การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน มีอะไรบ้าง

-สิ่งแวดล้อมดีย่อมส่งผลให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดีตามไปด้วย

ระบบสังคม -เป็นปัจจัยส่งเสริมที่มี ความเกี่ยวข้องกับภาวะ สุขภาพของคนใน ชุมชน

บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคล

ที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

บทบาทและความรับผิดชอบ

แกนนำ หรือผู้นำชุมชน

•ควรมีวิสัยทัศน์ในเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน โดยเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพต่อชุมชน มีบทบาทในการริเริ่มผลักดันให้เกิดนโยบาย กฎ และระเบียบของชุมชน

บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขภายในชุมชน

•ควรที่จะปรับเปลี่ยนบทบาทจากที่เคยเน้นเฉพาะการรักษา มาเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้มากขึ้น

หน่วยงานระดับท้องถิ่น

•ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการจากการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วย เป็นการปรับปรุงสุขภาพ

•มีบทบาทในการทำ หน้าที่ชี้นำชุมชน ให้เห็นแนวทางและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านวิชาการ

หน่วยงานระดับชาติ

•มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของชุมชนนั้นมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน่วยงานในระดับนี้มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของหน่วยงานในทุกระดับและประชาชนทุกคนให้มองเห็นสุขภาพในเชิงบวก

หน่วยงานอื่นๆ ในสังคม

•สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ สื่อสารมวลชน เป็นต้น ควรมีบทบาทหน้าที่ หรือมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

ประชาชนในชุมชน

•การมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชนเจ้าหน้าที่สุขภาพจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น มิได้มุ่งเน้นแต่เพียงการแก้ปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม

นักเรียน

•มีบทบาทในการริเริ่มผลักดันให้ประชาชนในชุมชนรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยนักเรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสถานการณ์ของโรคที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเผยแพร่สู่ประชาชนในชุมชน

การมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน

กลวิธีการสร้างแนวร่วมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

สำรวจหาแนวร่วมทั้งในชุมชนและนอกชุมชน

•โดยจะต้องให้เข้าร่วมโครงการ เรียกว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholder) ของโครงการ ซึ่งกระบวนการสำรวจหาแนวร่วมนี้อาจกระทำได้โดยการพบปะพูดคุยกับประชาชน หรือตัวแทนชุมชน เพื่อหาบุคคลที่มี ความสนใจแก้ปัญหา หรือพัฒนาสุขภาพของชุมชนร่วมกัน

•เป็นการสำรวจ “ทุนทางสังคม” คือ ทุนต่างๆ ที่ชุมชนมีอยู่แต่เดิม โดยผ่านระบบความสัมพันธ์ เพื่อนำทุนทางสังคมนั้นมาใช้ประโยชน ์ ต่อโครงการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

จัดตั้งกลุ่มแนวร่วม

•อาจจะประกอบไปด้วยสมาชิกของคณะกรรมการชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโดยสมัครใจ

•โดยกลุ่มแนวร่วมที่จดั ตั้งขึ้นนี้อาจอยู่ในรูปแบบของชมรม

ประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของกลุ่มแนวร่วม

•นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อ จะต้องประชุมร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ สร้างวิสัยทัศน์และกำหนดเป้าหมาย กำหนดแผนงาน กำหนดตารางเวลา การประเมินผลโครงการ และการหาทรัพยากรจากแนวร่วมอื่นๆ ภายนอกชุมชน

ดำเนินการตามแผนงาน หรือโครงการ

•ต้องดำเนินการโดยสมาชิกของแนวร่วม และควรมีการดึงความร่วมมือ ของประชาชนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนงาน

ประเมินผล ตรวจสอบ กำกับ และควบคุม

•ให้สามารถดำเนินการตามการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันทำให้ทราบถึงข้อผิดพลาด เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปในอนาคตแผนงาน หรือโครงการที่วางไว้

ถอดบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน

•เป็นการวิเคราะห์ผลของการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน

•บทเรียนที่ได้นี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินงานเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนในอนาคต

กระบวนการวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

สิ่งใดคือปัญหาทางสุขภาพที่แท้จริงของชุมชน

•ควรทำความเข้าใจให้ตรงกันหรือใกล้เคียงกันก่อน

•สิ่งที่ทำให้เกิดการปรับมุมมองและมีความเข้าใจตรงกันได้ คือ ข้อมูลจริงเกี่ยวกับสภาพของชุมชนและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งควรเป็นความรู้ที่เข้าใจง่าย แต่มีความถูกต้อง

ข้อมูลจริงเกี่ยวกับสภาพของชุมชน

•ข้อเท็จจริงที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถสืบค้น เสาะหา และเก็บรวบรวมได้หลายวิธี

จากข้อมูลที่ได้นำมาวางแผนเพื่อจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน

•เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพของประชาชนในชุมชนเรียบร้อยแล้วให้นำมาวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการให้เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชน

กระบวนการร่วมคิดร่วมทำของประชาชนในชุมชนเพื่อสุขภาพชุมชน

รูปแบบของกิจกรรม

ระดมทุน

•เพื่อหาเงินทุนมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสุขภาพ

•กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน

จัดตั้งชมรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน

•โดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

•ตำบล หรือสถานีอนามัย เป็นผู้ผ้ให้คำปรึกษา แนะนำ และดูแลสุขภาพ

ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารธรรมชาติในชุมชน

•เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารธรรมชาติอย่างทั่วถึง

•สอนขั้นตอนวิธีการทำผลิตภัณฑ์อาหารบริโภคกันในครอบครัว พร้อมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ

ส่งเสริมการนวดแผนไทย

•เพื่อช่วยลดปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน

•ช่วยลดปัญหาการบริโภคยาที่เกินความจำเป็นของประชาชนในชุมชนลงได้ระดับหนึ่ง

ส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรในชุมชน

•โดยเริ่มต้นจากการแปรรูปสมุนไพรที่มีมากในชุมชน

•มีการนำคณะทำงานไปศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ เพื่อทำให้กลุ่มสามารถพัฒนาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ

•ควรจะจัดให้เป็นงานประจำปีของชุมชนโดยเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนมาร่วมทำกิจกรรม

•เพื่อให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของวันสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของตนเอง

เครือข่ายสุขภาพกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

องค์ประกอบของเครือข่ายสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคต่างกันอย่างไร

การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง การป้องกันโรค หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน มีอะไรบ้าง

แนวคิดของการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน 1. การชี้น าเพื่อสุขภาพ โดยตั้งบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและภราดรภาพ 2. การลงทุน เพื่อการพัฒนานโยบายที่ยั่งยืนและเพื่อการด าเนินงาน ตลอดจนจัดโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะจัดการกับปัจจัยที่เป็นตัวก าหนดด้านสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติโรคควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค.
รักษาความสะอาดของใช้ต่างๆ.
ไม่คุลกคลีกับผู้ป่วย.
ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบ.
ออกกำลังสม่ำเสมอ.
ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร หลังจากถ่ายอุจจาระ.
ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวสุขภาพ.
ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย.

การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน คืออะไร

การส่งเสริมสุขภาพของชุมชน เป็นทั้งกระบวนการ กิจกรรม และแนวทาง สาหรับการ ดาเนินงาน เกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อส่งเสริม และเกื้อหนุนให้บุคคล ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนในทุกด้าน แบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ เนื่องจากสุขภาพนั้น เป็นองค์รวม ที่มาจาก ส่วนประกอบหลายๆ ประการ อาทิสังคม สิ่งแวดล้อม ระบบบริการสุขภาพ และวิถี ...