ชุมชนชนบทในสังคมไทยมีลักษณะสำคัญเช่นใด

เมือง มีการติดต่อและสื่อสารกันมาก อาณาเขตของการกระทำระหว่างกันกว้างมากกว่าในชนบท มีการติดต่อและมีความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ (Secondary relation) ไม่มีความเป็นกันเอง ความสัมพันธ์คงอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ รูปแบบความสัมพันธ์มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ผิวเผิน และมีแบบ

1. สังคมชนบท หมายถึง เขตนอกเมือหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน ชาวชนบทที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันฉันท์มีความผูกพันฉันท์พี่น้อง
สังคมชนบทมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ( ครอบครัวขยาย ) สมาชิกในครอบครัวมักช่วยกันทำงานเพื่อผลิตอาหาร ชาวชนบททำงานเป็นฤดูกาลมีความผูกพันกับศาสนา ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีศาสนาอย่างเคร่งครัด วัดเป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของชาวชนบท รวมทั้งใช้ประกอบกิจกรรม พิธีกรรมต่างๆ และใช้ด้านการศึกษา สภาพสังคมชนบทในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ
* ปัญหาทางสังคมซึ่งชาวชนบทต้องประสบ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาเศรษฐกิจ
* ปัญหาทางวัฒนธรรม ปัจจุบันชาวชนบทได้รับวิทยาการสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชาวชนบทเป็นอันมาก เช่น เครื่องจักรทุ่นแรงสำหรับการประกอบอาชีพ อุปกรณ์ที่ทำให้การดำรงค์ชีวิตได้รับความสะดวกสบายขึ้น อันส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และมีความสิ้นเปลืองมากขึ้นตามไปด้วย

2. สังคมเมือง หมายถึง บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางของความเจริญต่างๆ การคมนาคมสะดวก ประชาชนประกอบอาชีพหลากหลาย ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเมืองเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยมากมักจะติดต่อกันด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน ความจริงใจที่มีต่อกันน้อยมาก ความสัมพันธ์ของชาวเมืองมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ
สังคมเมืองมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ( ครอบครัวเดี่ยว ) สมาชิกในครอบครัวมักจะประกอบอาชีพแตกต่างกัน วัดเป็นเพียงแหล่งประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น ไม่ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจเหมือนกับสังคมชนบทพฤติกรรมของชาวเมืองจะยึดกฏหมายเป็นหลัก เศรษฐกิจในสังคมเมืองจะมีความยุ่งยากมาก

           เป็นครอบครัวมีความสัมพันธ์กันในลักษณะทุติยภูมิความผูกพันกันในครอบครัวมีน้อย อาชีพของชาวเมืองมีมากมาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นศูนย์รวมของการศึกษา การปกครอง ธุรกิจการค้าและอื่นๆ ชาวเมืองส่วนใหญ่ช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยได้ เป็นสังคมที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยการอพยพเข้ามาในเมือง  คนในเมืองมีการแข่งขันแย่งชิงกันสูง  ค่านิยมความโอ่อ่า วัตถุนิยม

ชุมชนชนบทในสังคมไทยมีลักษณะสำคัญเช่นใด


     1.  ชุมชนชนบท
          ชุมชนชนบท  เป็นเขตพื้นที่ที่พ้นจากตัวเมืองออกไป  หรืออาจเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาล  เป็นเขตที่มีความเจริญทางด้านวัตถุน้อย  มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ประมง  เลี้ยงสัตว์  หน่วยทางสังคมของชุมชนชนบท  หมายถึง  หมู่บ้าน  ซึ่งหมู่บ้านหมู่หนึ่งอาจมีจำนวนประชากรปประมาณ 20 ครัวเรือน  ถึง 100 ครัวเรือนก็ได้
          ลักษณะทั่วไปของสังคมชนบท
          สังคมไทยาเป็นสังคมเกษตรเพราะประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตร  ดังนั้นสังคมชนบทจึงจัดได้ว่า  เป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย  ลักษณะทั่วไปของสังคมชนบทจะมีลักษณะ  ดังนี้
          (1)  ครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญของเศรษฐกิจ  เป็นทั้งหน่วยการผลิตและหน่วยบริโภค  สิ่งของเครื่องใช้และอาหารจะผลิตขึ้นใช้เอง  และยังมีดภาระหน้าที่อื่น ๆ เช่น  ถ่ายทอดความรู้ทางอาชีพ  อบรมสั่งสอนเรื่องคุณธรรมให้แก่สมาชิกในครอบครัว  เป็นต้น
          (2)  สมาชิกของครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น  สมาชิกในชุมชนจะให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นมิตรต่อเพื่อนบ้าน  มีการติดต่อกันแบบเป็นกันเอง  เอื้อเฟื้อและจริงใจต่อกัน
          (3)  ลักษณะของครอบครัวเป็บแบบครอบครัวขยาย  สมาชิกประกอบด้วยหลาย ๆ ครอบครัว  ซึ่งเป็นเครือญาติกัน  มาอยู่รวมในครัวเรือนเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียงกัน
          (4)  วัดเป็นสถานที่สำคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาเป็นแหล่งสำคัญในการให้การศึกษาและอบรมาบ่มนิสัยแก่ประชาชน  ค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติของคนในชุมชน
          (5)  ชาวชนบทส่วนใหญ่ยึดมั่นอยู่กันประเพณีเดิมเป็นอย่างดี  ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง
          (6)  ชาวชนบทจะพึ่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  และอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ  ทำให้ผูกพันกับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ไสยศาสตร์  โชคลาง  หรือสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ
          (7)  ชาวชนบทส่วนใหญ่จะยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนทางศาสนาและเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ อย่างพร้อมเพรียงกัน  เช่น  งานบวช  งานศพ  และงานบุญต่าง ๆ
          (8)  ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ต่ำมาก  เมื่อเทียกับความหนาแน่นของประชาก