เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร

เซลล์ไข่ของมนุษย์เลือกสเปิร์มที่จะผสมเองได้ด้วยปฏิกิริยาเคมี

18 มิถุนายน 2020

เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร

ที่มาของภาพ, Getty Images

เดิมเชื่อกันว่าทุกคนเกิดมาโดยเป็นผู้ชนะตามธรรมชาติ เนื่องจากเราได้รับคัดเลือกมาจากสเปิร์มที่แข็งแรงที่สุดของพ่อ โดยมีผู้เป็นแม่และกลไกร่างกายของสตรีทำการคัดเลือกนั้น

แต่ข้อมูลใหม่จากการศึกษาทดลองของมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มในสวีเดน และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในสหราชอาณาจักร กลับพบว่าเซลล์สืบพันธุ์ของผู้หญิงอย่างเช่นไข่ (ovum) มีกฎเกณฑ์และกลไกในการคัดเลือกสเปิร์มที่พึงปรารถนาเป็นของตนเองด้วย โดยสเปกของชายในฝันที่จะมาเป็นพ่อของลูก ไม่จำเป็นจะต้องคล้อยตามตัวเลือกที่หญิงเจ้าของไข่หมายมั่นเอาไว้เสมอไป

ผลการทดลองที่ตีพิมพ์ในวารสารของราชสมาคมกรุงลอนดอน Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences ระบุว่าได้ทดสอบสเปิร์มและไข่ของคู่รักที่เข้ารับการรักษาในคลินิกการเจริญพันธุ์ 60 คู่ โดยให้สเปิร์มสัมผัสกับของเหลวที่ไข่ผลิตออกมาห่อหุ้มตัวเองในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ทั้งสเปิร์มของคนที่เป็นคู่รักและไม่ใช่คู่รักต่อไข่ 1 ใบ

  • แช่แข็งไข่มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จแค่ไหน
  • ชี้จังหวะแหวกว่ายของสเปิร์มเป็นไปตามสูตรคณิตศาสตร์
  • จีนพบคนไข้โควิด-19 บางราย มีไวรัสปนเปื้อนในน้ำอสุจิ

ทีมผู้วิจัยพบว่า เซลล์ไข่ของมนุษย์ผลิตสารเคมีที่เลือกดึงดูดสเปิร์มจากชายบางคนเป็นพิเศษ โดยสารนี้ทำให้สเปิร์มตัวที่ไม่พึงปรารถนาเปลี่ยนทิศทางว่ายหนีออกไป ในขณะที่เรียกให้สเปิร์มที่ต้องการมารวมตัวกันใกล้เซลล์ไข่มากขึ้น 18-40%

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ผู้หญิงอาจมีบุตรยาก หากตัดสินใจเลือกพ่อของลูกโดยที่ "ไข่" ของพวกเธอไม่ยินยอมพร้อมใจด้วย

นอกจากนี้ยังพบว่า ไข่ของหนูที่เตรียมไว้ใช้ทดลองปฏิสนธินอกร่างกาย มีพฤติกรรมเลือกดึงดูดสเปิร์มของตัวผู้ที่ไม่ใช่ญาติสายเลือดใกล้ชิดเข้ามามากกว่าอีกด้วย แต่ตามปกติแล้วพฤติกรรมเช่นนี้เห็นได้ชัดเจนกว่าในสัตว์พวกที่มีการปฏิสนธิภายนอก เช่นหอยแมลงภู่

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่า สารเคมีที่ไข่ผลิตขึ้นมาคัดเลือกสเปิร์มนี้คือสารอะไรและมีกลไกการทำงานอย่างไรแน่ แต่เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ทีมผู้วิจัยย้ำว่า สเปิร์มที่ไข่แต่ละใบเลือกนั้นมีความแตกต่างกัน โดยเกณฑ์การเลือกคู่ครองในระดับเซลล์สืบพันธุ์ไม่จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับการตัดสินใจจากหญิงเจ้าของไข่เสมอไป ซึ่งหมายความว่าเซลล์ไข่อาจปฏิเสธการผสมพันธุ์กับสเปิร์มของสามีหรือคนรักของฝ่ายหญิงได้ และนำมาซึ่งปัญหาการมีบุตรยาก

"หากศึกษากลไกการคัดเลือกของเซลล์ไข่นี้ให้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราอาจได้พบวิธีรักษาผู้มีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยแก้ไขกระบวนการระหว่างที่สเปิร์มและไข่มีปฏิสัมพันธ์กัน" ทีมผู้วิจัยกล่าวสรุปทิ้งท้าย

การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ ในกระบวนการดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชายหลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิประมาณ 70 ล้านตัวเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูกของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพศหญิง[2]

ในมนุษย์มีการเจริญและพัฒนาของระบบสืบพันธุ์อย่างมากมาย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกอวัยวะในระบบสืบพันธุ์แล้วนั้น ยังพบการเปลี่ยนแปลงอีกในลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (secondary sexual characteristics)

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะที่อยู่ภายนอกร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ หน้าที่หลักโดยตรงของระบบสืบพันธุ์เพศชายคือการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชายหรือสเปอร์มาโทซัว (spermatozoa) เพื่อใช้ผสมพันธุ์กับไข่

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือการสร้างและเก็บตัวอสุจิ การสร้างตัวอสุจิเกิดขึ้นภายในอัณฑะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะซึ่งช่วยควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม อสุจิที่ยังไม่เจริญเต็มที่จะเคลื่อนที่ไปยังเอพิดิไดมิส (epididymis) เพื่อพัฒนาและกักเก็บ อวัยวะในกลุ่มที่สองคือต่อมสร้างของเหลวในการหลั่งน้ำอสุจิซึ่งได้แก่ถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicles), ต่อมลูกหมาก (prostate) และหลอดนำอสุจิ (vas deferens) และในกลุ่มสุดท้ายคืออวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศและหลั่งน้ำอสุจิในเพศหญิงได้แก่องคชาต ท่อปัสสาวะ หลอดนำอสุจิ และต่อมคาวเปอร์

ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศชายได้แก่ การมีร่างกายสูงใหญ่ โครงร่างกายมีกล้ามเนื้อมากขึ้น เสียงห้าวทุ้ม มีขนตามใบหน้าและลำตัว ไหล่กว้างขึ้น การเจริญของลูกกระเดือกฮอร์โมนที่สำคัญในเพศชายคือแอนโดรเจนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทสโทสเตอโรน

เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วยอวัยวะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ช่องคลอดทำหน้าที่รองรับอสุจิจากเพศชาย, มดลูกซึ่งช่วยรองรับทารกในครรภ์ และรังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่ เต้านมก็เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระยะการดูแลทารก

ช่องคลอดจะเปิดออกภายนอกที่โยนีซึ่งประกอบด้วยแคม คลิตอริส และท่อปัสสาวะ ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์บริเวณเหล่านี้จะหล่อลื่นด้วยเมือกซึ่งคัดหลังจากต่อมบาร์โธลีน (Bartholin's glands) ช่องคลอดต่อเนื่องกับมดลูกโดยมีปากมดลูกอยู่ระหว่างกลาง ในขณะที่มดลูกต่อเนื่องกับรังไข่ผ่านทางท่อนำไข่ในทุกๆ ช่วงรอบประมาณ 28 วันรังไข่จะปล่อยไข่ออกมาผ่านท่อนำไข่เข้าไปยังมดลูก เยื่อบุมดลูกซึ่งดาดอยู่ด้านในมดลูกและไข่ที่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิจะไหลออกและถูกกำจัดออกไปทุกรอบเดือน ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การมีประจำเดือน (menstruation)

ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศหญิงได้แก่ การมีร่างกายเล็กกว่าเพศชาย ร่างกายมีร้อยละของไขมันสูง สะโพกกว้างขึ้น การเจริญของต่อมน้ำนมและเต้านมขยายขนาด ฮอร์โมนเพศที่สำคัญในเพศหญิงคือเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน

เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร

ต่อมบ่งเพศ

ต่อมบ่งเพศ (อังกฤษgonad) เป็นอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในเพศชายคืออัณฑะ ส่วนในเพศหญิงคือรังไข่ เซลล์สืบพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นแฮพลอยด์ คือมีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งจากเซลล์ร่างกายอื่นๆ ตัวอย่างเช่นสเปิร์มและโอวุม

หน้าที่

นอกจากทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์แล้ว ต่อมบ่งเพศยังทำหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ ซึ่งผลิตฮอร์โมนเพศที่ผลิตสารประเภทสเตอรอยด์ เช่นเดียวกับที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไตชั้นนอกต่างกันเพียงแค่แหล่งผลิตและปริมาณที่ผลิตขึ้น

อัณฑะ

รังไข่

ต่อมบ่งเพศหญิงคือรังไข่ สังเคราะห์ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และโปรเจสเตอโรน (progesterone) และสังเคราะห์ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง เอสโตรเจนตัวหลักที่ผลิตคือเอสตราไดออล(estradiol) ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเทสโทสเตอโรนอีกต่อหนึ่ง

การควบคุม

ติ่งเนื้อเมือก

ติ่งเนื้อเมือก (อังกฤษ: polyp) เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญยื่นออกมาจากเยื่อเมือก (mucous membrane) อย่างผิดปกติ หากติ่งเนื้อนี้มีก้านที่ยึดติดกับพื้นผิวเดิมจะเรียกว่า ติ่งเนื้อเมือกมีก้าน (pedunculated polyp) แต่หากไม่มีก้านจะเรียกว่า ติ่งเนื้อเมือกติดฐาน หรือติ่งเนื้อเมือกไร้ก้าน(sessile polyp)

ติ่งเนื้อเมือกมักพบบ่อยที่ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร จมูก โพรงอากาศข้างจมูก กระเพาะปัสสาวะ และมดลูก และยังอาจพบตามส่วนใดๆ ของร่างกายที่มีเยื่อเมือกเช่นปากมดลูก[1] หรือลำไส้เล็ก

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ (อังกฤษreproductive system) เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่างๆ อาทิ ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่นๆ กล่าวคือระบบเพศของสัตว์ต่างชนิดกันก็มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดการผสมรวมกันของสารพันธุกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตสองตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของลูกหลานต่อไป

การเกิดเซลล์สืบพันธุ์

การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (อังกฤษgametogenesis) คือกระบวนการอย่างหนึ่งในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นการแบ่งเซลล์และทำให้เกิดความแตกต่างกันของเซลล์แม่ (gametocyte) ที่มีโครโมโซมสองชุด (diploid) หรือชุดเดียว (haploid) ให้กลายเป็นเซลล์สืบพันธุ์ (gamete) ที่มีโครโมโซมเพียงชุดเดียว การเกิดเซลล์สืบพันธุ์เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) หรือไมโทซิส (mitosis) ขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

โกนาโดโทรฟิน

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ (อังกฤษSemen) ประกอบด้วยตัวอสุจิและน้ำหล่อเลี้ยงต่าง ๆ เป็นของเหลวลักษณะสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หรือจากการสำเร็จความใคร่ หรือขับมาตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว 

อัณฑะ

อัณฑะ (มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต หมายถึง ไข่) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนั้นยังมีเซลล์ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย

ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Testis ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน: testis แปลว่า พยาน )

อัณฑะ อยู่ภายในถุงอันฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอสุจิ

เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร
           
เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร
        
เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร

                                   พื้นผิวของอัณฑะ          ภาพตัดขวางของอัณฑะ

  • อัณฑะของแมว ประกอบด้วย 1 Extremitas capitata, 2 Extremitas caudata, 3 Margo epididymalis, 4 Margo liber, 5 Mesorchium, 6 Epididymis, 7 testicular artery and vene, 8 Ductus deferens


  • เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร

  • อัณฑะข้างขวา เมื่อเปิดชั้นทูนิกา วาไจนาลิส (tunica vaginalis)

  • เซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์คืออะไร




  • เซลล์สืบพันธุ์

  • เซลล์สืบพันธุ์ (อังกฤษgamete) เป็นผลสุดท้ายจากการเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (gametogenesis) ในสิ่งมีชีวิตที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ แกมีตจะรวมเข้ากับแกมีตอื่นในการปฏิสนธิ (fertilization) กลายเป็นไซโกต (zygote) จากนั้นไซโกตจึงเจริญเป็นเอ็มบริโอ (embryo) หรือตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตนั้น แกมีตในเพศผู้เรียกว่า สเปิร์ม (sperm) ส่วนแกมีตในเพศเมียเรียกว่า โอวุม (ovum) ซึ่งมีขนาดใหญ่ว่าแกมีตของเพศผู้มาก
  • โยนี

  • โยนี หรือ โยนิ (สันสกฤตयोनि yoni) เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึงอวัยวะเพศหญิง ตรงข้ามกับลึงค์ คำนี้มีหลายความหมายตามบริบท เช่น มดลูก สถานที่เกิด เกสรตัวเมีย ฐานรองรับ แหล่งที่มา ต้นกำเนิด น้ำพุ บ้าน รัง เพนียด แหล่งเก็บรักษา ที่นั่ง ปัญญา