นํา รูป ไปใช้โดยไม่ได้รับ อนุญาต มาตรา

สำหรับคนที่ต้องการเปิดเพจ หรือเว็บไซต์ และต้องการใช้รูปภาพ อาจจะสับสนว่าเราสามารถโหลดภาพแบบไหนมาใช้ได้บ้าง รูปบุคคลหรือรูปภาพถ่ายแบบไหนที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์ ไม่ถูกรายงานหรือสั่งลบ 

ถ้าจ่ายเงินซื้อแล้วยังถูกรายงาน สาเหตุเป็นเพราะอะไร?

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าลิขสิทธิ์ภาพถ่ายในไทยนั้นมีข้อกำหนดอะไรบ้าง

Advertisements

เข้าใจลิขสิทธิ์ภาพถ่าย

ปกติแล้วกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยแบ่งออกเป็นหลายประเภท และ  “ภาพถ่าย” จัดอยู่ในหมวดศิลปกรรม ภาพถ่ายจะได้รับความคุ้มครองทันที โดยที่ไม่ต้องจดทะเบียนใดๆ เริ่มตั้งแต่วินาทีที่เจ้าของภาพถ่ายชิ้นงานนั้นออกมา

และเจ้าของผลงานเป็นคนเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำสำเนา ทำ Copy ดัดแปลงลงในสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะภาพ 2D หรือ 3D 

มาตรา 31 ระบุว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดัง ต่อไปนี้

(๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

(๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร”

หากละเมิดลิขสิทธิ์ รายละเอียดบทกำหนดโทษมีดังนี้

“มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็น การกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

“มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น บาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำ ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

สรุปสั้นๆ ถ้าเราใช้ภาพตาม 4 ข้อข้างต้น ตามกฏหมายไทยถือว่า “ผิด” และถ้าเป็นภาพถ่ายจากต่างประเทศ หากเจ้าของผลงานเจอก็อาจจะถูกฟ้องได้เช่นกัน

Advertisements

ดังนั้นถ้าเราต้องการใช้ภาพจะต้องขอนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน 

ธุรกิจเจ้าใหญ่ๆ ก็เคยได้รับบทเรียนเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้เช่นกัน ในปี 2559 ช่างภาพที่ชื่อว่า Christopher Sadowski ได้ยื่นฟ้อง iHeartMedia เนื่องจากมีการโพสต์รูปถ่ายของแร็ปเปอร์ และนักแสดงหญิง Azealia Banks โดยที่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

ในขณะที่สื่ออื่นๆ ใช้รูปภาพ โดยให้เครดิตและมีการชำระเงิน 

เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้รูปของบุคคลที่มีชื่อเสียง ยิ่งมีการแชร์โพสต์ออกไปไกลเท่าไหร่ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ก็จะยิ่งหนักขึ้น จากกรณีนี้ทำให้ iHeartMedia เรียนรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ และพิจารณาเรื่องเหล่านี้อย่างเข้มข้นก่อนปล่อยแคมเปญต่างๆ

ภาพที่ซื้อจากเว็บไซต์มีแบบไหนบ้าง

ภาพที่ซื้อผ่านเอเจนซีแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 

1.Rights-managed : รูปภาพที่จ่าย หรือจ่ายเฉพาะครั้งที่ใช้ ถ้าหากเจอปัญหาว่า เราจ่ายเงินซื้อรูปภาพไป แต่ยังถูกร้องเรียนในเรื่องลิขสิทธิ์อยู่ ก็ไม่แน่ว่ารูปภาพนั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ในรูปแบบ Right managed 

2.Royalty-free : ภาพที่ซื้อครั้งเดียว สามารถใช้ได้เรื่อย ๆ พูดง่ายๆ ก็คือ เหมาจ่าย
การอนุญาตแบบ Royalty-free ตอนนี้กลายมาเป็นที่นิยม เพราะช่วงนี้โลกดิจิตัลมีการขยายตัวค่อนข้างสูง และภาพถ่ายก็คือสิ่งสำคัญ ที่จะสนับสนุนให้ Content มี Impact มากยิ่งขึ้น สามารถไปฟังพอดแคสเกี่ยวกับพลังของการใช้ภาพ (The Power of Image) ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=GGBgTWh9clw

และในปัจจุบันภาพในคลังส่วนใหญ่ก็ถูกลงทะเบียนไว้ให้เป็นแบบ Royalty-free ด้วย ฉะนั้นการอนุญาตแบบ Royalty-free จึงเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ซื้อ ที่นำเสนอทั้งความยืดหยุ่นและซื้อง่ายมากกว่าการใช้แบบ Rights-managed

Shutterstock เป็น Platform ที่เชื่อมโยงระหว่างนักสร้างสรรค์ผลงาน กับ ลูกค้าผู้ซื้อผลงาน โดยให้ความสำคัญกับทั้งเนื้อหาและการให้บริการลูกค้า ให้สะดวกและใช้งานได้ง่ายที่สุด

Shutterstock เองก็เป็น Royalty Free ทั้งหมด การใช้งานง่ายกว่า สะดวกกว่า ไม่ต้องระวังเรื่องระยะเวลาการใช้งาน

สำหรับคนทำธุรกิจที่กำลังมองหารูปภาพ หรือต้องการขอคำปรึกษาเรื่องลิขสิทธิ์การใช้รูป หรือเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้รูป วิดีโอ เพลง สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ number24.co.th ตัวแทน Shutterstock ประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว

เชื่อว่าพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์หลายๆ ท่านมักจะต้องเจอ “นักก๊อปในตำนาน” ไม่ว่าจะขายผ่าน “Online Marketplace” ต่างๆ ทั้ง Lazada Shopee Facebook หรือแม้กระทั่งขายผ่านหน้าเว็บไซต์ของตัวเอง ก็ไม่วายโดนขโมยรูปภาพสินค้าภายในร้าน รวมทั้งก๊อบปี้ข้อความต่างๆ ไปทำหน้าร้านของตัวเอง ต่างกันก็เพียงแค่เปลี่ยนชื่อร้านเท่านั้น

แต่สิ่งที่น่าปวดหัวยิ่งกว่า หากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เจอนักก๊อปจากต่างประเทศ ที่ก๊อปทุกอย่าง มีเพียงแค่ข้อความ หรือรายละเอียดบางอย่างที่ก๊อปมาไม่เหมือนกัน เพราะใช้ Google Translate แปล ทำให้ข้อความในการเชิญชวนซื้อสินค้าดูผิดแปลกไปจากเดิม ถ้าเป็นแบบนี้ สิ่งที่เราพอจะทำได้นั่นก็คือ แจ้งไปยัง Online Marketplace ที่เราใช้บริการอยู่ เพื่อให้ผู้บริการรับทราบถึงปัญหา และแบนผู้ค้านักก๊อบปี้ให้หายไปจากระบบ

สำหรับวิธีแจ้ง Online Marketplace ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเปิดร้านใน Shopee ให้ดำเนินการกับนักก๊อปพวกนี้ ไม่ยากเลย เพียงแค่เก็บหลักฐานเอาไว้ให้หมด และเข้าไปดูเงื่อนไข การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของ Shopee ที่อธิบายไว้ชัดเจนว่าลักษณะการถูกละเมิดที่เข้าข่าย และจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มีดังนี้

1. การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

  • การละเมิดเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร สินค้าปลอมหรือเลียน คือ การใช้เครื่องหมายการค้า หรือชื่อทางการค้า เพื่อโฆษณา อ้างอิง ผ่านชื่อ รูปภาพ หรือ คำอธิบายเนื้อหาสินค้า รวมทั้งจำหน่ายสินค้าปลอมแปลงภายใต้เครื่องหมายการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลหรือองค์กร อันเป็นเจ้าของสิทธิ์เครื่องหมายการค้า
  • การละเมิดสิทธิบัตร คือ การขายมีไว้เพื่อเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร

2. การละเมิดลิขสิทธิ์

การนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ ในส่วนของรูปภาพและเนื้อหาสินค้า หรือที่เกี่ยวข้องกับรายการสินค้าที่ลงขาย โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาต หรือไม่ได้รับทราบ

โดยการถูกขโมยภาพ และก๊อบปี้ข้อความไปใช้นั้น เข้าข่ายผิดข้อ 2 การละเมิดลิขสิทธิ์ นั่นเอง สิ่งที่เราต้องทำจากนี้ก็คือ นำหลักฐานไปแจ้งความ หรือลงบันทึกประจำวันไว้ก่อนว่า ร้านค้าของเราโดนละเมิดลิขสิทธิ์จากร้านค้านี้ ด้วยการนำรูปและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าไปเผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเราที่เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ที่แท้จริง

เมื่อลงบันทึกประจำวันเรียบร้อยแล้ว ก็แจ้งไปยัง Online Marketplace นั้นๆ เพื่อให้ดำเนินการระงับ หรือแบนผู้ขายนั้นๆ ออกจากระบบ

ส่วนการดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น ถ้าเรามีข้อมูลเพียงพอ และสาวถึงตัวบุคคลที่ตั้งใจขโมยรูปภาพและก๊อบปี้ข้อความของเรา ก็สามารถให้ตำรวจช่วยดำเนินคดีตามขั้นตอนกฎหมาย โดยใช้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในมาตรา 27, 31, 69 วรรคสอง, 70 วรรคสอง 74, 75 และมาตรา 76 ได้ทันที

ทั้งนี้ การใส่ลายน้ำในรูปสินค้า หรือการใส่ลายน้ำในภาพถ่าย เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการขายของออนไลน์ ที่สำคัญเราต้องมีเทคนิคการวางลายน้ำให้ปลอมแปลงได้ยาก แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การวางลายน้ำให้สวยงาม ไม่เกะกะสายตาของลูกค้า ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียโอกาสในการขายของไปโดยปริยาย

สำหรับเทคนิคการออกแบบลายน้ำ และวางลายน้ำให้สวยงาม ป้องกันการถูกก๊อบปี้หรือขโมยไปใช้ ที่อยากแนะนำ มีดังนี้

1. ออกแบบโลโก้ของร้าน หรือลายน้ำของร้าน ให้เข้ากับสินค้าแต่ละชนิด เช่น ถ้าขายเสื้อผ้า ก็ควรจะเน้นโลโก้ที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และควรใช้ลายน้ำเป็นสีพื้นๆ เพื่อชูให้สินค้าโดดเด่น

2. ไม่วางลายน้ำทับรูปสินค้าทั้งหมด และไม่ควรวางลายน้ำหรือโลโก้ที่มุมใดมุมหนึ่งของภาพ เพราะง่ายต่อการขโมยภาพไปปลอมแปลงมากที่สุด

3. มุมล่างซ้ายของภาพถ่ายสินค้า สามารถใส่ QRcode เพื่อนำไปสู่ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือรีวิวของผู้ใช้งานจริงก็ได้ นอกจากจะช่วยเรื่องการปลอมแปลงแล้ว ยังทำให้คนซื้อเข้าใจในลักษณะสินค้านั้นๆ อีกด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นวิธีในการรับมือเหล่า “นักก๊อปในตำนาน” ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ จะสามารถแก้ไขให้ผ่านไปได้อย่างมีสติ POST Family ขอเป็นกำลังใจให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกท่าน