สภาพแวดล้อมทางสังคมที่ไม่ปลอดภัย

 ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัย
     ปัจจัยเสี่ยง   หมายถึง   องค์ประกอบด้านกายภาพ   สังคม   หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  ชีวิต   หรือทรัพย์สิน   พฤติกรรมเสี่ยง   หมายถึง   การกระทำของบุคคลที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  ชีวิต   หรือทรัพย์สิน   ในปัจจุบันโลกมีความเจริญขึ้นแต่ความปลอดภัยกลับลดน้อยลง  ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพความปลอดภัยมากมายในที่นี้จะขอนำเสนอเพียงบางส่วนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อชีวิตคนเรา
1. พฤติกรรมสุขภาพ   เป็นการปฏิบัติตนที่มีผลต่อสุขภาพ   หากปฏิบัติตนไม้เหมาะสมจะทำ
ให้สุขภาพเสื่อมลง  เช่น  การไม่ออกกำลังกาย   การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การใช้สารเสพติดการสำส่อนทางเพศ  การพักผ่อนไม่เพียงพอ  การไม่ระวังโรคติดต่อ  เป็นต้น  
2.การสัญจร   โดยพาหนะทั้งที่เป็นรถยนต์รถจักรยานยนต์   รถไฟ  เรือ   เครื่องบิน   เป็นต้น
ยิ่งมีการสัญจรเดินทางมากอุบัติเหตุก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
3.สิ่งแวดล้อม    ในปัจจุบันมีมลพิษมากมากทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ลง   ดังนั้น  คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีขยะส่งกลิ่นเหม็น   น้ำเน่า  อากาศเป็นพิษ  มีพวกมิจฉาชีพมากสารเสพติดแพร่ระบาดมาก  ใกล้โรงอุตสาหกรรมสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตารายต่อสุขภาพและชีวิตมากพอสมควร  
4. การอุปโภค   คือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆปัจจุบันมีเครื่องอุปโภคที่แฝงไว้ด้วยพิษภัย
หลายอย่าง  เช่น  เครื่องสำอาง   เตาแก๊ส   เครื่องใช่ไฟฟ้า   เป็นต้น  ซึ่งถ้าไม่รู้จักเลือกใช้หรือใช้ไม่ถูกต้องก็เป็นอันตรายได้เหมือนกัน 
5.การบริโภค   ปัจจุบันอาหาร การกิน    มีสารพิษปนเปื้อนมากมาย   เช่น ขนมผสมสีย้อมผ้า   ปลาเค็มฉีดดีดีที   ปลาสด แช่สารฟอร์มาลีน    ผักมีสารพิษ  สิ่งเหล่านี้ เข้าไปสะสมในร่างกายจนถึงระยะหนึ่งเมื่อ สะสมมากขึ้นจะทำไห้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ   โรคภัยไข้เจ็บจะเบียดเบียนทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่ปลอดภัย
6. อุบัติเหตุในบ้าน   การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้เหมือนกัน 
  แนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
     สาเหตุของการติดสารเสพติด โดยทั่วไปผู้ที่ติดสารเสพติดมักมีสาเหตุ
1.สภาพทางจิต   ซึ่งได้แก่   ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว     มีจิตใจอ่อนแอ
ไม่หนักแน่น    มีความคึกคะนอง     อยากรู้อยากเห็น    อยากลอง   อยากอวดเพื่อน   คิดว่าเป็นสิ่งที่โก้เก๋ก็มีหรือแสดงความเป็นชาย    แต่ผู้หญิงบางคนก็เสพสารเสพติดเพราะคิดว่าโก้เก๋ก็มี
2. สภาพแวดล้อม   ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีผู้ใช้และผู้ขายสารเสพติดกันมาก    มีเพื่อนฝูง
ที่ใช้สารเสพติด    มีสิ่งยั่วยุ   แหล่งบันเทิงเริงรมย์   ซึ่งเป็นแหล่งที่มักมีสารเสพติดใช้กัน
3.ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์    เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์    อาจถูกเพื่อนหลอกให้เสพหรือไม่รู้ถึงพิษภัยว่าร้ายแรงเพียงใด    หรือสารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติด
4.ความจำเป็นของร่างกาย    ใช้เนื่องจากระงับความเจ็บปวด    ลดความตึงเครียดทางประสาทหรือบางอาชีพต้องทำงานหนักเป็นเวลานาน    จึงใช้สารเสพติดเพื่อให้ทำงานได้นาน
  การออกฤทธิ์ของสารเสพติด
      ฤทธิ์ของสารเสพติด   แบ่งได้เป็น  4  แบบ  ดังนี้
1.  ออกฤทธิ์กดประสาท   ( Depressant )  จะทำให้เกิดอาการมึนงง   ง่วงซึม   หมดแรง
หายใจช้าลง   สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กดประสาท   ได้แก่   ยานอนหลับ   เฮโรอีน  มอร์ฟีน  ฝิ่น  เมธาโดน  เซโคนัล   บาร์บิทูเรต    ฟีโนบาร์บิตาล    โบรไมด์    พาราดีไฮด์
2. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท  (  Stimulant )   จะทำให้ประสาทตื่นตัว    กระวนกระวาย
ไม่ง่วงนอน    แต่ถ้าหมดฤทธิ์ยาจะง่วงนอนทันที    อาจทำให้หลับง่ายหรืออาจเกิดการหลับใน   อาการ อื่นๆ  เช่น    ตัวสั่น   เครียด   เป็นต้น   สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท   ได้แก่   ใบกระท่อม   ยาบ้า  โคเคอีน
3. ออกฤทธิ์หลอนประสาท   ( Hallucinogen )   จะทำให้ประสาทหลอน   ประสาทสัมผัส
ทางตา    หู    จมูก    ลิ้น    การสัมผัสจะเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง    สารเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทได้แก่    กัญชา   แอล.เอส.ดี   ( Lysergic  Acid  Dicthylamide : L.S.D.)  ดี.เอ็ม.ที (Dimethy  Tryptamine : D.M.T.)   กาว    ทินเนอร์
4.ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน  ( Mixed ) จะออกฤทธิ์ทั้ง 2 แบบรวมกันหรือทั้ง 3 แบบรวมกัน
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น    สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน   ได้แก่   กัญชา   ถ้าเสพจำนวนน้อย
จะกดประสาทชั่วระยะหนึ่ง    ต่อเมื่อเสพเพิ่มเข้าไปมากจะกลายเป็นพิษหลอนประสาทได้   สารระเหยเมื่อสูดดมในระยะแรกจะกระตุ้นประสารทต่อมาจะหลอนประสาท 
   วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
        สารเสพติดมีอันตรายต่อผู้ใช้หรือผู้เสพ    ดังนั้น   เราจึงต้องมีวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด 
1.ครอบครัวที่อบอุ่นจะเป็นรั้วป้องกันสารเสพติดได้เป็นอย่างดี
2.  ต้องมีใจคอหนักแน่น    อาจมีเพื่อน ชักชวนให้เสพก็ต้องปฏิเสธอย่าไปเสพไม่ต้องเกรงใจเพื่อนในทางที่ผิด
3.  อย่าลองเป็นอันขาด   เพราะจะนำไปสู่การใช้สารเสพติดบ่อยครั้งจนเกิดการติดได้   สารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติดแล้ว
4.  ต้องคิดใหม่   อย่าคิดแบบเก่า ๆ  คือคิดว่าการเสพสารเสพติดเป็นสิ่งที่โก้เก๋    เป็นคนเก่ง
เพื่อนฝูงจะยอมรับ   ควรคิดใหม่    คือต้องคิดว่าคนที่เสพเป็นคนที่เสพเป็นคนที่น่าอับอาย  น่ารังเกียจเป็นคนอ่อนแอชักจูงง่าย  ถ้าเพื่อนฝูงไม้รับเพราะเราไม้เสพก็ชั่งเขาไม้ต้องไปคบด้วยกับเพื่อนคนที่ชักชวน เราไปสู่ความหายนะ
5. ต้องตระหนักถึงพิษภัยเพราะสารเสพติดทุกชนิดมีพิษภัยต่อร่างกายทั้งสิ้น
6. ต้องตระหนักว่าการที่นักเรียนไปใช้สารเสพติด   ถ้าพ่อแม่   ผู้ปกครองรู้จะทำให้ท่านเสียใจ
7. พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้สารเสพติด   เช่น  หลีกเลี่ยงจากเพื่อน
ที่ใช้สารเสพติด   ไม่ไปเที่ยวสถานบันเทิงเริงรมย์   เป็นต้น
8. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดชนิดต่าง ๆ  เพื่อให้รู้ถึงอันตรายและเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน   
9. ไม่ใช้สารเสพติดเพื่อการรักษาโรคด้วยตนเอง     ยาบางชนิดมีสารเสพติดผสมอยู่    เช่น
ยาระงับปวดบางชนิด    ยาแก้ไอบางชนิด
10. ควรหากิจกรรมทำอย่าให้มีเวลาว่างมาก   ขณะนี้มีคำที่นิยมใช้และมีการจัดตั้งกันมากมายก็คือ   “ ลานกีฬาต้านยาเสพติด ’’ ซึ่งการเล่นกีฬาจะทำให้สนุกสนาน   มีเวลาว่างน้อยลง   ก็จะช่วยไม่ให้คนเราหันเหไปใช้สารเสพติดได้
11. ถ้ามีปัญหาไม่พึ่งสารเสพติด   ควรปรึกษาพ่อแม่   ผู้ปกครอง   ครู   อาจารย์   ญาติผู้ใหญ่
12.  ถ้าพบว่ามีการจำหน่าย    จ่ายแจกสารเสพติดกันในบริเวณโรงเรียนให้แจ้งครูอาจารย์
ถ้านอกโรงเรียนให้บอกผู้ปกครองให้ไปแจ้งตำรวจ   แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยด้วย  เพราะถ้าผู้จำหน่ายรู้ว่าใครขัดผลประโยชน์หรือทำให้เขาเดือดร้อน    
   ความหมายและประเภทของความรุนแรง
      ความรุนแรง   หมายถึงการทำร้ายทางร่างกาย     การทำร้ายทางจิตใจ   การทำร้ายทางเพศ และการทอดทิ้งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า  18  ปี ความรุนแรงมี 4  ประเภท
1. การทำร้ายร่างกาย   คือ  มักเกิดจากการทุบ   ตี   ต่อย   เตะ   จับศีรษะโขกกับของแข็ง ใช้เทียนหยดลงตามตัว   ขว้างปาด้วยสิ่งของ   แทง   ฟัน   ยิง   หรือทรมานร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ
2. การทำร้ายทางจิตใจ    เป็นการกระทำด้วยกิริยาวาจา  ทาทาง  สายตา  สีหน้า  จนทำให้ผู้ถูกกระทำเจ็บชำนำใจ  อับอาย  อาจถึงขั้นคิดสั้นได้  การกระทำดังกล่าว   ได้แก่  การด่า  บังคับขู่เข็ญการดูถูกเหยียดหยามการเยาะเย้ยถากถาง  การข่มขู่  การไล่ออกจากบ้าน  การหน่วงเหนี่ยวกักขัง  ตลอดจนการรบกวนต่าง ๆ ทางจิตใจของผู้ผูกกระทำ
3. การทำรายทางเพศ  ผู้ที่ถูกทำร้ายทางเพศมักได้แก่เพศหญิงและมีเด็กชายบ้างเหมือนกัน ลักษณะการทำร้ายทางเพศมีหลายรูปแบบ  เช่น  การถูกจับหน้าอก  ถูกจับก้น  ถูกจับอวัยวะเพศ การถูกฝ่ายชายเอาอวัยวะเพศมาถูไถร่างก่ายขณะอยู่ในชุมชน  การถูกปลุกปล้ำ   การถูกข่มขืน
โดยผู้ชายคนเดียว  การถูกข่มขืนโดยผู้ชายหลายคน  การถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้าเพื่อถ่ายภาพ ถูกพูดจาลวนลาม  ล่วงเกินทางเพศ  ถูกตัดแต่งภาพโดยใช้รูปโป๊ของผู้อี่นแต่ใช้หน้าผู้เสียหายออก  เผยแพร่ให้ สาธารณชนได้เห็น เป็นต้น
4. การทอดทิ้งเด็ก  อาจทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด  จนถึงการทอดทิ้งเด็กโตซึงอายุไม่ไม่เกิน  18  ปี  จนผู้ทอดทิ้งได้รับความเดือดร้อน
หรือถึงขั้นเสียชีวิต ปัจจุบันนี้เรื่องการทอดทิ้งเด็ก เด็กมีมากมายในสังคมไทยทั้งนี้เกิดจากความ ไม่รับผิดชอบของผู้ใหญ่และพวกไวรุ่นใจแตก 
  พฤติกรรมและสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น
      พฤติกรรมและสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น  มีหลายประเภทดังนี้
1.การทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน   อาจเกิดจากบุคคล 2 คนที่ทำร้าย ชกต่อยตบตีกัน หรือเกิดจากบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายละหลายๆคนหรือการรมทำร้ายกัน  ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง มากนักแค่เพียงเจ็บตัว  แต่บางครั้งก็อาจมีการแทงกัน  ยิงกัน  ดังข่าวที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์ ที่นานๆ ครั้งจะพบเห็นสาเหตุเกิดจากการไม่เข้าใจกัน  ความหมั่นไส้  ความหึงหวง
2.การทะเลาะวิวาทภายนอกสถาบัน   มักเกิดจากนักเรียน  นักศึกษากลุ่มหนึ่งซึ่งมี เพียงเล็กน้อยเกิดความคึกคะนอง  อยากทำตัวโดดเด่น    ( ที่ไม่ถูกต้อง )   ไม่คิดถึงจิตใจของผู้อื่น แม้กระทั่งพ่อแม่ของตนเอง    ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม    ซึ่งขณะนี้ภาครัฐกำลังดำเนินการแก้ไข ปัญหานี้อยู่   สาเหตุมักเกิดจากการไปหาเรื่องกัน    การถูกชักชวนกันไปทะเลาะวิวาท   การที่มีเพื่อนถูกบางคนที่อยู่สถาบันอื่นทำร้าย    การมีนิสัยพาลเกเรไปทำร้ายผู้ที่ไม่รู้เรื่อง
3. การถูกทำร้ายทางเพศ    วัยรุ่นจำนวนมากโดยเฉพาะผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศ   ผู้ที่ ทำร้ายทางเพศส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ตัว   เช่น   คู่รัก   เพื่อน   ญาติ   พี่เลี้ยง   เป็นต้น   ซึ่งโดยมาก มักจะถูกหลอก   ล่อลวง  และบังคับ   บางรายถูกทำร้ายทางเพศติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี  กว่าที่คนอื่นหรือทางราชการจะรู้เรื่องหรือผู้ถูกทำร้ายทางเพศยอมเปิดเผยเรื่องราว

  การป้องกันไม่ให้การเกิดความรุนแรง
     เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรง    ควรมีวิธีป้องกันดังต่อไปนี้
1.  เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่    ผู้ปกครอง   ครู    อาจารย์
2.  เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมความสามัคคีในกลุ่มนักเรียน   เช่น  กีฬาสี
3.  ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดด้วยเหตุผล    หลีกเลี่ยงการใช้
อารมณ์   และใช้ความรุนแรง
ควรมีการรวมกลุ่มตามความสนใจและความถนัดของตนเองเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  เช่น   กลุ่มดนตรี
ฝึกสมาธิ
เข้าร่วมกิจกรรมกล่อมเกลาจิตใจให้มีความอ่อนโยน   รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง  เช่นอบรมจริยธรรม   ฟังบรรยายธรรมะ  


   สรุป
        ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยง ด้านพฤติกรรม   ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม  เช่น  การเกิดอุบัติเหตุ  การเกิดภัยธรรมชาติ  เป็นต้น  ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม  เช่น  การติดสารเสพติด  การบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและถ้าคนเราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง   และมีความปลอดภัยในชีวิต