ประโยชน์ของธุรกิจมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อมที่เถ้าแก่ต้องรู้

ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อม

1.       การสร้างงานใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมจะเป็นธุรกิจที่สร้างงานใหม่เพราะ เป็นการริเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ทำธุรกิจของผู้ประกอบการ จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสสำหรับตลาดแรงงาน เช่น ในปี พ.ศ. 2540-42 ประเทศไทยได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องลดปริมาณแรงงานลง(Down  Sizing)โดยการให้คนงานออกจากงาน คนที่ว่างงานมักจะหันมาเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมได้ง่ายและธุรกิจขนาดย่อมนั้นสามารถเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้ต่อไป สำหรับธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างงานใหม่ได้ คือ การลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ หรือ การขยายธุรกิจเดิมส่งเสริมการมีงานทำ และช่วยทำให้มาตรฐานการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมสูงขึ้นเพราะในการดำเนินการธุรกิจนั้น จำเป็นต้องมีการจ้างบุคคลเข้าทำงาน อันก่อให้เกิดรายได้ เกิดอำนาจซื้อ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้มีรายได้นำไปซื้อปัจจัย 4 ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งมีผลดีต่อความเป็นชีวิตของตัวผู้ประกอบการเอง ส่งผลให้ผลดีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง  พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น และมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นด้วยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน( Quality  of  Working  life)       

2.       การสร้างนวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่กล่าวนี้ มักจะมีจุดเริ่มต้นจากการวิจัยตลาดหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดจน   การค้นคว้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่ลูกค้าซึ่งมีส่วนช่วยเหลืออย่างมีคุณค่าให้เกิดขึ้นกับมาตรฐานและคุณภาพชีวิตของประชาชน  โดยที่แผนกวิจัยของธุรกิจขนาดใหญ่มุ่งเน้นปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีคุณภาพตามความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค การศึกษาถึงนวัตกรรมแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว จะต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรมของลูกค้าจากของธุรกิจขนาดย่อมในการทำงานวิจัย  ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี สินค้า และบริการใหม่ ๆ ที่ให้ความสะดวกความสบาย ความพอใจแก่ผู้บริโภคได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะธุรกิจมีการแข่งขัน และพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นผู้นำทางด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในด้านการผลิต ธุรกิจขนาดย่อมจะช่วยกระตุ้นการแข่งขันในตลาดและช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่

3.       สร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ  เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ  ผู้ที่เริ่มประกอบธุรกิจสามารถเรียนรู้จากการประกอบการของธุรกิจขนาดย่อม  เป็นแหล่งในการฝึกทักษะ  สร้างความเชี่ยวชาญ  การลองผิดลองถูกเพื่อสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ได้ต่อไปในอนาคต

4.       ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า  การเพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เป็นสถานการณ์ซึ่งธุรกิจมีการแข่งขันด้านการขาย ถ้ามีผู้ผลิตที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท บริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นมีอำนาจการต่อรองสูง  ผูกขาดด้านราคา  ไม่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่ถ้าหากมีธุรกิจขนาดย่อมเข้ามาแข่งขันด้วยจะทำให้การแข่งขันด้านราคาลดลง  ตลอดจนมีการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมาตรฐานของสินค้าการบริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มมาตรฐานการครองชีพให้แก่ประชาชนได้เพราะเมื่อมีการลงทุนเพื่อธุรกิจอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดรายได้แก่สังคมในรูปต่างๆ ทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น ซึ่งมีผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อธุรกิจได้ชำระภาษีให้กับรัฐรัฐก็นำไปใช้ในการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน

5.      ช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่ให้ผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  อาจกล่าวได้ว่าหน้าที่บางอย่าง ธุรกิจขนาดย่อมมักจะทำได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ อีกทั้งธุรกิจขนาดใหญ่นั้นอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ครบทุกประการเพราะไม่เกิดความคล่องตัว เช่นการผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค จัดจำหน่ายและกิจกรรมต่างๆ จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบบางประการให้กับธุรกิจขนาดย่อม เช่นหน้าที่ในการจัดจำหน่าย การค้าส่งหรือค้าปลีก เป็นต้น ทั้งนี้เพราะธุรกิจขนาดย่อมมีความคล่องตัวสูง สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดย่อมเป็นหน่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับเงินตรา การทำธุรกรรม  ส่วนประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของธุรกิจขนาดย่อมจะเหมือนกับธุรกิจขนาดใหญ่คือ สร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศ   การคิดค้นนวัตกรรม กระตุ้นการแข่งขัน  ส่งเสริมสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนผลิตสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : รู้จักกับที่มาของคำว่า “เถ้าแก่”
  • ตอนที่ 2 : สิ่งที่เถ้าแก่ต้องมี และรู้อยู่แล้ว ไม่มีไม่รู้เป็นไม่ได้
  • ตอนที่ 3 : ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อมที่เถ้าแก่ต้องรู้
  • ตอนที่ 4 : ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อมที่เถ้าแก่ต้องรู้(ต่อ)
  • ตอนที่ 5 : ประเภทของธุรกิจขนาดย่อมที่เถ้าแก่ทำได้
  • ตอนที่ 6 : การเลือกทำเลที่ตั้งแบบเถ้าแก่
  • ตอนที่ 7 : การเลือกทำเลที่ตั้งแบบเถ้าแก่(ต่อ)
  • ตอนที่ 8 : การประมาณอำนาจซื้อแบบเถ้าแก่
  • ตอนที่ 9 : การประมาณอำนาจซื้อกับการจัดซื้อ
  • ตอนที่ 10 : จริยธรรมที่เถ้าแก่จะต้องมี
  • ตอนที่ 11 : จริยธรรมที่เถ้าแก่จะต้องมี ตอน2
  • ตอนที่ 12 : จริยธรรมที่เถ้าแก่จะต้องมี(3)
  • ตอนที่ 13 : การทอนเงินแบบเถ้าแก่
  • ตอนที่ 14 : การทอนเงินแบบเถ้าแก่( 2)
  • ตอนที่ 15 : 5 ส เริ่มแรกของการทอนเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตอนที่ 16 : ลูกจ้างอย่างไหนที่เถ้าแก่ จะต้องไล่ออก (เท่านั้น) ตอนที่ 1
  • ตอนที่ 17 : ลูกจ้างอย่างไหนที่เถ้าแก่ จะต้องไล่ออก (เท่านั้น) ตอนจบ
  • ตอนที่ 18 : ถ้าอยากจะเป็นเถ้าแก่ที่ดี ต้องประกอบอาชีพใดมาก่อน
  • ตอนที่ 19 : ถ้าจะเป็นเถ้าแก่ที่ดีต้องประกอบอาชีพใดมาก่อน(2)
  • ตอนที่ 20 : ถ้าจะเป็นเถ้าแก่ที่ดีจะต้องประกอบอาชีพใดมาก่อน(3)
  • ตอนที่ 21 : คาถาเศรษฐี
  • ตอนที่ 22 : คาถาเศรษฐี(2)
  • ตอนที่ 23 : คาถาเศรษฐ๊(3)
  • ตอนที่ 24 : คาถาเศรษฐี(4)
  • ตอนที่ 25 : สมบัติอันล้ำค่า คือ ความภักดีของลูกค้าที่มีกับกิจการ
  • ตอนที่ 26 : สมบัติอันล้ำค่า คือ ความภักดีของลูกค้าที่มีกับกิจการ(ต่อ)
  • ตอนที่ 27 : จะเปลี่ยนตัวเองเป็นเถ้าแก่ได้อย่างไร ?
  • ตอนที่ 28 : จะเปลี่ยนตัวเองเป็นเถ้าแก่ได้อย่างไร (2)
  • ตอนที่ 29 : เถ้าแก่กับทำเล
  • ตอนที่ 30 : เถ้าแก่กับธุรกิจบริการ
  • ตอนที่ 31 : เถ้าแก่กับ Globalization
  • ตอนที่ 32 : เถ้าแก่กับคุณภาพ
  • ตอนที่ 33 : รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อมที่เถ้าแก่จะต้องรู้
  • ตอนที่ 34 : รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อมที่เถ้าแก่จะต้องรู้(2)
  • ตอนที่ 35 : เถ้าแก่กับรูปแบบธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว
  • ตอนที่ 36 : เถ้าแก่กับสมบัติอันล้ำค่า
  • ตอนที่ 37 : เถ้าแก่พันธุ์ใหม่เมื่อจบปริญญา
  • ตอนที่ 38 : บางทีเวลาสำคัญกว่าคุณภาพ
  • ตอนที่ 39 : ไฉ่เซงเอี๊ยเทพเจ้าของเถ้าแก่ทุกคน
  • ตอนที่ 40 : วิธีการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในธุรกิจ
  • ตอนที่ 41 : ขอเป็นนักวิจัยแบบเถ้าแก่ ตอนที่1
  • ตอนที่ 42 : ขอเป็นนักวิจัยแบบเถ้าแก่ ตอนที่2
  • ตอนที่ 43 : ขอเป็นนักวิจัยแบบเถ้าแก่ ตอนที่3
  • ตอนที่ 44 : Ethnography Research เพื่อใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์
  • ตอนที่ 45 : Ethnography Research เพื่อใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ 2
  • ตอนที่ 46 : Ethnography Research เพื่อใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ 3
  • ตอนที่ 47 : Ethnography Research เพื่อใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ 4
  • ตอนที่ 48 : กลวิธี Focus Group
  • ตอนที่ 49 : การวิจัยกับเถ้าแก่
  • ตอนที่ 50 : การวิจัยกับเถ้าแก่ ตอนที่ 2
  • ตอนที่ 51 : ความสำคัญของการวิจัย 1
  • ตอนที่ 52 : ความสำคัญของการวิจัย 2
  • ตอนที่ 53 : สินค้าคงคลังสำคัญไฉน

ธุรกิจมีประโยชน์อย่างไรกับมนุษย์

ธุรกิจมีประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ ดังนี้ 1. ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อมีบ้านย่อมต้องการเฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้าน เป็นต้น 2. ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ของการทําธุรกิจ มีอะไรบ้าง

จากที่ได้ทราบแล้วว่าวัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจของกิจการต่างๆ คือ การสร้างกำไรสูงสุดให้แก่กิจการ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักที่ทุกกิจการที่แสวงหาผลกำไรต้องการบรรลุ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน สำหรับการประสบความสำเร็จในการดำเนินงานสำหรับทุกกิจการ คือ ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน

หน้าที่ในการประกอบธุรกิจมีอะไรบ้าง

1. หน้าที่การผลิต ( Production Functions).
2. หน้าที่การตลาด ( Marketing Functions).
3. หน้าที่ทางการเงินและบัญชี ( Finance and Accounting Function) ... .
4. หน้าที่ทางทรัพยากรมนุษย์ ( Personel Function ).

ประโยชน์ของธุรกิจทางตรงมีอะไรบ้าง

8 Page 9 ข้อดีของการตลาดแบบตรง 1. สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน 2. ส่งข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง 3. ให้ความสะดวกแก่พนักงานขาย 4. สามารถประเมินผล และรู้จำนวนผู้สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ชัดเจน 1. มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 2. มีความสะดวกมากขึ้น ไม่เสียเวลาในการเดินทาง