ปัญหาพฤติกรรมของวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

Learning disabili-ties (LD) Learning disabilities เป็นคำรวมๆ สำหรับเรียกความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้เฉพาะด้าน อันเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของสมอง ความบกพร่องนี้อาจแสดงออกมาในรูปการอ่านหนังสือไม่ออก (dyslexia) เขียนหนังสือไม่ได้ หรือคิดเลขไม่ได้ เป็นต้น แต่ความสามารถอย่างอื่นยังดีอยู่ โดยทั่วไปวัยรุ่นกลุ่มนี้มักมีสติปัญญาดี (อ่านรายละเอียดในบทที่ 13)

กลุ่มที่ 2. ปัญหาอื่นๆ

ปัญหาหลายอย่างมีผลกระทบต่อการเรียน ที่พบบ่อยๆ มีดังนี้

1. ปัญหาสุขภาพ

เช่น ปัญหาสายตาหรือการได้ยินไม่ปกติ แต่ปัญหาดังกล่าวมักไม่ใช่สาเหตุหลัก เพียงแต่มักจะทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่เดิมนั้นแย่ลง ปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น หอบ หืด โรคเลือด ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวานฯลฯ อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ขาดเรียนบ่อยและติดตามบทเรียนไม่ทัน ผลข้างเคียงของยาก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน ปัญหาทางสมอง เช่น สมองเคยได้รับอุบัติเหตุ มีการติดเชื้อ หรือเคยได้รับการผ่าตัดทางสมอง ฯลฯ จะทำให้การเรียนรู้บกพร่อง โรคลมชักบางชนิดอาจไม่แสดงอาการชัดเจน มีเพียงอาการเหม่อหรือไม่รู้ตัวไปชั่วครู่ แต่ก็จะส่งผลให้ติดตามบทเรียนที่ครูสอนไม่ทัน

2. ปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม

ในช่วงวัยรุ่นจะพบปัญหาทางอารมณ์ได้มากกว่าวัยอื่นๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า
ทำให้วัยรุ่นหดหู่ ท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ขาดสมาธิ ความจำไม่ดี หมดความสนใจในกิจกรรมต่างๆไม่อยากยุ่งกับใคร และแยกตัว ส่วนโรควิตกกังวลทำให้วัยรุ่นเครียด กังวลไปล่วงหน้าต่างๆ นานา คิดถึงสิ่งไม่ดีที่จะเกิดขึ้น ความกังวลจะทำให้ไม่มีสมาธิและเรียนไม่รู้เรื่อง บางคนมีอาการกังวลเมื่ออยู่ต่อหน้าคนมากๆ (เช่น เมื่อเล่าเรื่องหน้าชั้น เป็นต้น) และอาจตอบคำถามไม่ถูกหรือพูดตะกุกตะกัก ซึ่งก็จะทำให้สูญเสียความมั่นใจ วัยรุ่นที่มีปัญหาพฤติกรรม เช่น เกเรหนีโรงเรียน ฯลฯ จะไม่สนใจเรียน และอาจลาออกจากโรงเรียนกลางคัน

อ่านหนังสือปัญหาการเรียนและเทคนิคช่วยให้ลูกเรียนดี

3. ปัญหาขาดแรงจูงใจ


วัยรุ่นจำนวนมากขาดแรงจูงใจ จึงไม่มีความพยายามในการเรียน หลายคนพยายามแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ยังคงสอบ
ตกแล้วตกอีก จึงทำให้หมดหวัง ท้อแท้ และขาดแรงจูงใจในที่สุด

4. ปัญหาครอบครัว

เช่น พ่อแม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน วัยรุ่นขัดแย้งกับพ่อแม่ พ่อแม่คาดหวังในการเรียนมากเกินไปทำให้ความสัมพันธ์กับลูกไม่ดีพ่อแม่มีภาวะซึมเศร้าหรือใช้สารเสพติด ฯลฯ ทั้งหมดนี้มีผลต่อการเรียนของวัยรุ่น

5. กลุ่มเพื่อน

กลุ่มเพื่อนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตวัยรุ่น หากกลุ่มเพื่อนที่วัยรุ่นอยู่ด้วยนั้นมีลักษณะไม่ชอบเรียนหนังสือ วัยรุ่นก็จะไม่สนใจการเรียนไปด้วย นอกจากนี้ หากเด็กมีความสัมพันธ์กับเพื่อนไม่ค่อยดี ไม่มีเพื่อน รู้สึกโดดเดี่ยวเมื่ออยู่ที่โรงเรียน
หรือมีเรื่องขัดแย้งกับเพื่อน ก็อาจสงผลกระทบให้การเรียนแย่ลง

6. โรงเรียน

ปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนที่พบบ่อยคือ การสอนที่ไม่ได้กระตุ้นการเรียนรู้อย่างเพียงพอ หรือรูปแบบการสอนที่ไม่เหมาะกับวัยรุ่นบางคน เช่นวัยรุ่นที่ฉลาดมากก็อาจเบื่อบทเรียนที่มีเนื้อหาง่าย ในวัยรุ่นที่ไม่ถนัดบางวิชาหลักสูตรที่มีอยู่อาจไม่ได้ส่งเสริมความถนัดในวิซาอื่น เป็นต้น

7.ขาดโอกาสทางการศึกษา

วัยรุ่นที่ครอบครัวมีปัญหาการเงินมักขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งอาจต้องช่วยพ่อแม่ทำงานและไม่มีเวลาเรียนเพียงพอ

8.ขาดระเบียบวินัยในการเรียน

ปัญหานี้พบบ่อยมากและมักจะทำให้ปัญหาการเรียนอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นแย่ลง

การช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีปัญหาการเรียน

ความสามารถในการเรียนรู้ของวัยรุ่นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ในการช่วยวัยรุ่นให้เรียนดี จะต้องคำนึงถึงปัจจัยทุกด้านและแก้ไขปัจจัยดังกล่าวให้ดีขึ้น การช่วยเหลือควรทำเป็นขั้นตอนดังนี้

1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก


เมื่อพ่อแม่พาลูกวัยรุ่นมาปรึกษาเรื่องเรียนไม่ดี มักจะพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่-ลูกมีความตึงเครียด และลูกวัยรุ่นมักต่อต้านพ่อแม่ไม่ร่วมมือทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ ดังนั้นข้อแรกที่ต้องทำคือ พ่อแม่ต้องสร้างความสัมพันธ์
ที่ดีกับลูก เพื่อให้ลูกร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะต้องทำในข้อต่อๆไป

2. แก้ไขสาเหตุ

ข้อต่อไปคือหาสาเหตุว่าทำไมจึงเรียนไม่ดี วัยรุ่นบางคนอาจมีสาเหตุเดียว
แต่สวนใหญ่แล้วการเรียนไม่ดีมักมาจากหลายสาเหตุ เช่น มีปัญหาสมาธิสั้นร่วมกับ LD. หรือสาเหตุอาจเกี่ยวพันกันเป็นลูกโช่ เช่น มีปัญหาสติปัญญาบกพร่องทำให้การเรียนตกเรื่อยๆ และเกิดอารมณ์เศร้าตามมา อารมณ์เศร้านี้จะทำให้การเรียนยิ่งแย่ลงไปอีก เป็นต้น

3. แก้ไขปัญหาทางอารมณ์ที่พบร่วมด้วย

วัยรุ่นที่มีปัญหาการเรียนมานานมักมีปัญหาทางอารมณ์ร่วมด้วยเสมอเช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น หงุดหงิดง่าย ฯลฯ หากมีอาการมากควรปรึกษาจิตแพทย์

4. สร้างแรงจูงใจ

แรงจูงใจจะทำให้วัยรุ่นพยายามมากขึ้น มีความกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นและพยายามทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ

5. สร้างระเบียบวินัย


การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีวินัย วินัยทำให้วัยรุ่นใช้ศักยภาพที่มีอยู่ได้เต็มที่และดำรงอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง พ่อแม่ต้องมาฝึกระเบียบวินัยลูกใหม่ทั้งในกิจวัตรประจำวัน เช่น การเก็บข้าวของให้เป็นที่ ทำกิจวัตรประจำวันอย่างเรียบร้อยโดยไม่ต้องเตือน การตรงต่อเวลา และ วินัยในการเรียน เช่น รับผิดชอบในการเรียน ทำการบ้านเสร็จทุกวัน กลับบ้านตรงเวลา เป็นต้น

อ่านหนังสือสร้างวินัยให้ลูกคุณ

6. ส่งเสริมประสิทธิภาพและสร้างจุดแข็ง

การแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เรียนไม่ดีเท่านั้นไม่เพียงพอ จำเป็นต้องเสริมสร้างวัยรุ่นในด้านต่างๆ ด้วย กล่าวคือ ทำจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง และทำจุดแข็งนั้นให้แกร่งยิ่งขึ้น วัยรุ่นที่มีปัญหาการเรียนมักขาดความเชื่อมั่นในตนเอง การสร้างประสิทธิภาพ ให้วัยรุ่นทำสิ่งต่างๆได้ดี จะช่วยให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ทำให้วัยรุ่นรู้ว่าตนเองก็เป็นคนเก่งเหมือนเพื่อนๆ ดังนั้นผู้ปกครองควรส่งเสริมให้ลูกเล่นกีฬได้เก่ง รวมทั้งมีโอกาสทำกิจกรรมนอกหลักสูตรอื่นๆ เป็นต้น

7. สร้างอุปนิสัยที่ดี

อุปนิสัยที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้บุคคลประสบความสำเร็จ วัยรุ่นหลายคนประสบความสำเร็จในการเรียน เช่นสอบได้ที่หนึ่ง แต่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่กลับไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะในความสัมพันธ์กับผู้อื่น อุปนิสัยที่ควรสร้างให้วัยรุ่นได้แก่ ความอดทน ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ปัญหาที่พบบ่อยในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

สุดยอดปัญหาหนักอกของวัยรุ่นทั่วโลก.
อนามัยเจริญพันธุ์เรื่องที่วัยรุ่นควรรู้แต่ไม่รู้ เพราะขาดคนชี้แนะ ... .
ขาดทักษะจัดการปัญหา ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ สังคมรุนแรง ... .
เด็กเสพติด เพราะขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ไร้ความสุข.

พฤติกรรมของวัยรุ่นมีปัญหาต่อสังคมอย่างไร

ปัญหาสังคมต่าง ๆ หลายประการติดตามมา ยังทำให้สังคมนั้นเต็มไปด้วยคนที่ขาดคุณภาพและมี ปัญหาในอนาคต ปัญหาวัยรุ่นที่สำคัญ ๆ และมีผลต่อการเกิดปัญหาสังคม ได้แก่ ปัญหาการ ประพฤติผิดของเด็กวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการลักขโมย ปัญหาความสัมพันธ์ทางเพศ ปัญหาการฝ่าฝืนระเบียบ และปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว

ปัญหาทางพฤติกรรมมีอะไรบ้าง

เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์มีลักษณะอย่างไร?.
ปัญหาด้านความประพฤติ (Conduct Disorders) ... .
ปัญหาด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) ... .
ภาวะอยู่ไม่สุข (Hyperactivity) และสมาธิสั้น (Attention Deficit) ... .
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal) ... .
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder).

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

1.4 พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในชุมชน มีระดับความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงน้อย จนถึงเสี่ยงมาก ดังนี้ 1) พฤติกรรมการแต่งกายเปิดเผยสัดส่วนของร่างกาย 2) พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ 3) พฤติกรรมการปกปิด ความจริงเพื่อโดดเรียน หนีเที่ยว 4) พฤติกรรมการมีแฟน และ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน