ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

ขณะที่ฉันรอสัมภาษณ์คุณครูท่านหนึ่งที่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลในประเทศไทย ภาพโรงอาหารในช่วงพักกลางวันทำให้ฉันหวนนึกถึงวันเวลาในวัยเด็ก ระหว่างนั้นฉันมีโอกาสพูดคุยและถามเด็กนักเรียนสองสามคนไปพลางๆ ว่าโตขึ้นพวกเขาอยากเป็นอะไร เด็กผู้ชายคนหนึ่งตอบว่า “ผมอยากเป็นหมอครับ” และเด็กผู้หญิงอีกคนตอบว่า “หนูอยากเป็นพยาบาลค่ะ” คำตอบของเด็กๆ ชวนให้ฉันคิดว่าค่านิยมทางเพศนั้นมีบทบาทขึ้นในชีวิต เมื่อตอนที่เราอายุยังน้อยขนาดนี้เลยหรือ

Show

  ครอบครัวและโรงเรียนเป็นสถาบันหลักของเด็กๆ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับบรรทัดฐานต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ๆ เด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีการเข้าสังคม ค่านิยมต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งรวมถึงเรื่องเพศสถานะด้วย

  ในความเชื่อของหลายคน โรงเรียนนั้นมีอิทธิพลอย่างสูงในการสร้างค่านิยมเรื่องเพศ และที่ผ่านมานั้นงานวิจัยเชิงประจักษ์ในประเทศไทยยังมีไม่มากพอที่จะสร้างความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับประเด็นนี้

  ในปีที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานกิจการสตรี (PCWA) ได้ดำเนินโครงการศึกษา 2 โครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และธนาคารโลก เพื่อสร้างงานวิจัยเชิงประจักษ์ในเรื่องของเพศสถานะในระบบการศึกษาไทย โดยมีจุดมุ่งหมายในสนันสนุนหรือกำจัดสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องกรอบความคิดและอคติทางเพศว่ามีการการเรียนรู้ การสอน การแบ่งปัน หรือ การถ่ายทอดอย่างไรในประเทศไทย

  รายงานการศึกษาแรกใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตรวจสอบแบบเรียนและบ่งชี้บทบาททางเพศว่ามีการรับรู้หรือแสดงออกมาในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างไร ส่วนรายงานการศึกษาที่สองใช้การวิจัยเชิงปริมาณแบบตัดขวาง โดยเน้นไปที่หัวข้อเกี่ยวกับ

  (1) การใช้พื้นที่และกีฬา
(2) การเลือกสีและกิจกรรมนอกชั้นเรียน
(3) ความเป็นผู้นำของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง
(4) ความถนัดการรับรู้ทางวิชาการ
(5) ลักษณะนิสัยที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาที่รับรู้ของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง

  จากการศึกษาพบว่าค่านิยมและความเชื่อที่ฝักลึกเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศได้ซึมผ่านไปทั่วระบบของโรงเรียน

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

แม้ว่าเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงที่อายุน้อยว่าในระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษาต้อนต้นยังไม่ได้สร้างอัตลักษณ์ทางเพศอย่างชัดเจน แต่กระนั้นอคติทางเพศในมุมต่างๆ ได้ก่อตัวผ่านวิถีปฏิบัติและหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน ค่านิยมทางสังคมว่าด้วยเรื่อง ความเป็นชาย และ ความเป็นหญิงนั้นถูกส่งผ่านและสามารถเห็นได้จากทัศนคติและความเชื่อของคุณครู ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และยังได้รับแรงกระตุ้นเพิ่มเติมจากสื่อ แบบเรียน โรงเรียน และการปฏิบัติของผู้ปกครอง อีกด้วย

  ค่านิยมทางเพศที่หยั่งรากลึกจึงเป็นปัจจัยผลักดันความไม่เท่าเทียมกันทางเพศของสังคมในปัจจุบัน แม้ว่าเด็กผู้หญิงไทยมีจำนวนมากกว่าและมีผลการเรียนที่ดีกว่าเด็กผู้ชายในชั้นเรียน แต่ความสำเร็จเหล่านี้ ไม่ได้บ่งบอกหรือช่วยให้เด็กผู้หญิงมีโอกาสการทำงาน หรือ ได้ค่าจ้างที่ดีกว่า รวมไปถึงโอกาสการก้าวหน้าเพื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย

  ผลการศึกษาที่น่าสนใจและอินโฟกราฟฟิคมีดังนี้

 แบบเรียนและหลักสูตร – ในแบบเรียนจำนวน 538 เล่มที่ได้สุ่มเลือกเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีการนำเสนอเพศชายในจำนวนที่มากกว่า ทั้งนี้เพศหญิงจะถูกนำเสนอในระดับที่ต่ำกว่าเพศชาย อาทิ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และ กิจกรรมต่างๆ ผู้ชายจะมีภาพของความเป็นผู้นำและในบทบาทอาชีพต่างๆ (พระราชา นักปรัชญา แพทย์) ในขณะที่ผู้หญิงจะถูกจำกัดด้วยหน้าที่ของภรรยา และบทบาทที่ดูด้อยกว่าในสังคม

 ความเป็นผู้นำของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง – ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มความเชื่อที่ว่าเด็กผู้หญิงมีความสามารถโดยธรรมชาติในการเป็นผู้นำด้อยกว่าผู้ชาย เด็กผู้ชายจึงมีภาพของความแน่วแน่ ความกล้าหาญ และ ความมีน้ำใจ ในขณะที่เด็กผู้หญิงจะถูกมองว่าเป็นคนประณีประนอม ละเอียดอ่อน และยืดหยุ่น

 ความถนัดทางวิชาการ – ในขณะที่คุณครูอาจแสดงออกมาว่าเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงไม่มีความแตกต่างโดยกำเนิดในด้านความถนัด หรือ ความสามารถต่างๆ แต่เด็กผู้หญิงยังคงถูกมองว่ามีความสามารถในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กผู้ชายในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

 ลักษณะนิสัยที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง – คุณครูคนไทยคาดหวังว่าเด็กผู้หญิงจะต้องมี ‘ความประพฤติที่เหมาะสม’ และแสดงออกอย่าง ‘สุภาพ’ อย่างที่สังคมไทยคาดหวังให้เป็น ในขณะที่เด็กผู้ชายสามารถเล่นคึกคะนอง พูดจาด้วยคำหยาบคาย หรือแสดงออกอย่างก้าวร้าวได้ในบางครั้ง

 ทั้งหมดนี้จึงเกิดเป็นคำถามที่ว่า เราเติบโตมาในแบบที่เราได้รับการสั่งสอนในโรงเรียนหรือไม่? เนื่องจากโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะที่สุดในการปลูกฝังเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ ฉะนั้นแล้วเราจะต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งใดบ้าง?

  เราเชื่อว่าเจตจำนงทางการเมืองนั้นคือปัจจัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน การอบรมครูผู้สอนและการปรับปรุงแบบเรียนก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการขจัดวิธีการนำเสนอภาพของเพศชายและเพศหญิงที่ไม่เท่าเทียม ทั้งนี้ บุคลากรทุกคนของโรงเรียนควรให้ความร่วมมือ พร้อมดำเนินโครงการอบรมผู้ปกครองเพื่อช่วยให้โรงเรียนเป็นสถานที่ๆ มีความเท่าเทียมกันทางเพศอย่างสมบุรณ์

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

ค่านิยมทางเพศ เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่รุ่นก่อนได้ปลูกฝังความคิดให้เเก่เด็กๆ จนกลายเป็นนิสัย งานวิจัยของ John Hopkins Medicine ยืนยันว่า มันคืออาวุธที่ย้อนกลับมาทำร้ายเด็กๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และนำไปสู่ความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV การฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย รวมทั้งภาวะติดแอลกอฮอล์ในอนาคต ซึ่งค่านิยม หรือวัฒนธรรมต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประสบการณ์ที่ถูกปลูกฝังขึ้นมานั่นเอง

เด็กทุกคนมักจะถูกปลูกฝังให้กตัญญูต่อผู้ให้กำเนิด เเต่จริงๆ แล้ว เด็กควรได้มีชีวิต และความคิดเป็นของตัวเองหรือเปล่า? จะดีแค่ไหน ถ้าเรามาลองปรับแผนความคิดทั้งฝั่งของผู้ใหญ่ และเด็กให้ตรงกัน เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองเรื่องค่านิยมทางเพศที่จะถูกส่งผ่านไปยังเด็กๆ ให้ทันก่อนที่พวกเขาจะกลายเป็นความหวังในอนาคตอันใกล้ของสังคมนั่นเอง

ค่านิยมทางเพศผิดๆของเด็กผู้ชาย VS เด็กผู้หญิง

  • เป็นผู้นำ ต้องเข้มแข็ง VS เป็นผู้ตาม ต้องอ่อนแอ

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

เรามักถูกปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กๆ เรื่องความเป็นผู้นำของเด็กผู้ชาย ซึ่งเราไม่เคยได้ถามความคิดเห็นของพวกเขาก่อนเลยว่าต้องการไหม? เด็กผู้ชายทุกคนอาจไม่ได้ต้องการเป็นผู้นำ ซึ่งเด็กผู้หญิงบางคนก็ไม่ได้ต้องการเป็นผู้ตามเช่นกัน ตรงกันข้ามเด็กผู้หญิงอาจจะมีความทะเยอทะยานมากกว่าเด็กผู้ชายเสียอีก เพราะเชื่อว่าตัวเองสามารถเป็นอะไรที่เด็กผู้ชายเป็นได้เหมือนกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้หลายๆ ครั้ง เด็กผู้ชายจึงเกิดอาการเก็บกดภายในตัวเองว่าตัวฉันจะต้องเข้มเเข็งนะ ซึ่งตรงกันข้ามกับในจิตใจที่แสนจะอ่อนแอเหลือเกิน แต่กลับไม่กล้าบอกให้คนอื่นได้รับรู้ เพราะถูกปลูกฝังมาให้เป็นเด็กที่เข้มแข็งตลอดเวลา ทำให้ในอนาคตคอาจเกิดเป็นโรคซึมเศร้า หรือภาวะเครียดสะสมขึ้นได้

เราจึงควรสอนให้เด็กทุกคนรู้จักความเท่าเทียมกัน รวมทั้งปลูกฝังในเรื่องการดูแลตัวเองให้เป็น เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเพศใดเพศหนึ่ง แต่ทุกคนต้องดูแลกันและกัน เห็นใจผู้อื่น รู้หน้าที่ของตัวเอง จึงจะทำให้สังคมของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

  • ถูกมองว่าอ่อนแอ เมื่อร้องไห้และขอความช่วยเหลือ VS เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงจะอ่อนแอ

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

การร้องไห้ และแสดงความอ่อนแอไม่ใช่เรื่องที่ผิด หรือน่าอายสำหรับเพศใดเพศหนึ่ง การเป็นเด็กผู้ชายไม่จำเป็นต้องเข้มแข็งเสมอไป เราจึงต้องมีการปลูกฝังความคิดของเด็กเสียใหม่ เช่น

ถ้าลูกเจ็บไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะร้องไห้ได้ ลองถามลูกว่า เจ็บมากไหม? ร้องไห้ได้นะ ลูกจะได้ไม่เป็นเด็กเก็บกด หรือเก็บปัญหาไว้กับตัวเอง เนื่องจากไม่ได้แสดงออกในสิ่งที่ตัวเองอยากแสดงที่แท้จริง เมื่อพวกเขาเริ่มโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่นั่นเองค่ะ

  • งานบ้านงานเรือน ไม่ใช่เรื่องของผู้ชาย VS ผู้หญิงต้องรับหน้าที่ทำงานบ้าน

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

งานบ้านไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งภายในบ้าน แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด เราจึงไม่ควรผลักภาระหน้าที่ทั้งหมดให้กับลูกที่เป็นผู้หญิง แต่ควรสอนให้ช่วยกันทำงานบ้าน หรือรู้จักแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันมากกว่า

  • “ผู้ชายเจ้าชู้” ถูกมองเป็นเรื่องปกติ VS ผู้หยิงต้องรักนวลสงวนตัว

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

เรามักจะเคยชินกับความคิดที่ว่าผู้ชายเจ้าชู้นั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะให้ความรู้สึกแตกต่างกับผู้หญิงที่เจ้าชู้ เพราะจะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี และถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ไม่ควรเจ้าชู้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าความคิดที่เราถูกปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กๆ ยอมรับให้ผู้ชายเป็นฝ่ายที่สามารถเจ้าชู้ได้มากกว่านั่นเอง

ในขณะที่เด็กผู้หญิงกลับถูกปลูกฝังให้รักนวลสงวนตัว ไม่ให้เข้าใกล้ผู้ชาย เพราะจะถูกหาว่าทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เด็กผู้หญิงจึงกรอบความคิดนี้ครอบงำอยู่ ซึ่งในความเป็นจริง เราควรจะสอนถึงความเหมาะสมในการเข้าหาเพศตรงข้ามเสียมากกว่า ไม่ใช่ไปห้าม หรือไปจำกัดขอบเขตของเพศใดเพศหนึ่ง

  • กลับดึกได้สบาย ไปไกลไม่เคยหวั่น VS ห้ามไปไหนคนเดียว อย่ากลับดึก

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

เด็กผู้ชายมักจะได้อิสระในการผจญภัยออกเดินทางไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม ซึ่งตรงข้ามกับเด็กผู้หญิง ที่ผู้ใหญ่มักจะเป็นห่วง ทำให้บางครั้งเกิดการปิดกั้นโอกาสของเพศหญิงมากกว่าเพศชายนั่นเอง

จะดีกว่าไหม ถ้าเราเริ่มสอนลูกไม่ว่าจะเป็นเพศไหนได้มีโอกาส และอิสระเสรีความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันทั้ง 2 ฝ่าย จะได้ไม่ต้องมีการเสียเปรียบกันเกิดขึ้น แต่ถ้ากลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์อันตรายกับเด็กผู้หญิง เราก็ควรที่จะให้เด็กเรียนรู้วิธีในการเอาตัวรอดในการใช้ชีวิตมากกว่าที่จะไปปิดกั้นโอกาสต่างๆ ในชีวิตของเด็กเหล่านั้นค่ะ

  • การเมืองถูกมองว่าเป็นเรื่องของผู้ชาย VS การเมืองเป็นเรื่องไกลตัวของผู้หญิง

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนคืออะไร

ผู้ใหญ่มักจะชอบปลูกฝังความคิดในการแสดงออกทางความคิดเห็น และมักฟัง หรือเปิดใจให้กับคนที่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่เราต้องเปลี่ยนความคิด เพราะในสมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นใคร หรือเป็นเพศอะไรก็ตาม พวกเขาก็สามารถที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ทั้งนั้น เพราะทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพเท่าเทียมกันในสังคมแห่งนี้

เพราะฉะนั้นการเลี้ยงดู และการปลูกฝังของผู้ใหญ่ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และมีอิทธิพลอย่างมากที่จะกลายเป็นนิสัยของลูกน้อยนั่นเองค่ะ

ค่านิยมทางเพศมีความหมายอย่างไร

ค่านิยมทางเพศ หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกทางด้านเพศ ที่มีผลต่อการแสดงออก พฤติกรรมทางเพศ ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจมีทั้งทางด้านบวกและทางด้านลบ ประกอบไปด้วย ด้านการ เลียนแบบ ตามกระแสสังคม ด้านการบริโภคสื่อ ด้านการใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ การเก็บแต้ม ด้าน นิยมความรุนแรง การเปลี่ยนคู่นอน การรักนวลสงวนตัว การพูด ...

นักเรียนคิดว่าค่านิยมในเรื่องเพศใดบ้างที่ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย

1. ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนไทย ได้แก่ 1.1 การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลานโดยคิดว่าเป็นเรื่อง หยาบคาย หรือน่าอาย 1.2การไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศ อย่าง เปิดเผย 1.3 การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง

ปัจจัยที่มีผลต่อค่านิยมทางเพศมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับค่านิยมทางเพศ ของนักศึกษา ส านักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพพบว่าปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับค่านิยมทางเพศ ได้แก่ปัจจัยด้าน บุคคล คือ อายุปัจจัยด้านครอบครัว คือ ความสัมพันธ์ กับบิดา-มารดา ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม คือ บริเวณที่พักอาศัย และปัจจัยด้านสารเสพติด คือ Page 6 96 วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 5 ...

สถาบันใดที่มีความสำคัญในการปลูกฝังค่านิยมทางเพศให้กับวัยรุ่นได้ดีที่สุด

อิทธิพลที่มีผลต่อค่านิยมทางเพศของวัยรุ่นมากที่สุด คือ ครอบครัว เนื่องจากเป็นสถาบันแรกในการอบรมและปลูกฝังค่านิยมทางเพศที่ถูกต้องให้กับ ลูก ซึ่งถ้าพ่อแม่มีทัศนคติที่ดีต่อค่านิยมทางเพศ ก็ย่อมส่งผลให้ลูกมีค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมตามไปด้วย