กิจกรรมใดคือความคิดหลักของประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์ดั้งเดิม จะมีพิธีสงกรานต์ที่ปฏิบัติกันในครอบครัว โดยจะมีการใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักในพิธี เนื่องจาก การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน จึงใช้น้ำมารดให้แก่กันเพื่อความสดชื่นในหน้าร้อนนั่นเอง โดยหลักๆ แล้ว จะมีพิธีสงกรานต์ คือ

  • การสรงน้ำพระ ทั้งที่บ้าน และที่วัด เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการทำบุญตักบาตรไหว้พระ
  • การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน
  • การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
  • การดำหัว เป็นพิธีสงกรานต์ทางภาคเหนือ โดยจะคล้ายกับการรดน้ำผู้ใหญ่ในภาคกลาง เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่
  • การขนทรายเข้าวัด มีความเชื่อว่า เพื่อคามเป็นมงคล ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองมากมายเหมือนเม็ดทรายที่ขนเข้าวัด และอีกความเชื่อก็คือ การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาปนั่นเอง

กิจกรรมใดคือความคิดหลักของประเพณีสงกรานต์

 

 


กิจกรรมใดคือความคิดหลักของประเพณีสงกรานต์


เกร็ดน่ารู้ > มาตรการต่างๆ ในช่วงสงกรานต์ 2565

 

และสำหรับสงกรานต์ ในปี 2565 นี้ ก็ยังอยู่ในการควบคุมป้องกันโรคโควิด 19 โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 มีมติเห็นชอบมาตรการป้องกันโรคโควิด ในการจัดงานช่วงเทศกาล สงกรานต์ ประจำปี 2565 “ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย สงกรานต์วิถีใหม่ รับผิดชอบต่อครอบครัว และสังคม” และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ดังนี้

 

การเตรียมตัวก่อนร่วมงานสงกรานต์ปี 65

• ให้พิจารณาตรวจ ATK ก่อนเดินทาง หรือ ก่อนร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง

• ผู้จัดงาน และกิจการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ให้ลงทะเบียนบนระบบ TSC2+ และประเมินตนเองตามประเภทมาตรการ Covid Free Setting ได้แก่

• การจัดกิจกรรมพิเศษ (แสดงคอนเสิร์ต/ดนตรี งานอีเวนท์ งานเทศกาล มหกรรม)

• การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน ศาสนสถาน ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ ฯลฯ

 

ระหว่างช่วงงานสงกรานต์ พื้นที่จัดงานสงกรานต์ ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ

• อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด

• ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน

• กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร)

• สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน

 

พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ

• ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม

• สามารถจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ สวมหน้ากากตลอดเวลา

• งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน

• เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน

• ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน

          คุณค่าต่อชุมชน ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ทำบุญตักบาตร หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัดร่วมกัน ได้สังสรรค์และสนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นรดน้ำ และการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่น

          คุณค่าต่อสังคม ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ ทำความสะอาดวัดวาอาราม พื้นที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ของชุมชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย

กิจกรรมใดคือความคิดหลักของประเพณีสงกรานต์

          คุณค่าต่อศาสนา วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชน โดยการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ฟังธรรม สรงน้ำพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลที่ดำรงสืบทอดพระพุทธศาสนา การทำบุญทำทาน และการถือศีลปฏิบัติธรรม ล้วนเป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน
          ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงามทรงคุณค่า เป็นช่วงเวลาแห่งการรักษาความสะอาดทั้งกาย ใจ และสิ่งแวดล้อม คุณค่าในการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและการแสดงความรักความปรารถนาดีและความเอื้ออาทรแก่ญาติมิตร นับเป็นประเพณีแห่งความสมัครสมานสามัคคีในครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย ในฐานะประชาชนคนไทยควรตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และแก่นแท้ของประเพณีสงกรานต์ที่งดงามและช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามด้วยการยึดถือปฏิบัติกันสืบไป

กิจกรรมใดคือความคิดหลักของประเพณีสงกรานต์

          ในเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ที่จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้เผยแพร่ประกาศสงกรานต์ พร้อมคำทำนายดวงเมืองประจำปี ของฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ดังนี้

ปีขาล (ผีเสื้อผู้หญิง ธาตุไม้) จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๘๔ ทางจันทรคติ เป็นปกติมาสวาร ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๐๙ นาฬิกา ๔๕ นาที ๔๖ วินาที

นางสงกรานต์ ทรงนามว่า "กิริณีเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จยืนมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ

กิจกรรมใดคือความคิดหลักของประเพณีสงกรานต์
นางกิริณีเทวี

_______________________________________________________________________________

วันที่ ๑๖ เมษายน เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๙ นาที ๔๘ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๘๔  

  วันพฤหัสบดี เป็นโลกาวินาศ

ปีนี้วันอาทิตย์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๔๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๖๐ ห่า นาคให้น้ำ ๔ ตัว