การเป็นผู้นำกิจกรรมนันทนาการต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง

ในการที่เราได้รับหน้าที่ในการเป็นผู้นำกิจกรรมต่างๆนั้น เราก็ควรเป็นผู้นำที่ดี โดยสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  1. ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆของกิจกรรมให้ละเอียดก่อน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของกิจกรรมหรือทักษะที่เกี่ยวข้องว่ามีความเหมาะสมดีแล้วหรือเปล่า เพื่อเวลาที่เราจะได้ถ่ายทอดให้กับผู้ร่วมกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  2. เลือกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
  3. ต้องคอยกระตุ้นผู้ร่วมกิจกรรมให้ตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม
  4. เราควรทำความเข้าใจและศึกษาสมาชิกแต่ละคนที่เข้าร่วมว่ามีจุดเด่นหรือจุดด้อยอะไรบ้าง รวมถึงสุขภาพของแต่ละคนด้วย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดมาจากปัญหาสุขภาพของสมาชิก
  5. ควรมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  6. มีการเตรียมความพร้อมต่างๆ ทั้งเรื่องสถานที่และอุปกรณ์ ให้มีความเหมาะสม
  7. คอยให้การดูแล ให้คำแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง
  8. ต้องหมั่นดูแลสุขภาพตนเองด้วยเพราะถ้าผู้นำไม่พร้อมก็จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำได้อย่างเต็มที่ รวมถึงความสามารถที่จะให้การดูแลแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย


     บทบาทของการเป็นผู้ร่วมกิจกรรมที่ดี

ผู้เข้าร่วมปฏิบัติหรือผู้ชมมีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

1.ยอมรับทำตามกฎกติกาที่กิจกรรมนั้นๆกำหนด

2.ทำตามคำแนะนำของผู้นำกิจกรรมอย่างเคร่งครัด

3.สำรวจตรวจสอบความพร้อมความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมทั้งแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้นำกิจกรรม

4.ให้ความสำคัญเอาใจใส่กับกับกระบวนการทำงานกลุ่ม

5.ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำกิจกรรมตลอดเวลา หลีกเลีี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และได้รับบาดเจ็บจากกิจกรรม

6.แจ้งผู้นำกิจกรรมทันทีหากมีเหตุผิดปกและข้อผิดพลาด

7.หากมีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม ก็ควรถ่ายทอดและให้คำแนะนำกับสมาชิกด้วย

8.ต้องแสดงออกถึงความมีมารยาทดีทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวคำขอบคุณ หรือ การปรบมือให้กำลังใจ


จากแนวทางข้างต้นนี้ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่ชวยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเป็นผู้ร่วมกิจกรรมที่ดีได้ และทำให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรมนันทนาการอีกด้วย

..........ผมเองมีความเชื่อมั่นอย่างนึงว่าในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม รูปแบบการเรียนรู้เเบบนี้สามารถพัฒนาศักยภาพของคนได้ เพราะพบเห็นมากับตัวเอง ซึ่งการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เราๆมองเห็นกันอยู่นั้นส่วนใหญ่มองเห็นเป็นค่ายกิจกรรมที่จัดขึ้น ก่อนการเรียน ระหว่างการเรียน หรือหลังการเรียน (ในห้องเรียน) เเต่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม หรือที่เรียกกันว่า Activity Based Lerning ยังมีอีกมากมายหลากหลายรูปเเบบทั้งในห้องเรียนเเล้ว ยังมีนอกห้องเรียน เเละกิจกรรมอื่นๆที่อาจไม่ได้อยู่ในรูปแบบของค่ายกิจกรรม

..........มุมมองนี้ เป็นข้อที่ผมได้พบเห็นจากงานของตนเองเเละของครูคนต่างๆ กิจกรรมที่เราพูดๆคุยๆกันอยู่เหล่านนั้น หากมองโดยภาพรวมทั้งกิจกรรม ได้เเก่ กลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเปิดวงชวนคุย กิจกรรมสันทนาการ การละลายพฤติกรรมเข้าหากัน ก็ล้วนมี 3 ปัจจัยที่ประกอบกัน เเต่บางกิจกรรมจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์เเละผลที่คาดว่าจะได้รับจากกิจกรรมนั้นๆ
..........ความคิด จิตใจ เเละการกระทำ อยู่ใน 1 กิจกรรม หรือ 1 กระบวนการ อยากให้ทุกๆคนลองย้อนมองดูรูปแบบของตนเอง คำถามต่อมา คือ เเล้วจะเห็นได้อย่างไร ? ตัวอย่าง เช่น กิจกรรมทีม ให้เด็กประดิษฐิ์เรือ โดยที่เราให้อุปกรณ์จำกัด โดยให้โจทย์ว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้เรือนั้น เเข็งเเรงที่สุด อันดับเเรกๆเด็กจะเกิดความคิดขึ้นมาก่อนว่าจะทำอย่างไร เเล้วจึงเกิดการกระทำเกิดขึ้น เมื่อไม่สำเร็จ เเน่นอนว่าก็ต้องคิดต่อยอดขึ้นมาใหม่ เเล้วจึงเกิดการกระทำ เวลาผ่านไปจนสำเร็จ จิตใจจะมีทั้งช่วงที่เป็น - เเละเป็น + เเล้วจึงเกิดปัญญา (กิจกรรมนี้ใช้การคิดเป็นส่วนใหญ่) หรือ กิจกรรมสันทนาการที่ให้กระโดดเเล้วร้องเพลง การกระทำ คือ การใช้เท้ากระโดด โดยที่เรามุ่งหวังให้ทุกๆคนได้ละลายพฤติกรรมเข้าหากัน กิจกรรมเหล่านี้จะสนุก (ด้านจิตใจจะมากที่สุด) จากมุมมองข้างต้น อาจเห็นได้ในระดับหนึ่งว่ากิจกรรมที่เราทำๆกันอยู่นี้ มีทั้งการคิด จิตใจเเละการระทำ หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ

..........ในกิจกรรมย่อยๆ เราอาจเเบ่งได้หลายๆประเภท เช่น กิจกรรมละลายพฤติกรรม กิจกรรมเตรียมความพร้อม กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเสริมทักษะการคิด ฯ ซึ่งต่างๆเหล่านั้น ในที่นี้ผมขอเเยกเป็น 2 อย่าง ได้เเก่ กิจกรรมเเบบเดี่ยว(เช่น เล่นคนเดียว ทดสอบไหวพริบ การมองตนเอง) เเละกิจกรรมเเบบกลุ่ม (กิจกรรมทีม กิจกรรมสร้างพลัง ฯ) วิธีการในการนำกิจกรรมในกระบวนการนั้นๆ ก็เเสนจะหลากหลาย เเต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในปัจจุบันเเละอนาคต (ในที่นี้ผมขอเล่าในเชิงวิธีการว่ากิจกรรมจะเดินอย่างไรเเละสิ่งที่เราควรคิดในการนำกิจกรรมคืออะไร)
..........กิจกรรมหลักๆที่เราใช้กันอยู่ในกระบวนการของค่ายหรือกิจกรรม คือ กิจกรรมสันทนาการ เเละกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ หลายท่านมีวิธีในการนำกิจกรรมเหล่านี้ตามเเบบฉบับของตนเอง ผมขอสะท้อนหลักนึงในการนำกิจกรรมทั้งสันทนาการเเละกลุ่มสัมพันธ์ ดังนี้

  • กิจกรรมสันทนาการ (หลักในการนำกิจกรรมสันทนาการ)
    - อธิบายก่อน 1 รอบ
    - ทำตัวอย่างให้ดู 2 รอบ
    - ลองทำดู ให้เล่นประมาณ 3-5 รอบ
    - อาจสรุปบทเรียนร่วมด้วย
  • กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (หลักในการนำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์)
    - ให้ช่วงเเรกในการวางแผนเเละคิดร่วมกัน
    - ให้ลงมือทำร่วมกัน
    - เมื่อไม่เป็นไปตามเป้าให้คุยกันวางเเผนเเละปรับปรุง
    - สรุปบทเรียนที่ได้ ถ้าจะให้ดีควรถามผู้เล่นก่อนว่ารู้สึกอย่างไร เพราะอะไรเราถึงทำได้ดี เเละเพราะอะไรเราถึงทำช้ากว่าเพื่อนฯ เเล้วนำเข้าการสรุปบทเรียน

*สิ่งที่ควรมองเมื่อทำกิจกรรมกลุ่ม

1.เน้นย้ำในเรื่อของการเข้าสังคมเเละการอยู่ในสังคม
2.เน้นย้ำในเรื่องของหลักดีในการพัฒนากาย ใจเเละปัญญา
3.เมื่อเราอยากได้ผลทางบทเรียนให้ออกมามาก เราก็ต้องดูว่า กิจกรรมของเรานั้นสามารถดึงบทเรียนนี้ออกมาได้มากน้อยเพียงใด โดยไม่กล่าวสรุปไปรอบโลก
4.เเต่ละกลุ่มที่เราจัดนั้นควรมีพี่ประจำกลุ่มด้วยเพื่อำนวยความสะดวกเเละผูกมิตรไปด้วยกัน
5.ไม่ควรที่จะเน้นความเเพ้ความชนะจนเกินไปเพราะคนเเพ้อาจรู้สึกด้อยได้ เเต่ให้เน้นที่บทเรียน

สิ่งที่ต้องคำนึงในกระบวนการ/กิจกรรม
๑.เหตุ-ผลที่จะทำกิจกรรม

..........การที่เราจะทำค่ายกิจกรรม หรืองานใดใด ก็เเล้วเเต่ นั้น เหตุเเละผลที่เราอยากให้เกิดขึ้นย่อมเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเราตั้งอยู่บนฐานของเหตุเเละผล รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ การร้องเล่นเต้นระบำ การนั่งหลับหรือนอนหลับตา ฯ ทุกอย่างมีเหตุเเละผลของมันที่เราอยากให้เกิดขึ้นกับผู้ที่มาเข้าร่วมค่ายกิจกรรมของเรา อย่างที่ได้พูดไว้ตั้งเเต่ขั้นต้นว่า เเม้เเต่รอยิ้ม เเละเสียงหัวเราะนั้น ก็มีเหตุผล เพราะเราทำค่ายกิจกรรมอย่างมีจุดหมาย ค่ายไม่ได้เป็นเพียงต้องมาร้องเล่นเต้นระบำต่อกันเเละกัน ไม่ได้มีเพียงความสนุก เเต่ค่ายกิจกรรมทุกค่ายจะต้องมีเนื้อนัยยะของเหตุผล หรือเเทรกเเง่คิดต่างๆไว้ด้วยเสมอๆ

๒.อารมณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
..........สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดในด้านที่กำลังออกเเบบค่ายอยู่ คือ อารมณ์ของผู้คนที่มาค่ายเรา เพราะอารมณ์นี้สำคัญที่จะทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้ กิจกรรมเราต้องสร้างอารมณ์จาก 0 ไปหาร้อย ไต่ระดับขึ้นไป ซึ่งความรู้สึกของคนเราก็เหมือนกับพาราโบล่า ที่ขึ้นจากจุดต่ำสุด ไปหาจุดสูงสุด เช่น เราต้องละลายพฤษติกรรมให้เขารู้จักกันก่อนเเล้วค่อยเข้าสู่การตั้งวงคุยกันหรือทำงานเป็นทีม เป็นต้น เมื่อเล่นไปได้สักพักหนึ่งเเล้ว อารมณ์ของผู้คนจะตกลงเหมือนกับพาราโบล่า "เด๊" เราเป็นผู้นำอยู่ ในขณะนั้น ก็ให้เลิกเล่นทันที เพราะเมื่อความรู้สึดเริ่มลดลงเเล้ว ทำให้อารมณ์ออกจากกิจกรรม จนทำให้เบื่อไปนั่นเอง ฉะนั้นควรเล่นประมาณ 3 - 5 รอบจะพอดี เพราะของอย่างนี้ เราเล่นให้อยาก เเล้วก็จากไป

๓.ระดับอายุของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
..........อายุเเละวุฒิภาวะของผู้เข้าร่วมกิจกรรมของเรานั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะบางเกม เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล บางเกมเหมาะสำหรับเด็กมัธยม เด็กวัยรุ่น หรือบางเกมเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งหลายๆครั้งเราไม่สามารถที่จะใช้ร่วมกันได้ เราก็ต้องมาใคร่ครวญดูให้ดีก่อนว่ามีความเหมาะสมไหม เหมาะสมอย่างไร ในทีมที่ทำงาน

-อนุบาลควรเป็นเกมง่ายๆ เต้นง่ายๆ เเละเด็กรู้ดีว่าสิ่งนั้นมันคืออะไร ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์อะไรมากมาย เพราะเด็กอาจไม่เข้าใจ อาจเน้นเพลงเป็นส่วนใหญ่ให้ปรบมือหรือ เล่นมอญซ่อนผ้าเวอร์ชั่นต่างๆ หรืออาจวาดรูป

-ประถมเป็นเกมที่พัฒนาขึ้นมาอีกให้ก้าวทันความคิดเด็ก โดยอาจเน้นไปที่เริ่มมีการออกเเรงไปด้วย เล่นไปด้วย เน้นที่การร้องเล่น เเละเต้นในบางครั้ง

- วัยมัธยมเป็นวัยที่ต้องเสริมเเง่คิดในการดำเนินชีวิตลงในตัวกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ โดยไม่ร้องเล่นเพียงอย่างเดียว เเต่เอากิจกรรมเเบบทีมมาใช้ในระดับที่ยากขึ้น

-วัยมหาวิทยาลัยเป็นวัยรุ่นที่เหมือนผู้ใหญ่ วัยนี้ส่วนมากที่เห็นเเล้วไม่ค่อยอายกันนัก สามารถให้เต้นละลายพฤติกรรมได้ เเละมีวุฒิภาวะที่เราสามารถจัดเเนวคิดได้เต็มรูปเเบบ เเต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก เเล้วในวัยนี้ควรเเทรกเเง่คิดในการอยู่ร่วมกันหรืออยู่ในสังคมเป็นหลัก

๔.ความอับอายของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
..........ในกรณีที่จะเกิดความอายกันเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่ที่เรามองเห็นได้ชัดเจนก็คงจะเป็น เมื่อยาม มีเกมจบลงเเล้วมีการลงโทษ ผู้ที่ทำไม่ได้หรือทำไม่ทันเพื่อน ซึ่งการลงโทษผู้เข้าร่วมกิจกรรม ด้วยการเต้นหรือเดินไปร้องตะโกนอยู่ในที่ผู้คนพลุกพล่านหรืออื่นๆ จะทำให้เกิดความอายเกิดขึ้น จนก่อให้เกิดความกลัว เเล้วอารมณ์ที่ดีก็จบลงในที่สุด หลายๆคนอาจเต้นได้อาจกล้าเเสดงออก ซึ่งคนกลุ่มนี้เราสามารถให้เต้นได้ เเต่คนบุคคลิกเงียบๆไม่ค่อยพูดจา ไม่ค่อยกล้าเเสดงออกนั้น ถ้าเราลงโทษด้วยการเต้นไม่ได้ หรือเต้น ก็เต้นอย่างไม่ให้อาย โดนอายเต้นพร้อมกัน ที่เป็นท่าที่ทุกๆคนสามารถยอมรับได้ สรุปง่ายๆคือ ผู้คนเราเเบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน ดังนี้

-บุคคลที่กล้าเเสดงออก ให้เต้นได้ เพื่อที่จะให้ ผู้ชมมีใจร่วม

-บุคคลที่ไม่ค่อยกล้าเเสดงออกให้เต้นไม่ได้เเต่ให้ใช้วิธีการอย่างอื่นเเทนการเต้นที่เป็นการทำโทษ..เช่นมีเส้นวาสนาหรือให้เต้นด้วยกันทุกๆคนในท่าที่ไม่อายพอรับได้

๕.ความลามกอนาจาร
..........ความลามกอนาจารอาจใช้ได้ในบางคน เเต่ในหลายๆคนเขายอมรับไม่ได้ จนทำให้ความรู้สึกร่วมลดลงจนหมดไปในที่สุด บางเกมที่ส่อไปทางเพศมากๆไม่ควรนำมาใช้ในค่าย อาจทำให้เกิด การชี้โพรงให้กระรอกในทางที่ไม่ดี เเละอาจส่งผลทำให้ผู้คนมองว่าเรื่องเกมที่ลามกเป็นเรื่องปกติก็เป็นได้ ฉะนั้นเกมลามกหากเลี่ยงได้จะดีมาก เเต่ในบางบริบทก็สามารถใช้ได้(ขึ้นอยู่กับสังคม)

๖.ความเชื่อทางศาสนา
..........ความเชื่อความศัทธาทางศาสนาไม่ควรนำมาล้อเล่นในเกมของเรา เพราะในบางที เกมของเราอาจส่อไปด้านการลบหลู่เเละหยามเหยียดซึ่งกันเเละกัน เช่น การไม่ควรเอาสัตว์ที่คนอื่นเคารพบูชามาเป็นเรื่องบันเทิงของเราเอง ผลเสียในเเง่นี้เกิดขึ้น คือ ผู้ที่เขาเคารพบูชาเขาจะต่อว่าเเละเกิดปากเสียงกันได้ อาจทำให้ผู้อื่นที่มองเห็น ไร้ซึ่งความเชื่อในผู้นำกิจกรรมในที่สุด

๗.ภาษาที่ใช้
..........ภาษาที่ใช้นั้นก็เป็นเทคนิคอีกทางหนึ่งที่ทำให้เกมของเรา เข้าใจ เเละง่าย เพราะสื่อสารได้ตรงประเด็น ซึ่งเกมบางเกมเราอาจมีหลายภาษาอาจใช้ภาษาถิ่นบ้าง เเล้วลองมาเปลี่ยนเป็นภาษากลางบ้าง เพื่อให้เพียงเกมเดียวของเรามีความแปลกใหม่ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ถ้อยคำที่ถ้อยควรใช้ถ้อยคำที่มีจังหวะ ไม่พูดรัวเกินไป เเละไม่ช้าจนไป(บางบริบท) เสียงหนักเเน่นไว้เป็นดี เพราะมันจะทำให้ดูน่าทำตามมากยิ่งขึ้น

๘.สถานที่จัดกิจกรรม
..........สถานที่การดำเนินกิจกรรมนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องควรคำนึง เพราะหลายๆครั้งสถานที่เราก็ไม่สามารถเล่นเกมบางเกมได้ ซึ่งมันก็อาจเเคบจนเกินไป กว้างจนเกินไป เป็นพื้นดิน หรือพื้นปูน หรือหญ้าที่สามารถปักผิวหนังทำให้บาดเจ็บ ซึ่งเราก็ควรออกเเบบกิจกรรมเราตามสถานที่ร่วมด้วย ว่าในที่เช่นนี้ เราสามารถทำได้ไหม

๙.คำต้องห้าม
..........ในการดำเนินกิจกรรมนั้น คำที่ไม่ควรพูดที่จะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมน่าเบื่อ ได้เเก่ พร้อมไหม พร้อมกันหรือยัง หรือจะทำได้ไหม โดยให้ใช้คำว่า "ลองทำดู" เเทน ซึ่งคำต่างๆ ของผู้นำกิจกรรมในตอนนั้น ที่ผู้ร่วมกำลังอยากรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เเต่ก็ต้องมาตอบกับผู้นำกิจกรรมว่า ฉันจะทำได้นะ ทั้งๆที่ก็รู้ว่าทุกคนทำได้ ทำให้รู้สึกเบื่อเล็กๆ ตั้งเเต่เริ่มเเรก ฉะนั้นคำต้องห้ามจึงไม่ควรให้มีเกิดขึ้น

๑๐.การมีส่วนร่วม
..........เราเป็นคนที่ทำค่าย เเต่จะทำค่ายอย่างไร ให้ผู้คนได้ร่วมไปด้วยกัน ซึ่งเมื่อผู้คนได้ร่วมไปด้วยกัน มันจะเป็นปริมาณซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อในผู้นำอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้คนมาทำร่วมกันให้มากที่สุด เพราะทุกๆคนสำคัญเท่ากันหมด

๑๑.ตัวหลักเเละตัวเสริม
..........กิจกรรมค่ายของเราควรมีตัวหลักซึ่งหลายถึงคนที่จับไมค์มากที่สุดอยู่เป็นบุุคคลๆไป เพราะการที่เราเปลี่ยนผู้นำกิจกรรมทุกกิจกรรมหรือบ่อยๆครั้ง ก็จะทำให้ผู้เข้าร่วมต้องเริ่มจูนความคิดของตนเองใหม่ ถ้าจะให้ดีควรเเบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนว่า ใครที่จะจับไมค์ตัวหลัก(ผู้เข้าร่วมจะได้จดจำถูก) เเล้วใครที่จะเป็พิธีกรต่างๆ เเละวิทยากรต่างๆ ให้ชัดเจน

๑๒.จังหวะของความคิด
..........ในการทำค่ายใดใดก็ตาม ควรนึกไว้เสมอๆว่า เวลาที่คนเราสมองจะปลอดโปร่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่สุดนั้น จะเป็นช่วงเวลาใด ถ้าเป็นเวลาในตอนเช้าๆ เด็กจะคิดเเละจะมีความรู้สึกตื่นเต้นได้ดีมาก ส่วนช่วงบ่ายเมื่อเราให้ทำกิจกรรมมากๆ สมองอาจเริ่มล้า โดยอาจให้เน้นกิจกรรมกลุ่มเเทนที่มีการคิดช่วยกัน ในกิจกรรมที่เป็นเเก่นจะต้องมีกิจกรรมนำเข้าที่อาจอยู่ในรูปแบบของการละลายพฤติกรรม ละลายความเครียดก็ได้ เพราะในช่วงขิงกิจกรรมนั้น เราไม่ได้มีเพียงความเครียดจนเกินไป เเละความสนุกจนลืมเเก่น
..........ในกิจกรรมเราต้องมีทั้งเสียงหัวเราะเเละละลายพฤติกรรมทุกคนให้เข้ากัน เเล้วจึงมาเข้าสู่เเก่นเรื่อง จากนั้นเมื่อเข้าสู่เเก่นเรื่องเเล้ว เราก็ต้องมาให้มีเสียงหัวเราะเกิดขึ้น หรือมีเกมที่มาขั้นช่วงทำให้ไม่เครียดจนเกินไป เเล้วก็มาเข้ากิจกรรมต่อไป เเล้วเป็นไปอย่างนี้ อยู่ตลอดเพราะ เเคร์ความคิดของผู้เข้าร่วม เป็นหลัก
..........ปัจจัยทางด้านอากาศก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเริ่มที่จะเบื่อ เเล้วทำให้อารมณ์ลดลงจนหมดไปในที่สุด เเล้วนอกจากนี้เเล้ว ความหิว ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้อารมณ์ร่วมลดลง ซึ่งเราก็ควรให้พักบ้างประมาณ 10 - 15 นาทีเเล้วค่อยกลับมาอีกครั้งหนึ่ง อาจมีของเบรคก็ได้ตามทุนที่มี เเละความไม่ที่สงบ คือ คนพูดคุยกันเยอะ ก็ทำให้อารมณ์ร่วมลดน้อยลงมากเช่นเดียวกัน

..........นอกจากนี้เเล้วสิ่งที่ควรมองในฐานะที่เราเป็นผู้นำกิจกรรม คือ วิธีการที่เราทำอยู่ เกิดผลมากน้อยเพียงใด เป็น + หรือ - เเล้วสิ่งที่เป็นทั้ง + เเละ - นั้น มันก่อเกิดปัญญาได้อย่างไร ?

คุณสมบัติที่ดีของผู้นำกิจกรรมนันทนาการควรเป็นอย่างไร

ผู้นำนันทนาการ.
การแต่งกายสุภาพเหมาะสมกับกิจกรรมนันทนาการนั้น.
มีการปรับตัว ควบคุมตัวเอง มีความเข้าใจคน.
มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม แก้ไขปัญหาได้ รู้จักการใช้ศิลปะการเป็นผู้นำได้ถูกกาลเทศะ.
ผู้นำกิจกรรมนันทนาการต้องเป็นที่ยอมรับและชื่นชมของบุคคลที่ประกอบกิจกรรมด้วย มีความเข้มแข็งอดทน มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม.

ข้อใดคือลักษณะของผู้นำนันทนาการ

ผู้นำนันทนาการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ดำเนินการหรือให้การเอื้ออำนวยกลุ่ม บุคคลในการทำกิจกรรมนันทนาการให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมนันทนาการประกอบด้วยจุดมุ่งหมายของกิจกรรม การเลือกกิจกรรม การจัดเตรียมสถานที่ วิธีการดำเนินการ สวัสดิภาพและความปลอดภัยในการดำเนินกิจกรรม และสุดท้ายคือการสรุป ประเมินผลของ ...

ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการเป็นอย่างไร

ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ว่างจากการเรียนการประกอบอาชีพหรือจากการว่างภารกิจส่วนตัว กิจกรรมที่ทำ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานอาชีพหรืองานที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ เป็นกิจกรรมที่ไม่มีใครบังคับให้ทำแต่ทำด้วยความสมัครใจ ความพึงพอใจตนเอง

ผู้นำนันทนาการมีความหมายว่าอย่างไร

ผู้นำนันทนาการ คือ บุคคลที่มีความสำคัญต่อการนันทนาในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องมีหน้าที่และบทบาทในการบริหารจัดการ การนันทนาการและขับเคลื่อนกิจกรรมนันทนาการให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หนังสือเล่มนี้ จึงมีเนื้อหาสาระเน้นในการสร้างและพัฒนาความเป็นผู้นำ ...