เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย  ในความหมายโดยทั่วไป  การส่งเสริมการขาย หมายถึง กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดที่นอกเหนือไปจากการ โฆษณา การตลาดทางตรง การขายโดยใช้พนักงานขาย และการประชาสัมพันธ์ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อกระตุ้นความสนใจ การทดลองใช้ หรือการซื้อของลูกค้าขั้นสุดท้าย บุคคลในช่องทางการตลาด หรือพนักงานขายของกิจการ การส่งเสริมการขายไม่สามารถใช้เพียงเครื่องมือเดียวได้ โดยทั่วไปมักจะใช้ร่วมกับการโฆษณา การตลาดทางตรง หรือการขายโดยใช้พนักงานขาย เช่นโฆษณาให้รู้ว่ามีการลด แลก แจก แถม หรือ ส่งพนักงานขายไปแจกสินค้าตัวอย่างตามบ้านเป็นต้น

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย 
มีอะไรบ้าง ที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัท / ห้าง ได้จัดทำ กิจกรรมการส่งเสริมการขาย ผู้รับต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และผู้จ่าย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อัตราภาษีการหัก ณ ที่จ่ายคือร้อยละเท่าไหร่

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย ในความหมายของกรมสรรพากร  คือ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง
     1.  เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน
     2.  เงินช่วยเหลือ
     3.  เงินส่วนลด หรือ
     4.  เงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่

ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้า

ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีขายสินค้า ให้ผู้ซื้อ ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

คือ ขายให้ผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้ประกอบการขายปลีกหรือขายส่งสินค้าหรือผู้แทนจำหน่าย  (ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว คนกลาง ตัวแทน นายหน้า ไม่ได้ซื้อไปใช้เอง หรือรายย่อย)

เมื่อบริษัท จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาระยะยาว - การจ่ายอาจจะจ่ายเป็นตัวเงินหรือไม่ก็ได้

ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย

ถ้าการจ่ายเงินเพื่อให้มีผลต่อการขาย ลดต้นทุนรายจ่าย - ถือเป็นค่าส่งเสริมการขายตามความหมายนี้ ต้องหัก ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 3 ทุกครั้ง

ที่มา : www.beeaccountant.com

เรียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผมรบกวนสอบถาม ในกรณีที่โครงการ iTAP สวทช. ได้สนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาของ SME ซึ่งมี หจก.และ บจก. ได้ขอรับสนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้ - ในระหว่างช่วงเวลาทำวิจัยและพัฒนาโครงการ SME ต้องสำรองงบประมาณออกไปก่อน - รายจ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการทั้งหมดได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ในกรณีบุคคลธรรมดา และมีภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีซื้อวัสดุอุปกรณ์ในโครงการจากร้านค้า ซึ่งได้จัดทำให้ถูกต้องตามระเบียบบัญชี ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการภาครัฐ ตามข้อมูลสรรพากรแล้วจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 297) พ.ศ.2539 แต่เมื่อทาง สวทช. ได้ทำการสนับสนุนเงินคืนให้ หจก. และ บจก. ดังกล่าว ซึ่ง สวทช. ก็ระบุให้ หจก. และ บจก. จัดทำใบเสร็จรับเงิน (ไม่มี VAT) ส่งมาที่ สวทช แต่ทางสำนักงานบัญชีผู้ดูจะขอทำการหักภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 7% ของยอดเงินสุทธิที่ สวทช. สนับสนุนมาให้ อยากสอบถามว่า: 1. เงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐเพื่อการวิจัยและพัฒนาดังกล่าวจะต้องมีการหัก 7%หรือไม่ หากมีการหักภาษีมูลค่าเพิ่มอีกครั้ง จะเป็นการหักภาษี 2 รอบหรือไม่ อย่างไร ขอบคุณครับ พัฒนโชค

pattanachok 03 ตุลาคม 2555 07:13:27 IP: 223.204.128.12

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย  ในความหมายโดยทั่วไป  การส่งเสริมการขาย หมายถึง กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดที่นอกเหนือไปจากการ โฆษณา การตลาดทางตรง การขายโดยใช้พนักงานขาย และการประชาสัมพันธ์ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อกระตุ้นความสนใจ การทดลองใช้ หรือการซื้อของลูกค้าขั้นสุดท้าย บุคคลในช่องทางการตลาด หรือพนักงานขายของกิจการ การส่งเสริมการขายไม่สามารถใช้เพียงเครื่องมือเดียวได้ โดยทั่วไปมักจะใช้ร่วมกับการโฆษณา การตลาดทางตรง หรือการขายโดยใช้พนักงานขาย เช่นโฆษณาให้รู้ว่ามีการลด แลก แจก แถม หรือ ส่งพนักงานขายไปแจกสินค้าตัวอย่างตามบ้านเป็นต้น

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย – มีอะไรบ้าง ที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัท / ห้าง ได้จัดทำ กิจกรรมการส่งเสริมการขาย ผู้รับต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และผู้จ่าย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อัตราภาษีการหัก ณ ที่จ่ายคือร้อยละเท่าไหร่

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย ในความหมายของกรมสรรพากร  คือ  รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง
     1.  เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน
     2.  เงินช่วยเหลือ
     3.  เงินส่วนลด หรือ
     4.  เงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่
    ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้า

ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย

คำสั่งกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับ บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 118/2545  เรื่อง      การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รายละเอียดแยกตามหัวข้อดังนี้

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีขายสินค้า ให้ผู้ซื้อ ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

คือ ขายให้ผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้ประกอบการขายปลีกหรือขายส่งสินค้าหรือผู้แทนจำหน่าย  (ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว คนกลาง ตัวแทน นายหน้า ไม่ได้ซื้อไปใช้เอง หรือรายย่อย)

เมื่อบริษัท จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาระยะยาว - การจ่ายอาจจะจ่ายเป็นตัวเงินหรือไม่ก็ได้

ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย

ถ้าการจ่ายเงินเพื่อให้มีผลต่อการขาย ลดต้นทุนรายจ่าย - ถือเป็นค่าส่งเสริมการขายตามความหมายนี้ ต้องหัก ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 3 ทุกครั้ง

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับค่าส่งเสริมการขาย เป็นสิ่งของ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย โดยจ่ายในลักษณะเป็นสิ่งของ เช่น เพิ่มจำนวนสินค้าให้ ให้สินค้าอย่างอื่นเป็นค่าส่งเสริมการขาย เช่น ตู้เย็น โทรศัทพ์

ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในวันที่ที่มีการส่งมอบสิ่งของ โดยคำนวณมูลค่าของสิ่งของตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ส่งมอบของนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับค่าส่งเสริมการขาย เป็น ใบลดหนี้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย โดยจ่ายในลักษณะใบลดหนี้ เพื่อลดยอดมูลค่าลูกหนี้

ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามวันที่ที่ออกใบลดหนี้นั้น

ถ้าเป็นการแถมสินค้า ไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ได้ขาย สินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

โดยมีการแถมสินค้าไปพร้อมกับสินค้าที่ขายซึ่งมูลค่าของสินค้าที่แถมไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขาย ไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้นจะเป็นสินค้าประเภท และชนิดเดียวกับสินค้าที่ขายหรือไม่ ผู้ขายสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับมูลค่าของสินค้าที่แถม

ถ้าเป็นส่วนลดเงินสด ไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

โดยมีข้อตกลงให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนภายหลังจากที่ขายสินค้าไปแล้วซึ่งเป็นส่วนลดเงินสด

หากการให้ส่วนลดดังกล่าวเป็นการให้ส่วนลดที่เป็นปกติตามประเพณีทางการค้า และได้มีการระบุเงื่อนไขส่วนลดเงินสดไว้ในใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ หรือใบกำกับภาษีให้ชัดเจน ต้องมีการระบุอย่างชัดเจน 

ส่วนลดดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็น ลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

                               ตัวอย่าง บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้ง มูลค่า 350,000 บาท มีเงื่อนไขการชำระราคาค่าสินค้าว่า ถ้าชำระภายใน 2 เดือน จะลดให้ 2,000 บาท หากบริษัท ก จำกัด ได้ระบุเงื่อนไขส่วนลดไว้ในใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ หรือใบกำกับภาษีให้ชัดเจน บริษัท ก จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ถ้าซื้อไปใช้เอง หรือ ประกอบกิจการตนเอง ไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อดังต่อไปนี้ เมื่อผู้ขายสินค้าดังกล่าวจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ผู้ซื้อสินค้าที่ได้รับรางวัล ส่วนลด ค่าส่งเสริมการขาย โดยผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี คือ

                                (1) ขายให้ผู้บริโภคคนสุดท้าน - ขายแก่รายย่อย  : กรณีการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอย โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อเช่น ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าเพียงเล็กน้อย เป็นต้น

                                (2) กรณีการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มี วัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น การขายอาหารสัตว์ให้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

                                ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับกรณีผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้แทนจำหน่ายของผู้ขายซึ่งซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง

                                ตัวอย่าง บริษัท ฎ จำกัด ขายสินค้าให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซึ่งโดยปกติบริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ แต่ในบางกรณีบริษัทผู้แทนจำหน่ายต้องการซื้อสินค้าของบริษัท ฎ จำกัด เพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทผู้แทนจำหน่าย กรณีดังกล่าว เมื่อบริษัท ฎ จำกัด จ่ายเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ฎ จำกัด มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

แล้วบริการ เข้าเงื่อนไขคำสั่งนี้หรือไม่

ให้นำความในข้อ 1 ถึงข้อ 6 มาใช้บังคับสำหรับการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นได้ให้บริการแก่ผู้รับบริการซึ่งผู้ให้บริการทราบโดยชัดแจ้งว่าผู้รับบริการนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการต่อ หรือตามพฤติการณ์ผู้รับบริการมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการต่อแน่นอน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม รางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ไม่มี เพราะอะไร

รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายตามข้อ 1 ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้รับจึงไม่ต้องนำเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายดังกล่าวไปรวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย - ไม่เข้าความหมายของการขายสินค้า หรือ บริการตามความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น จึงไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
Photo by JJ Ying on Unsplash

เรียนรู้บัญชี ภาษี พื้นฐานสำหรับเจ้าของกิจการ ซื้อมาขายไปและบริการ

สรุปพื้นฐานบัญชีภาษี เบื้องต้ง การกรอกแบบ ภงด 1/3/53 ภงด 1 ก แบบ ภพ 30 36 ความเสี่ยงการตรวจสอบกิจการเบื้องต้น ถึงกิจการท่าน

ตัวอย่างเกี่ยวกับ บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย

คูปองติดกับตัวสินค้าเป็นส่วนลดเงินสด

บริษัท ก จำกัด และบริษัทผู้แทนจำหน่าย มีข้อตกลงว่า เพื่อเป็นการ ส่งเสริมการขายสินค้า บริษัท ก จำกัด จะใช้คูปองติดกับตัวสินค้าเป็นส่วนลดเงินสด เมื่อลูกค้านำสินค้าพร้อมคูปองมาชำระเงิน บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะให้ส่วนลดเงินสดตามราคาคูปองนั้น และบริษัทผู้แทนจำหน่ายจะได้รับเงินชดเชยส่วนลดเงินสดตามคูปองนั้นคืนจากบริษัท ก จำกัด เงิน ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ก จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ค่าสิทธิประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าและ ค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance fee)

บริษัท ข จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัท ข จำกัด ได้ขายสินค้าให้แก่ร้านค้าสะดวกซื้อซึ่งประกอบกิจการค้าปลีก มีข้อตกลงว่าร้านค้าฯ ไม่สามารถนำสินค้าจากแหล่งอื่นมาขาย จะต้องขายสินค้าของบริษัท ข จำกัด เท่านั้น โดยบริษัท ข จำกัด ต้องจ่ายค่าสิทธิประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าและจ่ายค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance fee) ให้แก่ร้านค้าฯ เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ข จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ค่าธรรมเนียมการรับรองตั๋วสัญญาใช้เงิน

บริษัท ค จำกัด และบริษัทผู้แทนจำหน่าย มีข้อตกลงว่า เพื่อเป็น หลักประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อจากบริษัท ค จำกัด บริษัท ค จำกัด ได้กำหนดให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายซึ่งชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารรับรองตั๋ว เมื่อบริษัทผู้แทนจำหน่ายชำระค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารแล้ว บริษัท ค จำกัด จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าธรรมเนียมการรับรองตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งหมดให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในภายหลัง เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ค จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

เงินชดเชยส่วนต่างค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ลดต้นทุน / ลดค่าใช้จ่าย)

บริษัท ง จำกัด และบริษัทผู้แทนจำหน่าย มีข้อตกลงว่า บริษัท ง จำกัด มีนโยบายยกเลิกคลังสินค้าทั่วประเทศและใช้สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับบริษัทผู้แทนจำหน่าย เป็นผลทำให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศซึ่งต้องการติดต่อกับบริษัท ง จำกัด จะต้องโทรศัพท์ถึงสำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร บริษัท ง จำกัด จึงจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าโทรศัพท์ในส่วนที่เกินจากค่าโทรศัพท์ในเขตพื้นที่เดียวกันให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ง จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

เงินช่วยเหลือค่าขนส่ง / ลดราคาสินค้า (ลดต้นทุน / ลดค่าใช้จ่าย)

บริษัท จ จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยส่งสินค้า ถึงบริษัทผู้แทนจำหน่าย ต่อมามีข้อตกลงกับบริษัทผู้แทนจำหน่ายว่า หากบริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อสินค้าจากบริษัท จ จำกัด โดยขนสินค้าเอง บริษัท จ จำกัด จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าขนส่งให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย หรือจะลดราคาสินค้าให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท จ จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

เงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย (ลดต้นทุน / ลดค่าใช้จ่าย)

บริษัท ฉ จำกัด ประกอบกิจการขายกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ มี ข้อตกลงกับบริษัทผู้แทนจำหน่ายว่า กรณีบริษัทผู้แทนจำหน่ายนำสินค้าที่ซื้อจากบริษัท ฉ จำกัด ไปจัดแสดงหรือติดตั้งให้เห็นสภาพการใช้งานจริง เช่น ปูกระเบื้องและติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเป็นห้องน้ำ กรณีดังกล่าว เมื่อบริษัทผู้แทนจำหน่ายจ่ายค่าก่อสร้างให้แก่ผู้รับเหมาก่อสร้างไปแล้ว บริษัท ฉ จำกัด จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ฉ จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ประโยชน์อื่นใดที่ไดับเป็นตัวเงิน เช่น ค่าอบรม และได้รับเป็นตัวเงิน ค่าเดินทางและค่าที่พัก

บริษัท ช จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้า ได้มีการจัดสัมมนาให้แก่ บริษัทผู้แทนจำหน่ายเพื่อแนะนำสินค้าใหม่หรือเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในสินค้าที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อจากบริษัท ช จำกัด ไปจำหน่าย และบางกรณีก็ได้จัดสัมมนาให้ความรู้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งทั้งสองกรณีบริษัท ช จำกัด มิได้เรียกเก็บค่าสัมมนาจากบริษัทผู้แทนจำหน่าย และได้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าเดินทางและค่าที่พักให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายด้วย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ช จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ส่วนลดภายหลัง (Rebate) โดยจะจ่ายในลักษณะเป็นใบลดหนี้ (Credit Note)

บริษัท ซ จำกัด ประกอบกิจการขายยางรถยนต์ มีข้อตกลงกับบริษัท ผู้แทนจำหน่ายว่า กรณีบริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อยางรถยนต์จากบริษัท ซ จำกัด ไปเพื่อขายได้ตามเป้าที่กำหนด บริษัท ซ จำกัด จะจ่ายส่วนลดภายหลัง (Rebate) โดยจะจ่ายในลักษณะเป็นใบลดหนี้ (Credit Note) เพื่อให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายนำมาชำระหนี้ค่าซื้อยางรถยนต์ในคราวต่อไป เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ซ จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ส่วนลดแก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในอัตราร้อยละ 35 ของราคาสินค้า

บริษัท ฌ จำกัด เป็นผู้นำเข้ายาจากต่างประเทศ มีข้อตกลงกับบริษัท ผู้แทนจำหน่ายว่า บริษัท ฌ จำกัด จะให้ส่วนลดแก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในอัตราร้อยละ 35 ของราคาสินค้าที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อจากบริษัท ฌ จำกัด โดยให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายรวบรวมยอดส่วนลดในแต่ละเดือนแล้วจัดส่งใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินไปยังบริษัท ฌ จำกัด เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ฌ จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ค่าอุดหนุน (Subsidize)

บริษัท ญ จำกัด ประกอบกิจการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีข้อตกลงกับ บริษัทผู้แทนจำหน่ายว่า กรณีบริษัทผู้แทนจำหน่ายสามารถขายสินค้ารุ่นเก่าออกจากสต็อกได้ บริษัท ญ จำกัด จะจ่ายเป็นค่าอุดหนุน (Subsidize) มูลค่า 500 บาท ต่อ 1 เครื่อง เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัท ญ จำกัด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี? เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีอยู่หลายกรณีที่สําคัญๆ

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานในการยินยอมให้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในข้อบังคับการทำงาน ระเบียบข้อบังคับการทํางาน 2563 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน บริษัท ปตท ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2564 แบบฟอร์ม ตัวอย่าง กฎ ระเบียบบริษัท ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ภาษาอังกฤษ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน pdf ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 word

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าตอบแทนการบริหารงาน นิติบุคคล

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สินค้าเพื่อส่งเสริมการขายและการโฆษณา ต้องหักภาษีด้วยหรือไม่ ปัญหาภาษี ส่งเสริมการขาย ค่าส่งเสริมการขาย 40 8 อยู่หมวดไหน บุคคลธรรมดา รายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มฃ เป็นเงินได้ประเภทใด คือ ส่วนลด ภาษี บุคคลธรรมดา

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทุนจดทะเบียนบริษัท ความรับผิดผู้ถือหุ้น ตามกฎหมาย​ ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดชอบเท่าไหร่ กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร แล้วทุนจดทะเบียนเริ่มต้นกี่บาท

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ซื้อของจากจีน รับทำบัญชี จัดส่งเอกสารอย่างไร บัญชีภาษีอย่างง่าย

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างไร​

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างไร​

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าเช่ารถยนต์ : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล รับทำบัญชี

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หัก ณ ทีจ่าย 8 อย่างที่ SME ต้องรู้!!

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใบกํากับภาษี กระดาษความร้อน ข้อความจางหายไปจนไม่สามารถอ […]

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีส่งออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าไปต่างประเทศ ราย […]

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สินค้าฝากขาย การบันทึกบัญชี ภาษี สินค้าฝากขาย การบันทึก […]

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อน เงินบริจาค​​ ภาษีเงิน […]

เงินสนับสนุน ภาษีมูลค่าเพิ่ม

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการข […]

บทความ

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย บันทึกบัญชีค่า ส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อหารือ ส่งเสริมการขาย การบันทึกรายได้ส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย คือ ค่าส่งเสริมการขาย หักค่าใช้จ่าย ค่าส่งเสริมการขายเป็นเงินได้ประเภทใด แบบฟอร์ม ส่วนลดการค้า