กิจกรรมนอกสถานศึกษา มีอะไรบ้าง

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เผยแพร่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓

สาระสำคัญ คือ การปรับปรุงระเบียบให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา จำแนกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) การพาไปนอกสถานศึกษาไม่พักแรม ๒) การพาไปนอกสถานศึกษาพักแรม ๓) การพาไปนอกราชอาณาจักร

ซึ่งจะต้องเป็นไปตามความสมัครใจของนักเรียนและนักศึกษา โดยความยินยอมของผู้ปกครอง และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทางและการพักแรมเป็นอันดับแรก

        การศึกษานอกสถานที่หรือทัศนศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การไปทัศนศึกษาต่างจากการทัศนาจรโดยทั่ว ๆ ตรงที่ การทัศนาจรมุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นสำคัญ ส่วนการศึกษานอกสถานที่เน้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนและการดำเนินการอย่างมีขั้นตอนเป็นสำคัญ

1. คุณค่าของการศึกษานอกสถานที่

1. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง

2. ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น

3. ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์

4. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา

5. ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน

6. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ

2.ขั้นตอนในการศึกษานอกสถานที่

  2.1 ขั้นการเตรียมหรือการวางแผน

 การเตรียมสำหรับครู

   - กำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับบทเรียน

   - เลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

  - หาข้อมูลเกี่ยวกับกับสถานที่ที่จะไปศึกษา  เพื่อทราบปัญหาต่างๆ

  - ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถานที่กับสถานที่ที่จะไปชมเพื่อแนวทางในการศึกษา

กาเตรียมสำหรับผู้เรียน

  - การตั้งวัตถุประสงค์ว่าต้องการทราบอะไร จากการไปทัศนศึกษา

  - ให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากกิจกรรมอย่างเต็มที่

  - แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เช่น บันทึกภาพ ซักถาม กล่าวขอบคุณ

  - ตกลงการแต่งกาย มารยาท และการวางตัวขณะฟังบรรยาย

กิจกรรมนอกสถานศึกษา มีอะไรบ้าง

                  กิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่บุคคลทำในเวลาว่าง ด้วยความสมัครใจ และไม่ผิดกฏหมาย แล้วทำให้เกิดความพึงพอใจ ความสบายใจ

๑ ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ    กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท ได้แก่
                 ๑)กิจกรรมกีฬา เช่น ฟุตบอล แชร์บอล บาสเกตบอล เป็นต้น
                 ๒)งานอดิเรก เช่น การปลูกไม้ดอก การเลี้ยงสัตว์ สะสมแสตมป์ เป็นต้น
                 ๓) เกมการเล่น เช่น วิ่งสามขา ปาเป้า ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น
                 ๔)กิจกรรมนอกเมือง เช่น การอยู่ค่ายพักแรม การเดินทางไกล
                 ๕) การเล่นดนตรี ละคร ฟ้อนรำ เช่น ร้องเพลง เล่นโขน เป็นต้น
                 ๖) งานศิลปหัตถกรรม เช่น เขียนภาพระบายสี แกะสลักผัก การปั้น
                 ๗) การอ่าน เขียน พูด เช่น เล่านิทาน อ่านหนังสือ เขียนบันทึก เป็นต้น
                 ๘) งานสังคม เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร ผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น

๒ การเลือกกิจกรรมนันทนาการ
                 กินกรรมนันทนาการมีอยู่หลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจึงควรมีหลักในการเลือกให้เหมาะสมกับวัย เพศ โอกาส ความรู้ ความสามารถ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
                 ๑) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศและวัย เช่น การเย็บปักถักร้อยเหมาะกับผู้หญิง กีฬาชกมวยเหมาะกับผู้ชาย หมากเก็บเหมาะกับเด็ก ๆ เป็นต้น
                 ๒) ความรู้ความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะจะทำให้เกิดความสนุกสนานขณะปฎิบัติ เช่น ถ้ามีความสามารถในการพูด อาจเลือกเล่านิทานหรือโต้วาทีร่วมกับเพื่อน เป็นต้น
                 ๓) สภาพร่างกายการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมจะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี เช่น ผู้ที่ป่วยไม่ควรเลือกการเล่นกีฬากลางแจ้ง
                 ๔) โอกาสและสถานที่ เช่น การเล่นกีฬาควรเล่นในสนามหรือโรงยิมเนเซียม การเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลไม่ควรไปในฤดูฝน เป็นต้น
                 ๕) สังคม ขนมธรรมเนียม ประเพณี เช่น ไม่ควรเลี้ยงสุกรในชุมชนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก เป็นต้น
                 ๖) งานอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานที่ไม่ได้ใช้แรงกายมาก ควรเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง ได้แก่ การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เป็นต้น
                 ๗) ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวกิจกรรมบางชนิดใช้ค่าใช้จ่ายสูง เช่น กีฬากอล์ฟ เล่นเปียโน การสะสมของที่มีราคาแพง ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ยากจนดังนั้นจึงควรเลือกให้สอดคล้องกับฐานะ
                 ๘) ประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และส่วนรวม กิจกรรมที่เลือกควรมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม เช่น การขุดลอกคูคลอง

๓ ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ
                 ๑) ช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๒) ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี และผ่อนคลายความเครียด
                 ๓) ช่วยให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน และมีความสุข
                 ๔) ช่วยสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดในครอบครัว ชุมชน และสังคม
                 ๕) ช่วยลดปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติดเพราะกิจกรรมนันทนาการช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๖) ช่วยในการบำบัดรักษาผู้ที่เจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ
                 ๗) ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมชองชุมชนและของประเทศ

กิจกรรมนอกสถานศึกษา มีอะไรบ้าง

ประเภทของกิจกรรมนอกสถานศึกษามีกี่ประเภท

สาระสำคัญ คือ การปรับปรุงระเบียบให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา จำแนกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) การพาไปนอกสถานศึกษาไม่พักแรม ๒) การพาไปนอกสถานศึกษาพักแรม ๓) การพาไปนอกราชอาณาจักร

กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษาหมายความว่าอย่างไร

เป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ว่างจากการเรียนการประกอบอาชีพหรือจากการว่างภารกิจส่วนตัว กิจกรรมที่ทำ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานอาชีพหรืองานที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ เป็นกิจกรรมที่ไม่มีใครบังคับให้ทำแต่ทำด้วยความสมัครใจ ความพึงพอใจตนเอง

กิจกรรมนันทนาการในสถานศึกษามีอะไรบ้าง

ลักษณะกิจกรรมนันทนาการ ที่นิยมจัดขึ้นในโรงเรียน ตัวอย่างเช่น.
กิจกรรมกีฬา กรีฑาสี เป็นกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นนอกเวลาเรียนื ตามปกติจะมีการนำระบบคณะสี มาใช้แบ่งนักเรียน อ อกเป็น 4 – 5 คณะสี เช่น สีแดง สีฟ้า สีชมพู เป็นต้น.
กิจกรรมประเภทโต้วาที และการประกวดอื่นๆ (เช่น การประกวดร้องเพลง การเต้นรำ อ่านกาพย์กลอน ฯลฯ).

กิจกรรมนันทนาการแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภท เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ สร้างความสนุกสนาน บางกิจกรรมอาจจะมีทั้งการร้องเพลงและเต้น ไปพร้อม ๆ กัน เช่น เต้นบัลเล่ต์ Hip Hop B-Boy รำาไทย ลีลาศ ระบำาพื้นเมือง โมเดิร์นแด๊นซ์ และนาฏศิลป์อื่น ๆ