่ยังรวมถึงเสรีภาพในการเลือกยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย “การตอบโต้ของจีนกำลังทำลายอำนาจอธิปไตยของเกาหลี และไม่มีการคุกคามต่อประเทศใด ๆ ที่ใหญ่ไปกว่านี้” ตามรายงานของบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์โชซอนอิลโบของเกาหลีใต้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนได้ตอบโต้ออสเตรเลียจากการสนับสนุนการสืบสวนหาที่มาและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจำกัดการนำเข้าข้าวบาร์เลย์และเนื้อวัวจากออสเตรเลีย รวมทั้งคุกคามด้วยข้อจำกัดที่กว้างขึ้นและปิดกั้นผู้บริโภค อีกทั้งยังใช้การตอบโต้ดังกล่าวกับอินเดีย ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไต้หวันเช่นกัน จีนใช้ข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อกดดันให้ประเทศอื่น ๆ ผ่อนปรนอิสรภาพทางการทูตและความมั่นคงทางทหาร ประเทศที่ร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจจะรักษาความแข็งแกร่งและอิสรภาพที่จำเป็นในการดำเนินการร่วมกันเพื่อปกป้องความมั่นคงของตน