การประเมินผลงานในแฟ้มสะสมงานมีประโยชน์อย่างไร

          ผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการช่วยในการวัดประเมินการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งที่มุ่งวัด ยกตัวอย่างเช่น Padlet เป็นโปรแกรมในลักษณะกระดานข่าว (Bulletin board) ที่ผู้เรียนงานสามารถสร้างและแบ่งปันเนื้อหาหรือความคิดเห็นร่วมกันกับผู้อื่นได้ ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการระดมสมอง แสดงความคิดเห็น อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลข่าวสาร สะท้อนความคิด สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในคาบเรียน บันทึกอนุทิน (Diary) แผนผังความคิด หรือแฟ้มผลงาน โปรแกรมนี้ช่วยสะท้อนให้ผู้สอนได้สารสนเทศเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในบทเรียน หรือกระบวนการทางความคิดของผู้เรียนได้อย่างทันที

          10. การประชาสัมพันธ์ผลงานของนักเรียน เป็นการแสดงนิทรรศการผลงานของนักเรียน  โดยนำแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียนทุกคนมาจัดแสดงร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ครู และนักเรียนทั่วไปได้เข้าชมผลงาน ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ผู้ที่เริ่มต้นทำแฟ้มสะสมผลงานอาจไม่ต้องดำเนินการทั้ง 10 ขั้นตอนนี้ อาจใช้ขั้นตอน   หลัก ๆ คือ การรวบรวมผลงานและการจัดระบบแฟ้ม การคัดเลือกผลงาน และการแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน 

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

ความหมาย

แฟ้มสะสมงาน  คือ การสะสมงานอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงผลงาน  ความก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลของนักเรียนในส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของการเรียนรู้ในวิชานั้นๆ การรวบรวมจะต้องคลอบคลุมถึงการที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกเนื้อหา  เกณฑ์การคัดเลือก  และเกณฑ์การตัดสินใจในระดับคะแนน  รวมทั้งเป็นหลักฐานที่สะท้อนการประเมินตนเองของนักเรียนด้วย  (กรมวิชาการ, 2539: 68)

ทฤษฎี/แนวคิด

แนวคิดเรื่องแฟ้มสะสมงานได้ถูกนำมาใช้ในช่วงประมาณตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19  โดยนักศึกษาในกลุ่มประเทศแถบอเมริกา  โดยมีประเทศแคนาดาเป็นผู้ริเริ่มการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่มีหลักการสำคัญ  คือ  ยึดหลักการประเมินผู้เรียนจากการสะสมผลงาน  และได้พัฒนาสู่รูปแบบใหม่ที่ชัดเจนขึ้นในประเทศแมกซิโก  ในชื่อที่เรียกว่า  “The teaching  portfolio”  พร้อมทั้งมีการศึกษากันอย่างจริงจังในระยะต่อมาของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา  โดยแนวคิดเรื่องแฟ้มสะสมงานเป็นที่กล่าวขวัญในสหรัฐอเมริกาประมาณกลางปี  ค.ศ. 1980 แฟ้มสะสมงานนักเรียนได้ถูกนำมาใช้อย่างจริงจังทั้งในระดับชั้นของโรงเรียนในเขตการศึกษาในและมลรัฐโดยมีการใช้หลายรูปแบบ

  1. แฟ้มรวบรวมผลผลิตจากโครงงานที่ผู้เรียนผลิตขึ้นเอง
  2. แฟ้มรวบรวมผลงานประเภทต่างๆ ของผู้เรียน  และบันทึกของครู
  3. แฟ้มรวบรวมผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดผลมาตรฐานที่นำมาใช้วัดผลผู้เรียน

การนำแฟ้มสะสมงานไปใช้ในการประเมินผลได้รับการพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบตะวันตก  ทั้งในยุโรป  สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย  ในราวปี 1988  เป็นต้นมาโดยเรียกว่า “การประเมินผลการเรียนโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio  assessment)”  ได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย  เช่น  รัฐเวอร์มอนต์  ได้ใช้วิธีการนี้ประเมินผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างเป็นทางการทั่วทั้งรัฐแทนวิธีการดั้งเดิมที่ใช้แบบทดสอบ  ซึ่งจากการสอบถามครูนักการศึกษาและผู้บริหารการศึกษามีความเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่าเป็นวิธีการประเมินผลที่ใช้ได้ดีกว่าวิธีการเดิม ในประเด็นที่สามารถตรวจสอบได้ว่านักเรียนเรียนรู้อย่างแท้จริงหรือไม่  และนักเรียนมีความสามารถอะไรบ้างจากการแสดงออกทั้งทางด้านสติปัญญา  ร่างกายและความรู้สึก  (ชัยฤทธิ์  ศิลาเดช, 2540)

ประเภทของแฟ้มสะสมงาน

วรรณดี  ชุณหวุฒิยานนท์ (2540: 4-5) ได้แบ่งแฟ้มสะสมงานตามจุดมุ่งหมายในการใช้ไว้ดังนี้

  1. Personai  portfolio  เป็น portfolio ที่รวบรวมข้อมูลสารสนเทศส่วนตัวของนักเรียน  เช่นบุคลิกภาพส่วนตัว  งานอดิเรก  งานกิจกรรม  งานท่องเที่ยว  ความสามารถพิเศษ เรื่องราวของครอบครัว  รวมทั้งงานอ่าน  งานเขียน  สิ่งที่ภาคภูมิใจ  สิ่งที่สนใจ  สิ่งที่ประสบความสำเร็จ  เป็นต้น
  2. Learning  portfolio  เป็น  portfolio  ที่รวบรวมงานของนักเรียน  แสดงให้เห็นถึงความรู้  ความสามารถ ความพยายาม  ความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านของนักเรียนซึ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนมักประกอบด้วยรายงานกระบวนการทำงานของนักเรียน  การประเมินตนเองของนักเรียน  การบันทึกของครู  ความคิดเห็นของผู้ปกครองและเพื่อนนักเรียน จุดมุ่งหมาย  คือ  ให้แนวทางแก่ครูและนักเรียนในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมด้วย

3.   Accountability portfolio  เป็น portfolio  ที่รวบรวมผลงานของนักเรียนที่คัดสรรแล้ว  แสดงให้เห็นผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  มักประกอบด้วยผลการประเมินมาตรฐานการเรียนรู้  งานที่คัดเลือกแล้วซึ่งสร้างขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด  และบันทึกของครู  จุดมุ่งหมาย  คือ  ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเพื่อการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา

จากรายละเอียดของแฟ้มตามวัตถุประสงค์ต่างๆ  จะเห็นได้ว่าการนำแฟ้มสะสมงานมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาพัฒนาการของนักเรียนจากผลงานตลอดจนการเรียนการสอนและกิจกรรมในห้องเรียน  จะสามารถบอกได้ถึงพัฒนาการความก้าวหน้าและความสำเร็จในการทำงานแฟ้มสะสมงานจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะศึกษาพัฒนาการได้อย่างต่อเนื่อง  และสามารถปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการในด้านต่างๆ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

กระบวนการจัดทำแฟ้มสะสมงานในชั้นเรียนมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่  1  ขั้นวางแผนร่วมกันในการทำงาน

ขั้นที่  2  ขั้นรวบรวมชิ้นงานและจัดการชิ้นงาน

ขั้นที่  3  ขั้นเลือกชิ้นงาน

ขั้นที่  4  ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน

ขั้นที่  5  ขั้นสะท้อนข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับชิ้นงาน

ขั้นที่  6  ขั้นตรวจสอบความสามารถของตนเอง

ขั้นที่  7  ขั้นประเมินค่าผลงาน

ขั้นที่  8  ขั้นสร้างความสัมพันธ์

ขั้นที่  9  ขั้นให้คุณค่า  นำเข้าและเอาออกของชิ้นงาน

แนวทางการจัดการเรียนรู้

จากเอกสาร  แผนแห่งความหวังและอนาคตของชาติ : แผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8  (พ.ศ.  2540 – 2544)  ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรีได้ระบุปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า  กระบวนการเรียนการสอนยังคงมุ่งเน้นการท่องจำเพื่อสอบมากกว่ามุ่งให้นักเรียนคิด  วิเคราะห์  เสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ทำให้เด็กไทยจำนวนมากคิดไม่เป็น  ไม่ชอบอ่านหนังสือ  ไม่รู้วิธีการเรียนรู้  การใช้แฟ้มสะสมงานจึงเป็นทางหนึ่งในการแก้ปัญหานี้  เพราะแฟ้มสะสมงานนอกจากใช้เพื่อประเมินผลงานของนักเรียนแล้ว  ยังสามารถใช้ประโยชน์อีกมากมาย  อาทิ เช่น ใช้เป็นกระบวนการเรียนการสอน  ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  และใช้เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เกิดพัฒนาการในวิชาชีพครู  เป็นต้น  (สำลี  ทองธิว, 2541) เพราะแฟ้มสะสมงานสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของแฟ้มสมบูรณ์ครบถ้วน  ตามหลักการพัฒนาเจ้าของแฟ้มเป็นรายบุคคล  หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการพัฒนาเจ้าของแฟ้มแต่ละคนในหลายๆ ด้าน  พร้อมๆ กัน เพราะการจัดทำแฟ้มต้องอาศัยความคิด  ความรู้  ความอดทน  วิจารณญาณ  ความอุตสาหะ  ทักษะต่างๆ  ซึ่งคลุมลักษณะทางสมอง  (cognitive)  ทางจิตใจ  (psychological)  ทางทักษะของเจ้าของแฟ้ม (อุทุมพร  จามรมาน, 2540)

นอกจากนี้  จิราภรณ์  ศิริทวี  (2540)  ได้กล่าวไว้ว่าการใช้แฟ้มสะสมงานในกระบวนการเรียนการสอน  จะช่วยให้นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง  การให้นักเรียนวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของตนเอง  ทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำมากขึ้น  และมุงพัฒนาคุณภาพงานให้ดีขึ้น  อีกทั้งตัวครูเองก็จะได้พัฒนาการสอนของตนเองขึ้นด้วย  การนำแฟ้มสะสมงานมาใช้ในการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนมีกระบวนการ  7  ขั้นตอน

ขั้นที่  1  ขั้นวางแผน  ครูผู้สอนวางแผนในการสอนดังนี้  คือ  ศึกษาหลักสูตร  จุดประสงค์  เนื้อหาและวิธีการประเมินผล  ศึกษาคู่มือเอกสารที่เกี่ยวข้องกำหนดการสอน  เนื้อหาวิชาและเวลาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์  และการทำการสอน  ครูควรชี้แจงให้นักเรียนทราบกระบวนการเรียนตามสภาพที่แท้จริงและการนำแฟ้มสะสมงานมาใช้  กิจกรรมที่นักเรียนต้องปฏิบัติอย่างไร  และมีแผนการประเมินผลอย่างไร

ขั้นที่  2  ขั้นรวบรวมและจัดเก็บผลงาน  เป็นการจัดเก็บผลงาน  เป็นการจัดเก็บผลงานและเนื้อหาข้อมูลเอกสารที่สำคัญลงในแฟ้มสะสมงาน  ได้แก่  ใบความรู้ที่ครูแจก  หรือนักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติม  ใบงาน ใบประเมินผลแบบสะท้อนความคิดเห็นในการจัดเก็บผลงานต้องจัดเก็บอย่างมีระบบ  แยกเก็บผลงานตามเนื้อหาและจุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นที่  3  ขั้นการคัดเลือกผลงาน  หลังจากเก็บรวบรวมผลงานไปสักระยะหนึ่งให้นักเรียนคัดเลือกผลงานที่นักเรียนชอบและมีความหมายต่อตัวนักเรียนเก็บสะสมไว้ในแฟ้มสะสมงานโดยขอคำแนะนำจากครู  หรือร่วมกันกำหนดว่าในการเลือกผลงานนั้นควรมีหลักการใด  ผลงานที่น่าจะจัดเก็บไว้ควรมีลักษณะเช่นไร  ผลงานนั้นไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผลงานที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียวแต่ต้องเป็นผลงานที่แสดงออกได้ถึงกระบวนการคิดการทำงานของนักเรียนด้วย  เพื่อดูพัฒนาการที่เกิดขึ้นในการทำงานแต่ละครั้ง

ขั้นที่  4  ขั้นตรวจสอบความสามารถตนเองของนักเรียน  การตรวจสอบความสารถของตนเองเบื้องต้นจากการสังเกตเป็นการตรวจสอบแบบง่ายที่สุด  นักเรียนสามารถเปรียบเทียบได้จากผลงานว่ามีความสารมารถในการพัฒนาทักษะในด้านใดในการทำงานแต่ละชิ้น  เช่น  ทักษะในการวาดภาพมีความคล่องแคล่วมั่นใจขึ้น  ทักษะทางการพูดการเขียน รู้จักวิเคราะห์วิจารณ์ได้ดีขึ้นตรงประเด็น  นอกจากสังเกตตัวเองแล้วยังใช้แบบประเมินและแบบสะท้อนความคิดเห็นต่อผลงานเป็นตัวตรวจสอบ  ซึ่งการประเมินตนเองจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น  แก้ไขจุดด้อยพัฒนาจุดเด่นของตนเองได้ตรงจุด

ขั้นที่  5  ขั้นสะท้อนความคิดเห็นและความรู้สึกต่อผลงาน  การสะท้อนความคิดเห็นต่อผลงานมีผลต่อการแสดงความคิดวิเคราะห์  เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการบูรณาการวิชาอื่นเข้าร่วมด้วย  เช่น  วิชาภาษาไทย  คือ  การบรรยาย  การใช้คำ  นอกจากนี้จะส่งเสริมการแสดงออกให้มีความมั่นใจขึ้นในการวิพากษ์วิจารณ์  กล้าคิดกล้าทำโดยมีหลักการและเหตุผลเป็นการใช้กระบวนการคิดที่ลึกซึ้ง การสะท้อนความคิดเห็นอาจแสดงได้หลายรูปแบบ จาการบรรยาย  จากแบบสอบถาม  การตรวจสอบผลงาน  การสัมภาษณ์หรือจากการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานตนเองหรือผู้อื่น  นอกจากจะได้ทักษะหลายด้านแล้ว  ยังได้ทักษะทางสังคมอีกด้วย  อาจมีการแลกเปลี่ยนศึกษาผลงานของเพื่อน  แลกเปลี่ยนแนวคิดและข้อปรับปรุงแก้ไขในการทำงาน

ขั้นที่  6  ขั้นการประเมินแฟ้มสะสมงาน  ประเมินรูปแบบเนื้อหา  ประเมินได้ทั้งภาคปฏิบัติ กระบวนการทำงาน  ประเมินตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนด  ตรวจสอบพัฒนาการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการสุดท้ายจากแฟ้มสะสมงาน

ขั้นที่  7  ขั้นจัดนิทัศการ  เพื่อให้นักเรียนภาคภูมิใจ  ชื่นชมในผลงานและความสามารถของตน  โดยให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการวางแผนเอง

ข้อค้นพบจากการวิจัย

จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน  มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้

1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางการเรียน  สมชาย  มิ่งมิตร (2539)  วิจัยศึกษาผลของการประเมินจากพอร์ตโฟลิโอ  วิชาภาษาไทย  กับนักเรียนชั้นประถมศึกาปีที่ 5  พบว่านักเรียนที่ได้รับการประเมินผลโดยใช้พอร์ตโฟลิโอ  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการประเมินผลแบบเดิม  และชัยฤทธิ์  ศิลาเดช  (2540)  วิจัยพัฒนาแฟ้มสะสมงานในการประเมินผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกาปีที่  3 พบว่า  กระบวนการของแฟ้มสะสมงานช่วยให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะและสร้างแรงจูงใจการเรียนให้แก่ผู้เรียนมาก

2.   ความภาคภูมิใจในการสอนและทักษะทางการเรียนของผู้เรียน ชัยพฤกษ์  เสรีรักษ์ (2540)  วิจัยพัฒนารูปแบบการประเมินผลการเรียน  โดยใช้แฟ้มผลงานดีเด่นวิชาภาษาไทยกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  จำนวน  1 คนและชั้นประถมศึกษาปีที่  5  จำนวน  7 คน  พบว่าผู้สอนมีความเห็นว่าแฟ้มสะสมงานดีเด่นสามารถใช้ประเมินความก้าวหน้าและความสารถที่แท้จริงของนักเรียนได้ตรงกับสภาพ  หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทางที่พัฒนาขึ้นของผู้เรียนผู้สอนมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะทางการเรียนสูงขึ้นแลผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น  นักเรียนชอบวิธีการประเมินโดยใช้แฟ้มผลงานดีเด่นเพราะมีความยุติธรรม  เนื่องจากมีการพิจารณาตัดสินผลการเรียนจากผลงานที่ปฏิบัติจริง  ได้เรียนรู้เทคนิคในการประเมินตนเอง ตลอดเวลา  มีโอกาสปรับปรุงส่วนที่บกพร่องได้ทันที

3.   ทักษะการวิจารณ์  ความคิดสร้างสรรค์  และคุณลักษณะทางจิตพิสัย  พรรณวลัย  คีรีวงศ์วัฒนา (2542) วิจัยการใช้แฟ้มสะสมงานนักเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตรกรรมสูงกว่านักเรียนด้วยวิธีการปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05และนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการใช้แฟ้มสะสมงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะพิสัยและจิตพิสัยสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติ  และนักเรียนมีทักษะการวิจารณ์และความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น  มีคุณลักษณะทางจิตพิสัยในด้านความพึงพอใจในผลงานของตนเอง  สามารถยอมรับตนเอง  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้นรวมทั้งทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบเอาใจใส่แลเห็นคุณค่าในผลงานของตนมากขึ้นอีกด้วย

ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานเป็นการรวบรวมข้อมูลจาก

1. ตัวอย่างผลงานที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการ (Process Samples)

2. ตัวอย่างผลงานที่เป็นผลผลิต ( Product Samples)

3. การสังเกตของครู (Teacher Observations )

4. ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการวัด และ ประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลาย

5. ข้อมูลที่เป็นข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์ของแฟ้มสะสมงาน ในการจัดทำแฟ้มสะสมงานมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ

  1. เพื่อให้เจ้าของแฟ้มได้ประเมินตนเองว่า ผลการเรียนรู้หรืองานที่ทำเป็นอย่างไรประสบผลสำเร็จในระดับใด มีระบบหรือไม่ ควรจะปรับปรุงแก้ไขหรือไม่อย่างไร

2. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ประเมินเจ้าของแฟ้มว่า มีความสามารถในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร ประสบความสำเร็จในระดับใด ควรจะได้รับการช่วยเหลือหรือพัฒนาหรือไม่อย่างไร

ลักษณะของแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงาน มีลักษณะสำคัญๆ พอสรุปได้ ดังนี้

1. แฟ้มสะสมงานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี เพราะนักเรียนแต่ละคนจะมีแฟ้มสะสมงานเป็นของตนเอง มีการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ครูจะทราบ จุดเด่นและจุดด้อยของนักเรียนแต่คนจากแฟ้มสะสมงานผลงานในแฟ้มสะสมงานจะมุ่งตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายของการสอนที่ระบุว่า อย่างไร (how) มากกว่าอะไร (what) 2. แฟ้มสะสมงานจะเน้นผลผลิตของงานมากกว่ากระบวนการทำงาน อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นนี้ ฟาร์ และโทน ( Farr and Tone, 1994 : 58-59) มีความเห็นว่าถ้าเป็นแฟ้มสะสมงานทางวิชาชีพ เช่น พวกจิตรกร ช่างภาพ ก็ควรใช้แฟ้มสะสมงานที่สามารถทำให้มองเห็นกระบวนการ ความก้าวหน้า และพัฒนาการในการเรียนรู้ของนักเรียนได้ นอกจากนั้น ยังทำให้ครูได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลงานที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตน แฟ้มสะสมงานที่เน้นผลผลิต เรียกว่า Show Portfolios หรือ Final Portfolios แฟ้มสะสมงานที่เน้นกระบวนการ เรียนว่า Working Portfolios

2. แฟ้มสะสมงานจะเน้นจุดเด่นมากกว่าจุดด้อยของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดความชื่นชมในผลงานของตนเอง สำหรับจุดอ่อนนั้น ครูก็จะนำไปวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การทดสอบแบบเดิมมักตรวจหาความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องของนักเรียน

  1. 3.  แฟ้มสะสมงานจะเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งนักเรียนจะเป็นผู้วางแผนลงมือทำผลงาน ประเมินและปรับปรุงผลงานด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีครูจะช่วยชี้แนะ นักเรียนเป็นเจ้าของผลงาน เจ้าของแฟ้มสะสมงาน ผลงานของนักเรียนต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพชีวิตจริงๆ

4. แฟ้มสะสมงานช่วยสื่อความหมายในเรื่องความรู้ ความสามารถ และทักษะของนักเรียนในเรื่องต่างๆ รวมทั้งความก้าวหน้าและพัฒนาการของนักเรียนแก่คนอื่น เช่น ผู้ปกครอง นักแนะแนว ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

5. การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงานยังมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่น หรือความเห็นที่สอดคล้องกันในการประเมิน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินไม่ค่อยชัดเจน หากผู้ประเมินยึดองค์ประกอบของการประเมินต่างกัน จะมีผลทำให้ความเชื่อมั่น หรือความสอดคล้องของการประเมินมีค่าต่ำ

ประโยชน์ของแฟ้มสะสมงาน

แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ในการแสดง หรือ นำเสนอผลงานของนักเรียนที่สอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน เพราะแฟ้มสะสมงานให้ข้อมูลที่ครบถ้วนกว่าผลการทดสอบด้วยการทดสอบ การจัดทำแฟ้มต้องอาศัยความคิด ความรู้ ความอดทน วิจารณญาณ ความอุตสาหะ ทักษะต่างๆ ของเจ้าของแฟ้ม ดังนั้น แฟ้มสะสมงานจึงสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายประการ คือ

1. สอนนักเรียนเป็นรายบุคคล ให้นักเรียนจัดทำด้วยตนเอง แต่ละคนสามารถเลือกทำงานแต่ละชิ้นได้อย่างอิสระตามความสนใจ และ ความสามารถของนักเรียน และสามารถนำผลงานมาปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้

  1.  2.   ทำหน้าที่สะท้อนความสามารถ และ วิธีการทำงานของเด็กได้ทุกขั้นตอน

3. ทำหน้าที่แตกต่างจากแบบทดสอบ ที่ส่วนมากเป็นการสอบเพื่อหาที่ผิดพลาด แฟ้มสะสมงานจะทำให้ครูสามารถหาจุดเด่นของนักเรียนได้มากกว่าจุดด้อย

4. ทำหน้าที่สำคัญในการแจ้งผลสำเร็จของนักเรียนให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการอภิปรายความก้าวหน้าของนักเรียนกับผู้ปกครองได้ การประเมินจากแฟ้มสะสมงานก็มีลักษณะเปิดเผยตรงไปตรงมา

5. การเก็บสะสมผลงานงานทุกชิ้นที่พิจารณาคัดเลือกไว้แล้ว ต้องเขียน ชื่อ วัน เดือน ปีติดไว้ เพื่อให้สามารถประเมินพัฒนาการของเด็กได้

การใช้แฟ้มสะสมงาน

แฟ้มสะสมงานนอกจากนำมาใช้สำหรับประเมินผลนักเรียนโดยตรงแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในกิจกรรมอย่างอื่นได้อีกดังนี้

1. นำมาใช้สอนนักเรียนให้รู้จัก วิพากษ์ วิจารณ์ ตนเองและสะท้อนให้เห็นความคิดของนักเรียน

2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะในการวิเคราะห์ และ ตัดสินใจได้ หลังจากที่นักเรียนได้พิจารณาทบทวนเลือกงานของตนเองไว้ในแฟ้มสะสมงานแล้ว

3. ให้นักเรียนพิจารณาทบทวน โดยการนำแฟ้มมาอภิปรายกับคนอื่นๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนมองเห็นความก้าวหน้าของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

4. นักเรียนสามารถนำแฟ้มของตนเองไปแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้ปกครองตน ทำให้ผู้ปกครองทราบถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความต้องการของนักเรียน

5. เมื่อสิ้นปีการศึกษา ครูสามารถนำแฟ้มสะสมงานวิชาต่าง ๆ ของนักเรียนแต่ละคนมาพิจารณาทบทวนร่วมกันกับนักเรียน ว่าจะเลือกผลงานชิ้นใดเป็นตัวแทนของผลงานทั้งหมดเพื่อนำมาเก็บไว้ในแฟ้มสะสมงานระดับโรงเรียน

6. ผลงานในแฟ้มสะสมงาน บางครั้งอาจไม่นำมารวมไว้ในแฟ้มระดับโรงเรียนแต่จะให้นักเรียนนำกลับไปบ้านให้ผู้ปกครอง และ ตัวนักเรียนเก็บไว้ ซึ่งผลงานทั้งหมดตลอดปีการศึกษา ก็จะถูกเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้มสะสมงานของผู้ปกครองและนักเรียน

การจัดทำแฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์ต่อผู้จัดทำอย่างไร

แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) มีประโยชน์เพื่อใช้สะสมผลงานสะท้อนความคิดของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น เพราะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา มากกว่าการสอนในชั้นเรียน และช่วยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการเรียนรู้ของตนเอง และมองเห็นความก้าวหน้าที่ของตนเองด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาให้ ...

การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน คือ อะไร

แฟ้มสะสมงาน คือ การสะสมเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย ผลงานหรือชิ้นงาน ที่แสดงถึงทักษะ ความสามารถ ความคิด ตลอดจนพัฒนาการของผู้เรียน โดยผู้เรียนนั้นมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเนื้อหา กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก เกณฑ์การตัดสินคุณค่าของงาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย

แฟ้มสะสมผลงาน Portfolio สามารถนำมาใช้ในกระบวนการประเมินผลอย่างไร

แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) หมายถึง แหล่งรวมข้อมูลที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูลดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์สำหรับประเมินผลการทำงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป การเก็บรวมรวมข้อมูลจึงควรครอบคลุมประเภทต่างๆ ที่เป็นหลักการสำคัญในการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

ข้อใดเป็นประโยชน์ของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานที่ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองต่อไป

1. มีที่เก็บสะสมผลงานที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง 2. ได้ฝึกทักษะในการจัดเก็บและนำเสนอผลงานอย่างเป็นระบบ 3. ทำให้ครูผู้สอนสามารถสรุปปัญหาและเสนอแนะแนวทางพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้ 4. เก็บไว้ใช้เป็นหลักฐานเพื่อประโยชน์อื่นๆ ในชีวิตประจำวันได้

การจัดทำแฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์ต่อผู้จัดทำอย่างไร การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน คือ อะไร แฟ้มสะสมผลงาน Portfolio สามารถนำมาใช้ในกระบวนการประเมินผลอย่างไร ข้อใดเป็นประโยชน์ของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานที่ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองต่อไป จงบอกประโยชน์ของแฟ้มสะสมงานนักเรียนอย่างน้อย 5 ข้อ การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงานคือ การปรับเปลี่ยนผลงาน เป็นขั้นตอนการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน ประโยชน์ของแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน ขั้นตอนการรวบรวมผลงาน มีวิธีการอย่างไร แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน ขั้นตอนการคัดเลือกผลงาน มีวิธีการอย่างไร ขั้นตอนการทําแฟ้มสะสมงาน มีกี่ขั้นตอน