การพัฒนาการท่องเที่ยวมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

การท่องเที่ยวยั่งยืน from Dr.Pirun Chinachot

คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม  กำหนดทิศทางโดยชุมชน  จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน (โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ, 2540)

องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

องค์ประกอบหลักของ CBT มีอยู่ 4 ด้าน กล่าวคือ

1) ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม
2) องค์กรชุมชน
3) การจัดการ
4) การเรียนรู้

ประเด็นสำคัญของแต่ละองค์ประกอบของ CBT ได้แก่

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม

  • ชุมชนมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีวิถีการผลิตที่พึ่งพาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

  • ชุมชนมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

ด้านองค์กรชุมชน

  • ชุมชนมีระบบสังคมที่เข้าใจกัน

  • มีปราชญ์  หรือผู้มีความรู้  และทักษะในเรื่องต่าง ๆ หลากหลาย

  • ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา

ด้านการจัดการ

  • มีกฎ-กติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
  • มีองค์กรหรือกลไกในการทำงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว  และสามารถเชี่อมโยงการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนโดยรวมได้
  • มีการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม
  • มีกองทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน
    ด้านการเรียนรู้
  • ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง
  • มีระบบจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน
  • สร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งในส่วนของชาวบ้านและผู้มาเยือน

ด้านการเรียนรู้

  • ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง
  • มีระบบจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน
  • สร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ทั้งในส่วนของชาวบ้านและผู้มาเยือน

CBT กับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม เนื่องจากทรัพยากรการท่องเที่ยว กับทรัพยากรที่ชุมชนใช้เป็นฐานการผลิตเป็นทรัพยากรเดียวกัน วัฒนธรรมธรรมและสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องจิตวิญญาณของชุมชน ในการสร้างสัมพันธ์กันภายในชุมชนและการสัมพันธ์กับภายนอก  ควรจะเชื่อมโยงให้เห็นการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

ความแตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น

Ecotourism (อีโคทัวร์ริซึ่ม) ภาษาราชการเรียกว่า “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” แต่หลายชุมชนหรือหลายองค์กร เรียก “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ซึ่งความแตกต่างของอีโคทัวร์ริซึ่ม กับ CBT คือ CBT เน้นที่ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการทำงาน  แต่อีโคทัวร์ริซึ่ม  ธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง  ชุมชนเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง

Homestay (โฮมสเตย์) ภาษาราชการเรียกว่า “ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท” มีความแตกต่างจาก CBT คือ เน้นบ้านเป็นศูนย์กลาง  แต่ CBT ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการบริหารจัดการที่ชัดเจนในรูปองค์กรชุมชน

การท่องเที่ยว : เครื่องมือในการพัฒนาชุมชน

CBT เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการท่อง เที่ยว

ในขณะเดียวกันในภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชนได้เข้าไปมีบทบาทในการสร้างคุณภาพใหม่ของการท่อง เที่ยวให้มีความหมายมากกว่าการพักผ่อน ความสนุกสนาน และความบันเทิง  หากได้เปิดมิติของการท่องเที่ยวเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเคารพคนในท้อง ถิ่น

หลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน  ที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนมีหลักการดังนี้

  1. ชุมชนเป็นเจ้าของ

  2. ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ

  3. ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง

  4. ยกระดับคุณภาพชีวิต

  5. มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม

  6. คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

  7. ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม

  8. เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

  9. เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น

  10. มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน

การที่จะให้ชุมชนดำเนินการท่องเที่ยวตามหลักการดังกล่าวข้างต้น มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการ จัดการการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องรณรงค์กับคนในสังคมให้เห็นความแตกต่างของการท่องเที่ยว โดยชุมชนกับการท่องเที่ยวทั่วไป  กระตุ้นให้คนในสังคมเห็นความสำคัญและเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน  นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มการรับรู้และความเข้าใจในบทบาทของชุมชนท้องถิ่นต่อ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นกำลังใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต่อ เนื่องในการทำงานอนุรักษ์ทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ได้เกิดจากการตอบคำถามว่า “ชุมชนจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการท่องเที่ยว”  แต่เป็นการสร้างโจทย์ใหม่ว่า “การท่องเที่ยวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างไร”

การท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชน

จากการประชุมระดับโลกเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก “Earth Summit” ในปี 2535  นับเป็นจุดเริ่มในการผลักดันความคิดเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน”  ส่งอิทธิพลถึงการให้ความสำคัญเรื่อง “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”  จากกระแสการพัฒนาการท่องเที่ยว 3 ประการ กล่าวคือ

  1. กระแสความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  2. กระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้

  3. กระแสความต้องการในการพัฒนาคนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นความพยายามหนึ่งของการสร้างทางเลือกในการพัฒนาใน ประเด็นการท่องเที่ยวที่ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จาก ท่องเที่ยว และมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนา

กำเนิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ช่วงที่โลกตื่นตัวเรื่องการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและหาทางเลือกใหม่ของการ ท่องเที่ยว  ช่วงปี 2535 – 2540 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  (Ecotourism) เข้ามาเป็นกระแสใหม่และกระแสใหญ่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดยการผลักดันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในขณะที่การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism : CBT) เริ่มก่อตัวขึ้นเติบโตคู่ขนานไปกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  โดยการทำงานในระดับพื้นที่ของโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ (REST)  ซึ่งในช่วงดังกล่าว ชื่อที่เรียกขานการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่  มีหลากหลายชื่อ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  การท่องเที่ยวเชิงเกษตร  การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  การท่องเที่ยวสีเขียว

หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540ปี รัฐบาลไทยใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยประกาศให้ปี 2541-2542 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand)  ในปี 2544 มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP)  หลังปี 2545 การท่องเที่ยวลงไปในชนบทหลากหลายรูปแบบ ในปี 2547  มีการให้มาตรฐานโฮมสเตย์ หรือเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท”

ณ ปัจจุบัน หากให้ชุมชนนิยามตนเองว่าเรียกชื่อการดำเนินการท่องเที่ยวของตนว่าชื่ออะไร  จะพบว่ามีชื่อเรียก 4 ชื่อด้วยกันในกลุ่มชุมชนที่ทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน  ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์