การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

Physiology ใน 1 นาที (ฉบับย่อ)


ระบบประสาทและสมอง ถือว่าเป็นสิ่งพิเศษที่ทำให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ครองโลกครับ ถ้ากล่าวถึงการทำงานโดยรวมของสมองแบบง่ายๆ คือ “การรับข้อมูล” “การประมวลผล” และ “การตอบสนอง” 

  • การรับข้อมูล เกิดจากการรับสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเช่น ภาพ เสียง กลิ่น หรือสัมผัส ผ่านตัวรับสัมผัสและส่งสัญญาณประสาทเข้าสู่ ส่วนประมวลผล
  • การประมวลผล เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง รับข้อมูลจากสิ่งกระตุ้น และประมวลผลสิ่งกระตุ้น ทำให้เกิดอารมณ์ การเรียนรู้ และ การจดจำ
  • การตอบสนอง คือการสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลาง ไปยังอวัยวะเป้าหมาย ผ่านเส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งแยกเป็นสองกลุ่มคือ
  1. กลุ่มที่สั่งการได้ตามใจ เช่น มือ แขน ขา กล้ามเนื้อใบหน้า
  2. กลุ่มที่ทำงานอัตโนมัติ เช่น ระบบหัวใจ ทางเดินอาหาร และ หลอดเลือด

สมองมีเซลล์สมองจำนวนมหาศาล  มีการเชื่อมต่อระหว่างกันโดยใช้ “สารสื่อประสาท” เป็นตัวนำพาข้อมูลครับ ซึ่งเซลล์สมองก็มีหลายชนิด และ สารสื่อประสาทก็มีหลายชนิดเช่นกัน

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

การทำงานของระบบประสาทและสมอง (ฉบับเต็ม)


ระบบประสาท เป็นระบบที่มีความละเอียดสูง และ เป็นระบบที่ทำงานอย่างสมดุล มีความอัจฉริยะในระบบเอง ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับระบบประสาทในภาพใหญ่ เรามาส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า เซลล์ประสาทกันก่อนครับ

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

รู้จักกับเซลล์ประสาท


เซลล์ประสาท (Neuron) เป็นหน่วยเล็กที่สุดในระบบประสาท มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะบางอย่างคล้ายๆกันคือ มีปลายประสาทขาเข้า นิวเคลียส และ ปลายประสาทขาออก

โดยระหว่าง ในเซลล์และสภาพแวดล้อมด้านนอก จะมีความต่างศักย์ทางไฟฟ้าอยู่ประมาณ -70 mV เกิดจาก ความเข้มข้นของเกลือแร่ต่างกันระหว่างด้านในและด้านนอก เกลือแร่ที่ว่า คือ โซเดียม โปแตสเซียม และ แคลเซียม เป็นหลักครับ

เมื่อเกิดการกระตุ้น เซลล์ประสาทนี้จะมีการถ่ายเทเกลือแร่ระหว่างภายในและภายนอก จนเกิดประจุไฟฟ้า เกิดสัญญาณต่อเนื่องไปที่ ปลายประสาทขาออก ทำให้เกิดการหลั่ง “สารสื่อประสาท” เพื่อไปกระตุ้นเซลล์ถัดไป  และทางการแพทย์เราสามารถตรวจจับกระแสไฟฟ้านี้เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ได้ครับ

นอกจากเซลล์ประสาทแล้ว ยังมีเซลล์ที่คอยค้ำจุน ยึดเหนี่ยวโครงสร้าง ส่งผ่านสารอาหาร และ ช่วยเพิ่มความเร็วของสัญญาณไฟฟ้า เราเรียกเซลล์กลุ่มนี้ว่า Glial cell ครับ

เซลล์ประสาทสามารถแบ่งตามหน้าที่ได้ 3 ชนิดครับ

  1. เซลล์รับข้อมูล (Sensory neuron) ทำหน้าที่ในการรับรู้ข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอก ยังแบ่งอีกว่าจะ รับเคมี รับแรงกด รับแสง รับอุณหภูมิ หรือรับอันตราย
  2. เซลล์เชื่อมต่อ (Interneuron) ทำให้ที่ในการเชื่อมต่อ การรับ และ การส่งสารสื่อประสาท
  3. เซลล์สั่งการ (Motor neuron) ทำหน้าที่สั่งการ การทำงานไปยังอวัยวะเป้าหมายต่อไป

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

กายวิภาคของระบบประสาทและสมอง


มาดูของจริงที่ตาเรามองเห็นกันครับ เนื่องจากระบบประสาทและสมอง เป็นระบบที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต จึงได้รับการวิวัฒนาการให้มีอวัยวะที่ช่วยปกป้องระบบนี้ สิ่งนั้นคือระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อครับ จากที่กล่าวมาระบบประสาทสามารถแบ่งชนิดตามการทำงานคือ

  • ระบบประสาทส่วนกลาง คือ สมอง และ ไขสันหลัง
  • ระบบประสาทส่วนปลาย คือ เส้นประสาทที่นอกเหนือจากส่วนกลางทั้งหมด

การเดินทางของข้อมูลคือ ระบบประสาทส่วนปลาย(เส้นประสาท) รับและส่งข้อมูลเข้าสู่ ระบบประสาทส่วนกลาง(สมองและไขสันหลัง) และสั่งงานออกมาที่ ระบบประสาทส่วนปลาย(เส้นประสาท) อีกครั้งครับ

โดยระบบประสาทส่วนกลางจะได้รับสารอาหารจากเส้นเลือดสมอง และ มีน้ำไขสันหลังคอยค้ำจุน โดยน้ำไขสันหลังนี้จะอยู่รอบๆสมองและไขสันหลังทั้งหมด ทางการแพทย์เราจึงใช้น้ำไขสัน เพื่อวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับสมองบางโรคครับ

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

ระบบประสาทส่วนกลาง และ ระบบประสาทส่วนปลาย


ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายทำหน้าที่ร่วมกันคือ  รับสัญญาณประสาทขาเข้าผ่านระบบประสาทส่วนปลาย ส่งต่อไปยัง ประสาทส่วนกลางเพื่อประมวลผล ส่งกลับมายัง ประสาทส่วนปลายเพื่อทำงานอีกครั้ง ซึ่งระบบการทำงานของระบบประสาทส่วนปลายขาออก ยังแบ่งเป็น

  • กลุ่มที่สั่งการได้ตามใจ (Somatic) เช่น มือ แขน ขา กล้ามเนื้อใบหน้า
  • กลุ่มที่ทำงานอัตโนมัติ (Autonomic) เช่น ควบคุม ระบบหัวใจ ทางเดินอาหาร และ หลอดเลือด เพื่อปรับสมดุลของอวัยวะภายในให้โดยอัตโนมัติ และในกลุ่มนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยที่ทำงานในทางตรงกันข้าม เพื่อความคุมอวัยวะภายในคือ
  1. Sympathetic division ออกจากไขสันหลังระดับ หน้าอก และ เอว
  2. Parasympathetic division ออกจากไขสันหลังระดับ ต้นคอ และ ก้น

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

สมองแต่ละส่วนนั้นทำหน้าที่แตกต่างกันครับ เมื่อสมัยก่อนนั้นแพทย์เราศึกษา การทำงานของสมองแต่ละส่วน จากคนที่ประสบอุบัติเหตุทางสมอง และกลุ่มของทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม เพื่อดูว่าสมองแต่ละตำแหน่ง ทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจสมองในแต่ละส่วนชัดเจนมากขึ้นครับ และผลเป็นดังภาพครับ

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

Neurotransmitters (สารสื่อประสาท)


สารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเป็นตัวกลางในการสร้างสัญญาณประสาท มีความสำคัญคือ โรคต่างๆ หรือ สารเสพติด จะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการ มากเกิน หรือ น้อยเกิน ของสารสื่อประสาทเหล่านี้ครับ มีตัวเด่นๆ ที่สำคัญดังนี้ครับ (ฟังผ่านๆพอคุ้นๆได้ครับ เมื่อเล่าถึงโรคต่างๆจะกล่าวอีกที)

  • Adrenaline (อะดรีนาลีน) สารที่เกี่ยวข้องกับการเอาชีวิตรอดในภาวะคับขัน
  • Noradrenaline (นอร์อะดรีนาลีน) สารที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดและสมาธิ
  • Dopamine (โดปามีน) สารที่เกี่ยวข้องกับความสุข ความพึงพอใจ แรงบันดาลใจ
  • Serotonin (เซโรโทนิน) สารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ การนอนหลับ และวงจรชีวิต
  • GABA (กาบ้า) สารที่เกี่ยวข้องกับความสงบ และ สมาธิ
  • Acetylcholine (อะซิทีลโคลิน) สารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ความคิด ความจำ กล้ามเนื้อ
  • Glutamate (กลูตาเมท) สารที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ พัฒนาการ
  • Endorphins (เอ็นโดฟิน) สารที่เกี่ยวข้องกับความสุข ลดความเจ็บปวด

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

แพทย์เราตรวจการทำงานของสมองได้อย่างไร ?


หัวใจหลักของการตรวจการทำงานของสมองคือ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และ ทดสอบสุขภาพจิต โดยสามารถให้ข้อมูลเพื่อช่วยการวินิจฉัยได้มากกว่า 90% เลยทีเดียวครับ แต่ก็มีหลายอย่างที่ช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาคือ

  • Imaging ทางรังสีวิทยา ไม่ว่าจะเป็น Xray, Myelogram, CT-Scan, MRI, MRA, PET, SPECT เหล่านี้เป็นการดูลักษณะทางกายภาพของระบบประสาทและสมอง
  • CSF analysis คือการตรวจวิเคราะห์น้ำไขสันหลัง ส่วนมากใช้ตรวจการติดเชื้อและการอักเสบต่างๆ
  • EEG (Electroencephalogram) คือการตรวจคลื่นไฟฟ้าของสมอง ส่วนมากดูในลมชักครับ
  • EMG (Electromyography) คือการตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาทส่วนปลาย

.

ระบบประสาทและสมอง มีการทำงานค่อนข้างซับซ้อน

เหล่านี้เป็นพื้นฐานเพียงคร่าวๆที่สั้นที่สุด

ที่จะสามารถต่อยอดเพิ่มเติม ในการเข้าใจโรคต่างๆได้ครับ

.

สมองเป็นอวัยวะที่ทำให้มนุษย์ เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

เพราะความพิเศษของสมองส่วนหน้าที่พัฒนามาก

.

การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ พักผ่อนเพียงพอ

จะทำให้สมองเราปลอดโปร่งและพร้อมใช้งานตลอดเวลาครับ

วันนี้เราดูแลสมองของเราเพียงพอหรือยัง

ถ้ายัง… อาจถึงเวลาที่ต้องเริ่มดูแลสมองแล้วครับ

.

.

ด้วยความรัก

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทมีอะไรบ้าง

Facebook: นพ.ธีรวัฒน์ สุวรรณี


ผมมี animation บทเรียนจาก Crash Course มานำเสนอ

ผมพบว่า เป็นแหล่งเรียนรู้ร่างกายที่ดีที่สุดในโลกในขณะนี้ โดยเฉพาะระบบประสาท

ทำได้ดี ดูแล้วเพลิน ภาพสวย เป็นภาษาอังกฤษ แต่สามารถเปิดบรรยายไทยได้ครับ

เหมาะให้นักเรียนแพทย์ และกลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดดูก่อนเข้าเรียนได้ครับ

comments